พระพิมพ์พระครูต่วนวัดตาปะขาวหายสหธรรมิกหลวงปู่ศุข วัดตาปะขาวหาย ต.หัวรอ อ.เมืองพิษณุโลก เป็นวัดในตำนานประวัติศาสตร์การสร้างพระพุทธชินราช พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่มีพุทธลักษณะงดงามเป็นเอกอุในสยาม พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก เจ้าเมืองเชียงแสนทรงโปรดให้สองทหารเอก คือ จ่าการบุญ และจ่านกร้อง มาหาที่และสร้างเมืองใหม่ขึ้นทางใต้ ทางทิศตะวันตกของเขาสมอแคลง เรียกว่า เมืองพิษณุโลก พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก ทรงมีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนา ทรงหล่อ พระพุทธรูปสามพี่น้อง คือ พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ พระศรีศาสดา แต่พระพุทธชินราช ทองแล่นไม่สมบูรณ์ แม้จะทรงหล่อใหม่ถึง ๓ ครั้งก็ไม่สำเร็จ จึงทรงตั้งสัตยาธิษฐานเสี่ยงบุญบารมี ดังที่ปรากฏในตำนานกล่าวว่า “ท้าวสักกรินทร์เทวราช นฤมิตรตนเป็นปะขาวมาช่วยปั้นและหล่อพระพุทธชินราชจนแล้วเสร็จ มีพุทธลักษณะงดงามเป็นหนึ่งในสยาม สมพระราชศรัทธาของพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก ขนาดหน้าตัก กว้าง ๕ ศอก ๑ คืบ ๕ นิ้ว สูง ๗ ศอก ปางมารวิชัย โลหะสำริด พร้อมทำสัญลักษณ์คือ ตรีศูลย์ ไว้ที่ พระพักตร์ เฉกเช่น ทิพยเนตรของพระองค์ เมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะเส็ง นพศักราช ๓๑๙ ทรงโปรดให้นำเศษทองที่เหลือจากการหล่อพระพุทธรูปสามพี่น้องมาหล่อเป็น พระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตัก ๑ ศอก พร้อมพระอัครสาวก ๑ คู่ นิยมเรียกกันว่า พระเหลือ และนำก้อนอฐิ ก้อนเส้าเตาหล่อมาก่อเป็นชุกชี ปลูกต้นโพธิ์ไว้สามต้น เป็นมงคลสถานที่หล่อพระพุทธรูปสามพี่น้อง อัญเชิญ พระเหลือ ประดิษฐานที่วิหารน้อยระหว่างชุกชี โพธิ์สามเส้า หรือโพธิ์สามพี่น้อง มาจวบจนปัจจุบัน โบราณสถาน วัดตาปะขาวหาย ถูกกระแสน้ำไหลกัดเซาะตลิ่งจนวัดพังจมลงในแม่น้ำน่านมาแล้วสองครั้งพบหลักฐานคือ ใบเสมาหินชนวนจมอยู่กลางแม่น้ำน่าน จึงนำมาเป็นใบเสมาอุโบสถที่ได้ย้ายมาตั้งวัดปัจจุบันเป็นครั้งที่สาม ทั้งนี้กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนโบราณสถานวัดตาปะขาวหาย ประกอบด้วย วิหาร อุโบสถ มณฑปหลังคาจัตุรมุข และเตาเผาโบราณ เมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๔๑ สำหรับพุทธศิลป์ของพระพิมพ์หลวงพ่อโต กรุวัดชีปะขาวหาย หรือ กรุวัดตาปะขาวหาย เป็นพระพิมพ์เนื้อดินละเอียดมาก ปางสมาธิ ประทับนั่งบนฐานบัวคว่ำบัวหงาย สองชั้น ลักษณะเดี่ยวกันกับพระหลวงพ่อโต กรุบางกระทิง จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีทั้งพิมพ์ปางสมาธิและพิมพ์ปางมารวิชัย แต่พระหลวงพ่อโต กรุวัดตาปะขาวหายพบเฉพาะพิมพ์สมาธิ และมีพุทธศิลป์ที่งดงามและมีขนาดเล็กกว่า พบ ๓ พิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์เล็ก มีพุทธคุณสูงส่งเป็นยิ่งนัก จึงเป็นที่นิยมแสวงหากันมาก จัดเป็นพระพิมพ์หลวงพ่อโต ยอดนิยมอันดับหนึ่งของเมืองไทย นอกจากนี้ยังมีการพบพระเครื่องพระพิมพ์เนื้อผง พระครูต่วน อดีตเจ้าอาวาสวัดตาปะขาวหาย ซึ่งเป็นที่นิยมแสวงหากันมากในปัจจุบัน พระครูต่วน เกิดที่บ้านคลองเต็งหนาม ต.หัวรอ อ.เมืองพิษณุโลก เมื่อปีชวด เดือน ๔พ.ศ.๒๔๑๗ อุปสมบท เมื่อ พ.ศ.๒๔๓๙ พระครูต่วน เป็นพระเถรผู้เรืองอาคมและจิตตศาสตร์เป็นสหธรรมิก ที่คุ้นเคยกับพระครูวิลคุณากร หรือหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า แต่มีอายุน้อยกว่า หลวงปู่ศุข ๒๗ ปี (หลวงปู่ศุขเกิดพ.ศ.๒๓๙๐ และมรณภาพวันที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๖๖) ผู้อาวุโสเล่าว่า ทุกครั้งที่หลวงปู่ศุข มีกิจนิมนต์ทางเหนือจะแวะมาพักที่วัดตาปะขาวหายกับท่านพระครูต่วนเป็นประจำ หลวงปู่ศุข มีเมตตาร่วมสร้างและปลุกเสกพระพิมพ์เนื้อผงและโลหะ ให้กับท่าน พระครูต่วน ในราว พ.ศ.๒๔๖๔ ขณะนั้นพระครูต่วนมีอายุได้ ๔๗ ปี เพื่อหารายได้สร้างมณฑป หลังคาจตุรมุข ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลองไว้เป็นพุทธบูชาที่วัดตาผ้าขาวหาย เฉกเช่นที่หลวงปู่ศุขดำริให้สร้างไว้เช่นเดียวกับที่ท่านได้ช่วยสร้างอุโบสถให้กับวัดอื่นๆ อาทิ วัดโพธาราม วัดวรนาถบรรพรต นครสวรรค์ หรืออุโบสถ วัดราชช้างขวัญ ริมแม่น้ำน่าน เมืองพิจิตร ใน พ.ศ.๒๔๖๐ คาดว่า มณฑปวัดตาปะขาวหาย คงสร้าง ในราว พ.ศ.๒๔๖๒-๒๔๖๔ เพราะวัดราชช้างขวัญ พิจิตร กับ พิษณุโลกไม่ไกลกันมากนัก พระครูต่วน มรณภาพเมื่อวันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ สิริอายุได้ ๕๓ ปี พรรษาที่ ๓๑ หลังจาก หลวงปู่ศุข มรณภาพได้ ๔ ปี พระเครื่องที่หลวงปู่ศูข สร้างและปลุกเสกให้ พระครูต่วน วัดตาปะขาวหาย ประกอบด้วย ๑.พระพิมพ์ปิดตา พิมพ์สามเหลี่ยม เนื้อผงน้ำมัน มี ๒ พิมพ์ คือ พระพิมพ์เล็ก เนื้อผงขาว (วงแขนกลม) พระพิมพ์ใหญ่ เนื้อผงขาว มีครบกรุสีน้ำตาลอ่อนๆ (วงแขนหักศอก) และพระพิมพ์ปิดตา สามเหลี่ยม เนื้อโลหะสำริด ซึ่งพบน้อยมาก ๒.พระพิมพ์สี่เหลี่ยม ซุ้มประภามณฑล เนื้อผงขาวและเนื้อผงดำ ส่วนพระพิมพ์ซุ้มประภามณฑล เนื้อโลหะสำริด พบน้อยมาก ๓.พระพิมพ์นาคปรก สมาธิเพชร บนขนดนาคสามชั้น เนื้อผงพุทธคุณขาวและเนื้ออมเขียว มี พิมพ์หลังเรียบกับ พิมพ์หลังยันต์จม (นะชาลีติ) บางครั้งนิยมเรียกกันว่า พระลำพูน พระครูต่วน เพราะดูทรงพิมพ์อย่างผิวเผิน ไม่ได้ดูในรายละเอียดของพุทธศิลป์องค์พระซึ่งเป็นพระนาคปรกนั่นเอง พระพิมพ์เนื้อผงพระครูต่วนวัดตาปะขาวหาย มีทั้งที่แจกสมนาคุณร่วมสร้างมณฑปรอยพระพุทธบาทจำลองและนำบรรจุกรุ หมู่เจดีย์รายด้านเหนือมณฑปรอยพระพุทธบาทจำลอง หลังตาจัตุรมุข ซึ่งมีการลับลอบขุดกรุแตกออกมาเป็นระยะๆ นับแต่ พ.ศ.๒๕๐๕ เป็นต้นมา โดยปัจจุบันเป็นที่นิยมแสวงหากันมากในวงการอนุรักษ์สะสมนิยมพระเครื่อง ซึ่งเป็นเรื่องของพุทธศิลป์ และอุเทสิกเจดีย์ในทางพระพุทธศาสนา ศาลองค์เทพตาปะขาวหาย ปะขาว หรือตาปะขาว ได้เดินออกจากประตูเมืองพิษณุโลกด้านเหนือ หรือประตูวัดโพธิญาณ (ต้นกำเนิด พระพิมพ์นางพญา กรุวัดโพธิ์ หรือ นางโรงทอ) พอถึงหมู่บ้านตำบลหนึ่งก็หายตัวไป จึงเป็นที่มาของนามบ้านตาปะขาวหาย และตำนานศาลาช่องฟ้า ที่เล่าขานว่าฟ้าเปิดเป็นช่องปรากฏมีลำแสงพุ่งผ่าน เหนือท้องฟ้า ขณะที่ปะขาวหายตัวไปเหนือศาลาไม้โบราณหลังหนึ่ง จึง เรียกกันสืบต่อมาจวบจนปัจจุบัน ว่า “ศาลาช่องฟ้า” ปัจจุบันมีศาลองค์เทพตาปะขาวหาย ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของประชาชนทั่วไป ถึงสองแห่งคือ ที่ วัดตาปะขาวหาย กับ ศาลาช่องฟ้า สันนิษฐานว่า พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก คือพระมหาธรรมราชา ๑ พระยาลิไท กรุงสุโขทัย ได้เสด็จมาประทับที่เมืองพิษณุโลก พ.ศ.๑๙๔๗ หรือบางครั้งชาวบ้านนิยมเรียกว่า “วัดเตาไห” บางครั้งเรียกเพี้ยนมาเป็น เต่าไห เพราะเป็นชุมชนโบราณแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผา และไหริมแม่น้ำน่านฝั่งตะวันออก คำว่า เตาไห ปรากฏในเอกสาร สพ๒.๑๙/๑๓ โบราณคดี หอสมุดแห่งชาติ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงบันทึกเรื่องสังคโลกของนายหง่วนต็ด (๑๓-๒๑ มีนาคม ๒๔๗๒) กล่าวถึง การทำเครื่องปั้นดินเผาที่บ้านเตาไห พบหลักฐาน ไห จากเตาไห ที่แม่น้ำน่าน วัดจุฬามณี จ.พิษณุโลก และจากซากเรือสำเภาที่ล่มในอ่าวไทย หน่วยศิลปากรที่ ๓ ได้ขุดสำรวจ เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๘ และ พ.ศ.๒๕๒๔ พบเศษเครื่องถ้วยมากมา จนใน พ.ศ.๒๕๒๗ ดร.ดอน ไฉน์ ผู้เชี่ยวชาญชาวออสเตรีย ใช้เครื่องมือแมกนิโดเมตรี สำรวจพบเตาเผาโบราณ แบบเตาศรีสัชนาลัย กระจายอยู่เป็นแนวยาวริมน้ำน่านวัดตาปะขาวหายไปทางเหนือ เกือบ ๕๐ เตา เป็นแหล่งอุตสาหกรรมเศรษฐกิจชุมชนมาแต่โบราณ สันนิษฐานว่าวัดตาปะขาวหาย คงสร้างขึ้นพร้อมกับชุมชนโบราณริมแม่น้ำน่าน สมัยสุโขทัยตอนต้น กรุวัดตาปะขาวหาย พิษณุโลก เป็นพระที่หลวงพ่อต่วนอดีตเจ้าอาวาสกับหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ร่วมกันสร้างขึ้นมา เพื่อสมทบทุนในการสร้าง มณฑปจตุรมุขของวัด ระหว่างปี 2460-2461 และได้นำพระส่วนที่เหลือ จากการจำหน่าย บรรจุไว้ตามส่วนต่างของมณฑป และได้แตกกรุครั้งแรก เมื่อปี 2503 และแตกอีกครั้งหนึ่งในปี 2548-2549 พระที่แตกกรุเป็นพระ เนื้อผงขาวหม่น หรือขาวอมเหลือง บางองค์มีคราบกรุจับแน่นคล้ายฟอง เต้าหู้ บางองค์ด้านหลังปรากฏมีรอยจารอักขระว่า นะ ชา ลี ติ แต่พบน้อย มาก หายากสุด ๆ ส่วนพิมพ์พระมีด้วยกันหลายพิมพ์ ปัจจุบันพระกรุนี้ได้รับ นิยมค่อนข้างสูงมาก เนื่องด้วยประวัติการสร้างชัดเจนแน่นอนว่า หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ร่วมสร้างไว้จริงและมีการเล่นเป็นมาตรฐาน สภาพสวยเดิม ๆ เนื้อเก่าจัดแท้ดูง่ายมาก พุทธคุณพระกรุนี้ ครอบจักรวาล น่าบูชามากครับ หายากขึ้นทุกวันครับ พระดีปีลึก หลวงปู่ศุขปลุกเสก พุทธคุณสุดๆครับ ของเก๊เกลื่อนสนามครับ องค์นี้ตัวจริงเสียงจริงครับ มาพร้อมกับบัตรรับรองเช่าหาสบายใจได้ครับ ของดีไม่ควรพลาดครับ นานๆจะพบเจอตัวจริงสักอันครับ รับประกันตามกฎทุกประการครับ ปล.ผู้ชนะการประมูลเมื่อโอนแล้วรบกวนแจ้งใน mailbox ให้ทราบด้วยนะครับ เพื่อการจัดส่งที่รวดเร็ว ขอบพระคุณมากครับ
พระสมเด็จหลวงปู่นาค ปี2495 พิมพ์เทวดา วัดระฆังฯ พระสวยเดิมๆๆครับ แท้ดูง่ายสบายตาครับ เนื้อจัดมากครับ มีบัตรรับรองแล้วครับ รับประกันตามกฏครับ
พระสมเด็จหลวงปู่นาคพิมพ์ปรกโพธิ์ปี2495พระ สวยเดิมๆครับ พระหนามากครับ ส่งออกบัตรรับรองให้พี่เรียบร้อยแล้วครับ รับประกันตามกฏครับ
พระพุทธรูปบูชาสมัยรัตนโกสินทร์นั่งทรงเครื่อง เนื้อทองเหลือง (หน้าตัก 1 นิ้ว) พร้อมบัตรรับรอง พระพุทธรูปบูชาสมัยรัตนโกสินทร์ หรือที่เรียกว่าพระบูชารัตนะ พระบูชารัตนะยุคต้นถึงยุคกลาง (ซึ่งจริงๆแล้วเริ่มดัดแปลงและผสมเอามาจากศิลปะแบบกรุงศรีอยุธยาและกรุงธนบุรี) โดยถือพุทธคติตามแบบที่เรียกว่า "เทวราชา" หรือเปรียบพระมหากษัตริย์เป็นเสมือนสมมุติเทพ พระที่สร้างออกมาจึงมีพุทธศิลป์ทรงเครื่องสวมชฏาคล้ายเทวดาหรือสร้างออกมาจากในจินตนาการที่เรียกว่าศิลปะพระพุทธรูปแบบตามคติ "เทพนิมิต" ซึ่งช่างในสมัยรัตนะโกสินทร์ยุคต้นประมาณรัชสมัย รัชกาลที่ 3 ซึ่งในสมัยนั้นมีความเจริญรุ่งเรืองมากในเรื่องของงานศิลปะ วรรณกรรม และจิตรกรรมต่างๆดังที่ได้เห็นภาพวาดตามผนังพระอุโบสถตามวัดต่างๆ และด้วยเหตุนี้เองพระที่สร้างออกมาจึงมีหน้าตาละม้ายคล้ายเทพยดาและมีเครื่องทรงประดับแบบพระมหากษัตริย์ เราจึงเรียกพระบูชารัตนะโกสินทร์ยุคต้นที่ทรงเครื่องแบบนี้ว่า "พระบูชารัตนะทรงเครื่องมหาจักรพรรดิ์" ซึ่งต่อมาภายหลังได้มีการเปลี่ยนในหลายๆด้านทั้งสังคมการเมืองและวิถีชีวิตของผู้คนในสังคม รูปแบบและศิลปะของพระบูชาจึงเปลี่ยนแปลงไปบ้างออกมาเป็นแบบของพระพุทธะ มากขึ้นแต่ก็ยังมีการนำเอาลวดลายต่างๆเข้ามาประดับในองค์พระดังจะเห็นได้จากพระบูชารัตนะในสมัยยุคกลางมีการนำลวดลายดอกพิกุลและลวดลายอื่นๆมาประดับในองค์พระที่เราเรียกว่า "พระบูชารัตนะจีวรดอก" และได้มีการพัฒนาและเปลียนแปลงรูปแบบเรี่อยมาจนถึงปัจจุบัน
@@@ พระแท้ดูง่าย รับประกันตามกฎครับบบบบบบบบบบบบ@@@ @@@ พระแท้ดูง่าย รับประกันตามกฎครับบบบบบบบบบบบบ@@@ @@@ พระแท้ดูง่าย รับประกันตามกฎครับบบบบบบบบบบบบ@@@
***วัดใจแดงแรก 110 บาท***พระเชตุพนหน้าโหนกบัวสองชั้น กรุหนองช้างเผือก (กรุบ้านตาก) เนื้อชินเงิน มีหน้าตาครับ จ.ตาก สภาพเดิมๆจากกรุ สภาพมีรอยรานที่ฐาน และมีรอยเทียนเชื่อมไว้ แต่พระไม่ได้หักนะครับแค่ราน ส่วนที่เหลือสมบูรณ์ครับ จะมีก็ที่ฐานที่กล่าวมานั้นละครับผม ***รับประกันพระแท้ตามกฏครับผม***
วัดใจ 10 บาท พระขุนแผนเคลือบ กรุวัดอัมพวัน พิมพ์ใหญ่ จังหวัดนนทบุรี เป็นลักษณะเดียวกับของกรุวัดใหญ่ครับ พิมพ์นี้นิยมครับ น้ำเคลือบแต่ได้สวยงามมากๆครับ เป็นพระชุดไหแรกๆที่แตกออกมาครับ น้ำเคลือบจะแห้งสนิท องค์นี้มีกระเทาะ 2 จุดนะครับ ที่ด้านปลายบนกับด้านซ้ายมือครับ ที่เหลือสมบูรณ์ทุกประการ ขุนแผนเคลือบกรุวัดอัมพวัน ปัจจุบัน ยังไม่ทราบจำนวนที่แน่นอนในการแตกกรุ สันนิษฐานว่ามีหลักหลายพันองค์ แต่ ที่ค่อนข้างชัดเจน คือ มีหลายพิมพ์ มีทั้งพิมพ์ที่เหมือนกับวัดใหญ่ชัยมงคล และ พิมพ์อื่นๆ สกุลช่าง และ รูปแบบน้ำเคลือบ เป็นแบบของอยุธยาแท้ การแตกลายของน้ำเคลือบ ใกล้เคียง หรือ เหมือนกับของวัดใหญ่ชัยมงคลค่อนข้างมาก อายุของการสร้าง น่าจะใกล้เคียง แต่ สันนิษฐานว่า ไม่น่าจะใช่ยุคเดียวกัน แต่ อายุการสร้างอย่างน้อย 200 ปีขึ้นไป เปรียบเทียบเอาจากธรรมชาติของการแตกลายของน้ำเคลือบ ซึ่งเป็นไปได้ว่าน่าจะสร้างในยุคอยุธยาตอนปลาย พระกรุชุดนี้ ได้รับการรับรองจากทางสมาคมพระเครื่องพระบูชาไทย ว่าเป็นพระกรุแท้ และ มีอายุไม่ใช่พระสร้างใหม่ และ มีบรรจุในรายการประกวดของทางสมาคมในปัจจุบัน รับลองว่าหาสวยๆแบบนี้ยากครับ ของเก๊เริ่มระบาดแล้วครับ ปล. พระกรุนี้ทางเว็บไม่รับตรวจสอบนะครับ แต่ผมรับประกันส่งงานสมาคมไม่รับคืนเต็มครับ
พระร่วงนั่งเชตุพน กรุวัดพระเชตุพน จ.สุโขทัย สวยๆเล่นกันตอนนี้หมื่นกว่าแล้วครับ สภาพลองลงมาก็พันปลาย ส่วนของ Assassin ตั้งราคาไว้พี่ๆนักสะสมได้สามารถเป็นเจ้าของพระสวยได้ครับ พระองค์นี้หน้าตาติดไลๆ สภาพผิวกร่อนตามกาลเวลาของพระกรุที่มีอายุหลายร้อยปี รับประกันไม่อุดไม่ซ่อมใดๆครับ พระกรุอายุเป็นร้อยๆปีเปิดราคานี้พี่ๆนักสะสมจะไม่ลองพิจารณาดูหน่อยเหรอครับ ปล.กรุณาพิจารณาให้ชอบก่อนแล้วถึงตัดสินใจเคาะนะครับ อย่าเคาะเล่นเพราะจะเสียทั้งเวลาและความรู้สึกของทั้งสองฝ่ายครับ
พระสมเด็จหลวงปู่นาค พิมพ์คะแนนหูบายศรี ปี2495 วัดระฆังฯกรุงเทพ
พระแผงตัด กรุนาดูน จ.มหาสารคามพร้อมบัตรรับรองดีดีพระ รับประกันตามกฎดีดีพระทุกประการ