เหรียญพระนารายณ์ทรงครุฑ หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล ออกวัดบ้านจาน จ.ศรีสะเกษ รุ่น พินัยกรรม ๕๗ เนื้อทองเเดงรมดำ
+++ เหรียญปั๊มครึ่งซืกรุ่น หลวงปู่หมุน ขอพึ่งบารมี โค๊ต ๙ +++ "ของๆฉันเก็บไว้ให้ดี ต่อไปจะมีค่ากว่าเงินทอง" สิ้นสุด การประมูล ชำระค่าพระกรุณาแจ้งใน Mailbox เพื่อสะดวกในการตรวจสอบ และจัดส่งพระได้ถูกต้อง รวดเร็วครับ รายการอื่นที่ลงประมูล กดที่ V หลังชือ kookig ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้ความสนใจร่วมประมูลครับ
เคาะเดียวแดง กดVหลังชื่อ กรรณิกา ยังมีพระราคาไม่แพง อีกมากครับ(โอนแล้วช่วยแจ้งด้วยครับ)
การสร้างวัตถุมงคลของหลวงพ่อแพนั้น ท่านมิได้เน้นเรื่องความสวยงาม หากแต่เน้นไปในเรื่องของความขลัง ความศักดิ์สิทธิ์ของวัตถุมงคลนั้น ๆ โดยท่านจะพิถีพิถันในการปลุกเสก ทั้งวิชาอาคม ทั้งอำนาจจิต เพื่อให้เกิดความแคล้วคลาดจากภยันตรายทั้งปวง และด้วยพลังบริสุทธิ์ดังกล่าว จึงทำให้วัตถุมงคลของหลวงพ่อแพรุ่นต่าง ๆ มีประสบการณ์อภินิหารมากมาย สืบสานยาวนานมาจนทุกวันนี้ ในปี พ.ศ. ๒๔๙๔ หลวงพ่อแพได้สร้างพระสมเด็จเนื้อผงรุ่นหนึ่งขึ้นมาหลายพิมพ์ กล่าวกันว่า พระสมเด็จที่หลวงพ่อแพสร้างขึ้น มีอานุภาพด้านพุทธคุณ ไม่ได้เป็นรองพระสมเด็จของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆัง แม้แต่น้อย ทั้งนี้ สืบเนื่องมาจากหลวงพ่อแพท่านมีศรัทธาในสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆัง เป็นอย่างมาก ด้วยเหตุนี้ หลวงพ่อแพจึงได้สร้างพระสมเด็จขึ้น โดยยึดถือแนวทางการสร้างวัตถุมงคลชุดพระสมเด็จของสมเด็จโตเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งหลักใหญ่หลวงพ่อแพท่านได้ลบผง เรียกว่า ผงวิเศษห้าประการ เป็นผงหลักในการสร้างพระสมเด็จ คือ ผงอิทธิเจ ผงปถมัง ผงมหาราช ผงตรีนิสิงเห และ ผงพุทธคุณ โดยเฉพาะผงพุทธคุณนั้น ท่านเขียนและลบด้วยพระคาถาชินบัญชร เพื่อใช้เป็นส่วนผสมอีกด้วย นอกจากผงวิเศษห้าประการแล้ว ยังมีผงอื่น ๆ เป็นส่วนประกอบ เช่น ผงบดจากหนังสือ ๗ ตำนาน, ผงยันต์ในคัมภีร์ต่าง ๆ เป็นต้น ในการทำผงแต่ละอย่างนั้น มีเคล็ดลับที่หลวงพ่อแพถือปฏิบัติคือ รักษาความสะอาดบริสุทธิ์ทั้งภายในและภายนอก, ตั้งจิตสงบเป็นสมาธิจดจ่ออยู่กับคาถาอาคม และอักขระต่าง ๆ โดยเฉพาะการบริกรรมภาวนา ต้องแม่นยำ ไม่ผิดพลาด ด้วยเหตุนี้ พระสมเด็จที่หลวงพ่อแพจัดสร้างขึ้น จึงมีพุทธานุภาพทรงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์เยี่ยมยอดทุกรุ่น ทุกแบบพิมพ์ หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง ท่านสร้างพระไว้มาก ถ้าจะประเมินกันอย่างคร่าว ๆ ก็คงไม่ต่ำกว่า ๓๐๐ แบบพิมพ์เป็นอย่างต่ำ แต่ที่นิยมแพร่หลายนั้น ส่วนมากจะเป็นเนื้อผง เช่น พระสมเด็จ พระนางพญา พระรอด พระปิดตา พระลีลาทุ่งเศรษฐี พระสิวลี พระสังกัจจายน์ พระขุนแผน พระผงรูปเหมือน นางกวัก ฯลฯ ซึ่งลูกศิษย์ลูกหา ญาติโยม ต่างก็เชื่อว่า มีพุทธคุณในด้านเมตตามหานิยม, แคล้วคลาด อุดมด้วยลาภผล โภคทรัพย์พูลทวี ซึ่งก็คือ คำอวยพรของท่าน หลวงพ่อแพ ท่านมักจะอวยพรแก่ทุกคนที่ไปกราบท่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทุกวันอาทิตย์แรกของทุกเดือน ท่านจะไม่รับนิมนต์ไปนอกวัด จะอยู่ที่วัดเพื่อต้อนรับศรัทธาญาติโยม ที่บางท่านก็เดินทางมาไกล เพื่อที่จะได้มีโอกาสกราบท่าน รับวัตถุมงคลจากมือของท่าน แล้วท่านก็จะอวยพรว่า ขอให้รวยขอให้รวย อาจเป็นเพราะท่านเป็นพระปรารถนาให้ทุกคนมีความสุข เป็นเรื่องสุดยอดแห่งความดี อักขระเลขยันต์หลังองค์พระ ก็เป็นเสมือนคำอวยพรของท่าน เพื่อที่เราจะได้ระลึกถึงท่านที่สร้างสมแต่บุญกุศล หรือความดีงามมาตลอดชีวิต เป็นเพชรเม็ดงามที่สดใสและแข็งแกร่ง ใสสะอาดและบริสุทธิ์ เช่นเดียวกับพระอาจารย์ธรรมโชติ แห่งบ้านบางระจัน ซึ่งชาวสิงห์บุรี เคารพรักและภาคภูมิใจ ราวกับท่านคือ จิตวิญญาณของชาวสิงห์บุรีทั้งหมด พระผงที่มีเนื้อหาจัดที่สุด ฝีมือปราณีตที่สุด และมีราคาแพงมากที่สุดของท่าน คือ พระสมเด็จแพพัน ที่สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๐ คำว่า แพพัน นั้น ปรากฎที่ด้านหลังองค์พระ อยู่ชิดขอบองค์พระด้านล่าง ใต้รูปเหมือนของท่านที่หันไปทางด้านซ้ายมือของเราทุกรุ่น โดยมีคำว่า “แพ” อยู่ด้านซ้าย และคำว่า “พัน” อยู่ด้านขวา คำว่า “แพ” หมายถึง “หลวงพ่อแพ” ส่วนคำว่า “พัน” นั้น หมายถึง “หลวงพ่อพัน” หรือ “พระอธิการพัน” เจ้าอาวาสวัดพิกุลทององค์ก่อน เป็นพระอาจารย์ที่บวชเณรให้กับท่าน เป็นผู้ที่ท่านรักและ เคารพนับถือประดุจบิดา ขอบบนสุด เหนือรูปเหมือน ที่อยู่ด้านซ้ายมือของเรา จะเป็นอักขระตัว “พุทซ้อน” ที่ท่านได้รับการถ่ายทอดมาจากพระครูใบฎีกาเกลี้ยง วัดสุทัศน์ ส่วนขอบบนสุดด้านขวา จะเป็นอักขระตัว “อัง” และมีตัว “อุ” อยู่เหนือตัว “อัง” ด้านหน้าของพระสมเด็จแพพัน จะเป็นพระสมเด็จพิมพ์อกครุฑเศียรบาตร หรือ ทรงไกเซอร์ ซึ่งต่อมารูปแบบพระสมเด็จที่สร้างในภายหลัง คือ แพ ๒ พัน, แพ ๓ พัน ...๔ พัน....๕ พัน...๗ พัน....๙ พัน..จะยึดเอกลักษณ์พิมพ์ทรงเดียวกันทั้งด้านหน้าและหลัง จะต่างกันที่ตัวเลขที่อยู่ตรงกลางใต้รูปเหมือน ระหว่างคำว่า “แพ” กับ “พัน” และเนื้อหามวลสารเท่านั้น ส่วนพระสมเด็จพิมพ์อื่น ๆ ก็มีมากมายหลายพิมพ์ เช่น พิมพ์ใหญ่, พิมพ์ทรงเจดีย์, พิมพ์ปรกโพธิ์, พิมพ์ฐานสิงห์,พิมพ์ฐานแซม ฯลฯ ซึ่งด้านหลังจะมีอักขระเลขยันต์ที่ต่างกันไป แต่แทบทุกรุ่น จะต้องมีอักขระ ๒ ตัว คือ ตัวพุทซ้อน และ ตัว “อัง” “อุ” อยู่ด้วยเสมอ ถือเป็นอักขระทีเป็นเอกลักษณ์ของท่านก็ย่อมได้ สำหรับพระสมเด็จแพพันนั้น หากมองด้วยตาเปล่า สีสันวรรณะขององค์พระจะออกเป็นสีขาวหม่นเล็กน้อย แต่ถ้าส่องกล้องดู จะเห็นรูพรุนเท่า หรือเล็กกว่าปลายเข็มอยู่ทั่วองค์พระ ซึ่งเกิดจากการยุบตัว หรือ การหดตัวของผิวพระที่มีอายุการสร้างมากกว่า ๔๐ ปี และสิ่งที่ควรระวังก็คือ ในภายหลังได้มีการสร้างพระสมเด็จแพพันขึ้นมาอีก แต่ต่างกันที่เนื้อหามวลสาร อย่างเช่น พระสมเด็จแพพัน ปี ๒๕๑๖ เนื้อแร่ธาตุดำ เนื้อแร่ธาตุแดง เป็นต้น วัตถุมงคลของท่าน แม้จะสร้างเป็นจำนวนมาก หลายรุ่น หลายแบบ ตลอดระยะเวลากว่า ๖๐ ปี ที่ท่านได้สร้างเอาไว้ ก็หาได้เพียงพอกับความต้องการของสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาไม่ ปัจจุบันวัตถุมงคลของท่านเริ่มหายาก และมีราคาแพงขึ้นทุกวัน จึงเป็นโอกาสอันดีที่พวกปลอมแปลงพระ ได้ทำของปลอม ของเลียนแบบ ออกมาจำหน่าย และใช่ว่าจะมีมาในช่วงที่ท่านมรณภาพก็หาไม่ มันมีมาตั้งแต่สมัยท่านมีชีวิตอยู่แล้ว พอมันรู้ว่ารุ่นไหนดัง รุ่นไหนได้รับความนิยม มันก็จะทำการปลอมแปลง เลียนแบบทันที ทั้ง ๆ ที่ของบางอย่างที่วัดยังมีอยู่เลย หลวงพ่อแพท่านจึงปกาศิตเอาไว้ว่า “ของแท้ ของดี ต้องมีที่วัดเท่านั้น” จะพบว่า วัตถุมงคลของท่านที่สร้างแต่ละรุ่น แต่ละแบบในระยะแรก ๆ นั้น ไม่ได้มีการโฆษณาตามหน้าหนังสือพิมพ์และสื่อมวลชน แต่ก็หมดไปจากวัดทุกรุ่น แม้บางรุ่นจะอยู่ที่วัดนานเป็นสิบปีก็ตาม
หลวงพ่อแพ หรือ พระธรรมมุนี เป็นพระที่มากด้วยเมตตาบารมี และมีชื่อเสียงโด่งดังมานานแล้ว ตั้งแต่ก่อนปี 2500 หลวงพ่อแพ ตลอดชีวิตของท่านสร้างแต่คุณงามความดีเพื่อสาธารณประโยชน์อย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาล โรงเรียน วัดต่างๆ หลวงแพ เป็นพระที่มีอายุยืนยาวมากถึง 94 ปี มรณภาพเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2542 สำหรับหลวงพ่อแพ ในเรื่องของวิทยาคมก็เก่งไม่เป็นรองใคร หลวงพ่อแพ เคยไปปลุกเสกวัตถุมงคลที่วัดแห่งหนึ่งแถวพัทยา ในปี 2512 ในพิธีนั้นมีพระดังๆจากตะวันออกมาหลายท่าน เช่นหลวงพ่อหอม วัดชากหมาก หลวงพ่อชื่น วัดมาบข่า เป็นต้น เมื่อเสร็จงาน หลวงพ่อหอม ได้บอกกับคนพื้นที่แถวนั้น ให้เข้าไปกราบหลวงพ่อแพ ซึ่งขณะนั้นชาวบ้านไม่รู้จักท่าน เดิมที หลวงพ่อแพ ท่านเรียนด้านปริยัติ เข้ามาศึกษาพักอยู่ที่วัดชนะสงคราม หลายปี ต่อมา เมื่อหลวงพ่อแพ ได้เป็นเจ้าอาวาส วัดพิกุลทอง ท่านได้หันมาให้ความสนใจด้านวิทยาคม เพื่อช่วยเหลือชาวบ้าน ต่อมาหลวงพ่อแพ ได้ไปขอเรียนวิชากับ หลวงพ่อเกลี้ยง วัดสุทัศน์ และ ฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงพ่อศรี วัดพระปรางค์ สิงห์บุรี และหลวงพ่อจุ้ย วัดสามปลื้ม นอกจากนี้หลวงพ่อแพ ยังมีความสนิทสนมกับพระเกจิดังๆในอดีตหลายท่าน เช่น เจ้าคุณศรี วัดสุทัศน์ หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลย์ เป็นต้น หลวงพ่อแพ เป็นพระที่น่าเคารพกราบไหว้ได้อย่างสนิทใจรูปหนึ่ง แม้ว่าหลวงพ่อแพ จะออกวัตถุมงคลมาจำนวนนับร้อยรุ่น แต่ถ้าเป็นพระยุคแรกๆของหลวงพ่อก็ไม่ค่อยได้พบให้เห็นบ่อยนัก โดยเฉพาะพระแท้ๆ เนื่องจากพระของหลวงพ่อแพ มีปลอมเยอะ บางครั้งคนที่คิดจะสะสมไม่กล้าซื้อก็มีครับ เท่าที่ทราบพระเครื่องของหลวงพ่อแพ จะเด่นด้านเมตตา แคล้วคลาด ค้าขาย เป็นหลักครับ
พระครูธรรมกิจโกศล (พระอาจารย์นอง ธมฺมภูโต) วัดทรายขาว จ.ปัตตานี “เกจิดัง” พระอาจารย์นอง วัดทรายขาว ปัตตานี **เจ้าตำรับตะกรุดนารายณ์แปลงรูป “กระฉ่อนเมือง” พระครูธรรมกิจโกศล หรือ พระอาจารย์นอง ธมฺมภูโต เดิมชื่อ “นอง หน่อทอง“เกิด เมื่อวันเสาร์ แรม 6 ค่ำ เดือน 11 ปีมะแม ตรงกับวันที่ 15 ตุลาคม 2462 ที่ ต.นาประดู่ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี โยมบิดาชื่อ นายเรือง หน่อทอง โยมมารดาชื่อ นางทองเพ็ง มีพี่น้อง 3 คน คนแรก คือตัวพระอาจารย์นอง คนที่สองนางทองจันทร์ และคนที่สามนายน่วม พระอาจารย์นองเรียนจบ ป.3 ที่โรงเรียนนาประดู่ ขณะมีอายุ 15 ปี ออกมาช่วยพ่อแม่ทำนาทำสวน และบรรพชาเป็นสามเณรเมื่อายุ 19 ปี ที่วัดนาประดู่ มีพระพุทธไสยารักษ์ (นุ่ม) วัดหน้าถ้ำ เป็นพระอุปัชฌาย์ แต่บวชได้ 1 เดือน ก็ลาสิกขาออกมาช่วยพ่อแม่ทำนาทำสวนต่อไประยะหนึ่ง จนกระทั่งอายุได้ 21 ปี เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2482 ก็อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดนาประดู่ โดยมีพระครูวิบูลย์สมณกิจ (ชุ่ม) วัดตุยง เจ้าคณะเมืองหนองจิก เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการดำ วัดนางโอ และพระครูภัทรกรโกวิท (แดง)วัดนาประดู่ เป็นพระคู่สวดได้ฉายา “ธมฺมภูโต” อยู่วัดนาประดู่ได้ 12 พรรษา จากนั้นย้ายมาจำพรรษาที่วัดทรายขาว จนได้เป็นเจ้าอาวาส และเป็นเจ้าคณะตำบลโคกโพธิ์ตราบจนมรณภาพ สำหรับพระอาจารย์นองเป็นสหธรรมิกกับพระอาจารย์ทิม วัดช้างให้ เคยร่วมสร้างพระเครื่องหลวงพ่อทวดเนื้อว่านเมื่อปี 2497 จนโด่งดังทั่วสารทิศ และต่อมาพระอาจารย์นองได้สร้างเครื่องรางของขลังที่ดังไปทั่วเมืองไทย คือตะกรุดนารายณ์แปลงรูปและพระเครื่องหลวงพ่อทวดเนื้อว่านฝังตะกรุด นอกจากนั้นแล้วพระอาจารย์นองยังเป็นพระนักพัฒนารูปหนึ่งที่ได้รับการยกย่อง ชมเชยตลอดมา และเป็นพระอยู่ในนิกายมหานิกาย สิริรวมอายุถึงวันมรณภาพได้ 80 ปี 11 เดือน 60 พรรษา ความสัมพันธ์กับอาจารย์ทิม วัดช้างให้ ท่านเป็นสหธรรมิกกับท่านพระอาจารย์ทิม วัดช้างให้ เป็นทั้งกัลยาณมิตรเป็นศิษย์กับอาจารย์ต่อกัน เกื้อกูล เกื้อหนุนกันมาโดยตลอดตั้งแต่ต้นจนวาระสุดท้ายของท่านอาจารย์ทิม เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2512 ทั้งพระอาจารย์ทิม และพระอาจารย์นอง เป็นศิษย์ร่วมสำนักวัดประดู่มาด้วยกันเมื่อพระอาจารย์ทิมมาอยู่วัดช้างให้ และพระอาจารย์นองไปอยู่วัดทรายขาว ก็ยังมีความสัมพันธ์ดีงามมาโดยตลอด กิจการใดของวัดช้างให้ ท่านจะเป็นผู้คอยช่วยเหลืออยู่ข้างกายพระอาจารย์ทิมทุกอย่าง ที่สำคัญ การสร้างพระหลวงพ่อทวด เนื้อว่าน ปี พ.ศ.2497 ถ้าจะกล่าวกันแล้ว ปฐมเหตุจริงๆ ก็มาจากท่านที่เป็นผู้ชักชวนพระอาจารย์ทิมให้สร้างพระหลวงพ่อทวด ตามที่ท่านได้เล่าให้ฟังเท่าที่จำได้คร่าวๆ คือ ช่วงนั้น ท่านกับพระอาจารย์ทิม ขึ้นมากรุงเทพฯ และไปที่วัดระฆัง เพื่อที่จะไปเช่าบูชาพระสมเด็จของหลวงปู่นาค มาเพื่อให้คนทำบุญจะได้นำเงินไปสร้างโบสถ์วัดช้างให้ พกเงินขึ้นมาประมาณ 3,000 บาท ขณะที่กำลังจะขึ้นไปเช่าพระ ท่านบอกว่า “กูนึกยังไงก็ไม่รู้ สะกิดอาจารย์ทิม บอกว่า ท่านๆ ทำไมเราไม่กลับไปทำพระของเราเองล่ะ” “พระอะไร…?” พระอาจารย์ทิมถาม “ก็พระหลวงพ่อทวดไง” พระอาจารย์ทิมบอก “เออ…!! นั่นน่ะสิ” ทั้งสองท่านจึงได้เช่าบูชาพระสมเด็จหลวงปู่นาคม เพียงเล็กน้อยและพากันกลับปัตตานี ปฐมเหตุตรงจุดนี้ คือกำเนิดของสุดยอดพระเครื่องเมืองใต้ หลวงพ่อทวดเนื้อว่าน ปีพ.ศ.2497 อันเป็นอมตะตลอดกาล ส่วนคุณอนันต์ คณานุรักษ์ นั้น เป็นส่วนประกอบที่ช่วยเหลือให้การจัดสร้างสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ซึ่งคงเป็นเพราะบารมีของหลวงพ่อทวดที่บันดาลชักนำ คุณอนันต์ คณานุรักษ์ คหบดีชาวปัตตานีให้มาเป็นกำลังสำคัญ การจัดสร้างพระหลวงพ่อทวดเนื้อว่าน ปี พ.ศ.2497 ท่านจึงมีส่วนอย่างมากในทุกๆ ขั้นตอนการจัดสร้าง ฉะนั้น…ท่านจะรู้พิธีกรรม และเรื่องว่านดีที่สุด เมื่อท่านมาสร้างพระหลวงพ่อทวด ขึ้นเองจึงมีความขลังแ ละศักดิ์สิทธิ์เป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณชนมาโดยตลอด เหตุการณ์ที่บ่งให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างสองพระอาจารย์ที่ผู้เขียนได้ฟังแล้วรู้สึกประทับใจและกินใจมาก ตามที่ท่านเล่าให้ฟังว่า ก่อนที่อาจารย์ทิมจะไปรักษาตัวที่กรุงเทพฯ ท่านมาหาเราที่วัด สั่งเสียไว้หลายเรื่องฝากให้เราช่วยดูแลวัดช้างให้ ท่านหยิบขันน้ำมนต์ขึ้นมา ท่านจับประคองอยู่ด้านหนึ่งให้เราจับอีกด้านหนึ่ง แล้วท่านพูดว่า “ตั้งแต่คบกันมา คุณไม่เคยทำให้ผมเสียใจเลย คนอื่นยังมีตรงบ้าง คดบ้าง “เรา” ขออธิษฐาน บุญใดที่เคยทำร่วมกันมา และยังไม่เคยทำร่วมกันมาก็ดี ทั้งชาตินี้และอดีตชาติ ขออธิษฐาน เกลี่ยบุญให้เท่ากัน เพื่อจะได้เกิดทันกันทุกๆ ชาติไปจนถึงชาติสุดท้าย” จากนั้นพระอาจารย์ทิมก็เข้าไปรักษาตัวที่กรุงเทพฯ และก็มรณภาพที่โรงพยาบาลกลางเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2512 คำอธิษฐานนี้ผู้เขียนเชื่อว่าเป็นคำพูดที่ยิ่งใหญ่ เป็นอมตวาจาอย่างแท้จริง ได้ความรู้สึกถึงความผูกพันที่ท่านทั้งสองมีต่อกัน ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมาตลอด ได้ร่วมสร้างตำนานอันมหัศจรรย์ ของหลวงพ่อทวด วัดช้างให้ แผ่ออกไปทั่วทุกสารทิศ พระอาจาร์ทิม ถ้านับจาก พ.ศ.2497-2512 ก็เพียง 15 ปี แต่พระอาจารย์นองท่านใช้เวลาถึง 45 ปี (2497-2542) ปัจจุบัน หลวงพ่อทวดวัดช้างให้ ไม่มีใครไม่รู้จักชื่อเสียงของหลวงพ่อทวดดังไปถึงมาเลเซีย สิงคโปร์ ก็มีผู้คนนับถือไม่น้อยเช่นกัน เรื่องความสัมพันธ์กับพระอาจารย์ทิมนั้น ถ้าจะเปรียบก็เหมือนกับ “ดีนอก” คือมีปัจจัยอื่นช่วยส่งเสริม แต่เรื่องที่จะกล่าวต่อไปนี้ก็คือ “ดีใน” นั่นเอง หมายถึง คุณลักษณะส่วนตัวของพระอาจารย์นอง สองสิ่งต้องคู่กันจึงจะสมบูรณ์ เมื่อดีก็ต้องดีทั้งนอก ดีทั้งใน พระอาจารย์นอง ท่านยึดถือมาตลอดในการช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก โดยไม่เลือกว่าจะเป็นศาสนาใดๆ ยากดีมีจน ท่านจะเป็นผู้ให้มาโดยตลอด ทั้งเรื่องสร้างโรงพยาบาลซื้ออุปกรณ์การแพทย์ สร้างโรงเรียน ทุนการศึกษา สร้างถนนหนทาง บริจาคทรัพย์ให้กับสาธารณกุศลอยู่เป็นประจำ ช่วยสร้างอุโบสถวัดต่างๆ แม้กระทั่งบริจาคเงินให้กับชาวอิสลามที่อยู่แถบ วัดทรายขาว ตลอดจนช่วยเหลือสงเคราะห์เรื่องต่างๆ จนได้รับการยอมรับนับถือจากชาวอิสลามเป็นจำนวนมาก ในเรื่องของการบริจาคทรัพย์ซื้ออุปกรณ์การแพทย์นั้น ท่านบอกว่า สามารถช่วยเหลือชีวิตคนได้มากประโยชน์เกิดขึ้นทันที ด้วยการที่ท่านเข้าออกโรงพยาบาลอยู่บ่อยครั้งท่านจึงเห็นคุณประโยชน์ของ อุปกรณ์การแพทย์ บางครั้งเวลาท่านอารมณ์ดีท่านจะเล่าเรื่องต่างๆ ให้ฟัง ท่านเคยพูดว่า “ตอนกูไปอยู่โรงพยาบาล กูก็เตรียมเงินสดไปด้วยตลอด แล้วถามหมอว่า ขาดอะไรบ้าง หมอบอกว่า ขาดไอ้นั่น ไอ้นี่ กูควักเงินสดให้ไปซื้อเลย ครั้งหลังๆ นี่ พอกูไปนอนโรงพยาบาล ตื่นขึ้นมามองซ้าย มองขวา มีชื่อ พระครูธรรมกิจโกศล ติดเต็มไปหมด” ท่านพูดเสร็จก็หัวเราะร่วนชอบใจใหญ่ ท่านเคยพูดให้ฟังเสมอว่า “คนที่เขาเดือดร้อนมาพึ่งเรา หากไม่เกิดวิสัยแล้ว เราช่วยได้ก็จะช่วย บางคนมาไม่มีเงิน ค่ารถ ค่ากิน เราก็ให้ไปเรื่องบุญ เรื่องทาน ใครทำใครก็ได้ไป บุญยิ่งทำก็ยิ่งได้บุญ ทานยิ่งให้ทานมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งได้กลับมามากยิ่งๆ ขึ้นเป็นการสั่งสมบารมีลดกิเลสลงไป” จริงดั่งท่านว่า “ยิ่งทำก็ยิ่งได้ ยิ่งให้ก็ยิ่งมา” ธรรมะข้อนี้เป็นเรื่องที่เหมาะสำหรับสังคมยุคปัจจุบันอย่างยิ่ง เพราะสังคมเราทุกวันนี้ มีความเห็นแก่ตัวมากขึ้นทุกที ถ้าคนเรารู้จักคำว่าให้ รู้จักคำว่าพอ รู้จักเสียสละ เชื่อว่าสังคมจะดีขึ้นกว่านี้แน่นอน เรื่องทานบารมีเป็นธรรมะที่พระอาจารย์นอง ยึดปฏิบัติบำเพ็ญเพียรมาโดยตลอดชีวิตของท่าน ถือว่าเป็นคุณความดีในตัวท่านเอง แต่สามารถสร้างคุณานุประโยชน์ต่อสังคมได้อย่างมหาศาลท่านจึงเป็นที่รักเคารพ ของมหาชน พระอาจารย์นองท่านดำรงชีวิตอยู่ในสมณเพศด้วยความเรียบง่าย กิน (ฉัน) ง่ายอยู่ง่ายไม่พิถีพิถัน วางเฉยในเรื่องยศฐาบรรดาศักดิ์ ไม่มีความทะยานอยาก ท่านพัฒนาวัดทรายขาว จนมีความเจริญรุดหน้าอย่างเห็นได้ชัดเจน ชั่วระยะเวลาไม่ถึง 10 ปี ท่านสร้างวัดทรายขาว ให้งามสง่ากว่าวัดใดๆ ใน จ.ปัตตานี หรือแม้กระทั่งจังหวัดใกล้เคียง เงินที่นำไปสร้างทั้งหมดกว่าหนึ่งร้อยล้านบาท ล้วนแล้วแต่เป็นเงินที่มาจากการสร้างพระหลวงพ่อทวดทั้งสิ้น ท่านมิได้แตะต้องเงินทำบุญที่มีผู้บริจาคให้วัดแต่อย่างใด ปรากฏว่าหลังจากท่านมรณภาพ คณะกรรมการได้เคลียร์บัญชีทรัพย์สินในบัญชีต่างๆ เหลือเงินสดถึงกว่าสามสิบล้านบาท ทุกบัญชีท่านแยกแยะไว้ชัดเจนว่าเป็นเงินอะไรบ้าง มีที่มาที่ไปอย่างไร หนี้สินใครบ้าง ท่านมีบัญชีทั้งหมด แสดงให้เห็นถึงความเป็นนักบริหารงานที่มีการจัดการที่ดีเยี่ยม.
วัดใจ ! ตอนนี้นอกเวปครึ่งหมื่นแล้วครับ เหรียญบาตรน้ำมนต์ " หลวงปุ่ขาว วัดถ้ำกลองเพล " ปี 2521 เนื้อตะกั่ว มหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัยจัดสร้าง ปลุกเสกพิธีใหญ่ หายากมาก ๆ พิธีใหญ่ หลวงปู่ขาว วัดถ้ำกลองเพล , หลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง , หลวงปู่สิม วัดถ้ำผาปล่อง , หลวงพ่อเมตตาหลวง วัดเทพพิทักษ์ , หลวงพ่ออ่อน วัดไพรธาราม , หลวงพ่อโสภณ วัดศรีไพนแท่น , หลวงพ่อเปลื่อง วัดบางแก้วผดุงธรรม , หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี , หลวงพ่อไพทูรย์ วัดโพธินิมิต , หลวงพ่อมา วัดวิเวกอาศรม , พระอาจารย์ศรี วัดประชาคมวนาราม , หลวงพ่ออ่อน วัดประชานิคม , หลวงพ่ออ่อนสี วัดพระงาม , หลวงพ่อขม วัดป่าบ้านบัวค่อม , พระอาจารย์สาม วัดไตรวิเวกการาม , หลวงปู่เหรียญ วัดป่าอรัญญาบรรพต , หลวงพ่อจ้อย วัดสุวรรณประดิษฐ์ , หลวงพ่อหัวพา วัดป่าพระพนิต , หลวงพ่อพุธ วัดป่าสาละวัน , หลวงพ่อโชติ วัดภุเขาแก้ว , พระครูวินิตวัฒนกุล วัดบ้านนาเจริญ , พระอาจารย์วัน วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม , หลวงพ่อสมชาย วัดเขาสุกิม , หลวงพ่อถิร วัดป่าเลย์ไลย์ , หลวงพ่อสนิท วัดศรีขันธาราม , หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี , พระอาจารย์ผ่อง วัดจักรวรรดิราชาวาส , หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยาณมิตร , หลวงปู่ธูป วัดแคนางเลิ้ง , หลวงพ่อสา วัดราชนัดดาราม , หลวงพ่อช่วน วัดพนมสารคาม , หลวงพ่อบุญมา วัดอุดมมงคลคีรีเขต , พระอาจารย์ไสว วัดป่าสิริสาลวัน , หลวงปู่จันทร์ (อายุ 120 ปี ) วัดบ้านมะขาม , หลวงพ่อแช่ม วดดอนยายหอม ,หลวงพ่อสุด วัดกาหลง , หลวงพ่อเพิ่ม วัดสรรเพชญ์ , อาจารย์นอง วัดทรายขาว , หลวงพ่อฤษีลิงดำ วัดจันทาราม , หลวงพ่อพล วัดหนองคณที , หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง ร่วมปลุกเสก สร้างน้อย หายากมาก ๆ ๆ ๆ ๆ เหรียญมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 7 ซ.ม. ของดีน่าสะสม เปิดวัดใจเสี่ยง ๆ ลุ้น ๆ กันดู กับของหายาก พิธีดี เกจิปลุกเสกเพียบอย่างนี้ สภาพสวย ๆ อย่างนี้ อย่าพลาดกันเชียวนะครับ ปล. ของดีมีน้อยและหายากมากแล้วนะครับ นอกเวปเปิดกันไม่ต่ำกว่า 5,000 - 10,000 หมดแล้วครับ
วัดใจ ! ตอนนี้นอกเวปครึ่งหมื่นแล้วครับ เหรียญบาตรน้ำมนต์ " อาจารย์ฝั้น อาจารโร วัดป่าอุดมสมพร " ปี 2521 เนื้อตะกั่ว มหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัยจัดสร้าง ปลุกเสกพิธีใหญ่ หายากมาก ๆ พิธีใหญ่ หลวงปู่ขาว วัดถ้ำกลองเพล , หลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง , หลวงปู่สิม วัดถ้ำผาปล่อง , หลวงพ่อเมตตาหลวง วัดเทพพิทักษ์ , หลวงพ่ออ่อน วัดไพรธาราม , หลวงพ่อโสภณ วัดศรีไพนแท่น , หลวงพ่อเปลื่อง วัดบางแก้วผดุงธรรม , หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี , หลวงพ่อไพทูรย์ วัดโพธินิมิต , หลวงพ่อมา วัดวิเวกอาศรม , พระอาจารย์ศรี วัดประชาคมวนาราม , หลวงพ่ออ่อน วัดประชานิคม , หลวงพ่ออ่อนสี วัดพระงาม , หลวงพ่อขม วัดป่าบ้านบัวค่อม , พระอาจารย์สาม วัดไตรวิเวกการาม , หลวงปู่เหรียญ วัดป่าอรัญญาบรรพต , หลวงพ่อจ้อย วัดสุวรรณประดิษฐ์ , หลวงพ่อหัวพา วัดป่าพระพนิต , หลวงพ่อพุธ วัดป่าสาละวัน , หลวงพ่อโชติ วัดภุเขาแก้ว , พระครูวินิตวัฒนกุล วัดบ้านนาเจริญ , พระอาจารย์วัน วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม , หลวงพ่อสมชาย วัดเขาสุกิม , หลวงพ่อถิร วัดป่าเลย์ไลย์ , หลวงพ่อสนิท วัดศรีขันธาราม , หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี , พระอาจารย์ผ่อง วัดจักรวรรดิราชาวาส , หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยาณมิตร , หลวงปู่ธูป วัดแคนางเลิ้ง , หลวงพ่อสา วัดราชนัดดาราม , หลวงพ่อช่วน วัดพนมสารคาม , หลวงพ่อบุญมา วัดอุดมมงคลคีรีเขต , พระอาจารย์ไสว วัดป่าสิริสาลวัน , หลวงปู่จันทร์ (อายุ 120 ปี ) วัดบ้านมะขาม , หลวงพ่อแช่ม วดดอนยายหอม ,หลวงพ่อสุด วัดกาหลง , หลวงพ่อเพิ่ม วัดสรรเพชญ์ , อาจารย์นอง วัดทรายขาว , หลวงพ่อฤษีลิงดำ วัดจันทาราม , หลวงพ่อพล วัดหนองคณที , หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง ร่วมปลุกเสก สร้างน้อย หายากมาก ๆ ๆ ๆ ๆ เหรียญมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 7 ซ.ม. ของดีน่าสะสม เปิดวัดใจเสี่ยง ๆ ลุ้น ๆ กันดู กับของหายาก พิธีดี เกจิปลุกเสกเพียบอย่างนี้ สภาพสวย ๆ อย่างนี้ อย่าพลาดกันเชียวนะครับ ปล. ของดีมีน้อยและหายากมากแล้วนะครับ นอกเวปเปิดกันไม่ต่ำกว่า 5,000 - 10,000 หมดแล้วครับ รายการนี้พระจัดส่งตรงตามภาพครับ