บ่วงนาคบาศ ศรของอินทรชิต (เนื้อทองเหลือง) พุทธคุณเด่นในด้าน โชคลาภ ป้องกันภัย หลวงพ่อรักษ์ อนาลโยวัดสุทธาวาส วิปัสสนา จ.อยุธยา ******************************************************** “บ่วงนาคบาศ” นั้น ในตำราโบราณมีความเชื่อถือกันมาตั้งแต่สมัยโบราณกาล เป็นสุดยอดที่มีพุทธคุณเด่นในด้านโชคลาภและป้องกันภัย คือ มีกินไม่หมด ไม่มีอด งูกินหางกัน ต่างตัวก็ต่างกิน ยิงกินก็ยิ่งรัดเข้าหากัน พอชนกันก็คลายออก จึงเรียก “กินไม่หมด” ตามคำโบราณ “นาคบาศ” คือ “ศรของอินทรชิต” ที่ยิงไปเป็นงูรัดศัตรู ซึ่งภายหลังพญานาคราชมีครอบครองไว้ และพรานบุญไปขอยืมจากพญานาค และเนื่องจากพรานบุญเคยช่วยเหลือพญานาคราชไว้ พญาได้ให้สัญญาว่าขอสิ่งใดก็จะทำให้ ทั้งที่เป็นของสำคัญและกลัวพรานบุญไม่คืนให้แต่ก็ให้ไป เพราะต้องรักษาคำพูด พรานบุญจึงสามารถจับกินรีได้ และนำบ่วงบาศนั้นกลับคืนให้ พญานาคราช ในตำราล้านนากล่าวไว้ว่า สามารถชนะทุกอย่าง หรือชนะหมด ใช้ทำน้ำมนต์ เสริมดวง ป้องกันภูตผี และคุณไสย เป็นเมตตามหานิยมแคล้วคลาดปลอดภัย ค้าขายดี มีกินไม่อด มีเสน่ห์ต่อเพศตรงข้าม และเด่นด้านการเสี่ยงโชค วิธีการบูชาแช่ในน้ำสะอาด บูชาด้วยดอกไม้ขาว เอาไว้ต่ำกว่าพระเครื่องและเครื่องราง ทุกวันพระให้เปลี่ยนดอกไม้ หากเนื้อของนาคบาศไม่แกร่งควรแช่น้ำสะอาดเฉพาะวันพระ
พระ ร่วงหลังรางปืน วัดพระสิงห์ ปี 12 พิธีใหญ่มากโดยมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จฯ มาเป็นประธานในพระราชพิธีพุทธาภิเษก ณ.วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร เพื่อทรงเททองเป็นปฐมฤกษ์ ด้วยพระบารมีของล้นเกล้าล้นกระหม่อมทั้งสองพระองค์ โดยมีพิธีพุทธาภิเษกวันที่ 15 มกราคม 2512 รายนามพระเกจิอาจารย์ ที่ร่วมในพิธีพุทธาษิเษก 1. หลวงพ่อคล้าย วัดจันดี นครศรีธรรมราช 2. พระเทพวิสุทธิเมธี(เจีย) วัดพระเชตุพน กทม. 3. พระครูวิริยะกิติ(โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี กทม. 4. พระครูโสภณกัลยาณมิตร(เส่ง) วัดกัลยานิมิตร กทม. 5. พระครูปลัดสงัดคณิสสโร วัดพระเชตุพน กทม. 6. หลวงพ่อก๊ก วัดดอนขมิ้น กาญจนบุรี 7. หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติการาม อยุธยา 8. หลวงพ่อแจ่ม วัดวังแดงเหนือ อยุธยา 9. หลวงพ่อนอ วัดท่าเรือ อยุธยา 10. หลวงพ่อเทียม วัดกษัตรา อยุธยา 11. พระครูพิพัฒน์สิริธร(หลวงพ่อคง) วัดบ้านสวน พัทลุง 12. พระอาจารย์ชินะวโรภิกขุ(หลวงพ่อนำ) วัดดอนศาลา พัทลุง 13. หลวงพ่อเล็ก วัดดินแดง นครปฐม 14. หลวงพ่อพริ้ง วัดโบสถ์ ลพบุรี 15. หลวงพ่อชื่น วัดตำหนักเหนือ นนทบุรี 16. พระครูวิสัยโสภณ(หลวงพ่อทิม) วัดช้างไห้ ปัตตานี นอก จากท่านจะมาร่วมพิธีพุทธาภิเษกครั้งนี้แล้ว ยังได้มอบพระหลวงปู่ทวดเนื้อว่านที่สร้างไว้ตั้งแต่ปี 2506 มอบให้แก่ทางวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร เพื่อมร่วมทำบุญกุศลอีกด้วย 17. หลวงพ่อแดง วัดบางเกาะเทพศักดิ์ สมุทรสงคราม 18. หลวงพ่อจ้วน วัดเขาลูกช้าง เพชรบุรี 19. หลวงพ่อเตียง วัดเขารูปช้าง พิจิตร 20. หลวงพ่อจ้อน วัดเจ็ดริ้ว สมุทรสาคร 21. พระวิบูลย์เมธาจารย์ วัดดอนเจดีย์ สุพรรณบุรี 22. พระอาจารย์สมคิด วัดรังโฆษิตาราม สุพรรณบุรี 23. พระราชมุนี วัดปทุมวนาราม กทม. 24. พระอริยเมธี วัดปทุมวนาราม กทม. 25. พระครูพุทธิวัฒน์ วัดธรรมจักร พิษณุโลก 26. พระครูอภัยจริยานิยม(ตุ้ย) วัดใหม่ พิษณุโลก 27. ครูบาวัง วัดบ้านเด่น ตาก 28. พระราชวิสุทธิ วัดสวนดอก ลำปาง 29. พระอาจารย์สม วัดหัวข่วง ลำปาง 30. พระอาจารย์ชุม วัดเกาะ ลำปาง 31. หลวงพ่อเมือง วัดท่าแหน ลำปาง 32. พระราชปัญญาโสภณ วัดราชนัดดาราม กทม. 33. พระครูพิพัฒน์วิหารกิจ วัดราชนัดดาราม กทม. 34. หลวงพ่อเปี่ยม วัดเทพธิดา กทม. 35. พระพิธีธรรม 4 รูป วัดราชนัดดา กทม. 36. พระพิธีธรรมรามัญ 4 รูป วัดตำหนักเหนือ นนทบุรี 37. พระพิธีธรรม ภาคพายัพ สำนักจังหวัดเชียงใหม่ เชียงใหม่ สำหรับ พิธีพุทธาภิเษกพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์นเรศวรเมืองงาย พระร่วงยืนหลังรางปืนฯลฯ ครั้งนี้ เจ้าพิธีในการประกอบพิธีพุทธาภิเษกได้แก่พระอาจารย์ไสว สุมโน วัดราชนัดดารามวรวิหาร กทม. ปรากฏการณ์ที่ไม่มีใครคาดคิดถึงว่าจะเกิดขึ้น เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อตอนเย็นของวันที่ 14 มกราคม 2513 เวลา 18.00 น. ก่อนที่จะเริ่มพิธีในตอนกลางคืนนั้น หลวงพ่ออั้น แห่งวัดพระญาติการาม จ.พระนครศรีอยุธยา เกิดเป็นลมโดยปัจจุบันทันด่วนในขณะที่พักผ่อนอยู่ในศาลาสมเด็จ ภายในบริเวณวัดพระสิงห์ด้านเหนือต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลนครเชียงใหม่ ครั้นเวลา 19.00 น. ก็ถึงแก่มรณภาพ ณ.โรงพยาบาลนครเชียงใหม่ แพทย์ได้พยายามช่วนจนสุดความสามารถ แต่ก็ไม่สามารถช่วยเหลือชีวิตของหลวงพ่ออั้นไว้ได้ การมรณะภาพของหลวงพ่ออั้น เป็นที่เสียใจอย่างสุดซึ้งต่อคณะกรรมการจัดสร้างวัตถุมงคลครั้งนี้ ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ประธานคณะกรรมการจัดสร้างฯ ได้รีบรุดมาคารวะศพรวมทั้งเจ้าหน้าที่กรรมการอื่นๆ อีกมาก อีกทั้งพระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่ของจังหวัดเชียงใหม่ ต่างก็เศร้าเสียใจต่อการจากไปของหลวงพ่ออั้นเป็นอย่างยิ่ง สำหรับวัตถุมงคลส่วนหนึ่งมอบให้ทหารกับตำรวจที่ปฏิบัติราชการชายแดน และอีกส่วนหนึ่งได้นำไปบรรจุไว้ในพระสถูปเจดีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชด้วย เพิ่ม เติมข้อมูลอีกนิดครับ โดยพิธีการปลุกเสกครั้งนี้หลวงปู่ทิม วัดช้างไห้ ได้ขออัญเชิญบารมีหลวงปู่ทวดมาร่วมปลุกเสกในพิธีในครั้งนี้ด้วย และด้วยพลังบารมีอันศักดิ์สิทธิ์และแกร่งกล้าของเหล่าบรรดาพระเกจิอาจารย์ ทั้งหลายส่งผลให้น้ำมนต์ในบาตรเดือด และหลอดไฟฟ้าในวิหารวัดพระสิงห์ส่องแสงริบหรี่ ๆ ตลอดระยะเวลาการปลุกเสก เป็นที่ประจักษ์แก่ประชาชนที่มาร่วมงานในครั้งนั้น ทำให้คนในท้องที่บางคนเรียกว่ารุ่นน้ำมนต์เดือดก็มีครับ และเมื่อพิธีปลุกเสกแล้วเสร็จ พอทางวัดให้ประชาชนมาบูชา ก็เกิดปรากฎการณ์ฝูงชนมายื้อแย่งเข้ามาบูชากันอย่างล้นหลามจนชนิดที่ว่า เก้าอี้และโต๊ะพังไปหลายตัวเลยก็ว่าได้ครับ สำหรับ พุทธคุณที่กล่าวขานกันก็ส่วนใหญ่จะเน้นทางด้านมหาอำนาจ คงกระพัน มหาอุด หยุดลูกปืน ป้องกันภูตผีและแก้คุณไสยมนต์ดำได้ทั้งปวงครับ
พระร่วงยุทธหัตถี พ.ศ.2513 วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร จ.สุพรรณบุรี เหรียญพระร่วงรุ่นนี้ จัดสร้างขึ้นในวันกองทัพไทย เป็น มหาพุทธาภิเศกโดยมีพระเกจิอาจารย์ดังๆทั่วฟ้าเมืองไทยมาร่วมกันปลุกเสก ในวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2513 วันกองทัพไทย พุทธลักษณะเหรียญพระร่วง ยุทธหัตถีดอนเจดีย์ เป็นรูปพระร่วงยืน ด้านหน้าเหรียญ เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่อง ในอิริยาบถยืนบนแท่น ภายในซุ้มเรือนแก้ว มือขวายกขึ้นระดับหน้า อกแบ มือออก มือซ้ายขนานกับลำตัว แบหงายฝ่ามือออกด้านหน้านับเป็นกิริยาพระประ ทานพร ตัวองค์นูนลอยขึ้นมาเด่นชัดมีความคมชัดของเส้น นับเป็นพุทธศิลป์ที่งดงาม สำหรับที่เรียกว่า “พระร่วงรางปืน” หรือ “พระร่วงหลังรางปืน” เนื่องจากด้านหลังขององค์พระมีลักษณะเป็นร่องลึกยาว ด้านหลังเหรียญ มีลักษณะเป็นร่องลึกยาวตลอดองค์ กลางเหรียญมีวงกลมเล็ก เป็นสัญลักษณ์รูปพระนเรศวรช้างทรง ด้านล่างเขียนว่า “ยุทธหัตถี” พิธีมหาพุทธาภิเศก โดยมีสมเด็จพระวันรัต วัดพระเชตุพนฯ เป็นประธานในพิธีมหาพุทธาภิเษก เป็นประธาน ทรงจุดเทียนชัย และมีพระคณาจารย์ 108 รูปร่วมกันปลุกเสกดังเช่น 1.หลวงพ่อเปลื้อง วัดสุวรรณภูมิ จ.สุพรรณบุรี 2.พระราชธรรมาภรณ์ (เงิน) วัดดอนยายหอม นครปฐม 3.พระราชพุทธิรังษี (เจียม) วัดโสธรวราราม ฉะเชิงเทรา 4.พระรักขิตวันมุนี (ถิร) วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร สุพรรณบุรี 5.พระครูศีลพรหมโสภิต (แพ) วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี 6.พระครูภาวนากิตติคุณ (น้อย) วัดธรรมศาลา นครปฐม 7.พระครูวิริยะกิตติ (โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี ธนบุรี 8.พระครูโสภนกัลยาณวัตร (เส่ง) วัดกัลยาณมิตร ธนบุรี 9.พระครูนนทกิจวิมล (ชื่น) วัดตำหนักเหนือ นนทบุรี 10.พระครูพินิจวิหารการ (เทียม) วัดกษัตราธิราช อยุธยา 11.พระครูอุภัยภาดาทร (ขอม) วัดไผ่โรงวัว สุพรรณบุรี 12.พระอาจารย์ไสว วัดราชนัดดา กรุงเทพ ฯ 13.พระอาจารย์หลวงพ่อหอม วัดซากหมาก ระยอง 14.พระอาจารย์หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง นนทบุรี 15.พระครูสุวรรณวุฒาจารย์ (มุ่ย) วัดดอนไร่ สุพรรณบุรี 16.พระครูวรพรตศีลขันธ์ วัดอรัญญิกาวาส ชลบุรี…ฯลฯ "
หลวงพ่อแพท่านเป็นชาวจังหวัดสิงห์บุรี เกิดในราวปี พ.ศ.2452 ที่บ้านสวนกล้วย ต.ดอนสมอ อ.ท่าช้าง เมื่อบิดามารดาเสียชีวิต จึงย้ายมาอยู่กับบิดามารดาบุญธรรมที่วัดใหม่ อ.ท่าช้าง ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นวัดพิกุลทอง ตอนเด็กเรียนเขียนอ่านที่โรงเรียนประจำหมู่บ้าน แล้วเข้ากรุงเทพฯ เพื่อบวชเป็นสามเณรและศึกษาเล่าเรียนด้านพระปริยัติธรรมกับพระอาจารย์เขมร ที่วัดชนะสงคราม ท่านมีความใส่ใจและขวนขวายในการศึกษา อายุเพียง 14 ปีก็สามารถสอบได้เปรียญ 3 ประโยค เมื่ออายุครบบวชจึงอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ได้รับฉายา "เขมังกโร" แปลว่า ผู้ทำความเกษมแล้ว ท่านเป็นพระภิกษุที่มีจิตมุ่งมั่นที่จะบำเพ็ญตนเพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา ได้ฝากตัวเป็นลูกศิษย์ของพระเกจิอาจารย์ชื่อดังในยุคนั้นหลายๆ รูป อาทิ สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) พระครูภาวนา สำนักวัดโพธิ์ หลวงพ่อสี ผู้ทรงคุณวิเศษนานัปการ ฯลฯ ท่านจึงมีความเชี่ยวชาญและแตกฉานทั้งด้านคันถธุระ วิปัสสนาธุระ รวมทั้งไสยศาสตร์และวิทยาการต่างๆ ต่อมาได้รับมอบหมายจากสมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) ให้เดินทางกลับบ้านเกิดและบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอารามในท้องถิ่นที่ชำรุดทรุด โทรม เพื่อทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้คงอยู่สืบไป ท่านจึงเดินทางกลับไปดูแลวัดพิกุลทอง ท่ามกลางความชื่นชมยินดีของชาวบ้าน ด้วยบารมีและกุศลบุญของท่านและหลวงพ่อสี การบูรณะวัดพิกุลทองสำเร็จลุล่วงในเวลาเพียงปีเศษเท่านั้น นอกจากนี้ ท่านยังพัฒนาท้องถิ่นให้มีความเจริญควบคู่ไปด้วย ชื่อเสียงของท่านเป็นที่ร่ำลือขจรขจาย มีศิษยานุศิษย์และผู้เลื่อมใสศรัทธาเดินทางมากราบนมัสการอย่างเนืองแน่น หลวงพ่อแพท่านมรณภาพในปี พ.ศ.2542 เมื่อหลวงพ่อแพ มีบารมีมากขึ้นผู้คนเริ่มรู้จักตามลำดับ วัดหลายวัดต่างนิมนต์ หลวงพ่อแพท่านเป็นประธานในการก่อสร้างวัด วิหาร ถาวรวัตถุต่างๆมากมายหลายวัด และเมื่อ เดือนมีนาคม พ.ศ. 2493 ทางวัด แถบ อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี ก้อได้นิมนต์ท่านร่วมงาน หลวงพ่อแพเล่าว่า ท่านเพลียมากจึงชวนศิษย์ไปจำวัด ที่หอสวดมนต์ โดยมีคนหลายนอนอยู่ก่อนแล้ว ก่อนนอนท่านเอาผ้าอาบน้ำฝนใส่ไว้ในย่าม จึงรู้สึกว่าย่ามใหญ่ คิดว่าคนที่นอนอยู่คงเข้าใจว่าเป็นเงิน ด้วยความอ่อนเพลียท่านจึงหลับไป พอท่านตื่นจากจำวัดเวลาเช้ามืด พบว่าย่ามหายไปแล้ว จึงแจ้งทางวัดทราบ สำหรับสิ่งของในย่าม มีเพียงของเล็กๆน้อยๆ แต่ของที่สำคัญก็คือ พระสมเด็จวัดระฆังฯ ซึ่งได้รับจากสมบัติของโยมวัดชนะสงคราม จึงเป็นของที่แท้ และทรงคุณค่าทางด้านจิตใจของหลวงพ่อมาก ท่านจึงเสียดายเป็นอย่างมาก ญาติโยมช่วยกันติดตาม ปรากฏว่าได้รับของอื่นคืนครบทุกชิ้น ยกเว้นพระสมเด็จ สอบถามผู้ขโมยได้ความว่าได้นำไปขายให้บุคคลไม่ทราบชื่อ ไม่สามารถติดตามคืนได้หลวงพ่อเล่าว่าท่านเสียดายมาก ระหว่างนั้นต้องไปขอยืมสมเด็จวัดระฆังจาก อาจารย์หยด ซึ่งเคยเป็นเจ้าอาวาส มาติดตัวไปก่อนด้วยความเคารพในบารมีสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต เป็นอย่างยิ่ง ทำให้หลวงพ่อแพ อธิษฐานขอบารมี ณ วัดไชโยวรวิหาร ขอสร้างพระโลหะพิมพ์สมเด็จ พระสมเด็จทองเหลืองขึ้นใช้เอง และแจกจ่ายให้กับผู้เคารพศรัทธา ในปี 2494 ประมาณเดือน 6 โดยนำช่างมาเททองหล่อ ที่ด้านใต้ โบสถ์หลังเก่า ได้รับโลหะจากผู้ที่มาร่วมพิธี นำมาหล่อเช่น เครื่องเงิน ขันลงหิน โต๊กทาน เชียนหมาก ตะบันหมาก สตางค์แดง สตางค์ข้าว สตางค์สิบ ทองเหลือง เป็นจำนวนมาก
เหรียญหลวงปู่ทวด หล่อโบราณ เนื้อสำริด เลข 4269 รุ่น พระธาตุเจดีย์ ๔๙ อาจารย์ทอง วัดสำเภาเชย ปัตตานี
@@@ (วัดใจ)นางพญา วัดนางพญา พิมพ์เข่าโค้ง หลังยันต์ดวง ปี 2514 อ.ถนอมสร้าง จ.พิษณุโลก @@@ เก่าเก็บไม่ผ่านการใช้ คม ชัด ลึก สวยจริง ๆ "รับประกันแท้ตลอดไป รับประกันความพอใจตามกติกา"
หายากมากครับท่าน+ตามตำรามีปรากฎให้สะสมได้สบายใจครับท่าน และ เพิ่มความมั่นใจในความแท้ให้ท่านสบายใจเย็นเจี๊ยบเหมือนอยู่ในตู้เย็นด้วยใบรับรองพระแท้ครับผม ขอเชิญท่านพบกับรูปหล่อหลวงพ่อสงฆ์ วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย 2520 นวโลหะ สภาพสวยกริ๊บไม่เคยสัมผัสมือผู้ใดมาก่อนครับท่าน คำถาม อยากให้อธิบายประวัติของ หลวงพ่อสงฆ์ วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย ครับ ? คำตอบ หลวงพ่อสงฆ์ จนฺทสโร ท่านมีนามเดิมว่า สง เกิดเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2432 ณ บ้านหนองหลวง จังหวัดชุมพร บิดาของท่านคือ นายแดง มารดาชื่อ นางนุ้ย มีอาชีพทำเกษตรกรรม ต่อมาเมื่ออายุ 18 ปี ท่านได้เข้าบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดสวี วัดใกล้บ้าน บวชได้ไม่นานท่านก็ลาสิกขาบทออกมาช่วยบิดามารดาทำนาเกษตรกรรมต่อไป จนกระทั่งในปีพ.ศ. 2452 ขณะที่ท่านมีอายุครบ 20 ปี ท่านได้เข้าอุปสมบทเป็นพระภิกษุ และได้รับความเมตตาจาก หลวงพ่อชื่น เป็นพระอุปัชฌาย์ได้ให้ฉายาว่า จนฺทสโร ภายหลังการอุปสมบท ท่านก็ได้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมในเรื่องพระธรรมวินัย และได้รู้เกี่ยวกับเรื่องชีวิตเพศพรหมจรรย์ พอสำเร็จแล้ว ท่านก็ได้เริ่มศึกษาสนใจเรื่องการนั่งวิปัสนนากรรมฐาน หลวงพ่อท่านได้กราบลาพระอาจารย์เพื่อออกเดินทางธุดงค์ไปหาพระอาจารย์ที่เชี่ยวชาญทางด้านนี้ หลวงพ่อท่านก็ต้องพบเจอกับป่าไพร และในป่านี้ก็อันตรายมาก แต่ท่านก็มีความอดทน สุดท้ายท่านก็รอดพ้นอุปสรรคทั้งหมดได้ ต่อมาหลวงพ่อท่านได้พบเจอพระอาจารย์รอด วัดโต๊ะแซ หรือตอแซ ซึ่งเป็นพระอาจารย์ที่ทรงมีสมาบัติสูงรูปหนึ่ง ท่านได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์กับท่าน และอยู่ปฏิบัติพระกรรมฐาน และสามารถเดินธุดงค์กรรมฐานได้อีกด้วย ด้วยความเพียรพยายาม ท่านก็เดินธุดงค์ไปยังถ้ำ ป่าช้า จงมีประสบการณ์ หลวงปู่ท่านมีประสบการณ์ในการถ่ายทอดความรู้ให้กับลูกศิษย์ลูกหาสายวัดเขาอ้อ หลวงพ่อท่านได้เห็นวัฎสงสาร และเบื่อชีวิตการที่ต้องอยู่ในป่าแบบนี้ ท่านจึงได้ปฏิบัติธรรมกรรมฐาน บำเพ็ญเพียร เดินจงกรม หรือทำสมาธิเพื่อทำให้จิตใจสงบลง เวลาท่านเดินจงกรม ท่านก็กำหนดสติที่มีอยู่ในการกำหนดว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ เมื่อรู้ซึ้งในพระธรรมะแล้ว หลวงพ่อท่านก็นำธรรมะนั้นมาสอนขัดเกลาจิตใจตนเอง และพยายามที่จะหาทางดับทุกข์กิเลสในใจของมนุษย์ ท่านได้เริมทรมานกิเลสในใจของท่านเป็นเวลา 7 ปี ทำให้จิตใจท่านสะอาดบริสุทธิ์ แต่สภาพร่างกายของท่าน ทั้งสบง จีวร ฯลฯ ล้วนขาด หรือตัวท่านเหมือนฤาษีชีไพร ต่อมาชาวบ้านเดินทางตามเสียงนกมาเจอท่าน และนิมนต์ท่านให้มาอยู่ ณ วัดร้างแห่งหนึ่ง ต่อมาท่านได้ออกจาริกจากป่า มายังวัดร้าง มาจำพรรษาพร้อมกับสร้างบูรณะปฏิสังขรณ์วัด จนเจริญรุ่งเรือง และได้รับการขนานนามว่า วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย ในชีวิตของหลวงพ่อท่าน ก็ได้พบเจอเหตุการณ์ต่าง ๆ ซึ่งแสดงถึงความไม่แน่ไม่นอน และได้สอนให้คนทำแต่ความดี ละเว้นความชั่ว ท่านได้มาจำวัดเจ้าฟ้าศาลาลอยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2462 ท่านได้ปฏิบัติกิจของสงฆ์อย่างเคร่งครัด และเป็นพระผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ และมักจะมีชาวบ้าน ญาติโยมมาขอพร หรือขอความช่วยเหลือจากท่าน ต่อมาสังขารก็ไม่เที่ยง ในวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2526 ท่านได้มีสายน้ำเกลือติดอยู่ที่แขนท่าน และท่านก็นอนสลบไปพักหนึ่ง ต่อมาลูกศิษย์ได้เห็นท่านนิ่งไป จึงขึ้นมาดูอาการ ปรากฏว่า ท่านได้ถึงแก่มรณภาพแล้วด้วยอาการสงบ รวมสิริอายุได้ 94 ปี 74 พรรษา รวมระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสนานถึง 64 ปี มีกำหนดพิธีบำเพ็ญกุศลศพในระหว่างวันที่ 2 - 16 สิงหาคม พ.ศ. 2526 ปิดศพวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2526 ขอขอบคุณข้อมูลอันทรงคุณค่ายิ่งจาก http://th.wikipedia.org/ คำถาม พระเครื่องอายุกว่า 35 ปีแล้ว ทำไมยังสวยกริ๊บอยู่ครับ ? คำตอบ อยู่ที่การเก็บรักษาครับผม บางองค์อายุจะร้อยปีแล้วยังกริ๊บอยู่เลย บางองค์อายุปีกว่าหน้าตาไปหมดแล้วก็มีครับ องค์นี้สภาพเหมือนเพิ่งออกจากวัดเมื่อวานนี้ต้องกราบขอบพระคุณเจ้าของเดิมเขาครับท่าน เขาได้มาแล้วก็เก็บอย่างเดียวเลยครับท่าน สภาพถึงได้แชมป์เช่นนี้ครับผม อ่านรายละเอียดพระเครื่องเพิ่มเติมและขอเชิญท่านพบกับมิติใหม่ในการเช่าบูชาพระเครื่องได้ที่ www.nutphit.com พระเครื่องของผมทุกองค์ผมเอาชื่อเสียงและเกียรติยศของผมเป็นประกัน ผมขอรับประกันพระเครื่องของผมด้วย 3 มาตรฐานสูงสุดดังต่อไปนี้ 1.รับประกันพระแท้ตลอดชีพ ไม่แท้ ไม่ดี คืนเงินสดเต็มจำนวนไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานเท่าไหร่ก็ตาม ให้ท่านสามารถนำไปตรวจสอบได้อย่างสบายใจ 2.รับประกันความพอใจในทุกกรณีนานถึง 15 วันหรือครึ่งเดือน (ปกติกติกาเวป 3 วัน แต่ผมรับประกันความพอใจให้ท่านถึง 15 วันหรือครึ่งเดือนให้ท่านสามารถคืนได้หากไม่พอใจในทุกกรณี ไม่มีถามสาเหตุ ไม่มีจุกจิก ไม่มีงอแง ผมคืนเงินสดให้เต็มจำนวน) 3.รับประกันราคาซื้อคืน กรณีที่ท่านมีเหตุจำเป็นรับประกันราคาซื้อคืน 70% ของราคาพระที่ท่านเช่าไปในระยะเวลาไม่เกิน 2 เดือนนับแต่วันที่ท่านเช่าพระ(พระต้องอยู่ในสภาพเดิม) การจัดส่งใช้ระบบ EMS รวดเร็ว ปลอดภัย พร้อมส่ง SMS หมายเลข Track and Trace เข้าโทรศัพท์มือถือท่านทันทีที่จัดส่งเรียบร้อย พ.ท.ณัฐวุฒิ พรหมศร เบอร์โทรศัพท์ 0865476899 0828997536 ไลน์ไอดี legallaw E-mail : [email protected] รับประกันโดย ณัฐ พิษ(ณุโลก) "เช่าพระกับณัฐพิษ ไม่มีพิษแน่นอนครับ" *** 3 สิ่งยืนยันความปลอดภัย 100 % *** 3 สิ่งสำคัญที่ยืนยันความปลอดภัยได้ 100 % ว่าเป็น พ.ท.ณัฐวุฒิ พรหมศร (ณัฐ พิษณุโลก) ได้แก่ 1.เบอร์โทรศัพท์ กระผมใช้ 2 เบอร์เท่านั้นคือ 086-547-6899 และ 082-899-7536 ไลน์ไอดี legallaw เบอร์อื่นไม่ใช้ครับ 2.บัญชีธนาคาร กระผมใช้บัญชีเดียวคือบัญชีออมทรัพย์ ธนาคารกสิกรไทย ชื่อบัญชี ณัฐวุฒิ พรหมศร หมายเลขบัญชี 008-230-2338 ไม่มีบัญชีอื่นครับ 3.พระที่แบ่งให้บูชา กระผมจะลงรูปพระให้ท่านเห็นทุกองค์(มีพระจึงแบ่งให้เช่า) เท่านั้น ไม่เคยเข้าไปรับเสนอในการรับจัดหาพระใด ๆ ทั้งสิ้นครับ ทำไม ? ต้องมาบอกกล่าวเล่าความกันเช่นนี้ ปัจจุบันโลกออนไลน์นั้นอันตรายมากครับมีการโจรกรรมทางอินเตอร์เน็ตมากขึ้นเรื่อย ๆ สิ่งที่เป็นเครื่องป้องกันพวกเราชาวสุจริตชนได้ดีที่สุดก็คือความระมัดระวังครับผม กระผมจึงเน้น 3 สิ่งสำคัญที่ยืนยันความเป็นตัวจริงเสียงจริงของ พ.ท.ณัฐวุฒิ พรหมศร (ณัฐ พิษณุโลก) ในโลกออนไลน์ครับ ถ้าผิดไปจากนี้ไม่ใช่ผมครับ ที่อยู่ปัจจุบัน สำนักงานอัยการทหาร อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (แจ้งวัฒนะ) เมืองทองธานี ต.บ้านใหม่ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120 เบอร์โทรศัพท์ 086-547-6899 ไลน์ไอดี legallaw ขอขอบพระคุณมากครับผม