khotchanin

ข้อมูลสมาชิก – khotchanin

เริ่มเป็นสมาชิก: April 29, 2015 09:15:36 , สถานะ: ปกติ , ตั้งประมูล: 0 รายการ , รายการที่ยังไม่ปิด: 0 รายการ , คำชม: 266 รายการ , คำติ: 1 รายการ

ประวัติ Feedback

อ้างอิงถึงรายการ : /auction/พระเนื้อดิน/7352084


Er767460229th


เขียนโดย :thomas_fc เจ้าของรายการ April 08, 2017 02:18:41


+ + รองแชมป์ สุดยอดแห่งตะกรุด + + ตะกรุดชุด 12 ดอก หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก ตัวจริงเสียงจริงครับ เก่าถึงยุคครับ รับมาจากสายตรง ของหลวงพ่อจงเลยครับ เป็นที่ทราบกันดีครับว่าตะกรุดหลวงพ่อจงนับเป็นสุดยอดไม่แพ้ใคร ชุดนี้มีใบประกาศรองแชมป์ จากงานธรรมศาสตร์รังสิต 27 กค 57 ให้ด้วยครับ สุดแห่งความหายากครับ ของแท้ๆจะมีหมุนเวียนในตลาดน้อยมากๆ แล้วที่หายากยิ่งไปกว่านั้นคือ การที่ตะกรุดจะอยู่ครบชุดทั้ง 12 ดอกครับ เพราะตะกรุดท่านส่วนมากจะชำรุดไม่ครบทั้ง 12 ดอก เพราะคนโบราณที่ได้มามักจะนำมาแบ่งออกเป็นคู่ๆ แบ่งขายก็มี แบ่งให้คนอื่นก็มี บางชุดมีแค่ 6 ดอก บางชุดมี 8 ดอก ฯลฯ   ตะกรุดชุด 12 ดอก หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก แต่ละดอกของตะกรุดที่ท่านลงนั้นท่านจะลงยันต์ที่แตกต่างกันออกไปไม่เหมือนกัน อาทิเช่นดอกที่ ๑.เรียกว่า ยั้นต์เกราะเพ็ชร์ ๒.พรหมสี่หน้า ๓.กระทู้เจ็ดแบก ๔.คงกระพันธ์ ๕.กันเขี้ยวงา ๖.มหาอุด ๗.กันกระทำ ๘.คาดแคล้ว ๙.เมตตา ๑๐.มหานิยม ๑๑.นะจังงัง ๑๒.มหารูด สำหรับวิธีใช้ตะกรุดมหารูดนั้นดอกที่ ๑๑. และ ๑๒.คือคู่หางของเชือก เวลาถ้าเราจะสู้ให้ไว้ข้างหน้า ถ้าหนี้ให้อยู่ข้างหลังถ้าเข้าหาเจ้านายให้อยู่ข้างขวา ต้นเชือกนับจากทางบ่วงของเชือก นับจากเลขที่ ๑. และ ๒. ครับ(อ้างอิงจากใบฝอยที่แนบมากับตะกรุดของหลวงพ่อจงครับ) กำกับพระคาถามีคุณต่างกันไป ตั้งแต่กันคุณไสย กันผี กันกระสุน ไปจนถึงกันอสุนีฟาด (ฟ้าผ่า) สร้างเพื่อให้เป็นขวัญกำลังใจแก่ทหารที่ไปร่วมรบในสงครามอินโดจีน จนทหารไทยได้ฉายาจากชาวต่างชาติว่า ?กองพันปีศาจ? หรือ ?ทหารผี? เนื่องจากเกิดอภินิหารหลายต่อหลายครั้งที่ทหารไทยถูกยิงแต่กระสุนไม่ระคายผิว ล้มแล้วลุกขึ้นมาต่อสู้ได้อีก ตะกรุดชุดของท่านมีทำเก๊มาหลายฝีมือ และมักทำมาแยกขายเป็นดอกๆ     วันนี้มีของดีมาฝากเพื่อนๆสมาชิกครับ ราคาแบ่งปันสุดๆครับ ผมให้แดงแบบขาดทุนยับๆไปเลยครับ   พิจารณาก่อนนะครับ ชอบค่อยเคาะ กรุณาอย่าเคาะเล่นนะครับ


เขียนโดย :Tawanburapha เจ้าของรายการ December 30, 2016 17:20:04


    ประวัติ หลวงพ่อจ้อย วัดศรีอุทุมพร ประวัติ หลวงพ่อจ้อย วัดศรีอุทุมพร หลวงพ่อจ้อย นามเดิม จ้อย (ภาษาลาวกะลา แปลว่า ผอม)  ฉายา จนฺทสุวณฺโณ นามสกุล  ปานสีเทา วัดศรีอุทุมพร หมู่ที่ ๙ ตำบลหนองกรด อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครสวรรค์  ชาติภูมิ     ตำบลพรวงสองนาง อำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี  ชาติกาล วันอังคารที่ ๘ เมษายน ๒๔๕๖ (ตรงกับวันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๕ ปีฉลู) เห็นบุตรคนที่สอง ของนายแหยม นางบุญ ปานสีทา มีพี่น้องด้วยกัน ๖ คน เป็นชาย ๓ คน หญิง ๓ คน คือ ๑.นางทองดี (ถึงแก่กรรมแล้ว) ๒.พระครูจ้อย หรือ หลวงพ่อจ้อย จนฺทสุวณฺโณ ๓.พระภิกษุสิงห์ (มรณภาพแล้ว) ๔.นางแต๋ว (ถึงแก่กรรมแล้ว) ๕.นางหนู เหล่าเขตกิจ (ถึงแก่กรรมแล้ว) ๖.พระภิกษุสุเทพ (มรณภาพแล้ว)  อุปสมบท          เมื่อวันที่ ๗ พฤษภาคม ๒๔๗๖ ที่วัดดอนหวาย ตำบลพรวงสองนาง อำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี โดยมีพระปลัดตุ้ยเป้นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์บุญธรรมเป็น พระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์บุญตา เป็นพระอนุสาวนาจารย์  วิทยฐานะ ๑. พ.ศ. ๒๔๗o จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ที่โรงเรียนวัดดอนหวาย อำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี ๒. พ.ศ. ๒๔๘o สอบนักธรรมชั้นตรีได้ ๓. พ.ศ. ๒๔๘๑ สอบนักธรรมชั้นโทได้ ๔. การศึกษาพิเศษ หลักสูตรพระอภิธรรม และ วิปัสสนากรรมฐาน จากวัดระฆังโฆษิตาราม และ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพมหานคร ๕. มีความรู้ความชำนาญในการเผยแพรีธรรมแก่พุธบริษัท และพระสงฆ์ที่ไปอยู่ปริวาสเป็นอย่างดี  ๖. มีความรู้ความชำนาญในการก่อสร้างทุกชนิด          เมื่อหลวงพ่อจ้อย อุปสมบทแล้วได้อยู่จำพรรษาเพื่อศึกษา พระปริยัติธรรมที่วัดดอนม่วง ตำบลวังม้า อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ จำพรรษาอยู่ ๕ พรรษา แล้วไปศึกษาพระอภิธรรม และปวิปัสสนากรรมฐานที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กับพระอาจารย์เจชินซึ่งมาจากประเทศพม่า และยังไปศึกษาวิปัสสนากรรมฐาน กับท่านเจ้าคุณภาวนาภิราม (สุกปวโร) และหลวงปู่นาค ที่วัดระฆังโฆสิตาราม ซึ่งเป็นสายเดียวกันกับสมเด็จ พระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) โดยมีหลวงพ่อพิมพา วัดหนองตางู ก็ไปศึกษาที่นั่นด้วย ใช้เวลาศึกษาอยู่ที่วัดระฆังโฆสิตารามรวมหลายปี จึได้กลับมาจำพรรษาและพัฒนาวัดศรีอุทุมพร          หลังจากออกพรรษาแล้ว หลวงพ่อจ้อย นิยมการออกธุดงค์รุกมูล (อยู่โคนต้นไม้เป็นวัตร) ไปยังภูมิภาคต่างๆ เพื่อแสวงหาความวิเวก ทดสอบความทดทน เพื่อเผาผลาญกิเลสตัณหา อันได้แก่ ความโลภ ความโกรธ และความหลง และเพื่อศึกษาสัจจธรรมอันเป็นหนทาง แห่งความหลุดพ้น ตลอดจน วิชาอาคมจากครูบาอาจารย์ ต่างๆ ที่เชี่ยวชาญและมีชื่อเสียงโด่งดัง หลวงพ่อจ้อย ได้ขึ้นไปตั่งต้นเดินธุดงค์ที่ภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ลงมาจนถึงจังหวัดนครปฐม และศึกษาวิชาอาคมกับหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบกับหลวงพ่อฉาบวัดคลองจัน อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท หลวงพ่อเงินวัดดอนยายหอม อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครปฐม ได้แลกเปลี่ยนวิชาความรู้ต่างๆ แก่กัน และหลวงพ่อยังได้มีโอกาศไปศึกษาวิชาอาคม กับหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งเป็นเกจิอาจารย์ ชื่อดังในสมัยนั้น จากนันได้ศึกษาอักขระขอมลาวจนมีความรู้แตกฉานเป็นอย่างดี             ในวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕o หลวงพ่อจ้อย จนฺทสุวณฺโณ เกิดอาการอาพาธอย่าง ที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ที่ร้านข้าวสาร " บุญมาพานิช" ซึ่งเป็นร้านของหลานสาวของ หลวงพ่อจ้อย พระใบฏีกาสมศักดิ์ ปญฺญาธโร รองเจ้าอาวาส วัดศรีอุทุมพร พร้อมด้วยลูกหลาน ศิษยานุศิษย์ได้นำพาหลวงพ่อจ้อย จนฺทสุวณฺโณ โดยมีรถจากโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์มารับ อาจากในระหว่างเข้ารับการรักษานั้น มีแต่ทรงกับทรุดหรือ บางครั้งดูเหมือนว่าจะดีขึ้น ลูกหลานและศิษยานุศิษย์เกิดความสงสารเห็น ท่านอยากจะกลับวัด             ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕o ลูกหลานและศิษยานุศิษย์ จึงได้ขออนุญาตนายแพทย์ผู้รักษา นำหลวงพ่อจ้อย จนฺทสุวณฺโณ กลับวัดศรีอุทุมพรโดยมีรถจากโรงพยาบาลมาส่ง ถึงอาคารอเนกประสงค์วัดศรีอุทุมพร          ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕o ในเช้าวันนี้เองหลวงพ่อจ้อย ให้สัญญาณว่า จะให้พาไปจังหวัดสมุทรปราการ เพื่อไปพักผ่อนที่บ้านศิษยานุศิษย์ ผู้หนึ่ง แต่เมื่อถึงที่นั่นปรากฏว่าอาการยิ่งทรุดลงมาก ลูกหลานศิษยานุศิษย์ เลยต้องนำ หลวงพ่อจ้อย เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเปลาโลวชิรปราการ ระหว่างการรักษาที่แห่งนี้ อาการก็มีทั้งดีขึ้นบ้าง ทรุดลงบ้างสลับกันอยู่อย่างนี้จนกระทั่งนายแพทย์ผู้ให้การรักษาให้ความเห้นกับลูกหลานและ ศิษยานุศิษย์ว่า ควรย้ายหลวงพ่อจ้อย จนฺทสุวณฺโณ ไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลเปาโล เมโมเรียล สะพานควาย กทม.          ๑๓ มีนาคม ๒๕๕o หลวงพ่อจ้อย ได้รับการดูแลจากคณะแพทย์ แห่งนี้ด้วยดีตลอดมา อาการน่าเป็นห่วงและต่อจากนั้นในความเห้นของแพทย์ ลูกหลาน และศิษยานุศิษย์ ตกลงจะพา หลวงพ่อจ้อย จนฺทสุวณฺโณ กลับวัด ตามความประสงค์ของ หลวงพ่อจ้อย "ซึ่งจะเหมือนคนชราทั่วไปที่กล่าวว่าถ้าจะตายขอให้ไปตายที่บ้านดีกว่า" ในเวลาเช้าวันที่ ๑๖ เมษายน ๒๕๕o แพทย์ได้นำพา หลวงพ่อจ้ยอ จนฺทสุวณฺโณ กลับวัดศรีอุทุมพรโดยรถฉุกเฉินของโรงพยาบาล          เวลาประมาณ ๑๑.o๙ น. รถฉุกเฉินของโรงพยาบาลคันนั้นได้นำหลวงพ่อจ้อย จนฺทสุวณฺโณ ถึง วัดศรีอุทุมพร เครื่องช่วยกระตุ้นส่วนต่างๆ หยุดทำงานทันที ท้องฟ้าสีอันงดงามเป้นที่แปลกตาแปลกใจของผู้คนจำนวนมากที่ทราบข่าวแล้วมารอรับอยู่ที่วัด          หลวงพ่อจ้อย จนฺทสุวณฺโณ ได้จากลูกหลาน ศิษยานุศิษย์ และประชาชนที่เคารพนับถือ ไป ณ. วันเวลานั้นอย่างไม่มีวันกลับมาอีกแล้ว "ใดใดในโลกล้วน            อนิจจัง    คงแต่บาปบุญยัง           เที่ยงแท้         คือเงาติดตัวตรัง            ตรึงแน่นอยู่นา        ตามแต่บาปบุญแล้ว        ก่อเกื้อ รักษา"    


เขียนโดย :The Big เจ้าของรายการ December 14, 2016 08:23:45

อ้างอิงถึงรายการ : /auction/เครื่องราง-ล็อกเก็ต/6798370


พญาเต่าเรือนพร้อมถาดหิน หลวงพ่อสนิท วัดลำบัวลอย จ.นครนายก ขนาดบูชา เต่า 3 นิ้วตัวโต ถาด 5 นิ้ว หายาก สวยสมบูรณ์มาก ผิวหิ้งเดิมๆ จารมือรอบ ไม่ต้องกลัวปลอม คาถาบูชาพญาเต่าเรือน ...นาสังสิโม สังสิโมนา สิโมนาสัง โมนาสังสิ // พุทธคุณ : เด่นทางด้านโชคลาภ ป้องกันสิ่งไม่ดีไม่ให้เข้ามาถึงตัว เเละบริเวณบ้าน เสริมบารมี เพิ่มความร่มเย็นเป็นสุข บูชาเเล้ว ขอบ่อยๆ จะสมหวัง พญาเต่าเรือน หลวงพ่อ สนิท วัดลำบัวลอย จัดเป็นเครื่องรางที่นักสะสม เครื่อง ราง หรือ ผู้ที่บูชา ต่างเสาะหา และห่วงแหนกันมาก มาแต่ช้านาน และเป็นเครื่องรางที่ผมบูชาเชื่อแบบสนิทใจ พญาเต่าเรือน แท้จริงแล้ว คือ ชาติหนึ่งของ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ใน 500ชาติซึ่ง ในชาติ ที่เกิด เป็น พญาเต่าเรือน อันแท้จริงแล้ว เป็นปริศณาธรรม ทีีแฝงด้วยคำสอน ลึกซึ้ง นัยสำคัญ คือ การเสียสละ ความมีน้ำใจอันประเสริฐและเป็นการให้ที่ยิ่งใหญ่ เข้าใจว่าเป็นที่มาของการทำเครื่องรางพญาเต่าเรือนตั้งแต่อดีตกาลจน ถึง ปัจจุบัน อนึ่งเพื่อเทิดทูนละระลึกในความดีงามขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า และคงซึ่งความขลังแบบมีมนต์เสน่ห์ ไม่เสื่อมคลาย พญาเต่าเรือนหลวงพ่อ สนิท วัด ลำบัวลอย - เป็นการสร้างเครื่องรางที่มีความคลาสสิค เป็นแบบฉบับ ของท่านเองถ้า มองในมุมของศิลปะ เข้าขั้นระดับmasterpice เลยทีเดียว กรรมวิธีการสร้างมีทั้ง - หิน - ไม้ - หล่อโลหะ ขนาดของพญาเต่าเรือน - บูชา - เล็กเท่าเหรียญบาท - แบบ ห้อยคอ - แบบตลับ ในที่นี้จะขอเอากรรมวิธีการสร้างแบบ หิน เพราะ จะเป็นการสร้างในยุคแรกๆของท่าน พญาเต่าเรือน จะใช้ หินแกะ แต่ละศิลปของการแกะจะมีหลายแบบแต่แยกจำแนก ได้ 2 ลักษณะใหญ่ คือ - แบบ ยืน - แบบ หุบขา การแกะแต่ละตัวของพญาเต่าเรือน ศิลปของงานแกะจะได้อารมณ์ ของธรรมชาติของเต่า จะมีความคลาสสิค และมีเสน่ห์ ไม่เหมือนกันทุกองค์จนถึงสีของหินที่ทำการแกะ ทำให้อารมณ์และความรู้สึกในการดูแค่ละองค์จะแตกต่างกันไป ส่วนจะดูความเก่าของหิน อย่าไปยึดตึด เพราะกว่าจะเป็นชั้นหินหรือ หินแต่ละก้อน ก็กินเวลา หลายล้านปี ครับ ให้จดจำงานศิลปขออารมณ์ของงานแกะให้ดี หิน ที่ มาแกะเต่าของหลวงพ่อ สนิท วัด ลำบัวลอย จะ ทำมาจาก แร่ ดิกไคต์หรือภาษาชาวบ้าน จะเรียก ว่า หินสบู่ เพราะ วัดลำบัวลอย อยู่ในเขตจังหวันครนายก ซึ่งในเขตจังหวัดนี้ ได้มีการแปร รูปหิน เป็นงานฝีมือพื้นบ้านมาช้านาน และเป็นทรัยากรที่มีมากในจังหวัดลักษณะ ของ หิน มีหลายเฉด สี และหลายสีสัน การลงอักขระยันต์ ของพญาเต่าเรือน หลวงพ่อ สนิท วัด ลำบัวลอย มีหลายรูปแบบ แล้วแต่ท่านจะลงกลยันต์ ไว้แบบไหน แต่ที่ได้พบเจอและเห็นบ่อยดังนี้ - หัวใจพญาเต่าเรือน - หัวใจสิวลี - หัวใจพระเจ้า 16 - หัวใจนวหรคุณ การบูชา จะมีถาดวาง และมีช่องใส่น้ำ ให้วางลงบนแท่น แล้วหล่อน้ำไว้ ส่วนจะตั้งบูชาตรงไหน แล้วแต่ผู้บูชา เห็นสมควร วิธี บูชาเต่าเรือนแบบแรก พญาเต่าเรือนนี้ให้จัดบูชาแบบพระบัวเข็ม โดยมีอาสนะที่ขังน้ำได้ให้จัดวางลงเอา้ำใส่ให้ท่วมแท่น ก่อนที่จะเอาเต่าขึ้นแท่น จงตั้งจิตอธิฐานตามความปรารถนาที่ผู้บูชาจะปรารถนาเอา การบูชาพญาเต่าเรือนใช่ว่าจะได้รับผลเสียทุกคนนั้นหามิได้ ขึ้นอยู่กับที่ผู้บูชาจะปฏิบัติ ด้วยความศัมธา วัตภุมงคลทุกอย่าง ไม่ว่าจะะเป็นของเกจิ อาจารย์ใดๆ ก็ตาม ถ้าเราขาดการปฏิบัติบูชา วัตถุมงคลนั้นก็ไม่สามารถอำนวยผล ให้สำหรับพญาเต่าเรือนของวัดลำบัวลอยนี้ ถ้าผู้ใดปรารถนาเพื่อเป็นศิริมงคล เกิดมูลพูนผลลาภยศ และความคุ้มครองป้องกันให้บูชาพญาเต่าเรือน ทุกวัน เช้า-เย็น ก่อนที่จะภาวนาคาถาให้ตั้งจิตปรารถนา ให้แจ้งความประสงค์เสียก่อน แล้วให้ภาวนาด้วยพระคาถา นี้ปลุกนาสังสิโม สังสิโมนา สิโมนาสัง โมนาสังสิ3 คาบ หรือ 7 คาบ และถ้าใช้น้ำมันหอมประพรมเต่าทุกวันยิ่งดี สำหรับท่านที่ชอบความสะดวก ใช้แบบแรก พิธีบูชาตามตำราโดยตรงก่อนที่จะบูชาพญาเต่าเรือน ให้จัดธูปเทียนบูชาทำวัตรก่อน เมื่อทำวัตรพระเรียบร้อย ตั้ง นะโม 3 จบ แล้วจึงกล่าว คำอาราธนาดังนี้ อุกาสะ อุกาสะ ข้าพระพุทธเจ้าจะขออาราธนา เอาอภิญญา ปาฏิหาริย์ ลาภ สักการะทุกสิ่งทุกอย่างของพญาเต่าเรือน ขอจงมาบังเกิดแก่ (.................) แห่งข้าพเจ้า ขอเดชะคุณพระพุทธเจ้า คุณพระธรรมเจ้า คุณพระสังฆเจ้าคุณ อริยาเจ้าทั้งแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ คุณพระพุทธเจ้าอันพระองค์ได้ทรงสร้างพระบารมี ได้เสวยพระชาติเป็นพญาเต่าเรือน พระองค์ทรงศักดาอานุภาพด้วยพระเมตตาธรรม ข้าพเจ้าจึงขอน้อมนำ(..............) สักการะบูชาเพื่อหวังเป็นเศรษฐีมั่งมีเงินตรา (ข้าเป็น............................) ขอให้ลาภผลอนันต์ ขอให้คุ้มครองป้องกันรักษาเพทภัยนานา ขออย่าพบพาน ศัตรูจงพินาศ ข้าทาษบริวาณให้ซื่อตรง จงได้เมตตาด้วยเดชะ พระคาถา พญาเต่าเรือน นาสังสิโม สังสิโมนา สิโมนาสัง โมนาสังสิ นะเลื่อนเปื้อน โมฟั่นเฟือน พุทธงวยงง ธาหลงใหลยะสารพัด จังงังพรามณะ จิตติบุรุษ สะหญิงชายทั้งหลายเอ๋ย ทั้งแผ่นดินจงมานิมานิจิตตัง มะมะสัพเพชะนา พะหูชนา สัพเพทิสาสะมาคะตา เอหิ เอหิ กาล โภชนา วิกาลโภชนาอาคัดฉัยยะ อาคะฉาหิ ปิยังมะมา สะมาคะตัง กราบหนหนึ่ง นะโมพุทธายะ นิจจะนังราพัง นะชาลิติ โหมิทิพพระคาุถังนิจถิตัง กราบหนหนึ่ง มะอะอุ เมตตาจะมะหาราชา สัพพะเสน่หาจะปูชิตัง สุขังจะชาหาราพัง โกธังวินาศสันตุ สัพเพเสน่หา จะปูชิโต กราบหนหนึ่ง ให้บูชาทุกวัน ถ้าบูชาได้ตามแบบดังกล่าว จะมีความสุขความเจริญ จะเกิดลาภมูลพูนผลยิ่งขึ้น จะทำมาค้าขายจะไม่มีความยากจนเลย ไม่มีอด ไม่มีอยากยิ่งตอนกลางคืน ก่อนนอน ให้ทำการอาราธราบูชาแล้วให้นั่งบริกรรมด้วยพระคาุถา ถ้ากิจการไม่ค่อยดี หรือมีเหตุการณ์ต่างๆ ถ้าจะแก้ไข ก็ให้นั่งบริกรรมคาถาพญาเต่าเรือน ทุก วัด จะมีความสุข ความเจริญยิ่ง อนึ่ง การใช้เครื่องราง ต้องมาพร้อมกับความเชื่อมั่นและ ความศรัทธา การปฏิบัติตัว ของผู้ชา คึดดี ได้ ดี คึด อกุลศล ของขลังก็ช่วยไม่ได้ ถ้าขาดสิ่งเหล่านี้ไซร้ ก็ไม่ต่างอะไรกับการกราบไหว้ก้อนหิน


เขียนโดย :tammanoon เจ้าของรายการ September 06, 2016 11:15:03


พิมพ์สี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด หลังจาร สภาพสวยมาก .... รุ่นนี้ดีทุกด้านไม่ว่า เมตตามหานิยม แคล้วคลาดปลอดภัย มหาอุตม์คงกระพัน กันเขี้ยวงา และที่เด่นสุดคือหนุนดวงให้สูงส่ง เพราะพระพรหมเป็นผู้ลิขิตชีวิตมนุษย์ พุทธคุณดีรอบด้านจริง ๆ หลวงปู่สีห์ ท่านเคยกล่าวว่า ใครบูชาพระพรหม จะไม่มีวันตกอับ เพราะท่านจะเป็นที่รักของทั้งเทวดา และมวลมนุษย์


เขียนโดย :มังกรดำ เจ้าของรายการ July 05, 2016 14:55:12


รับประกันพระแท้ตามกฎ สวยมาก มีคราบกรุให้เห็น องค์นี้ได้ส่งเข้างานประกวดพระศูนย์ราชการ เมื่อ 24/01/59 ผ่านงานประกวดเรียบร้อย แต่ไม่ติดรางวัล สู้เขาไม่ได้ องค์นี้น่าบูชามาก.. ขุนแผนเคลือบกรุวัดอัมพวัน ปัจจุบัน ยังไม่ทราบจำนวนที่แน่นอนในการแตกกรุ สันนิษฐานว่ามีหลักหลายพันองค์ แต่ ที่ค่อนข้างชัดเจน คือ มีหลายพิมพ์ มีทั้งพิมพ์ที่เหมือนกับวัดใหญ่ชัยมงคล และ พิมพ์อื่นๆ สกุลช่าง และ รูปแบบน้ำเคลือบ เป็นแบบของอยุธยาแท้ การแตกลายของน้ำเคลือบ ใกล้เคียง หรือ เหมือนกับของวัดใหญ่ชัยมงคลค่อนข้างมาก อายุของการสร้าง น่าจะใกล้เคียง แต่ สันนิษฐานว่า ไม่น่าจะใช่ยุคเดียวกัน แต่ อายุการสร้างอย่างน้อย 200 ปีขึ้นไป เปรียบเทียบเอาจากธรรมชาติของการแตกลายของน้ำเคลือบ ซึ่งเป็นไปได้ว่าน่าจะสร้างในยุคอยุธยาตอนปลาย พระกรุชุดนี้ ได้รับการรับรองจากทางสมาคมพระเครื่องพระบูชาไทย ว่าเป็นพระกรุแท้ และ มีอายุไม่ใช่พระสร้างใหม่ และ มีบรรจุในรายการประกวดของทางสมาคม ซึ่งปัจจุบัน กระจายไปทุกภูมิภาคต่างๆแล้ว ไม่ว่าจะเป็นที่ ชลบุรี เชียงราย สุโขทัย และ อีกเร็วๆนี้ที่ ขอนแก่น นครปฐม เชียงใหม่ สุพรรณบุรี อ่างทอง และ ลพบุร องค์นี้สวยมากครับ พิมพ์ใหญ่ล่ำ เส้นสาย อ่อนช้อย งดงาม เก็บองค์คัดสวยไว้ครับ ตามศูนย์ตามห้างใหญ่ หากพระติดรางวัลราคาทะลุ แสน ทุกองค์นะครับ 


เขียนโดย :มังกรดำ เจ้าของรายการ July 03, 2016 15:50:04

อ้างอิงถึงรายการ : /auction/พระชุด-จ.นครปฐม/6537228


พระราหูอมจันทร์ กะลาตาเดียว หลวงพ่อปิ่น(ลูกศิษย์หลวงพ่อน้อย) วัดศีรษะทอง พุทธคุณพระราหูอมจันทร์ กะลาตาเดียว เชื่อกันว่า ช่วยป้องกันภัยต่างๆ เมื่อยามดวงชะตาตก กะลาพระราหู หลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทองจะช่วยแก้ ช่วยพยุงให้ดวงชะตาดีขึ้นดังเดิม พระราหูอมจันทร์ กะลาตาเดียว แบบที่เป็นมาตรฐาน หลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทอง วัดศีรษะทอง ตั้งอยู่ที่ ต.ห้วยตะโก อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม สร้างจากการร่วมแรงร่วมใจของชาวบ้านซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวลาวที่อพยพมาจาก เวียงจันทน์ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ขณะที่มีการขุดดินสำหรับสร้างวัด ได้พบเศียรพระทองจมอยู่ในดิน จึงถือเป็นนิมิตที่ดีเลยตั้งชื่อวัดนี้ว่า “วัดหัวทอง” ตั้งแต่นั้นมาเจ้าอาวาสองค์แรกคือ หลวงพ่อไต เป็นชาวลาวที่มาจากเวียงจันทน์ จากวัดเล็กๆ กลายมาเป็นวัดใหญ่ จนมาถึงสมัยหลวงพ่อน้อย คันธโชโต นาสกุลเดิม คือ นาวารัตน์ ซึ่งได้สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่วัดและหมู่บ้านเป็นอย่างมาก ขณะเดียวกันท่านก็นำพระเกจิดังเจ้าตำรับพระราหูอมจันทร์ เครื่องรางที่ให้คุณในด้านโชคลาภ การพ้นจากเคราะห์ต่างๆ และเสริมดวงชะตา ชาวลาวตำบลศีรษะทองได้แกะพระราหู จากกะลาตาเดียวกันมาตั้งแต่ครั้ง อพยพแล้ว เมื่อชาวบ้านสร้างวัดจนสำเร็จ ชาวบ้านทั้งหมดจึงพร้อมใจกันนิมนต์หลวงพ่อไตร ซึ่งเป็นชาวลาวที่อพยพมาด้วยกัน ขึ้นเป็นเจ้าอาวาสปกครองวัดเป็นรูปแรก ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีวิชาคาถาอาคม และการทำเครื่องรางของขลังได้แก่กล้ามาก โดยเฉพาะการสร้างราหูอมจันทร์ แกะจากกะลามะพร้าวที่มีตาเดียว พระราหูอมจันทร์ กะลาตาเดียวกรรมวิธีการแกะเป็นตำราที่ท่านนำมาจากเวียงจันทน์สมัยอพยพ จุดมุ่งหมายเพื่อให้ชาวบ้านได้บูชา หรืออาราธนาพกติดตัวตามความเชื่อทางศาสนาและไสยศาสตร์ การแกะพระราหู จากกะลาเป็น จุดเริ่มต้น ของงานศิลปะพื้นบ้าน โดยการฝึกฝนการแกะกันในหมู่บ้าน พระราหูอมจันทร์ กะลาตาเดียวมีการพัฒนารูปแบบให้สวยงาม สุดแล้วแต่ความสามารถของช่างแต่ละคน จะออกแบบลวดลาย การแกะจึงมักไม่มีรูปแบบที่เป็นมาตรฐาน ต่อมาศิลปะวิชาการแกะกะลาพระราหู นี้ได้ตกทอดสืบต่อกัน โดยเฉพาะเจ้าอาวาสวัดศีรษะทอง ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือมนต์พิธีต่างๆ อันดับเจ้าอาวาสต่อเนื่องกันมา หลังจากหลวงพ่อไตร วัดศีรษะทองเป็นเจ้าอาวาส คือ ๑.หลวงพ่อตัน ท่านเป็นหลานหลวงพ่อไตร ท่านได้สร้างราหูอมจันทร์เช่นกัน แต่ไม่มากนัก และมีรูปแบบที่ไม่ได้มาตรฐาน ๒.หลวงพ่อลี ท่านเป็นชาวลาวเช่นกัน ท่านสร้างราหูอมจันทร์ เช่นกัน แต่ไม่มากนัก รูปแบบก็ไม่เป็นมาตรฐานเช่นกัน ๓.หลวงพ่อทอง ท่านเป็นชาวไทย ท่านไม่ได้รับการถ่ายทอด และครอบครู จึงไม่ได้สร้างพระราหู เช่นกัน ๔.หลวงพ่อช้อย ท่านเป็นชาวลาวเช่นกัน แต่เนื่องจากท่านไม่ได้สนใจเรื่องวิชาอาคม สมัยท่านจึงไม่มีการแกะพระราหู เลย ๕.หลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทอง ท่านก็เป็นชาวลาว ในพื้นที่บ้านศีรษะทองเช่นกัน ส่วนวิชาคาถาอาคมนั้น ส่วนใหญ่ท่านได้รับการ ถ่ายทอดเล่าเรียนมาจากหลวงพ่อลี เจ้าอาวาสองค์ที่ ๒ และโยมบิดา ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ และมีตำรับตำรา คาถาอาคมการสร้างพระราหู จากกะลาแกะ หลวงพ่อน้อยท่านเป็นคนที่มีความสนใจมากทางด้านนี้ จึงศึกษาจนได้รับความรู้มาโดยละเอียดทั้งหมด จากหลวงพ่อลี และโยมบิดา เมื่อท่านได้เป็นเจ้าอาวาสวัดแล้ว ท่านก็ได้เริ่มวางรากฐานรูปแบบและขั้นตอน ตลอดจนลวดลายการแกะกะลาพระราหู ให้เป็นมาตรฐาน โดยมีการพัฒนาเป็นขั้นตอน ตามตำราในใบลานต้นฉบับ การแกะกะลาพระราหู ที่หลวงพ่อไตรนำติดตัวมาจากประเทศลาว แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น รูปแบบ หรือลาย จะแกะเป็นลายอย่างไรก็ตาม กะลาที่นำมาแกะพระราหู นั้นจำเป็นต้องเป็นกะลามะพร้าวที่มีเพียงตาเดียวเท่า นั้น อ่อน หรือแก่ ไม่เป็นอะไร พระราหูอมจันทร์ กะลาตาเดียว หลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทอง การพัฒนางานแกะ เห็นได้ว่าในยุคต้นๆ นั้น การแกะพระราหูไม่มีรูปแบบที่เป็นมาตรฐาน มีทั้งสี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม รูปกลม รูปกลีบบัว ก็มี สุดแล้วแต่ช่างจะแกะกัน แต่ในยุคหลวงพ่อน้อยก็มีบ้าง คือช่างชาวบ้านที่แกะกันเอง แล้วนำมาให้หลวงพ่อน้อยปลุกเสกให้ แต่ส่วนใหญ่กะลาแกะพระราหู ของหลวงพ่อน้อยนั้นจะมีศิลปะการแกะที่เป็นมาตรฐาน พระราหูอมจันทร์ กะลาตาเดียวโดยใช้ช่างแกะไม่กี่กลุ่ม ซึ่งได้แก่ ๑.แกะโดยฝีมือช่างที่เป็นพระภายในวัด แรกๆ ก็แกะเป็นรูปสามเหลี่ยมบ้าง สี่เหลี่ยมบ้าง วงกลมบ้างเหมือนกัน ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นแบบเดียวกัน คือ แกะพระราหู เป็นรูปเสมาคว่ำ ๒.แกะโดยฝีมือช่างที่เป็นนักโทษ เรือนจำจังหวัดนครปฐม โดยหลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทอง ท่านมีลูกศิษย์ลูกหา เป็นผู้คุมเรือนจำ ในสมัยนั้นผู้คุมเรือนจำเป็นช่างฝีมือแกะหลายคน ซึ่งเป็นครูคอยสอนนักโทษด้วย แล้วให้นักโทษช่วยกันลองแกะพระราหู กันดูจากกะลาตาเดียว และได้ คัดอันที่สวยที่สุดมาเป็นตัวอย่าง ในครั้งนั้น คัดได้มีลักษณะรูปแบบพระราหู เป็นรูปเสมาคว่ำ และมีขนาดเล็ก กะทัดรัด สวยงาม และเหมาะสำหรับพกพาติดตัวด้วย รูปแบบการแกะนี้จึงได้รับความสนใจเรื่อยมา หลวงพ่อน้อยจึงอาศัยรูปแบบนี้เป็นมาตรฐานในการแกะสืบต่อกันมา อย่างไรก็ตามในยุคของหลวงพ่อน้อย พระราหูอมจันทร์ กะลาตาเดียวถือว่ามีการสร้างพระราหู จากกะลาตาเดียวมากที่สุด หลังจากหลวงพ่อน้อยมรณภาพแล้ว ลูกศิษย์ลูกหาของท่านทั้งที่เป็นพระและฆราวาส ก็มีการสร้างพระราหู เช่นกัน รูปแบบคล้ายกันบ้าง ต่างกันบ้าง เช่น อาจารย์ปิ่น ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดศีรษะทอง รูปต่อมาจากหลวงพ่อน้อย และได้รับการถ่ายทอดวิชาปลุกเสกกะลาพระราหู จากหลวงพ่อน้อย ภายหลังได้สึกออกมา อาจารย์คล้าย ซึ่งเคยบวชเรียนอยู่กับหลวงพ่อน้อย แล้วภายหลังก็สึกออกมาเช่นกัน และ ลุงศรี คืออีกคนหนึ่งที่เป็นช่างแกะพระราหู ฝีมืออาชีพ พระราหู กะลาแกะของวัดศีรษะทอง นั้นมีหลายขนาด ทั้งเล็ก กลาง ใหญ่ แกะจากกะลาครึ่งลูก หรือแกะจากกะลาทั้งลูกก็มี กะลาราหูของหลวงพ่อน้อยที่แกะเสร็จสมบูรณ์แล้ว ข้อสังเกตคือพระราหูอมจันทร์ กะลาตาเดียว กะลาจะมีลักษณะบาง แบน แต่งตะไบ และมีน้ำหนักเบากว่ากะลาใหม่ที่มีขนาดเท่ากัน คือกะลาหลวงพ่อน้อยจะมีความแห้งสูงมาก ส่วนการทำปลอมเลียนแบบพระราหูอมจันทร์ กะลาตาเดียว มีการทำกันมานานมากมายหลายฝีมือ แต่เชื่อว่าทุกฝีมือที่ทำปลอมยังต่างกันมากกับราหูที่สร้างจากหลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทอง อันเป็นตัวจริง ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบ งานแกะพิมพ์ วิธีการสร้างตกแต่ง ความแห้งผาก และธรรมชาติของอายุกะลา จึงเชื่อว่าการทำเลียนแบบปลอมนั้นทำได้ยากยิ่ง ด้านพุทธคุณ กะลาแกะราหูอมจันทร์ที่ออกมาจากสำนักวัดศีรษะทอง ไม่ว่าจะแกะมาจากช่าง หรืออาจารย์องค์ใด พุทธคุณไม่ต่างกัน เพราะคาถาที่ปลุกเสกนั้นมาจากคัมภีร์ใบลานของหลวงพ่อไตรองค์เดียวกัน ผู้ได้ใช้กะลาแกะจากพระราหู เชื่อกันว่า ช่วยป้องกันภัยต่างๆ เมื่อยามดวงชะตาตก กะลาพระราหู จะช่วยแก้ ช่วยพยุงให้ดวงชะตาดีขึ้นดังเดิม เรื่องคนชัง ให้กลับมารักชอบนั้นได้ผลแน่ รวมทั้งเรื่องเมตตา โภคทรัพย์ก็ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าอาจารย์ใดๆ เช่นกัน สำหรับค่านิยมในพระราหูอมจันทร์ กะลาตาเดียว หลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทอง ตลาดพระเครื่อง พระราหู ถือเป็นเครื่องรางอย่างหนึ่งที่มีผู้แสวงหาค่อนข้างมาก ......... ราหูองค์นี้เจ้าของเดิม เลี่ยมทองสั่งทำใช้ติดตัวเสมอนะครับ ขนาดกะทัดรัด ศิลป์สวยงดงาม เข้มขลัง ขอบคุณมากครับ 


เขียนโดย :โจ สิบทิศ เจ้าของรายการ June 15, 2016 02:43:04


ในสมัยนั้นคนที่เป็นลูกศิษย์ "อาจารย์เฮง ไพรวัลย์" ผู้สร้างเหรียญพระพรหมที่หายาก, แพง ,มีจำนวนน้อย และก็เป็นเหรียญพรหมที่โด่งดังที่สุดในประเทศ ซึ่งในปัจจุบันหาชมได้ยาก...คนที่เป็นศิษย์เมื่อเริ่มมีครอบครัว และ แตกหน่อลูกหลาน วัตถุมงคลของ อาจารย์เฮง ก็ไม่มีเพราะท่านสร้างน้อย เหตุเพราะค่าครูแพง คนสมัยก่อนที่เล่นของรู้ทุกคนเพราะสมัยก่อนสร้างเป็นรายบุคคลไป ไม่ได้ทำออกมาเป็นร้อย ๆ ซึ่งในการทำวัตถุมงคลแต่ละครั้งจะต้องมี หัวหมู บายศรี ของไหว้ เล็กใหญ่ มากน้อยตามแต่ครูอาจารย์ของแต่ละองค์ ในหมู่ลูกศิษย์ส่วนใหญ่ก็เรียนวิชาทุกคน ได้มากบ้างน้อยบ้าง ก็อยู่ที่พรสวรรค์ของแต่ละคน "ร้อยโทอนันต์ ตันติสิรินันท์" ผู้เป็นบิดาของ "อาจารย์วันชัย ตันติสิรินันท์" ได้เห็นแววของ อาจารย์วันชัย ตั้งแต่เล็ก ๆ ว่าชื่นชอบและสนใจไหว้พระสวดมนต์ทางนี้ จึงนำบุตรชายไปฝากตัวเป็นศิษย์ "หลวงปู่สีห์ วัดสะแก จ.อยุธยา" ซึ่งเป็นศิษย์ผู้น้องของ "อาจารย์เฮง ไพรวัลย์ (อาจารย์เฮง ท่านเป็นศิษย์หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ)" เพื่อเล่าเรียนวิชาความรู้ ในการสร้าง "พระพรหม" ให้มีความศักดิ์สิทธิ์ มีบุญญาฤทธิ์ และ อิทธิฤทธิ์ หลวงปู่สีห์ วัดสะแก เป็นองค์เดียวเท่านั้นที่ได้ร่วมสร้างและเสก รวมถึงลงเลขยันต์คาถาใน "เหรียญพระพรหม อาจารย์เฮง ไพรวัลย์" อีกทั้งยังได้ตำราวิชาคาถาของ "หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ และ ตำราของวัดประดู่ทรงธรรม" สืบทอดต่อมาจาก "อาจารย์เฮง ไพรวัลย์" อีกด้วยครับ พอ "อาจารย์วันชัย" อายุได้ประมาณ 21 ปึ ได้เล่าเรียนคาถาและการลง "นะ" ต่าง ๆ ได้แม่นยำ รวมทั้งบท "รัตนมาลา" ซึ่งเป็นบทหัวใจ ของครูบาอาจารย์ทั้งหลายในสมัยก่อนที่จะต้องท่องได้ ซึ่งตามโบราณท่านกล่าวไว้ว่า "ผู้ใดจะศึกษาพระเวทย์ ต้องบูชาพระพรหม เพราะท่านเป็นผู้ถือหรือครอบครองพระคัมภีร์ "รัตนมาลา" เพราะท่านคือบรมครู ของครูทั้งหลาย ถ้าใครไม่ได้พระคาถา "รัตนมาลา" แล้วมาสร้าง "พระสหบดีพรหม" เมื่อสร้างออกมาก็ได้เพียงรูปท่าน แต่ไม่ใช่องค์ท่าน "พระพรหม" จึงไม่ค่อยมีผู้ใดสร้างได้สำเร็จ พอสิ้นท่าน "อาจารย์เฮง ไพรวัลย์" ลูกศิษย์ส่วนใหญ่ที่มี "เหรียญหรือตะกรุด" ใช้บูชาอยู่ พอมาถึงรุ่นลูกก็เริ่มสึก แตกหัก เสีย หาย ขณะนั้นอายุ "หลวงปู่สีห์" ก็เริ่มมากขึ้น บิดาอาจารย์วันชัย กับเพื่อน จึงได้ขออนุญาต "หลวงปู่สีห์ วัดสะแก" สร้างเพื่อเป็นอนุสรณ์เชิดชูครูบาอาจารย์ว่าวัตถุมงคลชิ้นนี้เป็นของหลวงปู่สีห์ ซึ่งหลวงปู่สีห์ ท่านได้เห็นดีด้วย เหรียญนี้ พิมพ์สี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด สร้่างปี 2523 มีจารทั้งสองด้าน โดยอาจารย์ วันชัย ตันติศิรินันท์ ลูกชาย ร.อ. อนันต์ โดยหลวงปู่สีห์ อธิษฐานจิตปลุกเสกให้ 1 พรรษา รุ่นนี้ดีทุกด้านไม่ว่า เมตตามหานิยม แคล้วคลาดปลอดภัย มหาอุตม์คงกระพัน กันเขี้ยวงา และที่เด่นสุดคือหนุนดวงให้สูงส่ง เพราะพระพรหมเป็นผู้ลิขิตชีวิตมนุษย์ พุทธคุณดีรอบด้านจริง ๆ หลวงปู่สีห์ ท่านเคยกล่าวว่า ใครบูชาพระพรหม จะไม่มีวันตกอับ เพราะท่านจะเป็นที่รักของทั้งเทวดา และมวลมนุษย์


เขียนโดย :โจ สิบทิศ เจ้าของรายการ June 15, 2016 02:42:47

อ้างอิงถึงรายการ : /auction/หลวงพ่อคูณ-ปี-2512-2539/6543951


เหรียญนี้สร้างโดยคุณไชยทัศน์ เตชะไพบูลย์ผู้บริหารธนาคารศรีนคร เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2518 เพื่อเป็นที่ระลึก ครบรอบ 25ปี ธนาคารศรีนคร โดยจัดพิธีพุทธาภิเษกอย่างยิ่งใหญ่ มีเกจิดังในยุคนั้นร่วมอธิษฐานจิตหลายท่าน อาทิ พระอาจารย์ฝั้น วัดป่าอุดมสมพร , หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี , หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่, หลวงพ่อคง วัดวังสรรพรส , หลวงพ่อสมชาย วัดเขาสุกิม , หลวงถิร วัดป่าเลไลย์ , หลวงพ่อสุด วัดกาหลง , หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยาฯ , หลวงพ่อฑูรย์ วัดโพธิ์นิมิตร , หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม เป็นต้น


เขียนโดย :วิจิตรศิลป์ เจ้าของรายการ June 13, 2016 16:08:38


***วัดใจครับ***ลูกอมผงพรายกุมารหลวงปู่ทิมวัดละหารไร่ขนาด 1.6 ซม.ผ่านงานประกวดพระล่าสุดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม 2559 ณ.อาคารรัฐประศาสนภักดี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ถนนแจ้งวัฒนะ(อาคารบี)


เขียนโดย :เดินตามฝัน เจ้าของรายการ June 13, 2016 01:08:47

หน้าที่ :  18