เหรียญคุ้มเกล้า โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช พิมพ์ใหญ่ เนื้อนวโลหะ ดำเนินการจัดสร้างเมื่อปีพ.ศ.2522 โดยมูลนิธิมูลนิธิคุ้มเกล้าฯในพระบรมราชูปถัมภ์ วัตถุประสงค์ : เนื่องในวาระครบรอบ 30 ปีของการให้บริการโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช เมื่อ 27 มีนาคม 2522 กองทัพอากาศได้ดำริสร้างอาคารอุบัติเหตุและฉุกเฉินขนาดใหญ่สูง 12 ชั้นที่ทันสมัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระราชกุศลและเสริมสร้างบารมีปกเกล้าปกกระหม่อมบรรดาผู้ป่วยทั้งหลายไปชั่วกาลนาน โดยสิ้นค่าใช้จ่ายกว่า 600 ล้านบาท จากเงินที่ประชาชนทั่วประเทศร่วมใจกันบริจาค พุทธลักษณะ ด้านหน้า : เป็นพระบรมฉายาลักษณ์ ด้านหลัง : มีพระปรมาภิไธยย่อ “ภ.ป.ร.” พิธีลงอักขระแผ่นยันต์อักขระที่ใช้สร้าง ′เหรียญคุ้มเกล้า′ แผ่นแรกเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2526 โดยมี สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช ทรงเป็นประธาน พร้อมด้วยพระเถระอีก 60รูป ที่ได้มาร่วมสวดเจริญพระพุทธมนต์ในวันเฉลิมพระชนมพรรษาของสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ภายในพระอุโบสถของวัดราชบพิธ หลังจากนั้นได้นำแผ่น ทอง นาก เงิน ไปให้พระเถราจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิทั่วประเทศ จารึกอักขระจนครบ 1,250 รูป อาทิ - พระราชวุฒาจารย์(หลวงปู่ดุลย์)วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์ ลงอักขระวันที่ 16 กันยายน 2526 - พระคุณเจ้าหลวงปู่แหวน สุจิณโณ ลงอักขระแผ่นทอง นาก เงิน ณ วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่ 19 สิงหาคม 2526 - พระสุพรหมยานเถร (หลวงปู่พรหมจักร)วักพระพุทธบาทตากผ้า ลำพูน ลงอักขระ 21 สิงหาคม 2526 - พระอุดมสังวรเถร(หลวงพ่ออุตตมะ)วัดวังวิเวการาม จ.กาญจนบุรี ลงอักขระ 5 ตุลาคม 2526 - พระสุนทรธรรมภาณี(หลวงพ่อแพ)วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี ลงอักขระวันที่ 3 ตุลาคม 2526 - พระนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาจารย์ (หลวงปู่เทสก์) วัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย ลงอักขระ 5 สิงหาคม 2526 - หลวงพ่อเกษม เขมโก วัดป่าช้าไตรรัตนาราม อ.เมือง จ.ลำปาง ลงอักขระ 22สิงหาคม 2526 - พระครูสุวรรณประดิษฐการ(หลวงพ่อจ้อย)วัดเขาสุวรรณประดิษฐ์ อ.ดอนสัก จ.สุราษฏร์ธานี ลงอักขระ 11 ตุลาคม 2526 - สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศวิหาร กทม. เป็นต้น พิธีเททองหล่อ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถเสด็จฯ พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ไปทรงเททองหล่อพระพุทธรูปคุ้มเกล้าฯ ณ วัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ ซึ่งตรงกับวันที่ ′หลวงปู่แหวน สุจิณโณ′ มีอายุครบ 97 ปี เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2527 โดยมีสมเด็จพระสังฆราช พร้อมด้วยพระเถระผู้ใหญ่ผู้ทรงคุณอีก 9 รูป เจริญชัยมงคลคาถา ในโอกาสนี้ได้ทรงทำพิธีหลอมแผ่นทอง นาก เงิน ที่ได้ทำพิธีลงอักขระแล้ว เป็นชนวนนำไปสร้างวัตถุมงคลคุ้มเกล้าต่อไป พิธีพุทธาภิเษก ประกอบพิธีพุทธาภิเษกหมู่อย่างยิ่งใหญ่มโหฬาร 4 วัน 4 คืน ตั้งแต่วันที่ 6-9 เมษายน พ.ศ.2527 โดยทำการโยงสายสิญจน์จากพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามมายังปะรำพิธี ณ ท้องสนามหลวง นิมนต์พระเถรานุเถระผู้ทรงคุณ เกจิอาจารย์ดัง 108 รูปจากทั่วประเทศผลัดเปลี่ยนกันนั่งปรกปลุกเสกตลอดรวม 4 คืน อาทิ - สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช ประธานฝ่ายสงฆ์จุดเทียนชัย - สมเด็จพระญาณสังวรฯ เป็นประธานดับเทียนชัย - หลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง - หลวงพ่อเกษม เขมโก ลำปาง - หลวงปู่ดุลย์ วัดบูรพา สุรินทร์ - หลวงปู่สาม วัดป่าไตรวิเวก - หลวงพ่อสิม วัดถ้ำผาปล่อง - หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี - หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม - หลวงพ่อหลุย วัดเจติยาวิหาร - หลวงปู่ครูบาพรหมจักร วัดพระพุทธบาทตากผ้า - หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง - หลวงพ่อพุธ วัดป่าสาลวัน - หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ - หลวงพ่อพวง วัดศรีธรรมาราม - หลวงพ่อพุฒ วัดมณีสถิตย์ - หลวงพ่อเปรื่อง วัดบางคลาน - หลวงพ่อฮวด วัดหัวถนนใต้ - หลวงพ่อคำแสน วัดถ้ำผาเงา - หลวงพ่อโอด วัดจันเสน - หลวงพ่อบุญมี วัดท่าสะต๋อย เป็นต้น สำหรับวัตถุมงคลรุ่นคุ้มเกล้า ในวันแรกของพิธี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ไปทรงจุดไฟพระฤกษ์ ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม มอบให้พล.อ.อ.ประพันธ์ ธูปะเตมีย์ ผบ.ทอ. อัญเชิญเข้าขบวนแห่มายังปะรำพิธี จากนั้นในเวลา 19.19 น. สมเด็จพระสังฆราช เสด็จมาจุดเทียนชัยจากไฟพระฤกษ์ เริ่มพิธีพุทธาภิเษกจนถึงรุ่งอรุณของวันที่ 4 สมเด็จพระญาณสังวรฯ เป็นประธานดับเทียนชัย เป็นอันเสร็จสิ้นพิธีพุทธาภิเษก แหล่งที่มา : ข่าวสดออนไลน์ วันที่ 9 เมษายน 2555 และ วันที่ 10 เมษายน 2555
บัตรธนาคารเนื่องในมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษาหกสิบบริบูรณ์ ๕ ธันวาคม ๒๕๓๐ ด้านหน้า พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องแบบจอมทัพ ทรงฉลองพระองค์ครุย ประทับเหนือ พระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์ ด้านหลัง พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระฉายาสาทิสลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ประทับท่ามกลางพสกนิกร **** 2 ใบเรียง หมายเลข 021595-6 สวยเดิมไม่ผ่านการใช้
ธนบัตรที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ ด้านหน้า เบื้องซ้ายมีพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นภาพประธาน ตอนกลางของธนบัตรชนิดราคา ๑ บาท มีภาพการเสด็จออกสีหบัญชร ณ พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ในปี ๒๔๙๓ ชนิดราคา ๕ บาท มีภาพการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยกระบวนพยุหยาตราสถลมารค ในพระราชพิธีมหามงคลเนื่องในวโรกาสที่เจริญพระชนมพรรษาครบ ๓ รอบพระนักษัตร ในปี ๒๕๐๖ และชนิดราคา ๑๐ บาท มีภาพการเสด็จออกมหาสมาคม ในงานพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม ในปี ๒๕๔๙ เรียงตามลำดับ ด้านหลัง เป็นภาพลำดับเรื่องราวอันเกี่ยวเนื่องกับพระราชประวัติ และพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่เมื่อทรงพระเยาว์จนถึงปัจจุบัน ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ภายในโครงตัวเลขไทย " ๙ " หมายเลข 9ธ 3875314-5
สวยเดิมพร้อมซองกษาป บล็อก กระบี่สั้นมีปอก มีเส้นเกศาคมชัด มีเม็ดตา มีเล็บ สวยนิยม น่าเก็บนะตอนนี้บล็อกนี้ครับ
สวยเดิมพร้อมซองกษาป บล็อก กระบี่สั้นมีปอก มีเส้นเกศาคมชัด มีเม็ดตา มีเล็บ สวยนิยม น่าเก็บนะตอนนี้บล็อกนี้ครับ
สวยเดิมพร้อมซองกษาป บล็อก กระบี่สั้นมีปอก มีเส้นเกศาคมชัด มีเม็ดตา มีเล็บ สวยนิยม น่าเก็บนะตอนนี้บล็อกนี้ครับ
สวยเดิมพร้อมซองกษาป บล็อก กระบี่สั้นมีปอก มีเส้นเกศาคมชัด มีเม็ดตา มีเล็บ สวยนิยม น่าเก็บนะตอนนี้บล็อกนี้ครับ
เหรียญในหลวงนั่งบัลลังก์ เนื้ออัลปาก้า สุดนิยม พิมพ์เส้นพระเกศาชัด ปลายดาบมีปลอก เป็นเหรียญพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 พิมพ์นี้เป็นพิมพ์สุดนิยม พิมพ์เส้นพระเกศาชัด ปลายกระบี่มีปลอก จัดสร้างโดยกระทรวงมหาดไทยในวาระเฉลิมฉลองการครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี เมื่อ พ.ศ. 2539 เป็นเหรียญดีมีคุณค่า ประสบการณ์ดังในด้านแคล้วคลาดของทหารและตำรวจ การสร้างเหรียญเสมาที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเฉลิมฉลองทรงครองศิริราชสมบัติครบ 50 ปี ผู้จัดสร้างได้นำเนื้อโลหะชนวนมวลสารโลหะจากพิธีสำคัญๆ เช่น ชนวนโลหะพระกริ่งดำรงราชานุภาพในงาน 100 ปี กระทรวงมหาดไทยจัดสร้างเมื่อปีพ.ศ. 2533 และชนวนโลหะพระนิโรคันตรายที่กระทรวงมหาดไทยและประชาชนทั่วประเทศจัดสร้างเพื่อน้อมเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2538 และแผ่นจารอาคมจากพระเกจิอาจารย์ทุกภาคทั่วประเทศ ทั้งนี้สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายกทรงประกอบพิธีเจริญจิตภาวนาด้วยพระองค์เอง ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร การจัดสร้างเหรียญครั้งนี้ เหรียญ มีราคาถูกเป็นพิเศษเพื่อให้ประชาชนทุกหมู่เหล่าแสดงความจงรักภักดีและเฉลิมพระเกียรติแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตลอดกาลนาน รายได้ทั้งหมดนำขึ้นทูลเกล้าฯถวายโดยพระราชกุศลมูลนิธิชัยพัฒนา เหรียญเป็นรูปทรงใบเสมามีหู ด้านหน้าพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับนั่งบนบัลลังก์ ด้านหลังตราสามง่าม และจักร ชื่อเป็นทางการของเหรียญรุ่นนี้เรืยกว่า เหรียญทรงเสมา(อาร์ม)ที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเฉลิมฉลองทรงครองศิริราชสมบัติครบ 50 ปี ในวันที่ 9 มิถุนายน ปีพ.ศ. 2539 กระทรวงมหาดไทยได้ขอบรมราชานุญาตจัดสร้าง พระบรมรูป(อย่างหนึ่ง)และเหรียญเสมาที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯออกแบบโดยกรมศิลปากร เหรียญเสมาที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูหัวฯด้านหน้าเป็นพระบรมสาทิสลักษ์ประทับเหนือพระที่นั่งพุดตาลกาญจนสิงหาส์บนบัลลังก์มีข้อความว่า “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช” ด้านหลังเป็นรูปสัญลักษณ์ตราจักรีโดยมีข้อความว่า ”พ.ศ.2539” ถือว่าเป็นเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกที่มีความนิยมมาก มีประสบการณ์มาแล้วดังที่เป็นข่าวใน นสพ.เดลินิวส์มีผู้ประสบรถคว่ำสภาพพังยับเยินและเจ้าหน้าที่ตำรวจ ตชด.ขณะปฏิบัติหน้าที่ทางภาคใต้ถูกผู้ก่อการร้ายซุ่มยิ่งแต่ไม่ได้รับอันตรายเนื่องจากคล้องเหรียญนั่งบัลลังก์ เนื่องเพราะสร้างด้วยเจตนาบริสุทธิ์มหากุศลจากมวลสารที่ดีเยี่ยม
เหรียญในหลวงนั่งบัลลังก์ เนื้ออัลปาก้า สุดนิยม พิมพ์เส้นพระเกศาชัด ปลายดาบมีปลอก เป็นเหรียญพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 พิมพ์นี้เป็นพิมพ์สุดนิยม พิมพ์เส้นพระเกศาชัด ปลายกระบี่มีปลอก จัดสร้างโดยกระทรวงมหาดไทยในวาระเฉลิมฉลองการครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี เมื่อ พ.ศ. 2539 เป็นเหรียญดีมีคุณค่า ประสบการณ์ดังในด้านแคล้วคลาดของทหารและตำรวจ การสร้างเหรียญเสมาที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเฉลิมฉลองทรงครองศิริราชสมบัติครบ 50 ปี ผู้จัดสร้างได้นำเนื้อโลหะชนวนมวลสารโลหะจากพิธีสำคัญๆ เช่น ชนวนโลหะพระกริ่งดำรงราชานุภาพในงาน 100 ปี กระทรวงมหาดไทยจัดสร้างเมื่อปีพ.ศ. 2533 และชนวนโลหะพระนิโรคันตรายที่กระทรวงมหาดไทยและประชาชนทั่วประเทศจัดสร้างเพื่อน้อมเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2538 และแผ่นจารอาคมจากพระเกจิอาจารย์ทุกภาคทั่วประเทศ ทั้งนี้สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายกทรงประกอบพิธีเจริญจิตภาวนาด้วยพระองค์เอง ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร การจัดสร้างเหรียญครั้งนี้ เหรียญ มีราคาถูกเป็นพิเศษเพื่อให้ประชาชนทุกหมู่เหล่าแสดงความจงรักภักดีและเฉลิมพระเกียรติแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตลอดกาลนาน รายได้ทั้งหมดนำขึ้นทูลเกล้าฯถวายโดยพระราชกุศลมูลนิธิชัยพัฒนา เหรียญเป็นรูปทรงใบเสมามีหู ด้านหน้าพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับนั่งบนบัลลังก์ ด้านหลังตราสามง่าม และจักร ชื่อเป็นทางการของเหรียญรุ่นนี้เรืยกว่า เหรียญทรงเสมา(อาร์ม)ที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเฉลิมฉลองทรงครองศิริราชสมบัติครบ 50 ปี ในวันที่ 9 มิถุนายน ปีพ.ศ. 2539 กระทรวงมหาดไทยได้ขอบรมราชานุญาตจัดสร้าง พระบรมรูป(อย่างหนึ่ง)และเหรียญเสมาที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯออกแบบโดยกรมศิลปากร เหรียญเสมาที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูหัวฯด้านหน้าเป็นพระบรมสาทิสลักษ์ประทับเหนือพระที่นั่งพุดตาลกาญจนสิงหาส์บนบัลลังก์มีข้อความว่า “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช” ด้านหลังเป็นรูปสัญลักษณ์ตราจักรีโดยมีข้อความว่า ”พ.ศ.2539” ถือว่าเป็นเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกที่มีความนิยมมาก มีประสบการณ์มาแล้วดังที่เป็นข่าวใน นสพ.เดลินิวส์มีผู้ประสบรถคว่ำสภาพพังยับเยินและเจ้าหน้าที่ตำรวจ ตชด.ขณะปฏิบัติหน้าที่ทางภาคใต้ถูกผู้ก่อการร้ายซุ่มยิ่งแต่ไม่ได้รับอันตรายเนื่องจากคล้องเหรียญนั่งบัลลังก์ เนื่องเพราะสร้างด้วยเจตนาบริสุทธิ์มหากุศลจากมวลสารที่ดีเยี่ยม