หลวงปู่ปั้น สุปันโน ที่เข้าใจกันแต่เดิมว่า ท่านอยู่วัดสะพานสูง บางซื่อ นั้น ที่จริงแล้วท่านไม่เคยอยู่วัดสะพานสูงเลย ท่านเป็นเจ้าอาวาสที่สองของวัดใหม่ทองเสน เกียกกาย กทม. เมื่อ พ.ศ.๒๔๓๐ จนถึง พ.ศ.๒๔๗๒ เดิมวัดใหม่ทองเสนแยกเป็นสองวัด คือวัดใหญ่ทองเสนและวัดป่าเลไลย์ ภายหลังหลวงปู่ปั้นได้บูรณะและรวมเป็นวัดเดียวกัน แล้วมีชื่อใหม่ว่า วัดใหม่ทองเสน ภายในวัดมีวิหารหลวงพ่อโตปางป่าเลไลย์ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่มากสร้างในสมัยพระธรรมอุดม(ถึก) เจ้าอาวาสองค์แรก พระธรรมอุดมองค์นี้เป็นพระคู่เทศน์กับสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) และสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต)ก็ได้มาร่วมสร้างวัดและพระหลวงพ่อโตปางป่าเลไล ย์นี้ด้วย หลวงปู่ปั้นท่านยังได้ไปช่วยสร้างพระอุโบสถหลังเก่าของวัดห้วยขวาง (วัดกุนนทีรุทธาราม) ด้วย ต่อมาภายหลังท่านได้ไปอยู่ที่วัดบางกระบือ (วัดประชากระบือธรรม) จวบจนมรณภาพ ณ ที่วัดบางกระบือนี้ ท่านเป็นศิษย์เอกองค์หนึ่งของท่านสมเด็จพระพุฒาจารย์โต การที่เข้าใจกันว่าท่านอยู่วัดสะพานสูงนั้นอาจจะว่าเนื่องจากอาจารย์เจ๊ก ซึ่งเป็นภิกษุที่อยู่วัดสะพานสูงนั้นท่านเป็นศิษย์เอกของหลวงปู่ปั้นอีกทอด หนึ่ง อาจารย์เจ๊กองค์นี้เป็นที่ทราบกันดีว่าวิชาอาคมเก่งกาจองค์หนึ่งและคงได้นำ เอาพระเครื่องของหลวงปู่ปั้น มาแจกที่วัดสะพานสูง ด้วยนั่นเองคือสาเหตุแห่งการเข้าใจกันผิด หลวงปู่ปั้น ท่านได้สร้างพระเนื้อผง ตามแบบอย่างของท่านสมเด็จโต ไว้หลายพิมพ์ เป็นพระแบบสมเด็จสี่เหลี่ยมและพระปิดตา ข้างเป็นรอยตัด และหลังเรียบ แต่พระบางองค์ของท่านด้านหลังประทับตราพัดยศลึกลงไปในเนื้อพระก็มี ส่วนเนื้อหาพระหลวงปู่ปั้น เป็นพระผสมด้วย ผงวิเศษ มวลสารและปูนเปลือกหอยพระของท่าน ส่วนใหญ่จะมีเนื้อหยาบแก่มวลสารนับว่าคล้ายพระสมเด็จวัดระฆังฯ มากที่สุดถึงกับพระพิมพ์ ทรงกรวยของท่านยังเคยเข้าใจกันว่าเป็นพระสมเด็จวัดระฆังฯ ท่านนับว่าเป็นศิษย์ของสมเด็จโตที่ได้สร้างพระเครื่องไว้น้อยพิมพ์ที่สุด พระของท่านสร้างเมื่อตอนที่ท่านอยู่ที่วัดใหม่ทองเสน และท่านยังได้สร้างพระพิมพ์นาคปรกไปบรรจุที่วัดพระแก้ว เนื่องในโอกาสฉลองกรุงรัตนโกสินทร์มีอายุครบ ๑๐๐ ปี ด้วย พระสมเด็จนาคปรก หลวงปูปั้นและหลวงปู่ภู ที่ได้นำมาบรรจุกรุวัดพระแก้วถูกค้นพบคราวบูรณะวัดเมื่อคราวเฉลิมฉลองกรุง รัตนโกสินทร์ครบ 150 ปี พ.ศ.2475พระเครื่องของหลวงปู่ปั้นส่วนใหญ่ในปัจจุบันยังมีค่านิยมเริ่มมี ราคาขยับสูงขึ้น นับว่ายังเป็นโอกาสที่จะได้สะสมพระผงเนื้อสมเด็จที่มีมวลสารของสมเด็จวัด ระฆังฯครับ ปัจจุบันเริ่มหายากมาก โดยเฉพาะของแท้ๆ หลวงปู่ปั้นท่านเป็นพระยุคเดียวกับท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ และตามประวัติ ท่านได้รับการแต่งตั้ง จากท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ให้ปกครองดูแลวัดเขตย่านเกียกกาย บางซื่อ เรื่องมวลสาร ผงพุทธคุณ หายห่วง ผมรับประกันพระแท้ตามกฎทุประการ ขอบคุณมากครับ
เริ่มที่ 10 บาท .. สภาพสวยมาก องค์นี้เป็นเนื้อผงใบลาน พบเจอน้อยมาก หายาก สภาพสมบูรณ์สวย มีคราบกรุให้เห็น กรุวัดคลองขอม หลวงปู่ศุขปลุกเสก ปี2460...ยุคเก่า หายากสภาพสวยๆออกวัดคลองขอม จ.สุพรรณบุรี เจ้าอาวาสวัดคลองขอมในขณะนั้นคือหลวงพ่ออุ่ม ซึ้งเป็นศิษย์ของหลวงปู่ศุข พระกรุวัดคลองขอม หลวงพ่ออุ่มท่านเป็นศิษย์องค์หนึ่งของหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า มักไปมาหาสู่กับหลวงปู่ศุขเป็นประจำ หลวงปู่ศุข ในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ก็มักได้รับนิมนต์ให้ไปปลุกเสกพระที่วัดต่างๆ เช่นวัดอนงคาราม ในกรณีนี้ก็เช่นกัน หลวงปู่ศุข ท่านก็ได้มาช่วยสร้างพระเพื่อหาทุนสร้างพระอุโบสถที่วัดคลองขอมแห่งนี้ส่วน หนึ่งของประวัติบรรยายถึงการปลุกเสกพระไว้ว่า ขณะที่นำเอาตำราใบลานเก่าที่ชำรุดมาเผา หลวงปู่ศุข และหลวงพ่ออุ่ม ก็ได้เดินจงกรมทำสมาธิไปรอบๆกองไฟด้วย เชื่อกันว่าผงใบลานนี้ให้ผลทางคงกระพันชาตรี เมื่อสร้างเสร็จ หลวงพ่ออุ่มและหลวงปู่ศุขได้ร่วมกันปลุกเสกเป็นเวลา 1 ไตรมาส (ก่อนเข้าพิธีใหญ่)* การ ปลุกเสกพระกรุคลองขอม ปีพ.ศ.2460 ในสมัยหลวงพ่ออุ่มเป็นเจ้าอาวาสนั้น เป็นการปลุกเสกหมู่ครั้งใหญ่ โดยมีหลวงปู่ศุข แห่งวัดปากคลองมะขามเฒ่า เป็นประธานในพิธี นอกจากนี้ยังมีพระเกจิอาจารย์จากเขตสุพรรณบุรี ชัยนาทและจากที่อื่นๆที่เก่งๆอีกหลายท่าน มาร่วมปลุกเสก แต่ที่รู้จักกันดีได้แก่ หลวงพ่อโบ้ย วัดมะนาว, หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา แม้กระทั่งหลวงพ่อปาน แห่งวัดบางนมโค ก็มาร่วมพิธีนี้ด้วย หลังจากนั้น ก็แจกแก่บรรดาผู้มาร่วมการกุศล กล่าวกันว่า เมื่อโบสถ์สร้างเสร็จ พระผงยังคงเหลืออยู่จำนวนมาก ส่วนเนื้อทองเหลืองเหลือน้อย หลวงพ่ออุ่ม ได้บรรจุพระเข้าในเจดีย์ที่สร้างขึ้นหน้าโบสถ์ และใต้ฐานชุกชีพระประธานในโบสถ์ พร้อมกับบันทึกเหล็กจารในแผ่นเงิน ระบุความเป็นมาของพระชุดนี้บรรจุเข้าไปในพระเจดีย์ด้วย และที่เจดีย์นั้นได้มีการเขียนป้ายปิดไว้ว่าเป็นกรุพระของหลวงปู่ศุขอย่าง ชัดเจน แบบพิมพ์ของพระในกรุวัดคลองขอม สุพรรณบุรีนี้มีหลายแบบด้วยกัน 1. เหรียญหล่อ เนื้อโลหะผสม แก่ทองเหลือง เป็นสมเด็จสี่เหลี่ยมทรงครุฑ มีหลายพิมพ์ เนื้อโลหะนี้รู้จักกันในวงกว้าง เพราะส่วนหนึ่งหลวงปู่ศุขท่านนำติดตัวไปแจกที่ชัยนาทด้วย 2. พระเนื้อผงใบลาน เนื้อแห้งสนิท สีออกเทาดำ ทำเป็นพิมพ์สมเด็จรัศมีแขนสอบ ขนาดเท่าพระหลวงปู่ศุขทั่วๆไป หรือเท่ากับพระคะแนนของวัดต่างๆ พุทธลักษณะจะผอมเห็นองค์เป็นลายเส้น พระเศียรเป็นรูปข้าวหลามตัด หูเป็นแบบบายศรี มีเส้นรัศมีเล็กๆโดยรอบ ครอบด้วยซุ้มระฆัง และประทับบนฐาน 3 ชั้น มีด้วยกันหลายบล็อค เพราะสร้างพิมพ์นี้เป็นพิมพ์หลัก ที่เป็นพระปิดตาเนื้อดำลงรักทับ มีน้อยมาก 3. พระเนื้อผงขาว มีหลายพิมพ์ด้วยกัน ได้แก่ - พิมพ์สมเด็จรัศมีแขนสอบ มีหลายบล็อค - พิมพ์สมเด็จรัศมีแขนกลม (องค์พระต้อกว่า เศียรกลม และเส้นสายใหญ่ วงแขนเป็นรูปวงกลม) - พิมพ์ปิดตา มีทั้งขนาดใหญ่และเล็ก - พิมพ์พิเศษ หรือพิมพ์พระประธาน มีขนาดใหญ่เท่ากับสมเด็จพิมพ์ใหญ่ และที่ขนาดใหญ่มากเกือบคืบก็มีแต่พบน้อย มีด้วยกัน 3-4 พิมพ์ เนื้อหาเหมือนกับพระพิมพ์เนื้อขาวปกติทุกประการ บางองค์ปิดทองด้วย หาคนรู้จักได้น้อย ปัจจุบันหาชมยากมาก 4. พระเนื้อผงสีชมพู เป็นเนื้อที่ผสมว่านสบู่เลือด ซึ่งมีสีแดง ว่านนี้มีผลทางอยู่ยงคงกระพัน เมื่อผสมกับผงพระพุทธคุณแล้วทำให้มีสีขาวเจือชมพู ที่พบทำเป็นพิมพ์สมเด็จรัศมีแขนสอบ ลักษณะเหมือนๆกันแต่ก็มีหลายบล็อค พิมพ์แขนกลมมีเป็นส่วนน้อยมาก การแตกกรุ ในคราวที่แตกกรุมาใหม่ๆ เมื่อประมาณปี 2520 ว่ากันว่ามีจำนวนมากมาย เซียนส่วนกลางได้เหมามาเป็นจำนวนมากเป็นค่อนกรุเลยทีเดียว แล้วนำมาเก็บเงียบไว้นาน จนประมาณสิบก่อนได้ลงในหนังสือมหาโพธิ์เป็นเจ้าแรก ให้ลูกค้าตัดบัตรไปแลกซื้อ และต่อมาก็มีข่าวว่ามีหนังสือเล่มอื่นทำด้วยเหมือนกันเกี่ยวกับการแตกกรุ ได้ฟังจากเซียนผู้ใหญ่ที่ได้พระมาตั้งแต่ครั้งแตกกรุใหม่ๆเป็นจำนวนมากท่าน ว่ากรุที่อยู่ใต้พระประธานอุโบสถวัดคลองขอมแตกออกมาเนื่องจากหลังคารั่ว น้ำฝนได้ตกลงมาที่องค์พระเป็นเวลานาน ทำให้ฐานด้านหนึ่งขององค์พระผุและหักล้มลงพิงกำแพง ชาวบ้านต้องช่วยกันยกไว้วางข้างๆตำแหน่งเดิมจึงได้พบกรุที่บรรจุพระพิมพ์ เป็นหลุมขนาดใหญ่ สภาพกรุมีสองชั้น พระที่อยู่ชั้นบนผิวพรรณสะอาด ชั้นล่างมีน้ำฝนไหลซึมผ่าน ขังแล้วแห้งไปๆ เมื่อได้นำพระขึ้นมา ปรากฎมีทั้งดินทรายจับเป็นจำนวนมาก ทางวัดได้นำมากองเรียงๆไว้เป็นก้อนใหญ่บ้าง เล็กบ้าง พระมีดินจับอยู่เต็ม และติดกันเป็นก้อน พอจะนับแยกองค์ ก็ต้องเอาน้ำหยอดแล้วเอาอะไรค่อยๆเซาะพระออกจากกันทีละน้อยๆ ซึ่งพวกพระกรุที่เก็บในชั้นล่างนี้จะเป็นพระที่หย่อนงาม จึงถือว่าเป็นพระชุดของหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่าอีกพิมพ์หนึ่ง (รับประกันพระแท้ทุกกฎ)
เหรียญยี่กอฮง เนื้อทองเเดง ตอกโค้ดราหูข้างซ้าย ของเหรียญ พิธีบ่วงสื่อเฮง (เฮงหมื่นเรื่อง) ท่านขุนพันธ์รักษ์ราชเดช ปลุกเสกเดี่ยว ปี 41 เทพเจ้าแห่งการพนัน และ โชคลาภ ก็เป็นอีกรุ่นหนึ่งที่ นักพนัน และ นักเสี่ยงโชค ทั้งหลายไม่ว่าจะเป็น คนไทย , มาเลเซีย , สิงค์โปร ฯลฯ ต่างนิยมชื่นชอบกันมาก ด้านหลังมีภาษาจีน อ่านว่า บ่วงสื่อเฮง (เฮงหมื่นเรื่อง) และ อักษรไทยนำโชค ก - ข ประกันตามกฏ 1 dd-pra
พระแท้ของที่บ้านค่ะ สวยหายากค่ะ รับประกันความแท้ค่ะ