ขณะนั้น พระยานรรัตนราชมานิตอายุ 28 ปี ตัดสินใจอุปสมบทที่วัดเทพศิรินทราวาส ในวันถวายพระเพลิงพระบรมศพรัชกาลที่ 6 เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระราชกุศล โดยมีสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถร) เป็นพระอุปัชฌาย์ เหมือนกับการ “บวชหน้าไฟ” ทั่วไป เพียงแต่กรณีของพระยานรรัตนราชมานิตไม่มีการ “สึก”
ตั้งแต่นั้นมาชื่อเรียกขานว่า “พระยานรรัตนราชมานิต” ก็ค่อยถูกแทนที่ด้วย “เจ้าคุณนรรัตรราชมานิต” หรือ “เจ้าคุณนรฯ”
เจ้าคุณนรฯ เป็นพระสงฆ์ที่มักน้อยสันโดษ ถือวัตรปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ฉันอาหารวันละมื้อ ไม่ใช้ไฟฟ้าและน้ำประปาในกุฏิ ท่านว่าธรรมชาติให้มาอย่างเพียงพอแล้ว ทั้งน้ำฝน และแสงแดด เมื่อหมดแสงจากดวงอาทิตย์ก็ไม่ต้องทำกิจอื่นใด แต่ควรทำสมาธิให้จิตใจสงบและเจริญวิปัสสนากรรมฐาน นอกจากของที่ได้จากบิณฑบาตแล้วไม่รับของถวายใดๆ และไม่รับแขกในกุฏิทุกกรณี ใครจะพบหรือสนทนากับท่านก็จะมีโอกาสเฉพาะช่วงที่ท่านออกจากกุฏิไปทำวัตรเช้า-เย็น (ซึ่งตลอด 46 พรรษา ท่านขาดทำวัตรเพียง 2-3 ครั้งเท่านั้น)
บรรดาญาติโยมที่ศรัทธาท่านบ้างก็ไปตัดพ้อกับท่านเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทร์ เจ้าคุณนรฯ ก็ชี้แจงว่า เหตุที่ท่านอุปสมบทเพื่อถวายพระราชกุศลแด่รัชกาลที่ 6 และศึกษาหลักธรรม จึงต้องการเวลาและความสงบเพื่อศึกษาธรรมะ ถ้ามัวแต่สาละวนคอยรับแขก หรือยุ่งกับเรื่องทางโลก อันไม่ใช่ธุรกิจของสงฆ์ จะทำให้ไม่มีเวลาศึกษาปฏิบัติธรรม
อย่างไรก็ตามในช่วง พ.ศ. 2510-2514 เจ้าคุณนรฯ ที่มีชื่อเสียงด้านวิปัสนาและเคร่งครัดในพระธรรมวินัย ได้อธิษฐานจิตปลุกพระเครื่อง หรือ “เหรียญเจ้าคุณนรฯ” หลายรุ่น ซึ่งจัดว่าได้รับความนิยมจากนักสะสมพระเครื่อง ด้วยมีพุทธคุณขึ้นชื่อว่า ช่วยให้ประสบความสำเร็จในอาชีพหน้าที่การงาน
2.TH01104RP0XM7B FLASH ขอขอบพระคุณท่านที่มาอุดหนุนครับ
ท่านต้องเป็นสมาชิกที่ผ่านการยืนยันตัวตนแล้วเท่านั้น