พระสมเด็จจิตรลดา หรือ พระกำลังแผ่นดิน (หรืออาจเรียกว่า สมเด็จจิตรลดา, พระจิตรลดา) เป็นพระเครื่อง ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เอง พระราชทานแก่ทหาร ตำรวจ ข้าราชการ และพลเรือน ในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2508 - 2513 มีทั้งสิ้นประมาณ 2500 องค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานด้วยพระหัตถ์พระองค์เองมีเอกสารส่วนพระองค์ (ใบกำกับพระ) ซึ่งแสดงชื่อ นามสกุล วันที่รับพระราชทาน หมายเลขกำกับทุกองค์ และภาพพระสมเด็จจิตรลดา (เป็นภาพพระของเพื่อนคนหนึ่งคนใดที่ได้รับพระราชทานในคราวเดียวกัน) โดยทรงมีพระราชดำรัสแก่ผู้รับพระราชทานว่า "ให้ปิดทองที่หลังองค์พระปฏิมาแล้วเอาไว้บูชาตลอดไป ให้ทำความดีโดยไม่หวังสิ่งตอบแทนใดๆ" ดังเช่นในเนื้อเพลงพระราชนิพนธ์ความฝันอันสูงสุด ซึ่งทรงพระราชนิพนธ์ทำนองเมื่อ พ.ศ. 2514
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงออกแบบพระสมเด็จจิตรลดาด้วยพระองค์เอง โดยศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นผู้แกะแม่พิมพ์ถวาย
พระสมเด็จจิตรลดารุ่น 2
พระพุทธนวราชบพิตร พระพิมพ์จิตรลดา โครงการหลวง ปี 2539
ในปี พ.ศ.2539 เป็นมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี คณะกรรมการมีความเห็นที่จะจัดสร้างวัตถุมงคลขึ้นเป็นที่ระลึกเพื่อให้พสกนิกรได้สักการบูชาแสดงความจงรักภักดีน้อมเกล้าฯ ในวโรกาสมหามงคลดังกล่าว และหากจะพึงมีรายรับก็จะนำทูลเกล้าฯ ถวายสนับสนุนมูลนิธิโครงการหลวง คณะกรรมการได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ซึ่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดสร้าง
คณะกรรมการได้เห็นความสำคัญของพระพุทธนวราชบพิตรและพระสมเด็จจิตรลดาดังกล่าว ซึ่งมีความสำคัญและหาได้ยากยิ่ง จึงได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเพื่อจัดสร้างพระพุทธนวราชบพิตร พระพิมพ์จิตรลดา เมื่อได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต จึงเป็นพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้ (นามพระพิมพ์จิตรลดา เพื่อให้แตกต่างจากพระสมเด็จจิตรลดา) จึงได้เกิด “โครงการสร้างพระพุทธนวราชบพิตร พระพิมพ์จิตรลดา ในพระบรมราชินูปถัมภ์” ขึ้น
โครงการ นี้ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงรับโครงการไว้ในพระบรมราชินูปถัมภ์ คณะกรรมการนั้นมีมูลนิธิโครงการหลวง มูลนิธิพัฒนาชีวิตชนบท และ เครือเจริญโภคภัณฑ์ เป็นที่ปรึกษา หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ทรงเป็นประธานกรรมการอำนวยการ พล.อ.ต.กำธน สินธวานนท์ เป็นรองประธานกรรมการอำนวยการ และคุณวัลลภ เจียรวนนท์ เป็นประธานกรรมการดำเนินงาน
การจัดสร้างนั้น แบ่งเป็นพระเนื้อโลหะส่วนหนึ่ง และพระเนื้อผงอีกส่วนหนึ่ง คณะกรรมการได้ดำเนินการ ดังนี้ ด้วยการจัดสร้างพระพุทธนวราชบพิตร พระพิมพ์จิตรลดาในครั้งนี้ มีทั้งพระเนื้อโลหะและพระเนื้อผง พระเนื้อโลหะมีหลายรายการ แต่สร้างจำนวนไม่มาก
พระสมเด็จจิตรลดารุ่นนี้ เรียกว่า " โครงการหลวง CP1 " บริษัทซีพีฯสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองในวโรกาสที่ในหลวงทรงครองราชย์ครบ 50 พรรษา ในปี 2539 จัดสร้างไม่มาก
พระพิมพ์จิตรลดา ขนาดใหญ่ เป็นพระพิมพ์รูปองค์พระพุทธนวราชบพิตรนูนต่ำบนพื้นสามเหลี่ยม สูง 3.2 ซม. ด้านหลังเป็นตรากาญจนาภิเษก มีอักษรว่า โครงการหลวง สร้างเป็นเนื้อทองคำ เงิน และนวโลหะ 2,539 ชุด เฉพาะเนื้อเงิน 40,000 องค์ เฉพาะเนื้อนวโลหะ 40,000 องค์ พระพิมพ์จิตรลดาขนาดเล็ก เหมือนขนาดใหญ่แต่ย่อมกว่า คือสูงเพียง 2.3 ซม. จัดสร้างเนื้อทองคำ เงิน นวโลหะ ชุดละ 3 องค์ รวม 5,000 ชุด เฉพาะเนื้อเงิน 60,000 องค์ เนื้อนวโลหะ 60,000 องค์
พระพิมพ์จิตรลดา เนื้อผงลักษณะและขนาดเหมือนพระพิมพ์จิตรลดาขนาดใหญ่ มีรายละเอียดเหมือนกัน เพียงแต่เป็นเนื้อผงพุทธคุณ จัดสร้างจำนวน 1,000,000 องค์
พระสมเด็จจิตรลดาองค์นี้เป็นพระพิมพ์จิตรลดา เนื้อ พิมพ์ใหญ่ ลักษณะและขนาดเหมือนพระพิมพ์จิตรลดาเนื้อผงพุทธคุณ มีรายละเอียดเหมือนกัน เพียงแต่เป็นเนื้อเงิน