เปิดวัดใจ...เหรียญรัชกาลที่9-พระราชินี ปี2521 เนื้อทองแดง พระราชพิธีสมโภชน์ช้างเผือก จ.เพชรบุรี พร้อมบัตรรับรอง
เหรียญ " ในหลวง - พระราชินี " สมโภชช้างเผือก 3 เชือก จ. เพชรบุรี ปี 2521 เนื้อทองแดง ปลุกเสกพิธีใหญ่ ขนาด 2.4 X 4.1 c.m. สร้างขึ้นเนื่องในพระราชพิธีสมโภชน์ช้างเผือก 3 เชือก ณ จังหวัดเพชรบุรี พิธีใหญ่ เกจิดังในยุคทั่วประเทศร่วมปลุกเสก
รายละเอียดที่มาของเหรียญรุ่นนี้ ได้ตั้งใจค้นหามาเพื่อให้ทุกท่านที่มีใจรักได้รู้ถึงรายละเอียดต่างๆ ครับ เพราะผมต้องการให้ท่านได้ทราบถึงประวัติ และความเป็นมาครับ เป็นความรู้ที่ทรงคุณค่าเพื่อความเข้าใจและเกิดความภูมิใจถึงสิ่งที่เรามีและเป็นเจ้าของครับ
ตามโบราณราชประเพณีมีคติความเชื่อว่า พระมหากษัตริย์มีบุญญาธิการ ต้องมีช้างเผือกคู่พระบารมีมาก แผ่นดินนั้นจะอุดมสมบูรณ์ โดยจะมีคชลักษณะ 7 ประการคือ ตาขาว เพดานขาว เล็บขาว ขนขาว พื้นหนังขาวหรือสีคล้ายหม้อใหม่ ขนหางขาว อัณฑโกสขาวหรือคล้ายสีหม้อใหม่ มีอยู่ 4 ตระกูล คือ อิศวรพงศ์ พรหมพงศ์ วิษณุพงศ์ และอัคนีพงศ์ แต่ละวงศ์มีลักษณะแตกต่างกันไป ทั้งงา และสีผิว
สำหรับในรัชกาลปัจจุบัน มีพระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ เป็นช้างเผือกช้างแรกที่เข้ามาสู่พระบารมี"ข้อความนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบ" โดยรัชกาลปัจจุบันทรงมีช้างเผือกทั้งหมด 20 ช้าง ยังมีชีวิตอยู่ 11 ช้าง ล้มไปแล้ว 9 ช้าง
โบราณราชประเพณีแต่เดิมนั้น ในงานพระราชพิธีสำคัญ อาทิ งานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา งานพระราชพิธีฉัตรมงคล หรือในงานพระราชทานเลี้ยงเพื่อเป็นเกียรติแก่พระราชอาคันตุกะ หรือผู้เป็นประมุขของต่างประเทศที่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท จะต้องมีการนำช้างเผือกแต่งเครื่องคชาภรณ์ไปยืนที่แท่นเกยช้างด้านตะวันตก พระที่นั่งดุสิตาภิรมย์ใน"ข้อความนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบ"มหาราชวัง เพื่อประกอบเกียรติยศ
คติความเชื่อ ช้างเผือก หรือช้างสำคัญ หากเกิดในรัชกาลใด ถือเป็นสัญลักษณ์ที่เป็นสิริมงคลแก่บ้านเมืองและราชบัลลังก์ จึงมีประเพณีประกอบพระราชพิธีสมโภช เพื่อขึ้นระวางเป็นพระยาช้างต้น หรือนางพระยาช้างต้น
คำว่า "ช้างต้น" หมายถึง ช้างที่ได้รับการขึ้นระวางเป็นช้างหลวงส่วนพระองค์ของพระมหากษัตริย์ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือช้างศึกที่ทรงใช้ออกรบ ช้างเผือกซึ่งมีลักษณะต้องตามตำราคชลักษณ์อย่างสมบูรณ์ และช้างสำคัญซึ่งมีลักษณะมงคลตามตำราคชลักษณ์ แต่ยังไม่สมบูรณ์ทุกส่วน
นับแต่โบราณมา กล่าวกันว่า เมื่อมีการพบช้างเผือกในรัชกาลใด เมื่อคล้องช้างเผือกมาได้แล้ว มักจะได้ลิงเผือก และกาเผือกตามมาด้วย จึงเชื่อกันว่าสัตว์ทั้ง 3 ชนิดนี้ อาจเป็นสหชาติคู่พระบารมี
การใช้ลักษณนามต่อท้ายจำนวนช้าง มีความละเอียดอ่อนมาก ช้างป่า ที่ยังไม่ถูกจับตัวมา เรียกว่า ?ตัว? เช่น ช้างป่า 1 ตัว ช้างป่าที่ถูกจับตัวมาแล้ว เรียกว่า ?เชือก? เพราะถูกคล้องมาด้วยเชือก
ส่วน "ช้างต้น" เมื่อผ่านพิธีสมโภชขึ้นระวางแล้ว จะเรียกว่า "ช้าง" เช่น ช้างต้นจำนวน 1 ช้าง
การเป็น "ช้างเผือก" และ "ช้างมงคล" มิได้ถ่ายทอดลักษณะโดยพันธุกรรมจากแม่สู่ลูก แต่เกิดเป็นลักษณะพิเศษขึ้นเองโดยธรรมชาติ จึงเชื่อกันว่าเป็นเพราะพระบารมีของพระเจ้าแผ่นดินพระองค์นั้น เทวะจึงให้กำเนิดช้างซึ่งมีลักษณะพิเศษแตกต่างจากช้างทั่วไป
ช้างเผือก จึงถือเป็น 1 ใน 7 รัตนะคู่บารมีของพระมหากษัตริย์ อันได้แก่ จักรแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว ขุนพลแก้ว ขุนคลังแก้ว ดวงแก้ว (มณี) และ นางแก้ว
ดังนั้น กว่าจะพบ "ช้างต้น" แต่ละช้าง จึงไม่ใช่เรื่องง่าย
ช้างต้น ยังแบ่งออกเป็น 4 ตระกูล เรียกตามนามแห่งเทวะผู้ให้กำเนิด ดังนี้
ช้างตระกูล พรหมพงศ์
เชื่อกันว่า พระพรหมเป็นผู้สร้าง ช้างตระกูลนี้ เมื่อมาสู่พระบารมีของพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใด ย่อมยังให้เกิดความเจริญทั้งทางวัตถุ และวิทยาการต่างๆ
ช้างตระกูล อิศวรพงศ์
พระอิศวรเป็นผู้สร้าง เมื่อมาสู่พระบารมี บ้านเมืองจะมีความเจริญด้วยทรัพย์ และอำนาจ
ช้างตระกูล วิษณุพงศ์
พระวิษณุ (นารายณ์) เป็นผู้สร้าง เมื่อมาสู่พระบารมี เชื่อว่าทำให้มีชัยชนะต่อศัตรู ฝนจะตกต้องตามฤดูกาล ผลาหาร ธัญญาหารจะบริบูรณ์
ช้างตระกูล อัคนิพงศ์
พระอัคนีเป็นผู้สร้าง เมื่อมาสู่พระบารมี เชื่อว่า บ้านเมืองจะเจริญด้วยมังสาหาร และมีผลในทางระงับศึก อันพึงจะเกิดขึ้นหรือเกิดขึ้นแล้ว ทั้งยังมีผลในทางระงับความอุบาทว์ทั้งปวงอันเกิดแก่บ้านเมือง และราชบัลลังก์
ในบรรดาช้างเผือก ยังแบ่งออกเป็น 3 ประเภท แต่ละประเภท มีลักษณะอันเป็นมงคล 7 อย่าง คือตาสีขาว เพดานขาว เล็บขาว ขนขาว ขนหางขาว ผิวหนังสีขาวหรือสีหม้อดินเผาใหม่ และมีอัณฑโกศ (อวัยวะเพศ) สีขาวหรือสีคล้ายหม้อดินเผาใหม่
ช้างเผือกเอก
เรียกว่า "สารเศวต" เป็นช้างเผือกที่มีลักษณะถูกต้องสมบูรณ์ตามตำราคชลักษณ์ ลักษณะพิเศษ ร่างใหญ่ ผิวขาวบริสุทธิ์ดุจสีสังข์ เป็นช้างมงคลคู่บ้านคู่เมือง
ช้างเผือกโท
เรียกว่า "ปทุมหัตถี" สีผิวออกสีชมพู คล้ายกลีบดอกบัวแดงแห้ง เป็นช้างมงคลเหมาะแก่การศึก
ช้างเผือกตรี
เรียกว่า "เศวตคชลักษณ์" มีสีผิวดุจสีใบตองอ่อนตากแห้ง ถือเป็นอีกลักษณะของช้างมงคล
มีการตราไว้เป็นกฎหมายตั้งแต่สมัย ร.5 ว่า ช้างเผือกและช้างมงคลทุกช้าง ที่พบในแผ่นดิน จะต้องนำขึ้นน้อมเกล้าฯถวาย เพื่อให้เป็นช้างคู่พระบารมีของพระเจ้าแผ่นดิน
วันที่เริ่ม May 17, 2022 11:00:57
วันที่ปิดประมูล May 18, 2022 11:22:35
ราคาเปิด10
เพิ่มครั้งละ10
ธนาคารกรุงเทพ (นครราชสีมา) ,
pumbcom
ผู้เสนอราคาล่าสุด