เหรียญรูปไข่ เนื้อทองระฆัง พระพุทธนวราชบพิตร หลังพระปรมาภิไธย ย่อ ภปร. วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร ปี 2529

ปิด สร้างโดย: pire2499   (9684)

เหรียญรูปไข่ เนื้อทองระฆัง พระพุทธนวราชบพิตร หลัง พระปรมาภิไธย ย่อ ภปร. วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร ปี 2529 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงเสด็จพระราชดำเนิน ในการประกอบพิธี

ในโอกาสครบรอบ 72 ปี สภากาชาดไทย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์จัดสร้าง

ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 ซม. สูง 2.5 ซม.

เหรียญพระพุทธนวราชบพิตร
ด้านหลัง ตรา ภปร. พ.ศ. 2529-2530 วัดบวรนิเวศวิหาร

1. พระเครื่องชุดนี้ ได้รับพระราชทานพระนามว่า "พระพุทธนวราชบพิตร" ซึ่งเป็นพระนามเดียวกันกับ "สมเด็จจิตรลดา"
2. เป็นพระที่มีพระพุทธลักษณะ เดียวกันกับ "สมเด็จจิตรลดา"
3. มวลสารผงจิตรลดา พระราชทานพร้อมกัน กับพระกริ่งปวเรศ ปี 30 และเป็นมวลสาร ชุดเดียวกันกับที่ใส่ในรูกริ่ง พระกริ่งปวเรศ

เหรียญพระพุทธนวราชบพิตร วัดบวร ปี 2529 พิธี"พระกริ่งปวเรศปี 30"

เหรียญพระพุทธนวราชบพิตร หลัง ภปร. วัดบวรนิเวศวิหาร พ.ศ. 2529

นำเข้าพิธีพุทธาภิเษก 3 ครั้ง รวมถึงพิธี พระกริ่งปวเรศ ปี 2530 ด้วย

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ ทรงเสด็จพระราชดำเนิน ในการประกอบพิธี ณ.วัดบวรฯ ในวันเสาร์ ที่ 12 เมษายน 2529

สมเด็จพระสังฆราช ทรงเป็นประธาน พิธีอธิฐานจิต โดยมีพระอาจารย์ ผู้ทรงศีลาจริยวัตร ร่วมพิธี ดังนี้

1.พระญาณโพธิ์ (เข็ม) วัดสุทัศน์
2.หลวงปู่เมฆ วัดลำกระดาน
3.หลวงพ่อสิม วัดถ้ำผาปล่อง
4.หลวงพ่อสำเนียง วัดเวฬุวนาราม
5.หลวงพ่อพุทธ ฐานิโย
6.หลวงพ่อมงคลธรรมสุนทร วัดบางนา
7.หลวงพ่อเกตุ วัดเกาะหลัก
8.หลวงพ่อพรหม วัดขนอนเหนือ
9.หลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ
10.หลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม
11.หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม
12.หลวงพ่อไพฑูรย์ วัดโพธินิมิต
13.หลวงพ่อพระราชพรหมยาน (ฤๅษีลิงดำ)ฯลฯ


ประวัตพระพุทธนวราชบพิตร

พระพุทธนวราชบพิตร เป็นพระพุทธรูปที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชดำริสร้างพระราชทานเป็นพระประจำจังหวัด เมื่อ พ.ศ. 2508 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ศาสตราจารย์ไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์ นายช่างกองหัตถศิลป์ กรมศิลปากร ปั้นหุ่นพระพุทธนวราชบพิตร ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน และทรงพระพุทธลักษณะด้วยพระองค์เองจนพอพระราชหฤทัยแล้ว จึงได้โปรดเกล้าให้เททองหล่อพระพุทธรูป เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2509

พุทธลักษณะองค์ต้นแบบ พระพุทธนวราชบพิตร เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย มีขนาดหน้าตักกว้าง 23 เซนติเมตร สูง 40 เซนติเมตร ที่บัวฐานด้านหน้าบรรจุพระพิมพ์ พระสมเด็จจิตรลดา ไว้อีกองค์หนึ่ง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระพุทธนวราชบพิตรให้เป็นพระพุทธรูปประจำจังหวัด ประดิษฐานไว้ ณ ศาลากลางจังหวัดของทุกจังหวัด และเป็นพระพุทธรูปประจำหน่วยทหาร ประดิษฐานไว้ ณ กองบัญชาการหน่วยทหาร จังหวัดแรกที่ได้รับพระมหากรุณาพระราชทานพระพุทธนวราชบพิตร คือ จังหวัดหนองคาย ซึ่งได้รับพระราชทานเมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2510 ในโอกาสนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้ทรงมีพระราชดำรัสแก่ชาวจังหวัดหนองคาย มีความสำคัญที่ขออัญเชิญมาเฉพาะบางตอน ดังนี้

" ข้าพเจ้ามาเยี่ยมท่านคราวนี้ ได้นำพระพุทธนวราชบพิตรมามอบให้ด้วย พระพุทธรูปองค์นี้ข้าพเจ้าสร้างขึ้นเพื่อมอบไว้เป็นพระพุทธรูปประจำจังหวัด ที่ฐานบัวหงายข้าพเจ้าได้บรรจุพระพิมพ์องค์หนึ่ง ซึ่งทำขึ้นด้วยผงศักดิ์สิทธิ์ อันได้มาจากจังหวัดต่างๆ ทั่วราชอาณาจักร "

" พระพุทธนวราชบพิตรองค์นี้ นอกจากจะถือว่าเป็นนิมิตหมายแห่งคุณพระรัตนตรัย อันเป็นที่เคารพสูงสุดแล้ว ข้าพเจ้ายังถือเสมือนเป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ของประเทศไทย และความสามัคคีกลมเกลียวกันของประชาชนชาวไทยอีกด้วย ข้าพเจ้าจึงได้บรรจุพระพิมพ์ที่ทำขึ้นด้วยผงศักดิ์สิทธิ์ทั่วราชอาณาจักรดังกล่าว และนำมามอบให้แก่ท่านด้วยตนเอง "

" ขออานุภาพแห่งพระพุทธนวราชบพิตร จงปกปักรักษาท่านให้พ้นจากทุกข์ภัยทุกๆ ประการ บันดาลให้เกิดความสุขสวัสดี มีความก้าวหน้ารุ่งเรืองในการประกอบอาชีพ และมีความสมัครสมานกัน ในอันที่จะร่วมกันสร้างเสริมความมั่นคง และความเจริญก้าวหน้าให้แก่บ้านเมืองของเราสืบไป "

เหลือเวลา
รายการปิดแล้ว!

วันที่เริ่ม August 15, 2020 01:35:47
วันที่ปิดประมูล August 16, 2020 12:15:55
ราคาเปิด50
เพิ่มครั้งละ50
ธนาคารทหารไทย (เดอะมอลล์3รามคำแหง) , ทหารไทย (เดอะมอลล์3รามคำแหง) , กสิกรไทย (วงเวียนสระแก้วลพบุรี) ,

aten

ผู้เสนอราคาล่าสุด

150

ราคาล่าสุด


ความคิดเห็นจากผู้ซื้อ



atenAugust 24, 2020 11:42:32

ความคิดเห็นจากผู้ขาย


+1 Auto Feedback


pire2499September 16, 2020 12:19:00

รายละเอียดเพิ่มเติม

ความเห็นจากเพื่อนสมาชิก

ประวัติการประมูล

ประวัติการเสนอราคา

ชื่อสมาชิก/วันที่เสนอราคา เสนอ

ประวัติการเสนอราคา

เหลือเวลา
รายการปิดแล้ว!


ต้องการเข้าร่วมประมูล !

ท่านต้องเป็นสมาชิกที่ผ่านการยืนยันตัวตนแล้วเท่านั้น