พระสมเด็จคะแนน หลวงปู่ดู่ วัดสะแก เนื้อผงผสมปูน(เลี่ยมเก่ามาเดิมๆ) จ.อยุธยา ปี พ.ศ.2517-2527 พร้อมบัตรรับรอง ครับ
หลวงปู่ดู่ท่านพูดเสมอว่า “ติดวัตถุมงคล ยังดีกว่าติดวัตถุอัปมงคล” หลวงปู่ดู่ท่านได้สร้างพระมาตลอดตั้งแต่ที่ท่านบวช ท่านบอกว่า "ใจเราจะได้อยู่กับพระ เป็นบุญเป็นกุศล ดีกว่าเอาเวลาไปทำอย่างอื่น" ดังนั้นการสร้างพระของหลวงปู่ดู่โดยส่วนใหญ่ท่านจะทำด้วยองค์ท่านเอง โดยเฉพาะพระเนื้อผงพิมพ์ต่าง ๆ ท่านจะทำด้วยองค์ท่านเองตลอด ต่อมาระยะหลังท่านอนุญาตให้ลูกศิษย์ถวายงานสร้างวัตถุมงคล ด้วยเหตุผลที่ว่า "การสร้างพระจะได้กุศลมาก" ท่านเริ่มต้นสร้างพระในปี ๒๔๙๒ เริ่มสร้างวัตถุมงคลขึ้นเป็นวาระแรก หลังจากนั้นก็สร้างเรื่อยมา ซึ่งท่านจะสร้างเป็นเนื้อผง ทั้งเนื้อผงพุทธคุณ และเนื้อผงพุทธคุณผสมกับปูนชนิดต่าง ๆ
ผงพุทธคุณที่หลวงปู่ดู่ท่านสร้าง
การสร้างผงพุทธคุณของหลวงปู่ดู่นั้น ท่านได้เริ่มสร้างตั้งแต่ท่านบวชในพรรษาที่ ๓ เรื่อยมากว่า ๓๐ ปี ท่านจะสร้างและเก็บเอาไว้ในโอ่งมังกรราว ๆ ๓ โอ่ง วิธีการสร้างผงของหลวงปู่ดู่ ท่านจะใช้ดินสอพองปั้นเป็นแท่งเขียนยันต์อักขระต่าง ๆ บนกระดานชนวนจนหมด แล้วนำผงที่ได้มาปั้นผสมกับน้ำข้าวเป็นแท่งยาวราว ๓-๔ นิ้ว ให้ได้จำนวน ๘ แท่งแล้วนำมาเขียนยันต์และอักขระอีก จากนั้นจึงลบผงจนหมดแล้วนำมาปั้นขึ้นอีกให้ได้ ๘ แท่งแล้วนำมาเขียนเลขยันต์อักขระจนหมดก็ลบผงเพื่อนำมาปั้นใหม่ ท่านจะทำเช่นนี้ ๗ ครั้ง ผงที่ได้จึงจะเป็นผงพุทธคุณที่สามารถนำมาใช้เป็นส่วนผสมในการสร้างพระได้
รวมถึงมวลสารต่าง ๆ ที่หลวงปู่ดู่ท่านใช้ในการสร้างพระ การสร้างพระของหลวงปู่ดู่ท่านจะรวบรวมมวลสารศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ มากมายจากวัสดุและวัตถุที่เป็นมงคลจากคณาจารย์ต่าง ๆ ทั้งจากครูบาอาจารย์ของท่าน และผงที่ท่านทำสะสมไว้ได้แก่
- ผงอิทธิเจ
- ผงปถมัง
- ผงมหาราช (ผงที่ได้รับจากหลวงปู่ใหญ่)
- ผงพุทธคุณ
- ผงตรีนิสิงเห
- ผงสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม (หลวงปู่ใหญ่มอบสมเด็จวัดระฆัง ๑ องค์เป็นส่วนผสม)
- ผงขมิ้น
- ผงถ่านโพธิ์ (โพธิ์ใต้ต้นแม่ ได้แถวปราจีนบุรี)
- ผงใบลาน
- ผงแก่งละว้า
- ผงอัฐิธาตุของหลวงพ่อกลั่น
- ผงชันและน้ำมันยาง
๒ ผงขี้ธูปบูชาพระธาตุต่างๆ
๓ ข้าว ๗ ทุ่ง
๔ ดิน ๗ ท่า (ท่าเรือ)
๕ ใครเสมา ๗ วัด
๖ ดินรังหมาร่า (ที่ร้างแล้ว อุดตามประตู หน้าต่าง หรือพระเนตร พระกัณฑ์พระพุทธรูป
๗ ดินขุยปู ในเดือน ๓ ขึ้น ๓ ค่ำ
๘ น้ำมันจันทร์ น้ำมันงา น้ำมันหอมต่าง ๆ
๙ สีผึ้ง
๑๐ เทียนชัย
๑๑ ว่านต่าง ๆ
๑๒ น้ำมนต์ต่าง ๆ (โดยเฉพาะน้ำมนต์ของวัดตูม)
๑๓ แร่เหล็กไหล
๑๔ ซีเมนต์ดำ ซีเมนต์ขาว
ซึ่งมวลสารสำคัญข้างต้นท่านได้นำมาสร้างพระในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งจะแยกเป็นหมวดหมู่ตามชนิดของการสร้างพระ เช่นพระเนื้อผงก็จะใช้มวลสารประเภทผงต่าง ๆ พระเนื้อดินก็จะใช้มวลสารที่มีดินเป็นองค์ประกอบสำคัญ และในการสร้างพระในช่วงแรก ๆ นั้น วิธีการในการสร้างพระของหลวงปู่ดู่ท่านเป็นวิธีการสร้างแบบเรียบง่าย ไม่ซับซ้อน และท่านจะดำเนินการด้วยองค์ท่านเองเป็นส่วนใหญ่ ท่านจะสร้างด้วยมือขององค์ท่านเอง ด้วยการทำพิมพ์ การผสมผง การเทผง และการตกแต่งองค์พระ ให้ได้รูปทรงสวยงามเรียบร้อย ด้วยมือท่านเองทุกขั้นตอน