พระสมเด็จ เจ้าคุณนร วัดวิเวกวนาราม เนื้อผง พิมพ์อกร่องหูบ่ายศรี

เปิด สร้างโดย: yimed  VIP   (200)

พระสมเด็จ เจ้าคุณนร วัดวิเวกวนาราม เนื้อผง พิมพ์อกร่องหูบ่ายศรี  ขนาดกว้าง 2 ซม. สูง 3.2 ซม.

ประวัติที่มาของพระเจ้าคุณนรฯ ชุดวัดวิเวกวนาราม วัดวิเวกวนาราม ตั้งอยู่ริมน้ำคลองสิบหก อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา ในระหว่างปี พ.ศ. 2511 คุณลุงแก้ว ศิริรัตน์ ซึ่งเป็นไวยาวัจกร วัดวิเวกฯ ผู้ซึ่งช่วยเป็นธุระในการพัฒนาวัดให้แก่เจ้าอาวาส ได้เห็นสภาพศาลาการเปรียญชำรุดทรุดโทรมมาก จำเป็นต้องหาปัจจัยมาบูรณะซ่อมแซมและพัฒนาศาลาการเปรียญใหม่ทั้งหมด คุณลุงแก้วจึงได้ปรึกษาหารือกับบุตรชาย คือ นายแพทย์สุพจน์ และนายเชาว์ ศิริรัตน์ ปลัดอำเภอ ว่า จะทำการสร้างพระเครื่องแล้วนำไปขอความเมตตาให้ท่านเจ้าคุณนรฯ อธิษฐานจิต เพื่อนำมาแจกให้กับผู้มีจิตศรัทธาบริจาคทรัพย์สมทบทุนสร้างศาลาการเปรียญใหม่ หลังจากปรึกษาหารือกันเรียบร้อยแล้ว จึงตกลงที่จะดำเนินการจัดสร้างพระเครื่องเพื่อการดังกล่าว และเดินทางเข้ากรุงเทพฯ ไปยังวัดเทพศิรินทร์ เพื่อขออนุญาตจากท่านเจ้าคุณนรฯ ในการสร้างพระครั้งนี้ ไม่มีการหักค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น ปัจจัยที่ได้จากการบริจาคทุกบาททุกสตางค์ได้นำไปสร้างศาลาการเปรียญทั้งหมด เมื่อได้รับอนุญาตจากท่านเจ้าคุณนรฯ คุณลุงแก้วได้นำผงวิเศษและวัสดุมงคลต่าง ๆ มาบดละเอียดแล้วบรรจุใส่ในขวดโหลแก้ว และนำมาตั้งไว้บนชุกชีฐานพระประธานภายในอุโบสถเพื่อให้พระภิกษุสามเณรภายในวัดได้ร่วมกันปลุกเสกเป็นเวลา 1 ไตรมาส ตามที่ท่านเจ้าคุณนรฯ แนะนำไว้ หลังจากนั้นคุณลุงแก้วจึงได้นำผงวิเศษในขวดโหลแก้วไปดำเนินการสร้างเป็นพิมพ์พระชุดวัดวิเวก และได้นำมาให้ท่านเจ้าคุณนรฯ อธิษฐานจิตอีกครั้งหนึ่งก่อนนำออกให้สาธุชนที่มีจิดเลื่อมใสศรัทธาได้บูชาเพื่อนำปัจจัยมาบูรณะซ่อมแซมศาลาการเปรียญวัดวิเวกวนารามต่อไป `ผงวิเศษในขวดโหลแก้วที่ใช้เป็นส่วนผสมในการสร้างพระผงชุดวัดวิเวกวนาราม ผงเศษชิ้นส่วนสมเด็จวัดระฆัง (ยืนยันว่าเป็นพระสมเด็จของแท้แน่นอน) และพระสมเด็จบางขุนพรหม กรุใหม่ ซึ่งได้จากเจ้าอาวาสวัดใหม่อมตรส คราวเปิดกรุปี พ.ศ.2500 พระผงกรุวัดสามปลื้มที่ชำรุดแตกหัก ได้รับมาจาก พระครูประสิทธิ์สมณการ เจ้าคณะ 8 วัดสามปลื้ม ประมาณครึ่งปี๊บ ผงตะไบชนวนพระชัยวัฒน์ท่านเจ้ามา วัดสามปลื้ม ได้รับมอบจากพระครูประสิทธิ์สมณการ เจ้าคณะ 8 เช่นกัน พระรูปเหมือนปั้น กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า วัดราชบพิธ ที่สร้างด้วยเนื้อผงขนาดหน้าตัก 7 นิ้ว รุ่นปี พ.ศ. 2485 แต่ชำรุดจำนวน 2 องค์ พระเครื่องเนื้อผง และเนื้อดินเผาทั้งพระกรุเก่า และพระเกจิที่ชำรุดแตกหัก ซึ่งขอมาจากชาวบ้านแถวตลาดคลองสิบหก ซึ่งล้วนแต่เป็นพระแท้ที่มีราคาค่างวดในปัจจุบันทั้งสิ้น พระเครื่องกรุเก่า เช่น พระขุนแผน พระเมืองกำแพง พระลำพูน ฯลฯ ที่ชำรุดแตกหัก ของลุงแก้วเอง ผงนะซ่อนตัว หลวงปู่จีน วัดท่าลาด จ. ฉะเชิงเทรา ที่ได้มาจากทายาทของท่าน ผงชานหมาก หลวงพ่อคล้าย วาจาสิทธิ์ วัดสวนขันธ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช สีผึ้งและแป้งเสก หลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว จ.สุพรรณบุรี แป้งดินสอพองที่นำไปให้ท่านเจ้าคุณนรฯ อธิษฐานจิดเป็นกรณีพิเศษ ใบโพธิ์ จากต้นโพธิ์ข้างโบสถ์วัดเทพศิรินทร์ ใบโพธิ์ จากต้นโพธิ์ที่วัดหลวงพ่อโสธร และทองคำเปลวปิดองค์หลวงพ่อโสธร ตลอดจนขี้ธูปบูชาในโบสถ์หลวงพ่อโสธรด้วย ดินสังเวชนียสถาน 4 แห่งจากประเทศอินเดีย ผ้ายันต์ของพระคณาจารย์ ซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังนำมาบดเป็นผง ว่าน 108 ชนิด และเกสรดอกไม้บูชาพระจากสถานที่ศักดิ์สิทธิ์หลายแห่ง รูปแบบพิมพ์พระชุดวิเวกวนาราม พระผงชุดวัดวิเวกวนารามที่ได้จัดสร้างขึ้นในคราวนั้น มีหลายพิมพ์ เช่น พิมพ์สมเด็จ พิมพ์ซุ้มกอ พิมพ์สมเด็จซุ้มเรือนแก้ว พิมพ์ปิดตา พิมพ์หลวงพ่อโสธร ฯลฯ ซึ่งแบบพิมพ์ที่จัดสร้างขึ้นนั้นส่วนใหญ่จะไม่ค่อยงดงาม บางองค์จะกดติดพิมพ์ตื้น ลักษณะเนื้อผงจะมีสีเหลืองอมน้ำตาลหม่นคล้ายกับพระที่ผ่านการใช้สัมผัสมาจนสีดูเข้มจัดสาเหตุเกิดจากส่วนผสมของผงวิเศษที่ประกอบด้วยวัตถุมงคลมากมายหลากหลายชนิดด้วยกันนั้นเอง ทำให้การประสานจับตัวเข้าด้วยกันลำบาก สภาพพระที่พบจึงมักเห็นมีการหลุดร่อนและเกิดการกระเทาะตัวของเศษผงที่เป็นผิวหน้าขององค์พระเสมอ อีกทั้งฝีมือการออกแบบแม่พิมพ์ก็ไม่ได้สวยงามเหมือนกับพระเจ้าคุณนรฯ ในชุดอื่น ๆ พระสมเด็จวัดวิเวกฯ เป็นพิมพ์ที่ได้รู้จักและได้รับความนิยมสูงสุดในบรรดาพิมพ์ต่าง ๆ ที่จัดสร้างขึ้นในคราวเดียวกัน โดยแบ่งพิมพ์ออกเป็น 4 พิมพ์ด้วยกันคือ   หลังยันต์นูน ซึ่งมีค่าความนิยมสูงสุด รองลงมาได้แก่พิมพ์สมหลังยันต์จม หลังยันต์หมึก (ปั๊ม) และหลังเรียบ ส่วนพิมพ์ซุ้มกอ สมเด็จซุ้มเรือนแก้ว พิมพ์โสธร พิมพ์พระปิดตา จะมีจำนวนการสร้างไม่มากและไม่ค่อยมีพระหมุนเวียนให้เห็นในสนามบ่อยนัก ประสบการณ์และพุทธคุณ หากได้ศึกษาประวัติการสร้างพระชุดวัดวิเวกอย่างลึกซึ้งแล้วจะพบว่า พระชุดวัดวิเวกนั้นมีคุณสมบัติครบ 3 ประการของการเป็นพระเครื่องที่น่าใช้บูชา คือ ผู้สร้างมีเจตนาการสร้างดีและบริสุทธิ์ ไม่ได้มุ่งแสวงหาผลประโยชน์กำไรหรือเพื่อการพาณิชย์แบบในปัจจุบัน เกจิอาจารย์ที่ปลุกเศกหรืออธิษฐานจิตเป็นผู้ที่น่าเคารพเลื่อมใสศรัทธา เป็นผู้ที่ควรค่าแก่การกราบไหว้บูชาได้โดยสนิทใจชนิดไม่มีข้อกังขา มวลสารและส่วนประกอบที่ใช้ในการสร้างพระตลอดจนพิธีกรรมยอดเยี่ยม


เหลือเวลา

วันที่เริ่ม November 15, 2024 12:06:09
วันที่ปิดประมูล November 25, 2024 12:06:09
ราคาเปิด1000
เพิ่มครั้งละ100
ธนาคารกรุงเทพ (สาทร) ,

-

ผู้เสนอราคาล่าสุด

1000

ราคาล่าสุด


รายละเอียดเพิ่มเติม

ความเห็นจากเพื่อนสมาชิก

ประวัติการประมูล

ประวัติการเสนอราคา

ชื่อสมาชิก/วันที่เสนอราคา เสนอ

ประวัติการเสนอราคา

เหลือเวลา


ต้องการเข้าร่วมประมูล !

ท่านต้องเป็นสมาชิกที่ผ่านการยืนยันตัวตนแล้วเท่านั้น