พระหลวงพ่อโต กรุท่าฉนวน เนื้อตะกั่วสนิมแดง จ.ชัยนาท
(พร้อมบัตรรับรองสถาบันดีดีพระ)
ประวัติการพบพระหลวงพ่อโตกรุท่าฉนวน
****เมื่อประมาณปีพ.ศ.2500 บริเวณหลังตลาดท่าฉนวน ได้มีวัดร้างอยู่วัดหนึ่ง ชาวบ้านมักเรียกกันในท้องถิ่นว่า...
“วัดป่าพง” (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของโรงเรียนประชาบาลตำบลท่าฉนวน) ในครานั้นปรากฏพระเจดีย์เก่าที่ชำรุดทรุดโทรมอยู่องค์หนึ่ง
ซึ่งแฝงตัวอยู่ในกลุ่มไม้และชายป่า ต่อมาได้มีผู้ลักลอบเข้าไปขุดหาของมีค่าในบริเวณเจดีย์วัดป่าพง ซึ่งทำให้พบพระเครื่อง
เนื้อชินตะกั่วเป็นจำนวนมาก โดยพระเครื่องที่ขุดได้นี้มีด้วยกัน 2 พิมพ์หลักๆ ได้แก่
1) พระพิมพ์หลวงพ่อโต พระพิมพ์นี้มีลักษณะเหมือนกับพระหลวงพ่อโต กรุจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กล่าวคือ
องค์พระจะประทับนั่งอยู่ภายในกรอบรูปกลีบบัว (สำหรับองค์ที่ติดเต็มพิมพ์)ยอดบนเป็นทรงมนแหลม พระส่วนใหญ่จะเป็น
พิมพ์สมาธิขัดเพชร พิมพ์มารวิชัยมีปรากฏเหมือนกัน แต่มีจำนวนน้อยกว่าพิมพ์สมาธิขนาดของพระหลวงพ่อโต จะมีทั้ง
ขนาดใหญ่และเล็กลดหลั่นกันลงมา แต่เท่าที่พบจะเห็นได้ว่า พระหลวงพ่อโตกรุท่าฉนวน จะมีขนาดเล็กกว่าพระหลวงพ่อโต
กรุจังหวัดพระนครศรีอยุธยาอย่างเห็นได้ชัด บริเวณผนังด้านหลังขององค์พระจะมีทั้งประเภทเทเต็มและเทไม่เต็ม (ติดเต็ม
พิมพ์และติดไม่เต็มพิมพ์)
2) พิมพ์พระสังกัจจายน์พระพิมพ์นี้หากดูคร่าวๆ พบว่า พิมพ์ทรงไม่ได้ต่างไปจากพิมพ์หลวงพ่อโตเท่าใดนัก
แต่จะต่างกันก็ที่พุทธลักษณะขององค์พระ แลดูอ้วนลำและบริเวณพระอุทร(ท้อง) จะแลดูอ้วน มีพุงยื่นออกมาอย่างเห็นได้ชัด
สำหรับพิมพ์อื่นๆ นั้น ก็พบบ้างแต่มีจำนวนน้อย เช่น พิมพ์วัดตะไกร, พิมพ์มารวิชัย เป็นต้น โดยเนื้อหาวรรณะของ
พระกรุท่าฉนวนนั้นเป็นเนื้อชินตะกั่วออกเป็นสีเทาเข้มถึงดำ บางองค์ปรากฏสนิมแดงจัดจับตามองค์พระโดยทั่วไป และอาจ
จะปรากฎสนิมไขจัดเกาะอยู่ตามองค์พระมากบ้างน้อยบ้างต่างกันตามลักษณะการบรรจุกรุ สำหรับพุทธคุณของพระกรุท่า
ฉนวนนั้น เชื่อกันมาแต่โบราณว่าทรงอานุภาพทางด้านแคล้วคลาดและคงกระพันยิ่ง จนเป็นที่เล่ากันกันมาแต่โบราณไม่รู้ลืม