พระโพธิจักร เนื้อดิน ท่านพ่อลี วัดอโสการาม จ.สมุทรปราการ พิมพ์ห้าเหลี่ยม ปี 2500
(พร้อมบัตรรับรองสถาบันดีดีพระ)
***ท่านพ่อลีได้เริ่มสร้างพระเครื่องที่วัดป่าคลองกุ้ง จ.จันทบุรี ในราวกลางเดือนยี่ของปี พ.ศ.๒๔๙๖ และนำมาพุทธาภิเษกในงานวันวิสาขบูชาปีเดียวกันนี้ด้วย
***ตามคำบอกเล่าของพระอ.สนั่น และคุณมงคล จิรวัฒน์ เสร็จแล้วได้นำออกแจกจ่ายให้ประชาชนในวันงานด้วย สำหรับพระพิมพ์พระเครื่องของท่านนั้นได้มาจากประเทศอินเดียว เมื่อคราวไปประเทศอินเดียครั้งที่ ๒ กับโยมสมุทร สุทธิสาคร ขณะนั้นยังบวชเป็นพระอยู่ ต้นแบบพิมพ์จริงๆ นั้นเป็นพระที่แกะมาจากงาช้าง เป็นรูปพระพุทธเจ้าประทับอยู่กลางรูปใบโพธิ์ มียันต์ล้อมรอบอยู่ ๔ ตัว ถามผู้รู้ท่านอ่านว่า "พุทธจักร" แกะโดยฝีมือช่างอินเดีย พิมพ์นี้เป็นรูปพระพุทธเจ้าประทับนั่งอยู่ในท่าปางสมาธิ ส่วนอีกพิมพ์หนึ่งเป็นรูปใบโพธิ์เช่นกัน แต่องค์พระจะมองดูลำสันกว่า ประทับอยู่ในท่าปางปฐมเทศนา ยกพระหัตถ์ขึ้นระดับอก ไม่มียันต์ "พุทธจักร์" ล้อมรอบองค์พระทั้งสองพิมพ์นี้นำมาแกะเป็นแม่พิมพ์ใหม่ ด้านหลังองค์พระจะเรียบ ไม่มียันต์ใดๆ ทั้งสิ้น แต่บางองค์จะปรากฏเป็นรอยนิ้วมือบ้าง เพราะใช้อัดองค์พระพิมพ์ด้วยมือก็มี และนำมาปาดหลังก็มี
***ต่อมาได้นำพระทั้งสองพิมพ์นี้มาตัดเป็นห้าเหลี่ยมมุมแหลม และกลายเป็นอีกพิมพ์หนึ่ง นอกจากนี้ยังได้นำพิมพ์มาจากที่อื่นๆ และแกะขึ้นเองอีกหลายพิมพ์ เช่น แบบสมเด็จวัดระฆังบางพิมพ์ แบบสมเด็จบางขุนพรหมบางพิมพ์ แบบสมเด็จหลวงปู่ภูบางพิมพ์ แบบสมเด็จมฤคทายวันพิมพ์คะแนน แบบพระนางพญาที่แกะขึ้นเอง และแบบพระนางพญาพิมพ์สุโขทัย มีทั้งพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก แบบพระรอดมีทั้งใหญ่, กลาง, เล็ก แบบพิมพ์ขุนแผน แบบพิมพ์พระพุทธชินราช แบบพิมพ์พระประจำวันต่างๆ พิมพ์นางกวัก พิมพ์สมเด็จนำมาตัดเป็นแบบสามเหลี่ยมมุมแหลมก็มี
***สำหรับพิมพ์ใบโพธิ์สมาธินั้นภายหลังนำมาแกะแม่พิมพ์เพิ่มขึ้นอีก ลักษณะจะเล็กและลีบกว่าพิมพ์แรกเราจึงเรียกแบบ โพธิ์เล็ก ซึ่งเป็นที่นิยมรองลงมาจากโพธิ์ใหญ่ และทั้งสองแบบนี้ บางองค์จะปรากฏยันต์อยู่ด้านหลังก็มี อาทิเช่น ยันต์ดวงใหญ่ ส๑ ซึ่งถือว่าออกที่วัดป่าคลองกุ้ง ยันต์ดวงเล็ก ส.๒ ถือกันว่าออกที่วัดอโศการาม ที่เป็นยันต์เฑาะขัตมากก็มีบ้างแต่น้อยมาก มียันต์ดวงอีกชนิดหนึ่ง เราเรียกว่ายันต์ดวงเล็กรอบๆ ยันต์มีเป็นกลีบบัวเล็กๆ ยันต์นี้ถือว่าออกที่วัดอโศการามเช่นกัน
***ท่านพ่อลีท่านได้สะสมมวลสารที่เป็นมงคลและศักดิ์สิทธิ์ๆ ไว้จำนวนมาก และนำมาเป็นส่วนผสมสร้างพระเครื่องของท่าน พระอ.สนั่นและคุณมงคล จิรวัฒน์เล่าว่า มีผงศักดิ์สิทธิ์และเส้นเกศาของ ๗ อาจารย์ที่กำลังดังในสมัยนั้นรวมอยู่ด้วยคือ
๑.พระอ.เสาร์ กนฺตสีโล
๒.พระอ.มั่น ภูริทตฺโต
๓.พระอ.ฝั้น อาจาโร
๔.พระอ.เทสน์ เทสรังสี
๕.พระอ.กงมา จิรปุญฺโญ
๖.พระอ.หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันน
๗.พระอ.ชา สุภทฺโท
การสร้างพระเครื่องนี้เนื้อดินเผาที่วัดป่าคลองกุ้งนั้น ดินส่วนใหญ่ที่นำมาสร้างเป็นดินที่ได้มาจากการขุดสระซึ่งอยู่ในบริเวณวัดป่าคลองกุ้งนั่นเอง ลักษณะจะเป็นดินเหนียวปนทราย นำมาแช่น้ำแล้วใส่ครกช่วยกันตำ ๔ คน ใส่ผงวิเศษ ใส่น้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ เมื่อดินดีได้ที่แล้วจึงนำมาอัดแม่พิมพ์ นำออกผึ่งแดดเก็บไว้ เมื่อทำได้มากพอประมาณแล้วจึงนำมาเผาไฟเพื่อให้เนื้อพระแข็งแกร่ง พระอ.สนั่นเล่าว่าในบริเวณที่สร้างพระนั้น ท่านห้ามผู้หญิงเข้าเด็ดขาด