พระกลีบบัว กรุวัดลิงขบ สภาพสวยเดิมๆ
จัดเป็นพระกรุเนื้อดินเผายุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ จัดสร้างในราวปี พ.ศ.2410
พระกรุวัดลิงขบเป็นพระกรุเนื้อดินเผาละเอียด
สีแดงอมส้ม และ สีหม้อใหม่ มีทรายทองอยู่ในเนื้อเป็นบางแห่ง
แตกกรุเมื่อประมาณปี พ.ศ.2509 จัดเป็นพระกรุเนื้อดินอีกกรุหนึ่ง
"วัดลิงขบ"
เป็นชื่อที่ชาวบ้านเรียกกัน ชื่อทางราชการคือ "วัดบวรมงคล"
เป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชั้นราชวรวิหาร ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา
ฝั่งธนบุรี ใกล้กับโรงงานสุราบางยี่ขัน ท้องที่บางพลัด กทม. ในแผ่นดินของ
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
มีชาวรามัญ (มอญ) อพยพมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารมาก
และมีพระสงฆ์ติดตามมาด้วยล้นเกล้าฯ จึงทรงกำหนดสถานที่ให้อยู่เป็นที่ๆ
รวมทั้งบริเวณ วัดลิงขบ นี้ด้วย
ตามหลักฐานบางแห่งกล่าวว่า
กรมพระยาราชวังบวรสถานมงคลมหาเสนานุรักษ์ พระเจ้าน้องยาเธอ ในรัชกาลที่ ๒
ได้ทรงสถาปนา วัดลิงขบ นี้เป็นพระอารามหลวง แล้วพระราชทานนามใหม่ว่า
"วัดบวรมงคล"
"วัดบวรมงคล" เป็นวัดรามัญส่วนกลาง
มีพระราชาคณะฝ่ายรามัญมาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสติดต่อกันมา จนถึงปี ๒๔๖๒
สภาพวัดทรุดโทรมมาก พระรามัญมาอยู่น้อย
จึงได้มีการเปลี่ยนแปลงวัดนี้เป็นวัดทางธรรมยุตสืบมาจนถึงทุกวันนี้
ผู้สร้าง "พระกลีบบัว"
เมื่อ
พระรามัญมุนี (ยิ้ม) เจ้าอาวาสวัดบวรมงคล รูปที่ ๓ ได้มรณภาพลง (ครองวัดปี
๒๓๘๐-๒๔๑๐) พระสุเมธาสจารย์ (ศรี) ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่ "พระครูราชปริศ"
ได้มารักษาการในตำแหน่งเจ้าอาวาสแทน พระสุเมธาจารย์ (ศรี) เป็นชาวบางพูด
จ.นนทบุรี เกิดในสมัยรัชกาลที่ ๓ ปี ๒๓๗๘ ได้บวชเรียนใน
สำนักวัดปรมัยยิกาวาส ตั้งแต่อายุได้ ๑๐ ปี
และได้อุปสมบทแบบพระรามัญที่วัดบางพูด เมื่อปี ๒๓๙๙ มาอยู่ วัดชนะสงคราม
บางลำพู แล้วย้ายมาอยู่ วัดบวรมงคล ระยะหนึ่ง ช่วงปี ๒๔๑๐
แล้วจึงกลับมาเป็นเจ้าอาวาสวัดชนะสงครามจนถึงกาลมรณภาพ เมื่อปี ๒๔๕๕
สิริรวมอายุได้ ๗๘ ปี ในขณะรักษาการตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดบวรมงคล ปี ๒๔๑๐
นั้น ท่านได้บูรณะปฏิสังขรณ์เสนาสนะภายในวัดเป็นการใหญ่
และได้สร้างเจดีย์ขึ้นองค์หนึ่งเพื่อไว้เป็นอนุสรณ์ เมื่อสร้างเจดีย์เสร็จ
ได้นำเอาพระพุทธรูปพระเครื่องและสิ่งของมีค่าต่างๆ บรรจุไว้ในองค์เจดีย์
รวมทั้งได้สร้าง พระพิมพ์กลีบบัว เนื้อดินเผา บรรจุไว้ด้วย
เพื่อเป็นการสืบพระศาสนาด้วย
การสร้าง "พระพิมพ์กลีบบัว" นี้
พระสุเมธาจารย์
เป็นประธานฝ่ายสงฆ์โดยมีพระเถราจารย์ผู้เรืองเวทวิทยาคมในสมัยนั้นมาร่วมพิธีปลุกเสก
ซึ่งมีอยู่มากมายหลายท่านด้วยกัน มีบางท่านกล่าวว่า พระพิมพ์กลีบบัว
นี้สร้างในช่วงที่ เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆังฯ ธนบุรี
ยังมีชีวิตอยู่ จึงอาจจะเป็นไปได้ว่า เจ้าประคุณสมเด็จโตฯ
จะได้รับนิมนต์มาร่วมปลุกเสกด้วยก็ได้ เมื่อเทียบปี พ.ศ.ดูแล้ว
เห็นว่าตรงในสมัยของเจ้าประคุณสมเด็จฯโต จริง ก็อาจจะเป็นไปได้
อันนี้ถือเป็นข้อสันนิษฐาน มิใช่ข้อยืนยันว่าเป็นจริง
กรุพระแตกที่วัดลิงขบ
เมื่อเดือนมีนาคม
๒๕๐๙ มีผู้ลักลอบขุดกรุพระที่องค์เจดีย์ของ วัดลิงขบ ได้นำพระบูชา
พระเครื่องออกไปเป็นจำนวนมาก ทางวัดทราบข่าวจึงได้แจ้งต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ
แต่ก็ยังมีผู้แอบมาลักลอบขุดกรุพระอีกเสมอๆ ทางวัดจึงได้แจ้งต่อกรมการศาสนา
และ ขออนุญาตเปิดกรุพระ นี้ขึ้นอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ ๒๕ มี.ค.๒๕๐๙
กรุพระที่ขุดนี้มี
๒ จุด คือ กรุที่ฐานเจดีย์และที่คอระฆังเจดีย์ ปรากฏว่าได้พระบูชา
และพระเครื่องชนิดต่างๆ มากมาย และมีพระบรมสารีริกธาตุ แหวนทองคำ
ตะกรุดทองคำ ปะปนอยู่ด้วย ที่มีมากเป็นพิเศษคือ พระพิมพ์กลีบบัวเนื้อดินเผา
ซึ่งมีจำนวนถึง ๗๕,๐๐๐ องค์ เข้าใจว่า ในตอนสร้างคงจะมีจำนวน ๘๔,๐๐๐ องค์
ตามจำนวนพระธรรมขันธ์
แต่ได้ถูกคนร้ายลักลอบขโมยขุดออกไปก่อนหน้านี้แล้วจำนวนหนึ่ง
พระพิมพ์นี้ชาวบ้านเรียกกันว่า "พระกรุวัดลิงขบ" มีรูปทรงสัณฐานเหมือนกับ กลีบบัว ขนาดกว้าง ๑.๙ ซม. สูง ๒.๙ ซม. หนา ๐.๕ ซม.
พุทธลักษณะ
องค์พระปฏิมากรประทับนั่งขัดสมาธิเพชร พระพักตร์เป็นรูปไข่อูม พระโมลีเป็น
๒ ชั้นเรียวยาว พระกรรณห้อยย้อยระย้ายาวลงมาจรดพระอังสา ในบางองค์ที่คมชัด
จะปรากฏพระขนง พระเนตร พระโอษฐ์ พระนาสิกอย่างชัดเจน
เส้นสังฆาฏิจะปรากฏเป็นแนวคมชัด
บางองค์จะปรากฏริ้วจีวรเป็นขีด ๒ เส้น พาดผ่านพระกรมาจนถึงพระกัจฉะ
ลำพระองค์ที่ผึ่งผายได้สัดส่วนสง่างาม
การทอดพระพาหาเป็นแบบหักพระกัปประมาประสานกันที่พระเพลา
ซึ่งเป็นแบบขัดสมาธิเพชร องค์พระไม่มีอาสนะรองรับ รอบๆ
องค์พระปฏิมากรจะปรากฏเส้นรัศมีเปล่งออกมาจากองค์พระ
ด้านหลังขององค์พระจะปรากฏเป็นรอยแอ่งเว้าลงไปเล็กน้อย
และมีลายมือของผู้กดพิมพ์ด้วย บางองค์หลังเรียบก็มี ด้านล่างองค์พระจะมีรู
ซึ่งเกิดมาจากการใช้ไม้แหลมเสียบเข้าเนื้อพระเพื่อแกะเอาองค์พระออกมาจากแม่พิมพ์
เนื้อหามวลสาร
ละเอียดพอสมควร ไม่มีก้อนแร่หรือวัสดุอื่นใดปะปน
แต่อาจจะมีบางองค์ที่มีทรายเงินทรายทองเล็กๆ ปะปนอยู่บ้าง
พระส่วนใหญ่จะมีราดำจับอยู่บนผิว บางองค์มีมาก บางองค์มีน้อย
ทำให้ง่ายต่อการพิจารณา
สีขององค์พระ มีหลายสี เช่น เหลืองนวล สีแดงอิฐ
สีส้มอ่อนๆ บางองค์จะมีสีเทาดำปะปนบ้าง
ทั้งนี้เป็นเพราะตอนเผาความร้อนถูกองค์พระไม่เท่ากัน
แบบเดียวกับพระกรุเมืองลำพูน เมืองกำแพงเพชร หรือเมืองสุพรรณบุรี
ในตอนที่เปิดกรุพระออกมานั้น ทางวัดให้บูชาองค์ละไม่กี่สิบบาทปรากฏว่า
ได้เงินจำนวน ๓ แสนบาท ทางวัดได้นำไปสร้างศาลาการเปรียญหลังใหญ่ ๑ หลัง
ดังปรากฏเป็นถาวรวัตถุมาจนถึงทุกวันนี้
พระพุทธคุณ
ดีเด่นทางเมตตามหานิยม ป้องกันคุณไสย และคมเขี้ยวสัตว์ร้ายได้ดี
"พระกลีบบัว วัดลิงขบ" ในวันนี้ แม้ว่าจะมีเป็น "ของดีราคาถูก"
ถ้าหากจะนับว่าเป็นพระกรุเก่าอายุกว่า 100 ปี...ไม่แพงเลย
ที่จะเช่าหาบูชาไว้ใช้สักองค์หนึ่ง
เพราะในอนาคตอาจจะเป็นของแพงที่หายากก็ได้
ชุมชนคนเล่นพระ
รับประกันพระแท้ สนใจข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ 083-2699000 ID Line : Ting_sathu Email :
[email protected] หรือ
[email protected]ภาณุภัณฑ์ พระเครื่อง เชิญที่นี่ >>>
https://www.siam-pra.com/shop/Ting_sathu