@@@ขายราคาต่ำกว่าทุน เริ่มที่200บาท รับประกันพระแท้ครับ@@@เสือกระดูกแกะ หลวงพ่อเรือน วัดคลองด่าน (ศิษย์เอกหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย) สมุทรปราการพร้อมบัตรรับรองเวปดีดี-พระ
ก่อนอื่นเรามารู้ประวัติเล็กน้อยของคณาจารย์ยุคต้นๆของสาย วัดบางเหี้ย หรือวัดมงคลโคธาวาส กันก่อน...
ประวัติลำดับเจ้าอาวาสของวัด มีจำนวน ๗ รูป คือ
รูปที่ ๑ หลวงพ่อถัน
รูปที่ ๒ พระครูพิพัฒนิโรธกิจ (หลวงพ่อปาน)
รูปที่ ๓ หลวงพ่อเรือน
รูปที่ ๔ พระครูสุทธิรัตน์ (หลวงพ่อทอง) พ.ศ.๒๔๕๔-๒๔๗๒
รูปที่ ๕ พระปลัดแวว พ.ศ.๒๔๗๓-๒๔๗๗
รูปที่ ๖ พระครูมงคลสาธุวัฒน์ (ชื่นธมฺมโชติ) พ.ศ.๒๔๗๗-๒๕๒๐
รูปที่ ๗ พระอธิการบรรจง เสตวณโณ อายุ ๔๖ ปี พรรษา ๒๖ ดำรงตำแหน่งมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๒๐
ครั้นพอหลวงพ่อปาน ได้ขึ้นเป็นเจ้าอาวาส มีหลวงพ่อเรือนเป็นรองเจ้าอาวาส คราวนี้เรารู้ประวัติอย่างย่อ ๆ ของทั้งสองท่านกันแล้วก็มาดูประวัติ วิธีการศึกษา การสร้างเสือของทั้งสองท่านกันต่อไป...
ตามคำโบราณท่านว่าไว้ว่าพระเกจิที่สร้างเสือได้ต้องมีตบะและบารมีชั้นสูง ไม่งั้นผู้ที่สร้างจะสติฟั้นเฟือน (เป็นบ้า) เมื่อหลวงพ่อปานอายุครบบวชจึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุอยู่ที่วัดอรุณราชวรารามนั่นเอง โดยมีท่านเจ้าคุณศรีศากยมุนีเป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านศึกษาด้านวิปัสสนากรรมฐาน รวมถึงไสยศาสตร์ ท่านได้รับการถ่ายทอดจากคณาจารย์หลายองค์จนเชี่ยวชาญ ภายหลังได้ย้ายมาจำพรรษาที่วัดบางเหี้ยนอก ปัจจุบัน เรียกว่าวัดมงคลโคธาวาส โดยมีพระที่เป็นสหายสนิทตามมาด้วยองค์หนึ่งชื่อ หลวงพ่อเรือน หลังออกพรรษาท่านและพระเรือนเริ่มออกธุดงค์ไปสถานที่ต่าง ๆ
หลวงพ่อปานและหลวงพ่อเรือนได้ดั้นด้นไปจนถึง "วัดอ่างศิลา" อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี และได้ฝากตัวเป็นสานุศิษย์ของ "หลวงพ่อแตง" เจ้าอาวาสวัดอ่างศิลา โดยศึกษาด้านวิปัสนาธุระ ไสยเวทย์มนต์ต่าง ๆ จนเชี่ยวชาญและสร้างชื่อเสียงให้หลวงพ่อปานเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะ "เขี้ยวซึ่งแกะเป็นรูปเสือนั่ง" เมื่อมีความเชี่ยวชาญแล้วจึงได้อำลาพระอาจารย์ "หลวงพ่อแตง" มาพำนักอยู่ที่วัดบ้านเกิดตนเองพร้อมด้วยพระอาจารย์เรือน เพื่อนสหาย ณ วัดบางเหี้ย (ปัจจุบันคือวัดมงคลโคธาวาส) และดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสโดยมีหลวงพ่อเรือนเป็นรองเจ้าอาวาส ซึ่งทั้งสองรูปได้ปกครองพระลูกวัดทั้งด้านการศึกษาและการปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัดมาตลอด
และในระหว่างที่หลวงพ่อปานและหลวงพ่อเรือนได้ธุดงค์ไปนั้นยังมีพระอาจารย์อีกท่านหนึ่งที่ดั้นด้นไปเรียนคือ หลวงพ่อวัดกระบกต้นผึ้ง จังหวัดระยอง (ซึ่งได้พบกันในระหว่างธุดงค์) ได้ชวนกันไปเรียนวิทยาคมการปลุกเสกเสือ จากหลวงพ่อแตง วัดอ่างศิลาเป็นปรมาจารย์เจ้าตำหรับในการสร้างเขี้ยวเสือแกะที่มีฤทธิ์และโด่งดังมากๆท่านหนึ่งพร้อมกันขณะที่เรียนอยู่นั้น เมื่อเรียนจนถึงขั้น ก็ต้องมีการทดลองพิสูจน์ดู โดยเอาเสือใส่บาตร ให้เอาไม้พาดไว้ ปลุกเสกจนเสือออกมาจากบาตร หายเข้าป่าไป ถ้าใครภาวนาเรียกเสือกลับมาได้ก็จะให้เรียนต่อไป ถ้าเรียกกลับมาไม่ได้ ก็จะไม่ให้เรียน
หลวงพ่อปานวัดบางเหี้ย ปลุกเสกเสือออกจากบาตรเข้าป่าไปได้ และเรียกกลับมาได้ ส่วนหลวงพ่อวัดกระบกต้นผึ้ง ปลุกเสกเสือออกมาได้เข้าป่าไปเช่นกัน แต่เรียกเท่าไรๆ ก็ไม่กลับ ก็เป็นอันว่าหลวงพ่อปานเรียนต่อจนสำเร็จองค์เดียว หลวงพ่อวัดกระบกต้นผึ้งก็ต้องพักจากการเรียนเสือ (เหตุเพราะตบะทางมหาอำนาจยังไม่กล้าเกร่ง แต่โดดเด่นทางเมตตา) หลวงพ่อแตงท่านก็จึงให้หันมาเรียน สร้าง และปลุกเสกแพะ จนสำเร็จ เมื่อได้วิทยาคมนี้ต่อมาก็มาเป็นอาจารย์ของหลวงพ่ออ่ำ วัดหนองกระบอก จังหวัดระยอง หลวงพ่ออ่ำนี่มีชื่อเสียงมากในการสร้างแพะ จนได้สมญาว่า หลวงพ่ออ่ำแพะดัง และหลวงพ่อวัดกระบกต้นผึ้งนี้ ก็ยังเป็นอาจารย์ของหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ จังหวัดระยอง ผู้โด่งดังมากในปัจจุบันนี้เช่นกัน
หมายเหตุ : หลวงพ่อเรือน พระที่เป็นสหายสนิทของหลวงพ่อปานในครั้งที่ออกธุดงธ์ไปด้วยนั้น ก็ได้มีสวนรู้เห็นและได้เรียนวิชากับหลวงพ่อแตงด้วย แต่ก็เรียนแค่เพียงน้อยนิด ไม่ถึงกับจบหรือแตกฉาน อาจเพราะเกรงใจหรือเคารพพระสหายที่เป็นรุ่นพี่ที่ไปด้วยอย่างหลวงพ่อปานจึงทำให้ไม่ได้เรียนจนจบ แต่กระนั้นหลวงพ่อเรือนก็เรียนจบวิชาสร้างเสือปลุกเสกเสือจนได้ ด้วยการถ่ายทอดวิชาจากหลวงพ่อปานอีกที ดังนั้นหลวงพ่อเรือนจึงเป็นทั้งศิษย์ของหลวงพ่อแตง และยังเป็นทั้งศิษย์และเป็นทั้งเพื่อนของหลวงพ่อปาน อีกด้วยนั่นแล นะเพื่อนเอยเป็นความรู้เล็กๆครับ
ขอขอบคุณบทความจากคุณวัต ท่าพระจันทร์ครับ
วันที่เริ่ม August 04, 2024 04:26:20
วันที่ปิดประมูล August 05, 2024 04:28:57
ราคาเปิด180
เพิ่มครั้งละ20
ธนาคารธ.กรุงเทพ (สมุทรปราการ) ,
mittapab6335
ผู้เสนอราคาล่าสุด