มังกรทองมาแว้วววว เหรียญเสมา 25 พุทธศตวรรษ ปี 2500 เนื้ออัลปาก้า + บัตรดีดี
พระเครื่อง 25 พุทธศตวรรษ เมื่อปี พ.ศ. 2500 ได้มีพิธีพุทธาภิเษกพระเครื่องที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในเมืองไทยและเป็นที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกด้วย และนอกจากนี้ยังได้มีการสร้างพระพุทธลีลา สูง 2,500 นิ้ว (62.50 ม.) บนเนื้อที่ 2,500 ไร่ ที่ตำบลศาลายา อ.นครปฐม (พุทธมณฑลปัจจุบัน) กับได้สร้าง พระเครื่อง 25 พุทธศตวรรษ วัตถุประสงค์ในคราวนั้นคือ ต้องการให้เมืองไทยเป็นศูนย์กลางทางพุทธศาสนาแห่งโลก โดย ฯพณฯ เจ้าของมอตโตเชื่อผู้นำชาติพ้นภัย จะสร้างพุทธมณฑลขนาดใหญ่ที่สระบุรี เนื่องจากมีรอยพระพุทธบาทอยู่ด้วย มีการสร้างพระเครื่องปางลีลากันมากมายหลายชนิด มีการประกอบพิธีพุทธา ภิเษกเรียกได้ว่าไม่มีครั้งใดในประเทศจะยิ่งใหญ่เท่า และที่สำคัญองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ไปในพิธีและกดปั๊มพระพิมพ์นำฤกษ์อีกด้วย
ที่สุดแห่งประวัติศาสตร์กรุงรัตน์โกสินทร์
“พระเครื่อง ๒๕ พุทธศตวรรษ” ถือว่าสุดยอดแห่งประวัติศาสตร์ของวงการพระเครื่อง พิธีจัดสร้างที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีตั้งแต่กรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีมาจนถึงปัจจุบัน ไม่มีพิธีใดจะยิ่งใหญ่เท่า เนื่องด้วยพิธีที่ยิ่งใหญ่ เจตนาและวัตถุประสงค์ในการสร้างเพื่อหารายได้สร้างพุทธมณฑลที่ศาลายา จ.นครปฐม เพื่อให้เป็นศูนย์กลางแห่งพระพุทธศาสนาในเมืองไทย
ในการทำพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลในครั้งนั้น ได้นิมนต์พระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณมาทำพิธีถึง ๒ ครั้ง โดยในครั้งแรกเป็นการนำวัตถุที่จะใช้สร้างพระมาทำพิธีพุทธาภิเษกก่อนครั้งหนึ่ง เมื่อวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๐ ณ พระอุโบสถวัดสุทัศน์ โดยมีพระคณาจารย์มาทำพิธีครบ ๑๐๘ องค์ และต่อมาเมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๐ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จฯ และทรงกดพิมพ์พระจำนวน ๓๐ องค์ กับพระทองคำ ๔ องค์ เป็นปฐมฤกษ์
หลังจากนั้นได้สร้างพระโดยตั้งโรงงานผลิตภายในบริเวณวัดสุทัศน์ ใช้ระยะเวลาสร้างประมาณ ๓ เดือนจึงแล้วเสร็จ และได้ทำพิธีมหาพุทธาภิเษกอีกครั้งระหว่างวันที่ ๒-๔ พฤษภาคม ปีเดียวกัน โดยมีพระเกจิอาจารย์ที่ทรงวิทยาคุณชุดเดิมที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้นก็นิมนต์มากปลุกเสกทุกวัด เช่น หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ พระครูพิศิษฐ์อรรถการ (พ่อท่านคล้าย) วัดสวนขัน จ.นครศรีธรรมราช หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก จ.พระนครศรีอยุธยา หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม จ.นครปฐม หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม พระครูโสภณกัลยานุวัตร (หลวงพ่อเส่ง) วัดกัลยาณมิตร เป็นต้น
ในเอกสารงานฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ ๑๒-๑๘ พฤษภาคม ๒๕๐๐ ระบุไว้ว่า พระเนื้อชิน มีการจัดสร้าง จำนวน ๒,๔๒๑,๒๕๐ องค์ ประกอบด้วย พลวง ดีบุก ตะกั่วดำ ผสมด้วยนวโลหะ คือ ชินหนัก ๑ บาท เจ้าน้ำเงินหนัก ๒ บาท เหล็กละลายตัวหนัก ๓ บาท บริสุทธิ์หนัก ๔ บาท สังกะสีหนัก ๖ บาท ทองแดงหนัก ๗ บาท เงินหนัก ๘ บาท และทองคำหนัก ๙ บาท ตลอดจนแผ่นทองแดง ตะกั่ว เงิน ที่พระอาจารย์ต่างๆ เกือบทั่วราชอาณาจักร ได้ลงเลขยันต์ส่งมาให้ รวมทั้งเศษชนวนจากการหล่อพระในแห่งอื่นๆ รวมหล่อผสมลงไปด้วย
วันที่เริ่ม February 23, 2021 05:58:57
วันที่ปิดประมูล February 24, 2021 11:40:01
ราคาเปิด190
เพิ่มครั้งละ10
ธนาคารกรุงเทพ ชื่อบัญชี นายบุญสิริ (รังสิต) ,
pumbcom
ผู้เสนอราคาล่าสุด