เหรียญทรงผนวช รัชกาลที่ ๙ จัดสร้าง ปี ๒๕๕๐ เนื้อทองแดง วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ พร้อมตลับเดิมๆจากวัด
พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งฉายไว้ในขณะทรงผนวชเมื่อปี พ.ศ. 2499 นั้น ได้ถูกอัญเชิญมาประดิษฐานบนเหรียญที่ระลึกหลายครั้ง
เหรียญหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างสูง และเป็นที่แสวงหาของนักสะสมคือเหรียญที่ออกโดยวัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อปี พ.ศ.2508 รู้จักกันในนาม เหรียญทรงผนวช ความจริงแล้ว เหรียญทรงผนวช ไม่ใช่เหรียญที่จัดสร้างเพื่อเป็นที่ระลึกเมื่อครั้งทรงผนวชโดยตรง ด้วยจัดสร้างขึ้นภายหลังจากที่ทรงลาผนวชแล้วถึงเก้าปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงผนวชในปี พ.ศ. 2499 แต่ "เหรียญทรงผนวช" สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2508 เพื่อเป็นที่ระลึกในการเสด็จฯ พระราชกุศล จาตุรงคมงคล
ประวัติความเป็นมาของการสร้างเหรียญทรงผนวชมีอยู่ว่า ในปี พ.ศ.2508 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมายุ 38 พรรษา เสมอสมเด็จพระราชบิดา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จฯ บำเพ็ญพระราชกุศล ณ วัดบวรนิเวศวิหาร และในวโรกาสเดียวกันนี้ได้ทรงประกอบพระราชพิธีสำคัญอีก 3 ประการต่อเนื่องกันไป เมื่อประมวลพระราชกรณียกิจที่ทรงบำเพ็ญในคราวเดียวกันถึง 4 อย่าง
ระหว่างวันที่ 27 ถึงวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2508 จึงเรียกมหามงคลสมัยนี้ว่า จาตุรงคมงคล
จาตุรงคมงคล หรือการพระราชพิธีอันเป็นมงคล 4 ประการมีดังนี้
1. พระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลพระชนมายุเสมอสมเด็จพระราชบิดา สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ประสูติ 1 มกราคม พ.ศ.2434 สวรรคต 24 กันยายน พ.ศ.2472 พิธีจัดขึ้น ณ พระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร ในวันเสาร์ที่ 28 และวันอาทิตย์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2508 ทรงทอดผ้าพระสงฆ์ 38 รูป ทรงประเคนผ้าไตร ย่าม และพัดที่ระลึกแก่พระสงฆ์ 38 รูปเท่าพระชนม์สมเด็จพระราชบิดา2. พระราชพิธีหล่อพระพุทธรูป ปางประทานพร มีพระปรมาภิไธย ภปร ประดับผ้าทิพย์ พิธีบวงสรวง และพุทธาภิเษกแผ่นโลหะที่จะผสมหล่อพระพุทธรูป จัดขึ้น ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร ในวันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2508 สำหรับพิธีเททองหล่อพระพุทธรูป จัดขึ้น ณ มณฑลพิธี สนามโรงเรียนวัดบวรนิเวศ ในวันอาทิตย์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2508
ท่านต้องเป็นสมาชิกที่ผ่านการยืนยันตัวตนแล้วเท่านั้น