พระกริ่งจักรตรี สก. ปลุกเสก 16 พิธี พิมพ์ใหญ่ สภาผู้แทนราษฎรจัดสร้าง มาพร้อมกล่องเดิมพระกริ่งจักรตรี สก. ปลุกเสก 16 พิธี พิมพ์ใหญ่ สภาผู้แทนราษฎรจัดสร้าง ขนาดหน้าตักกว้าง ๑.๙ ซม. สูง ๔.๑ - จักรตรี บริเวณฐานด้านหลัง - ใต้ฐานจารึกอักขระยันต์อันศักดิ์สิทธิ์ - สร้างโดย สภาผู้แทนราษฏร สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ทรงประทานนามพระกริ่งว่า "พระกริ่ง ๗๒ พรรษาประชาภักดี"พระเกจิอาจารย์จากทั่วประเทศ ที่ร่วมจารแผ่นยันต์ชนวนสร้างพระกริ่งจักรตรี.สมเด็จพระมหาธีราจารย์ วัดชนะสงคราม กรุงเทพฯ - หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโท วัดบ้านไร่ นครราชสีมา - หลวงพ่ออุตตมะ อุตตมรมฺโภ วัดวังก์วิเวกการาม กาญจนบุรี - ครูบาดวงดี วัดท่าจำปี เชียงใหม่ - หลวงพ่อพูล อตตฺรกฺโข วัดไผ่ล้อม นครปฐม - พระพรหมวชิรญาณ วัดยานนาวา กรุงเทพฯ - หลวงพ่อเก๋ ถาวโร วัดปากน้ำ นนทบุรี - หลวงพ่อรวย ปาสาธิโก วัดตะโก อยุธยา - หลวงพ่อเพิ่ม อตุทีโป วัดปากน้ำ นนทบุรี - หลวงพ่อแย้ม ปิยวณฺโณ วัดตะเคียน นนทบุรี - หลวงพ่อเฉลิม เขมทสฺสี วัดพระญาติการาม อยุธยา - หลวงท้วม เขมจาโร วัดศรีสุรรณ สุราษฏร์ธานี - หลวงปู่ดี จตฺตมโล วัดพระรูป สุพรรณ - หลวงปู่นิล อปฺสโม วัดเขาเข็มทอง นราธิวาส - หลวงพ่อ เอียด อินฺทว์โส วัดไผ่ล้อม อยุธยา และพระเกจิอาจารย์อื่นๆ จากทั่วประเทศด้วยประจักษ์แจ้งชัดแก่ประชาชนชาวไทย และชาวโลกแล้วว่า สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระเกียรติคุณยิ่งใหญ่ ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจอันเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ และประชาชนชาวไทย ตลอดจนประชาคมโลกอย่างใหญ่หลวง ทรงแผ่พระมหากรุณาธิคุณเกื้อกูลบรรดาผู้ยากไร้โดยไม่จำกัดเชื้อชาติศาสนา ทรงมีพระราชอุตสาหะเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนประชาราษฏร์ทั่วทุกท้องถิ่น ด้วยความห่วงใยในทุกข์สุข และการประกอบอาชีพ ทรงจัดตั้งศูนย์ศิลปาชีพ เพื้อฟื้นฟูงานด้านศิลปหัตถกรรม ซึ่งกำลังจะสูญสลายไปของประเทศไทยให้ขจรไกลไปทั่วโลก ช่วยยกฐานะความเป็นอยู่ของประชาชนในชนบทให้มีความมั่นคง อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขสบายในวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2547 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ จึงนับเป็นมหามงคสมัยอันประเสริญยิ่ง สภาผู้แทนราษฎร โดยคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม ได้พร้อมใจกันจัดสร้างวัตถุมงคลเพื่อเฉลิมพระเกียรติในพระมหากรุณาธิคุณ เนื่องในวโรกาสสำคัญดังกล่าว โดยกำหนดจัดสร้าง พระกริ่ง พระพุทธรูปบูชา และ พระสมเด็จนางพญา เปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปได้ร่วมถวายความจงรักภักดี โดยนำรายได้ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัยพิธีการจัดสร้างเพื่อให้การจัดสร้างวัตถุมงคลครั้งนี้ ได้มีความสมบูรณ์พร้อม ตามวัตถุประสงค์ คณะกรรมการดำเนินโครงการฯ จึงได้กำหนดวิธีการประกอบพิธีอย่างถูกต้องตามประเพณีโบราณ ซึ่งสืบทอดมาตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา เพื่อให้ได้วัตถุมงคลที่เข้มขลังเอกอุไปด้วยพลังแห่งพุทธาภิเษก จึงได้นำมวลสาร ชนวนโลหะ ที่ใช้ในการสร้างวัตถุมงคลฯ พิธีเททอง เข้าร่วมในพิธีมหาพุทธาภิเษกรวมทั้งสิ้น 16 ครั้งพิธีพุทธาภิเษกมวลสารพระเนื้อผง การลงทอง และจารแผ่นพระยันต์ จะประกอบพิธีพุทธาภิเษก 7 เสาร์ 7 อังคาร ณ พระอุโบสถวัดสำคัญรวม 15 วัดเดือนมกราคม 2547ครั้งที่ 1 วันอังคารที่ 6 มกราคม ประกอบพิธี ณ วัดชนะสงคราม กรุงเทพมหานครครั้งที่ 2 วันอังคารที่ 27 มกราคม ประกอบพิธี ณ วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก กรุงเทพมหานครเดือนกุมภาพันธ์ 2547ครั้งที่ 3 วันอังคารที่ 3 กุมภาพันธ์ ประกอบพิธี ณ วัดใหญ่ชัยมงคล จังหวัดพระนครศรีอยุธยาครั้งที่ 4 วันเสาร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ ประกอบพิธี ณ วัดโสธรวรารามวรวิหาร จังหวัดฉะเชิงเทราครั้งที่ 5 วันเสาร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ ประกอบพิธี ณ วัดมังกรกมลาวาส (วัดเล่งเน่ยยี่) กรุงเทพมหานครเดือนมีนาคม 2547ครั้งที่ 6 วันเสาร์ที่ 6 มีนาคม ประกอบพิธี ณ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานครครั้งที่ 7 วันเสาร์ที่ 27 มีนาคม ประกอบพิธี ณ วัดสุทัศน์เทพวราราม กรุงเทพมหานครครั้งที่ 8 วันอังคารที่ 30 มีนาคม ประกอบพิธี ณ วัดพระเชตุพนวิมงมังคลาราม (วัดโพธิ์) ก.ท.ม.เดือนเมษายน 2547ครั้งที่ 9 วันเสาร์ที่ 17 เมษายน ประกอบพิธี ณ วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพมหานครครั้งที่ 10 วันอังคารที่ 27 เมษายน ประกอบพิธี ณ วัดห้วยมงคล จังหวัดประจวบศีรีขันธ์เดือนพฤษภาคม 2547ครั้งที่ 11 วันเสาร์ที่ 15 พฤษภาคม ประกอบพิธี ณ เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ กรุงเทพมหานครครั้งที่ 12 วันเสาร์ที่ 29 พฤษภาคม ประกอบพิธี ณ วัดเทวราชกุญชรวรวิหาร กรุงเทพมหานครเดือนมิถุนายน 2547ครั้งที่ 13 วันอังคารที่ 1 มิถุนายน ประกอบพิธี ณ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม กรุงเทพมหานครครั้งที่ 14 วันอังคารที่ 29 มิถุนายน ประกอบพิธี ณ วัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลกครั้งที่ 15 พิธีเททอง และพุทธาภิเษกทองชนวนโลหะคณะกรรมการดำเนินโครงการฯ ได้กราบบังคมทูลพระกรุณาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินเททอง และเสด็จเป็นองค์ประธาน ประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งได้นำความกราบบังคมทูลแล้ว ในราวเดือนมกราคม 2547 สำหรับทองชนวนโลหะที่นำมาจัดสร้างวัตถุมงคลฯ ในครั้งนี้ คณะกรรมการดำเนินโครงการฯ ได้รับความเมตตาจากพระเกจิอาจารย์ที่มาร่วมพิธีรวมเป็นจำนวน 2,588 แผ่น ซึ่งได้จารแผ่นพระยันต์เพื่อพุทธานุภาพ ธรรมานุภาพ และสังฆานุภาพ อย่างถูกต้องตามโบราณพิธีครั้งที่ 16 พิธีมหาพุทธาภิเษกกำหนดประกอบพิธี เมื่อการจัดสร้างวัตถุมงคลทุกชนิด เสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว จะนำไปประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในราวเดือน มิถุนายน 2547 คณะกรรมการดำเนินโครงการฯ จะนำความกราบบังคมทูลเชิญเสด็จฯ ต่อไป สำหรับโลหะที่นำมาจัดสร้างในครั้งนี้ นอกจาก การลงแผ่นพระยันต์ทองคำ นาก เงิน และทองแดงอย่างละ 108 แผ่น รวมทั้งนะปถมังอย่างละ 14 แผ่น แล้วยังได้ลง ดวงประสูติ และดวงตรัสรู้ ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อีกชุดละ 2 แผ่น อีกทั้งยังได้นำชนวนโลหะจากโครงการสร้างพระสำคัญๆ มารวมในการสร้างวัตถุมงคลฯ ในครั้งนี้ด้วยสำหรับมวลสาร และชนวนโลหะที่จะนำมาสร้างพระกริ่ง และพระเนื้อผงนั้น คณะกรรมการดำเนินโครงการฯ ได้รับความเมตตาอย่างดียิ่ง จากพระคณะจารย์ผู้ทรงวิทยาคมทุกจังหวัดทั่วประเทศ จังหวัดละ 9 รูป รวม 684 รูป ได้เมตตาอธิษฐานจิต และลงจารแผ่นโลหะรวมทั้งได้รับมวลสารผงเถ้าธูป และดินจากสังเวชนียสถานอันศักดิ์สิทธิ์ ในประเทศอินเดีย เนปาล และสถานที่ประดิษฐานองค์เจ้าแม่กวนอิมที่ใหญ่ที่สุดในโลก จากประเทศจีน รวมทั้งชนวนโลหะจากการสร้าง พระกริ่ง 90 พรรษาสมเด็จย่า ปี 2533 ชนวนโลหะ จากการสร้างวัตถุมงคลเฉลิมพระเกียรติ 5 รอบ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ปี 2535 และชนวนโลหะจากการสร้างวัตถุมงคลเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ปี 2542รายนามพระเกจิ ที่มาปลุกเสกหลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม, หลวงปู่ทิม วัดพระขาว, หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง, หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่, หลวงพ่อสวัสดิ์ วัดศาลาปูน, หลวงพ่อเที่ยง วัดระฆัง, หลวงพ่อสืบ วัดอินทรวิหาร, หลวงพ่อเพิ่ม วัดป้อมแก้ว, หลวงปู่แย้ม วัดตะเคียน, หลวงปู่ทอง วัดจักรวรรดิ, หลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม, หลวงพ่อรวย วัดตะโก, หลวงพ่อเก๋ วัดปากน้ำ, หลวงพ่อแวว วัดพนัญเชิง, หลวงพ่อพูลทรัพย์ วัดอ่างศิลา, หลวงพ่อฟู วัดบางสมัคร, หลวงพ่อพูน วัดบ้านแพน, หลวงพ่อสมพงษ์ วัดใหม่ปิ่นเกลียว, หลวงปู่ละมัย วัดป่าสมุนไพร, หลวงปู่คีย์ วัดศรีลำยอง, หลวงปู่นนท์ วัดเหนือวน, หลวงพ่อแย้ม วัดสามง่าม, หลวงพ่อหล่อ วัดคันลัด, หลวงพ่อเอียด วัดพิกุลทอง, หลวงพ่อเฉลิม วัดพระญาติการาม, หลวงพ่อดำรงค์ วัดเขาปฐวี, หลวงพ่อบุญธรรม วัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร, หลวงพ่อเงิน วัดถ้ำน้ำ, หลวงพ่อทองสุข วัดเขาตะเครา, หลวงพ่อไพโรจน์ วัดวังพงศ์, หลวงพ่อสมชาติ วัดหนองยายอ่วม, หลวงพ่อฟ้าลิขิต วัดเขาบัลลังก์, หลวงพ่อสมศักดิ์ วัดโสธรวราราม, หลวงพ่อป่วน วัดบรรหารแจ่มใส, หลวงพ่อขาว วัดสาวชะโงก, หลวงพ่อเอียด วัดไผ่ล้อม, หลวงพ่อพล วัดหนองยายหุ่น, หลวงพ่อสมชาย วัดปริวาส, หลวงพ่อพร วัดดอนยายหอม, หลวงพ่อเพี้ยน วัดตุ๊กตา,หลวงปู่หงษ์ วัดเพชรบุรี, หลวงพ่อบุญช่วย วัดเทพประสิทธิ์, หลวงปู่นะ วัดปทุมธาราม, หลวงพ่อบุญชุบ วัดนางพญา, ครูบาพรหมเณศวร, ฯลฯ เป็นต้น
Read more