เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อแช่ม รุ่นแรก สร้างเป็นเหรียญปั๊มขอบหยัก บางทีจึงเรียกกันว่า "เหรียญพัดพุดตาน" หรือ "เหรียญกงจักร" มีหูในตัวแล้วเชื่อมต่อด้วยห่วงกลม โดยสร้างเป็นเนื้อทองแดง มีทั้งแบบรมดำและไม่รมดำ ด้านหน้า ตรงกลางเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อแช่มนั่งครองจีวรห่มคลุม เต็มองค์ มือข้างซ้ายยกขึ้นและมีอักขระขอม "ตัวนะ" ที่ฝ่ามือ ไม่มีอาสนะสำหรับรองนั่งแต่กลายเป็น "ปืนไขว้" แทน ซึ่งเป็นอุปเท่ห์อย่างหนึ่งทางไสยเวทเรียกกันว่า "ข่มอาวุธ" หรือเรียกว่าเป็นการตัดไม้ข่มนาม โดยรอบมีอักษรไทยว่า "หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง" มีอักขระขอมตรงอกเป็น "ตัวอะ" และบริเวณโดยรอบองค์ท่านอ่านว่า "นะ โม พุท ธา ยะ" ในหยักทั้ง 16 หยัก มีพระนามย่อ พระเจ้าสิบหกพระองค์ อ่านว่า "นะมะนะอะ นอกอนะกะ กอออนออะ นะอะกะอํ" เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรกนี้ ยังแบ่งแยกออกเป็น 2 พิมพ์ คือ พิมพ์หูเดียวและพิมพ์สองหู มีความแตกต่างกันที่ใบหูของรูปเหมือนหลวงพ่อแช่ม ถ้าเป็น "พิมพ์หูเดียว" หูที่รูปเหมือนจะมีเพียงหูข้างขวาของท่านเพียงหูเดียว ส่วน "พิมพ์สองหู" รูปเหมือนจะปรากฏหู 2 หู แบบปกติ แต่พิมพ์หูเดียว จะมีจำนวนน้อยกว่าจึงเล่นหาได้ยากกว่า สนนราคาเช่าหาจึงสูงกว่า แต่ที่แน่ๆ ไม่ว่าจะเป็นพิมพ์ไหนก็ตาม "เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อแช่ม รุ่นแรก ปี 2484" ก็นับเป็นเหรียญเก่าแก่ ที่มีความ เป็นเลิศในด้านพุทธคุณ คุ้มครองป้องกันภยันตรายต่างๆ ได้ฉมังนักครับผม คอลัมน์ สัปดาห์พระเครื่อง ราม วัชรประดิษฐ์พระเกจิอาจารย์แห่งลุ่มน้ำนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม อีกรูปหนึ่งที่เป็นที่เคารพศรัทธาของพุทธศาสนิกชนทั้งใกล้-ไกล ท่านเป็นผู้ทรงวิทยาคมและพุทธาคมเป็นเลิศ เจ้าของฉายาว่า "เหรียญปืนไขว้" หลวงพ่อแช่ม อินทโชโต พระเกจิอาจารย์แห่งลุ่มน้ำนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม อีกรูปหนึ่งที่เป็นที่เคารพศรัทธาของพุทธศาสนิกชนทั้งใกล้-ไกล ท่านเป็นผู้ทรงวิทยาคมและพุทธาคมเป็นเลิศ เจ้าของฉายาว่า "เหรียญปืนไขว้" เป็นพระเกจิอาจารย์สมัยเดียวกับพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงหลายๆ รูป อาทิ หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม หลวงพ่อจาด หลวงพ่อจง หลวงพ่อคง หลวงพ่ออี๋ และพระครูบาศรีวิชัย เป็นต้น วัตถุมงคลของท่านเป็นที่เคารพเลื่อมใสและได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะเหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก ซึ่งสร้างเมื่อปี พ.ศ.2484-2485 เพื่อแจกทหารหาญที่ผ่านสงครามอินโดจีน ว่ากันว่ามีพุทธคุณล้ำเลิศในด้านคงกระพันชาตรี ฟันแทงไม่เข้าทีเดียว รูปทรงของเหรียญก็ออกจะแปลกกว่าเหรียญรูปเหมือนอื่นๆ ซึ่งส่วนใหญ่นิยมสร้างเป็นเหรียญรูปไข่ หรือรูปทรงเสมา แต่ "เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อแช่ม รุ่นแรก" นี้ ขอบโดยรอบจะหยักเป็นมุมแหลม 16 หยัก เท่ากับอัตราโสฬสมงคล "พระเจ้าสิบหกพระองค์" พอดิบพอดี แลดูสวยงามมากครับผม อัตโนประวัติของหลวงพ่อแช่ม เป็นชาวนครปฐมโดยกำเนิด เกิดเมื่อปี พ.ศ.2405 ตั้งแต่เยาว์วัยได้ศึกษาร่ำเรียนอักขระทั้งภาษาไทยและภาษาขอมกับพระอาจารย์จ้อย วัดดอนเจดีย์ ผู้เรืองวิทยาคม พระอาจารย์เห็นถึงคุณวิเศษและความใฝ่ใจของหลวงพ่อแช่ม จึงประสิทธิ์ประสาทวิทยาการด้านพุทธเวทพร้อมเคล็ดลับต่างๆ ให้โดยไม่ปิดบัง ซึ่งท่านก็สามารถเรียนรู้ได้อย่างแตกฉาน ต่อมาเมื่ออายุครบบวช ท่านจึงเดินทางกลับมาอุปสมบท ณ บ้านเกิด ที่วัดตาก้อง ได้รับฉายา "อินทโชโต"มุ่งมั่นศึกษาด้านคันถธุระ วิปัสสนาธุระ และฝึกฝนวิทยาการที่ได้ร่ำเรียนมาจนเกิดความเชี่ยวชาญ นอกจากนี้ ยังได้ฝากตัวเป็นศิษย์ เพื่อศึกษาเพิ่มเติมจากพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงของ จ.นครปฐม ในสมัยนั้นอีกด้วย อาทิ หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว, หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก ฯลฯ จนเป็นที่กล่าวขวัญเลื่องลือกันว่าท่านสำเร็จกสิณถึงขั้นอภิญญาทีเดียว ท่านมรณภาพในปี พ.ศ.2490 สิริอายุ 86 ปี พรรษา 76 วัตถุมงคลต่างๆ ของท่านล้วนได้รับความนิยมและเป็นที่แสวงหาอย่างสูง เนื่องด้วยพุทธคุณเป็นเอกทั้งสิ้น มีอาทิ เหรียญปั๊มรูปเหมือนทรงเสมา ปี 2485 พระดินหน้าตะโพน และพระขุนแผนหน้าตะโพน รวมถึงเครื่องรางของขลัง ประเภทธง เสื้อยันต์ ผ้าเช็ดหน้ามหานิยม ผ้าประเจียดแดง ตะกรุดฝาบาตร พระพลายเพชรผงผสมดินหน้าตะโพน ลูกสะกดปรอท ฯลฯ แต่ปัจจุบันหาดูหาเช่าได้ยากยิ่งนัก เพราะผู้ครอบครองต่างหวงแหน โดยเฉพาะเหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก ซึ่งสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2484 ในช่วงที่เกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา ทหารญี่ปุ่นยกพลเข้าสู่ประเทศไทย ลูกศิษย์จึงขอให้หลวงพ่อแช่มสร้างเหรียญพระเครื่อง ท่านจึงได้สร้างเหรียญพระเครื่องขึ้นเป็นรุ่นแรก และก็ปรากฏพุทธคุณเป็นที่เลื่องลือขจรไกล