พระร่วงรางปืน เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่อง ในอิริยาบถยืนบนแท่น ภายในซุ้มเรือนแก้ว พระหัตถ์ขวายกขึ้นระดับพระอุระ พระกรซ้ายทอดลงขนาดกับลำพระองค์ แบหงายฝ่าพระหัตถ์ออกด้านหน้าเป็นกิริยาประทานพร ครองเครื่องจีวรห่มคลุมบางแนบพระวรกาย ปรากฏเส้นขอบจีวร บริเวณรอบพระศอและมีชายจีวรเป็นเส้นพลิ้วบางขนานกับพระองค์ตกลงมาเบื้องล่าง รายละเอียดของพระพักตร์ชัดเจน สีพระพักตร์ค่อนข้างเคร่งขรึม สวมศิราภรณ์ ได้แก่ กระบังหน้าและมงกุฎรูปกรวยหรือที่เรียกกันว่า หมวกชีโบ นุ่งสบง คาดด้วยรัดประคดที่มีการตกแต่งลวดลายที่ปรากฏในศิลปะเขมร แบบบายน
ที่มีชื่อเรียกว่า"พระร่วงรางปืน" หรือ "พระร่วงหลังรางปืน" เนื่องจากด้านหลังขององค์พระมีลักษณะเป็นร่องลึกยาวนับเป็นพระพิมพ์ที่นิยมเล่นหากันมาเป็นเวลานานทั้งยังได้รับการยกย่องให้เป็นจักรพรรดิ แห่งพระเนื้อชิน
พระร่วงรางปืนจัดเป็นพระพิมพ์สกุลช่างสกุลสุโขทัย ที่ได้รับอิทธพลจากศิลปะเขมรสมัยบายน หรือศิลปะแบบลพบุรีอายุราวพุทธศตวรรษ ที่18 เป็นพระพิมพ์เนื้อชินตะกั่วสนิมแดง เดิมจึงเรียกว่าพระสนิมแดง
สันนิษฐานกันว่าคำเรียดขานพระพิมพ์ที่มีพุทธลักษณะเช่นนี้ว่า พระร่วง มีที่มาจากพระร่วงโรจนฤทธิ์ศรอินทราทิตย์ธรรมโมภาสมหาวชิราวุธปูชนียบพิตร ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯให้ปฏิสังขรณ์ขึ้นจากพระพุทธรูปที่ชำรุดเหลือเพียงพระเศียร พระหัตถ์ และพระบาทที่ทรงได้มาจากเมืองศรีสัชนาลัย และนำมาประดิษฐานไว้ที่วิหารด้านทิศเหนือขององค์พระปฐมเจดีย์ เนื่องจากนักสะสมเห็นว่ามีพุทธลักษณะคล้ายคลึงกับพระสนิมแดง
จัดสร้างตามสถานที่ที่พระนเรศวรมหาราชทรงศึกยุทธหัตถี ณ ดอนเจดีย์ สุพรรณบุรี เมื่อพุทธศักราช 2135
จัดสร้างโดยพระรักขิตวันมุนี ( ถิร ) วัดป่าเลไลยก์ สุพรรณบุรี
สมเด็จพระสังฆราช ทรงจุดเทียนชัย เวลา 11.00 น.
สมเด็จพระวันรัต วัดพระเชตุพนฯเป็นประธานในพิธี
พระอาจารย์ไสว สุมโนเป็นเจ้าพิธี
ช่างเกษม มงคลเจริญ แกะพิมพ์ทรง
พิธีมหาพุทธาภิเษก เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ.2513 วันกองทัพไทย โดยมีพระเกจิอาจารย์ 108 รูป ร่วมพิธีพุทธาภิเษก
ด้านหลัง มีสัญลักษณ์รูปช้างทรง
พระร่วงยุทธหัตถีรุ่นนี้เป็นหนึ่งในพระพิมพ์พระร่วงที่ออกแบบพิมพ์ได้สวยงามเข้มขลัง อีกทั้งพิธีมหาพุทธาภิเศกใหญ่โดยยอดคณาจารย์ พุทธคุณสูงทางด้านคงกระพันชาตรี แคล้วคลาดป้องกันภัยภยันตราย ว่ากันว่าพระพิมพ์พระร่วงนี้เหมาะสำหรับบูชาคู่กายชายชาตรี พระร่วงยุทธหัตถีรุ่นนี้เป็นหนึ่งในพระพระดีมีคุณค่าน่าบูชา
ชื่อกันว่าผู้ที่มีเหรียญนี้ไว้ในครอบครอง หยิบจับงานสิ่งใดจะประสบความสำเร็จ เหมือนดังที่โบราณว่า ปากพระร่วงพูดสิ่งใด เป็นไปดังนั้น สมดังหวัง
##ผู้ชนะประมูล โอนแล้วแจ้งสรีปที่อยู่ไม่เกิน 3 วัน
ท่านต้องเป็นสมาชิกที่ผ่านการยืนยันตัวตนแล้วเท่านั้น