พระอุปัชฌาย์อิ่ม
วัดหัวเขา
ประวัติของหลวงพ่ออิ่ม
วัดหัวเขา เลือนรางมาก ทราบแต่เพียงว่าท่านเกิดเมื่อวันอาทิตย์ ปีจอ เดือน ๗ ในปลายสมัยรัชกาลที่
๔ ตรงกับวันที่ ๑ เดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๔๐๖
อุปสมบทเมื่อประมาณ
พ.ศ.๒๔๒๖ ท่านเป็นพระธุดงค์มาจากเมืองอื่น
แล้วเดินทางมาปักกลดปฏิบัติธุดงควัตรอยู่บริเวณบ้านหัวเขา อำเภอเดิมบางนางบวช
ซึ่งแต่เดิมเป็นป่ารกทึบ
ท่านเห็นว่าอาณาบริเวณนี้มีความสงบร่มรื่นเหมาะแก่การสร้างเป็นวัด
จึงได้สร้างเป็นวัดขึ้นมาชื่อว่า “วัดหัวเขา” และท่านก็ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก
ในการอุปสมบทครั้งแรกของหลวงพ่อมุ่ย
วัดดอนไร่ นั้น หลวงพ่ออิ่ม ก็เป็นพระคู่สวดให้
และในการอุปสมบทครั้งที่สองของหลวงพ่อมุ่ย
หลวงพ่อมุ่ยท่านก็ได้ฝากตัวเป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่ออิ่ม
ประวัติกล่าวว่าหลวงพ่อมุ่ยแวะเวียนไปมาหาสู่กับหลวงพ่ออิ่มเป็นประจำ
อีกทั้งยังเคยไปจำพรรษาที่วัดหัวเขาเป็นเวลา ๑ พรรษา
เพื่อเรียนวิชาอาคมกับหลวงพ่ออิ่ม หลังจากนั้นก็ยังไปมาหาสู่หลวงพ่ออิ่ม
และหลวงพ่ออิ่มยังพาไปศึกษาต่อกับหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่าด้วย
หลักฐานจากหนังสือพระราชทานเพลิงศพพระครูวรนาถรังษี
หลวงพ่อปุย วัดเกาะ กล่าวด้วยว่า พ.ศ.๒๔๖๓
หลวงพ่อปุยก็เดินทางมาฝากตนเป็นศิษย์หลวงพ่ออิ่ม และอาจารย์มนัส โอภากุล
เขียนไว้ในหนังสือลานโพธิ์กล่าวว่า หลวงพ่ออิ่มยกย่องหลวงพ่อปุยว่า
เปรียบเสมือนบัวที่พ้นน้ำแล้ว สอนอะไรก็เข้าใจง่าย ศึกษาได้รวดเร็ว
ไม่ต้องจ้ำจี้จำไชเท่าไรนัก หลวงพ่อปุยเองก็เคยเล่าให้ศิษย์ฟังเสมอๆว่า
หลวงพ่ออิ่มท่านเป็นพระที่เคร่งในพระธรรมวินัยมาก ญาณสมาบัติสูงมาก
สมัยที่หลวงพ่ออิ่มท่านได้ปกครองวัดหัวเขา
ท่านพัฒนาวัดหัวเขาจนเป็นวัดที่เจริญวัดหนึ่งในสมัยนั้น และมีพระภิกษุสงฆ์เดินทางมาฝากตัวเป็นลูกศิษย์มากมาย
อาทิ หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ ,
หลวงพ่อปุย วัดเกาะ , หลวงปู่แขก วัดหัวเขา
และหลวงพ่อทรง วัดศาลาดิน เป็นต้น
หลวงพ่ออิ่มท่าน
มรณภาพ เมื่อประมาณต้นปีพ.ศ.๒๔๘๐ สิริอายุ ๗๔ปี
หากพูดถึงพระเกจิอาจารย์ที่หลวงพ่อปาน
วัดบางนมโค ยกย่องกันแล้วหล่ะก็ “หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี” ก็นับเป็นอีกรูปหนึ่ง ที่หลวงพ่อปานกล่าวยกย่องด้วยความเคารพ
โดยหลวงพ่อปาน
เรียกหลวงพ่ออิ่มว่า “พระเจดีย์”
ซึ่งหมายถึงว่า
เป็นพระภิกษุสงฆ์ที่น่าเคารพยกย่องเหมือนกับเป็นพระสถูป หรือพระเจดีย์ ที่ควรค่าแก่การสักการะบูชา
และก็ต้องบอกว่า
คำที่หลวงพ่อปานกล่าวยกย่อง ไม่เกินเลยความจริงแต่ประการใด
เพราะพระเกจิอาจารย์แห่งเมืองสุพรรณรูปนี้ เก่งอย่าง “ของจริง ของแท้” แบบเล่าขานปากต่อปาก ไม่ต้องโหมโฆษณาตามสื่อมวลชนแขนงต่างๆ กันแต่ประการใด
มิหนำซ้ำ หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา
ยังมีข้อวัตรปฏิบัติตรงตามพระธรรมวินัยสมเป็นพุทธบุตรอีกต่างหาก
ถึงขนาดที่ว่า
สามารถกำหนดอิริยาบถการมรณภาพได้อีกด้วย คือ ท่านกำหนดนั่งสมาธิมรณภาพ จนถือว่า
เป็นพระเกจิฯ ในยุคแรกๆ ของเมืองสุพรรณฯ ที่นั่งสมาธิมรณภาพ
ซึ่งนั่นเป็นสิ่งบ่งบอกถึงภูมิจิต ภูมิธรรมขั้นสูงตามหลักพระพุทธศาสนาได้เป็นอย่างดีว่า
หลวงพ่ออิ่ม ก็เป็นพระอริยบุคคลรูปหนึ่ง
เพจ:
ตำนานเล่าขานพระผู้ทรงฌานอภิญญาครูบาอาจารย์ผู้เรืองวิชาอาคม
ซื้อจริง โอนไว้ ยอดเยี่ยมมากครับ จัดส่งให้เรียบร้อยแล้ว ขอบคุณมากครับ
ท่านต้องเป็นสมาชิกที่ผ่านการยืนยันตัวตนแล้วเท่านั้น