ตอนจอง ชุดละ 1000 ครับ
ชุด 9 องค์
..............................................
สมเด็จนพรัตน์ภูมินทร์ 9 พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ คู่บ้าน คู่เมือง คู่แผ่นดิน ของพระราชาคณะผู้ทรงคุณอันประเสริฐสุด ดุจนพรัตน์ทั้ง 9 มวลสารดี พิธีใหญ่ พระดีมีคุณค่าน่าบูชาสะสมมากครับเหมาะสำหรับเป็นของขวัญให้แก่ผู้ใหญ่ เจ้านาย หรือผู้ที่เคารพนับถือ
พระสมเด็จนพรัตน์ภูมินทร์ นับเป็นรัตนมหามังคลานุสรณ์ชิ้นเอกแห่งสยามประเทศอีกชุดหนึ่งที่เป็นการยากยิ่งที่ประชาชนชาวไทย จะได้มีโอกาสเช่นนี้อันเนื่องด้วยเหตุปัจจัยที่มหามงคล 4 ประการ คือ
1. เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์แห่งสยามประเทศ ที่ได้นำผงนพรัตน์ทั้ง 9 มาเป็นส่วนผสมในการจัดสร้างพระผงพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ คู่บ้าน คู่เมือง คู่แผ่นดินสยามประเทศจำนวนถึง 9 องค์
2. สำนักราชเลขาธิการ ได้พิจารณาให้อัญเชิญตราพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542 เพื่อประดิษฐานไว้ด้านหลังของพระสมเด็จนพรัตน์ภูมินทร์ เพื่อเป็นรัตนมงคลราชานุสรณ์ อันก่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลให้กับคนไทยทุกคนที่สนับสนุนโครงการวัดพี่ช่วยวัดน้อง
3. เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ทรงเป็นประธานจัดสร้างพระสมเด็จนพรัตน์ภูมินทร์ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ คู่บ้าน คู่เมือง คู่แผ่นดินสยามประเทศ และทรงรับไว้ในพระอุปถัมภ์
4. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระสุหร่ายทรงเจิมแผ่นทองคำ เงิน นาค ในวโรกาสที่เสด็จพระราชดำเนินถวายผ้ากฐิน ณ วัดอรุณราชวราราม เมื่อ 16 ตุลาคม 2541
นพเก้า หรือ นพรัตน์ ซึ่งเป็นอัญมณี 9 ชนิด ซึ่งถือเป็นของสูงตามราชโบราณที่ถือว่าผู้ใดมีไว้ครอบครองทั้งหมดเป็นสิริมงคลอย่างสูงสุด ประกอบด้วย เพชรน้ำดี มณีแดง เขียวใสแสงมรกต เหลืองใสสดบุษราคัม แดงแก่ก่ำโกเมนเอก สีหมอกเมฆนิลกาฬ มุกดาหารหมอกมัว แดงสลัวเพทาย สังวาลย์สายไพฑูรย์ ครบทุกชนิดตามราชประเพณี
"ความเชื่อ" ของผู้คนที่มีมาแต่โบราณกาลว่า อัญมณีหรือเพชรพลอยทั้ง 9 ชนิด ที่เรียกว่า "นพรัตน์" นั้นถือเป็นสัญลักษณ์ของดาวนพเคราะห์ ถือเป็นของสูงมีคุณอันวิเศษเป็นสิริมงคลแก่ผู้เป็นเจ้าของ ใครมีไว้ก็ล้วนแต่เจริญรุ่งเรืองด้วยประการทั้งปวง เลิศด้วยความดีงามทั้งปวง
พระสมเด็จพระนพรัตน์ภูมินทร์ได้นำเอาพระพุทธรูปสำคัญของไทยมาเป็นต้นแบบพิมพ์อันประกอบด้วยพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ดังต่อไปนี้
...................
1.พระพุทธมณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) ตามประวัติกล่าวว่า พระแก้วมรกตพระองค์นี้เทวดาสร้างถวายพระอรหันต์องค์หนึ่ง มีนามว่า พระนาคเสนเถระ แห่งเมืองปาตลีบุตร ในอินเดีย พระนาคเสนได้อธิษฐานอาราธนาพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้ประดิษฐานอยู่ในองค์พระแก้วมรกต 7 พระองค์ คือ ในพระโมฬี พระนลาฏ พระอุระ พระอังสาทั้ง 2 ข้าง พระชานุทั้ง 2 ข้าง ต่อมาพระแก้วมรกตได้ตกไปอยู่ที่เมืองลังกา เมืองกัมพูชา เมืองศรีอยุธยา เมืองละโว้ เมืองกำแพงเพชร เมืองเชียงราย นครลำปาง นครเชียงใหม่ และเวียงจันทน์ตามลำดับ เมื่อ พ.ศ. 2321 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ขณะที่ทรงดำรงพระยศเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้ยกกองทัพไปตีได้เมืองเวียงจันทน์ และได้อัญเชิญพระแก้วมรกตกลับมายังกรุงธนบุรี ประดิษฐานไว้ ณ พระวิหารน้อย วัดอรุณราชวราราม (วัดแจ้ง) ในบริเวณพระราชวังเดิม ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ได้สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อ พ.ศ. 2325 ทรงโปรดให้ประดิษฐานพระแก้วมรกต ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อ พ.ศ. 2327
2.พระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (วัดใหญ่) จังหวัดพิษณุโลก "พระพุทธชินราช" หรือที่ชาวเมืองพิษณุโลกเรียกว่า "หลวงพ่อใหญ่" ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่ หล่อด้วยทองสำริดในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 (พญาลิไท) ได้รับการกล่าวจานว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามที่สุดในโลก
3.หลวงพ่อมงคลบพิตร พระนครศรีอยุธยา ไม่ปรากฏหลักฐานชัดว่าสร้างในรัชสมัยใดในกรุงศรีอยุธยา สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น นับเป็นพระพุทธรูปที่ใหญ่ที่สุดองค์หนึ่งของไทย จากหลักฐานมีอยู่ว่า เมื่อปี พ.ศ. 2146 พระเจ้าทรงธรรมได้โปรดเกล้าฯ ให้ชะลอหลวงพ่อวัดมงคลบพิตร จากด้านตะวันออกของวังหลวงมาไว้ทางด้านตะวันตก ณ ที่ประดิษฐานปัจจุบัน
4.หลวงพ่อวัดเขาตะเครา (หลวงพ่อทอง) วัดเขาตะเครา จังหวัดเพชรบุรี ที่วัดนี้ประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย สูง 29 นิ้ว หน้าตักกว้าง 21 นิ้ว เรียกกันว่าหลวงพ่อเขาตะเครา มีชาวเมืองและนักท่องเที่ยวไปกราบไหว้ปิดทองเป็นอันมาก จนกระทั่งบัดนี้แลไม่เห็นพุทธลักษณะเดิม มีประวัติเล่าถึงหลวงพ่อองค์นี้ว่าเป็นพระพี่พระน้อง 3 องค์กับหลวงพ่อโสธร จังหวัดฉะเชิงเทรา หลวงพ่อบ้านแหลม จังหวัดสมุทรสงคราม บางตำราว่าเป็นพี่น้องกันถึง 5 องค์คือ หลวงพ่อบางพลีใหญ่ และหลวงพ่อวัดไร่ขิงที่นครปฐมด้วย ที่มาของพระพุทธรูปนี้เมื่อปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ตอนที่ชาวบ้านแหลม เมืองเพชรหนีพม่าไปตั้งหลักแหล่งอยู่ที่ปากน้ำแม่กลองจนกระทั่งกลายเป็นบรรพบุรุษของชาวสมุทรสงครามในทุกวันนี้ วันหนึ่งชาวประมงบ้านแหลมไปตีอวนที่ปากอ่าวได้พระพุทธรูปขึ้นมา 2 องค์ องค์หนึ่งเป็นพระยืนปางอุ้มบาตร อีกองค์หนึ่งเป็นพระปางมารวิชัยชาวบ้านแหลมนำพระยืนไปประดิษฐานที่วัดบ้านแหลมปัจจุบันคือ วัดเพชรสมุทรวรวิหาร กลางเมืองสมุทรสงคราม ส่วนอีกองค์มอบให้ญาติชาวบางตะบูนนำมาประดิษฐานที่ วัดเขาตะเครา อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี
5.หลวงพ่อวัดบ้านแหลม หากเอ่ยถึงเมืองแม่กลอง หรือสมุทรสงครามแล้วไม่กล่าวถึงหลวงพ่อวัดบ้านแหลม ก็นับว่าไม่รู้เรื่องแม่กลองจริงแท้ หลวงพ่อบ้านแหลมเป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยทองสำริด ปางอุ้มบาตร สูง 167 เซนติเมตร เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์เปรียบเสมือนหนึ่งเป็นหลักเมืองหรือเทวดาประจำเมืองสมุทรสงคราม
6.หลวงพ่อโสธร พระพุทธโสธร เป็นพระพุทธรูปสำคัญของจังหวัดฉะเชิงเทรา ชาวบ้านเรียกกันว่าหลวงพ่อโสธร เป็นพระพุทธรูปพอกปูน ลงรักปิดทอง ปางสมาธิแบบล้านช้าง หน้าตักกว้างประมาณสามศอกครึ่ง ตามประวัติกล่าวว่ามีพระพุทธรูปลอยมาตามแม่น้ำบางปะกงไปจนถึงวัดหงษ์ ชาวบ้านได้อาราธนาขึ้นไปประดิษฐานในอุโบสถวัดหงษ์ และเปลี่ยนมาเป็นวัดโสธร การแก้บนหลวงพ่อโสธรที่นิยมทำกันคือ แก้บนด้วยละครชาตรี
7.หลวงพ่อวัดไร่ขิง วัดไร่ขิง ตั้งอยู่ที่อำเภอสามพราน นครปฐม สร้างเมื่อ พ.ศ. 2334 เมื่อสร้างแล้วเสร็จ ได้อัญเชิญพระพุทธรูปจากวัดศาลาปูน มาประดิษฐานไว้ที่วัดไร่ขิง ปัจจุบันชาวบ้านเรียกกันว่าหลวงพ่อวัดไร่ขิง เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 4 ศอก 2 นิ้วเศษ สูง 4 ศอก 16 นิ้วเศษ พุทธลักษณะเป็นสมัยเชียงแสนตามตำนานเล่าว่า ลอยน้ำมาพร้อมกัน 5 องค์พี่น้อง เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวไทยยิ่ง
8.หลวงพ่อโตวัดบางพลีใหญ่ วัดบางพลีใหญ่ ตั้งอยู่ริมคลองสำโรง ที่ตำบลบางพลีใหญ่ เดิมชื่อวัดพลับพลาไชยชนะสงคราม สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ในชัยชนะ ต่อมาได้อัญเชิญพระพุทธรูปองค์ใหญ่สมัยสุโขทัยปางมารวิชัยลืมเนตร หน้าตักกว้าง 3 ศอก 1 คืบ เนื้อเป็นทองสำริดเป็นที่เลื่อมใสของประชาชนโดยทั่วไปนาม หลวงพ่อโต วัดนี้จึงมีชื่อว่า วัดหลวงพ่อโต อีกชื่อหนึ่งชาวบางพลีได้อัญเชิญหลวงพ่อโตจำลองลงเรือในพิธีโยนบัวหรือรับบัวทุกปีในวันขึ้น 14 เดือน 11
9.พระพุทธไตรรัตนนายก (ซำปอกง) วัดกัลยาณมิตร ธนบุรี หลวงพ่อโต ซำปอกงเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ก่ออิฐถือปูนลงรักปิดทอง หน้าตักกว้าง 11.75 เมตร มีพุทธลักษณะงดงามมากที่สุดในกรุงรัตนโกสินทร์ ชาวไทยเชื้อสายจีนทั้งในและต่างประเทศให้ความเคารพนับถือมาก เพราะถือว่าเป็นเทพเจ้าแห่งความร่ำรวย
ชนวนมวลสารที่ใช้จัดสร้าง
พระสมเด็จนพรัตน์ภูมินทร์ ประชุมผงพุทธคุณศักดิ์สิทธิ์ 9 ชนิด อันหาได้ยากยิ่งในแผ่นดิน ประกอบด้วย ผงอรหังสิทธิธังกร ผงสิริชัยโฆสก ผงนวมังคลาภิบาล ผงมหาราช ผงอิทธิเจ ผงพุทธคุณ ผงธรรมคุณ ผงสังฆคุณ ผงมาตาปิตุปัฏฐานมงคล 38 ประการ และผงสมเด็จ 9 แผ่นดินอันก่อให้เกิดความเป็นสิริมงคล ดังตัวอย่างเช่น
1. ผงอรหังสิทธิธังกร สร้างความองอาจ สำเร็จผลตามประสงค์ในหน้าที่การงาน เป็นบ่อเกิดแห่งโภคสมบัติอันมหาศาล
2. ผงสิริชัยโฆสก วาจาเป็นที่นิยมชื่นชอบของทุกคน ติดต่อการงานสำเร็จตามเป้าหมาย
3. ผงนวมังคลาภิบาล ปกป้องคุ้มครองรักษาทุกทิศานุทิศ นำชีวิตมุ่งสู่มงคล บรรดาลดลให้ผ่านพ้นอุปสรรคภยันตราย ย่างกรายไปที่ใดล้วนสวัสดีมีชัย
นพเก้า หรือนพรัตน์ซึ่งเป็นอัญมณี 9 ชนิด ซึ่งถือเป็นของสูงตามราชโบราณที่ถือว่าผู้ใดมีไว้ครบทั้งหมดเป็นสิริมงคลอย่างสูงสุด ประกอบด้วย เพชรน้ำดี มณีแดง เขียวใสแสงมรกต เหลืองใสสดบุษราคัม แดงแก่ก่ำโกเมนเอก สีหมอกเมฆนิลกาฬ มุกดาหารหมอกมัว แดงสลัวเพทาย สังวาลย์สายไพฑูรย์ ครบทุกชนิดตามราชประเพณีซึ่งมีความหมายอันเป็นสิริมงคล ดังนี้
เพชร สิริมงคลคือ เป็นผู้ยิ่งใหญ่ มีชัยแก่ศัตรู ร่ำรวย
นิลกาฬ (ไพลิน) สิริมงคลคือ ความรัก ความเมตตากรุณา ความร่ำรวย
ทับทิม สิริมงคลคือ ความสำเร็จ ลาภยศ อายุยืน
มุกดาหาร สิริมงคลคือ ความบริสุทธิ์ ร่มเย็น และชนะแก่ศัตรู
มรกต สิริมงคลคือ ความศรัทธา กล้าหาญ ป้องกันภัยอันตรายทั้งปวง
เพทาย สิริมงคลคือ ความร่ำรวย ชนะคดีความ
บุษราคัม สิริมงคลคือ มีเสน่ห์เป็นที่รัก
ไพฑูรย์ สิริมงคลคือ เทวดาคุ้มครอง ป้องกันฟืนไฟ