เปิดวัดใจ...เหรียญอาร์มหลวงพ่อโสธร รุ่นสร้างโรงเรียน ปี2509 เนื้ออัลปาก้า วัดโสธรฯ จ.ฉะเชิงเทรา พร้อมบัตรรับรอง
ความสำคัญเหรียญรุ่นนี้ คือ
ประการแรก สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกเนื่องวาระที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยเสด็จพระราชกุศลสร้างโรงเรียนวัดโสธรวรารามวรวิหาร วันที่ 3 มิ.ย. 2509
ประการที่สอง เป็นเหรียญจำลองพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของ จ.ฉะเชิงเทรา และเป็นหนึ่งในพระพุทธรูปสำคัญของประเทศที่เป็นที่เคารพศรัทธาของสาธุชน ทั่วหล้า
และประการสำคัญ คือ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญพระปรมา ภิไธยย่อ "ภปร" ประดิษฐานด้านหลังเหรียญ อันนับเป็นมหามงคลยิ่ง
เหรียญหลวงพ่อพระพุทธโสธร หลัง ภปร ปี 2509 จัดสร้างโดย พระราชพุทธิรังสี (จิรปุญโญ ด.เจียม กุลละวณิชย์) หรือ พระพรหมคุณาภรณ์ (สมณศักดิ์สุดท้ายเมื่อมรณภาพ) เจ้าอาวาสวัดโสธรวรารามวรวิหารขณะนั้น
เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ.2509 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญาฯ เสด็จฯ พิธีวิสาขบูชา ณ วัดโสธรวรารามวรวิหาร
ด้วยอันเป็นมูลเหตุแห่งการจัดสร้าง "พระอุโบสถหลังใหม่" ที่งดงามอลังการ จากพระราชปรารภถึงความคับแคบ
เหรียญหลวงพ่อพระพุทธโสธร หลัง ภปร ปี 2509 เป็นเหรียญรูปเสมา หูในตัว มีห่วง ด้านหน้ายกขอบ 2 ชั้น ชั้นในเล็กกลมแบบเส้นลวด ตรงกลางเป็นรูปจำลองหลวงพ่อพระพุทธโสธรเต็มองค์ ต่อด้วยอักษร ไทยว่า "หลวงพ่อพระพุทธโสธร จังหวัดฉะเชิงเทรา" ล่างสุดเป็นตัวอักษร "พ" ซึ่งย่อมาจาก "พระราชพุทธิรังสี" พิมพ์ด้านหน้านี้แบ่งออกเป็น 2 พิมพ์ คือ พิมพ์ฐานบัว และพิมพ์ฐานเขียง สังเกตจากฐานขององค์พระ
ด้านหลังยกขอบหนาชั้นเดียว ตรงกลางเป็นพระปรมาธิไภยย่อ "ภปร" มีอักษรไทยจารึกว่า "ที่ระลึกโดยเสด็จพระราชกุศล สร้างโรงเรียนวัดโสธรวรารามวรวิหาร ๓ มิ.ย.๐๙" โดยมีสัญลักษณ์ "ดาว" ด้านหน้าและท้ายประโยค จัดสร้างเป็น เนื้อทองคำ เนื้อเงิน เนื้ออัลปาก้า และเนื้อทองแดง
พิธีพุทธาภิเษก ถือว่าจัดยิ่งใหญ่ในยุคนั้น พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จฯ ทรงเป็นประธาน พร้อมด้วยพระเกจิอาจารย์ชื่อดังเข้าร่วมอธิษฐานจิตปลุกเสก อาทิ หลวงพ่อทอง วัดก้อนแก้ว, หลวงพ่อจุ้ย วัดพงษาราม, หลวงพ่อโด่ วัดนามะตูม หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี อาจารย์นำ วัดดอนศาลา ฯลฯ
เหรียญหลวงพ่อพระพุทธโสธร หลัง ภปร ปี 2509 ในครั้งนี้ จัดสร้างหลายหมื่นเหรียญทีเดียว ทำให้มีบล็อกแม่พิมพ์หลายแม่พิมพ์ เท่าที่ผู้รู้ตรวจสอบดู ในเหรียญพิมพ์ฐานบัวมีคนแยกออกมาได้อีกประมาณ 4 บล็อก ส่วนพิมพ์ฐานเขียงแยกได้ประมาณ 3 บล็อก ส่วนด้านหลังหลักๆ จะมี 2 บล็อก
ดังนั้น จึงเป็นที่แน่นอนว่าต้องเกิดการหมุนเวียนของบล็อกหน้า-บล็อกหลังในการกดแม่พิมพ์ อีกทั้งเมื่อกดแม่พิมพ์ไปนานๆ ก็จะเกิดการตื้นเขินของแม่พิมพ์ หรือเกิดเนื้อเกินในบางจุด ตามที่ทราบกันดีอยู่ ส่งผลให้ "เหรียญหลวงพ่อพระพุทธโสธร หลัง ภปร ปี 2509" เกิดจุดตำหนิเหรียญมากมายหลายแบบ เป็นที่ปรากฏออกมาเป็นการเรียกพิมพ์ย่อยในหลายชื่อหลายพิมพ์ รวมแล้วถึง 20 กว่าพิมพ์
วันที่เริ่ม May 24, 2022 13:22:42
วันที่ปิดประมูล May 25, 2022 13:24:35
ราคาเปิด10
เพิ่มครั้งละ10
ธนาคารกรุงเทพ (นครราชสีมา) ,