วัดใจ..พระสมเด็จหลังยันต์ตรีนิสิงเหหลวงพ่อแพ พิมพ์คะแนน ปี2512 เนื้อผงเกสร วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี (หลวงปู่โต๊ะ ปลุกเสก) พร้อมบัตรดีดี
สมเด็จหลวงพ่อแพหลังยันต์ตรีนิสิงเห พิมพ์คะแนน ปี2512 เนื้อผงเกษร วัดพิกุลทอง (หลวงปู่โต๊ะ ปลุกเสก) มีขนาดสูง 1.9 x 1.2 ซ.ม. พิมพ์คะแนน องค์จิ๋ว มาพร้อมบัตรรับรอง
การสร้างวัตถุมงคลของหลวงพ่อแพนั้น ท่านมิได้เน้นเรื่องความสวยงาม หากแต่เน้นไปในเรื่องของความขลัง ความศักดิ์สิทธิ์ของวัตถุมงคลนั้น ๆ โดยท่านจะพิถีพิถันในการปลุกเสก ทั้งวิชาอาคม ทั้งอำนาจจิต เพื่อให้เกิดความแคล้วคลาดจากภยันตรายทั้งปวง และด้วยพลังบริสุทธิ์ดังกล่าว จึงทำให้วัตถุมงคลของหลวงพ่อแพรุ่นต่าง ๆ มีประสบการณ์อภินิหารมากมาย สืบสานยาวนานมาจนทุกวันนี้
ในปี พ.ศ. ๒๔๙๔ หลวงพ่อแพได้สร้างพระสมเด็จเนื้อผงรุ่นหนึ่งขึ้นมาหลายพิมพ์ กล่าวกันว่า พระสมเด็จที่หลวงพ่อแพสร้างขึ้น มีอานุภาพด้านพุทธคุณ ไม่ได้เป็นรองพระสมเด็จของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆัง แม้แต่น้อย ทั้งนี้ สืบเนื่องมาจากหลวงพ่อแพท่านมีศรัทธาในสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆัง เป็นอย่างมาก
ด้วยเหตุนี้ หลวงพ่อแพจึงได้สร้างพระสมเด็จขึ้น โดยยึดถือแนวทางการสร้างวัตถุมงคลชุดพระสมเด็จของสมเด็จโตเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งหลักใหญ่หลวงพ่อแพท่านได้ลบผง เรียกว่า ผงวิเศษห้าประการ เป็นผงหลักในการสร้างพระสมเด็จ คือ ผงอิทธิเจ ผงปถมัง ผงมหาราช ผงตรีนิสิงเห และ ผงพุทธคุณ โดยเฉพาะผงพุทธคุณนั้น ท่านเขียนและลบด้วยพระคาถาชินบัญชร เพื่อใช้เป็นส่วนผสมอีกด้วย
นอกจากผงวิเศษห้าประการแล้ว ยังมีผงอื่น ๆ เป็นส่วนประกอบ เช่น ผงบดจากหนังสือ ๗ ตำนาน, ผงยันต์ในคัมภีร์ต่าง ๆ เป็นต้น
ในการทำผงแต่ละอย่างนั้น มีเคล็ดลับที่หลวงพ่อแพถือปฏิบัติคือ รักษาความสะอาดบริสุทธิ์ทั้งภายในและภายนอก, ตั้งจิตสงบเป็นสมาธิจดจ่ออยู่กับคาถาอาคม และอักขระต่าง ๆ โดยเฉพาะการบริกรรมภาวนา ต้องแม่นยำ ไม่ผิดพลาด ด้วยเหตุนี้ พระสมเด็จที่หลวงพ่อแพจัดสร้างขึ้น จึงมีพุทธานุภาพทรงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์เยี่ยมยอดทุกรุ่น ทุกแบบพิมพ์
หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง ท่านสร้างพระไว้มาก ถ้าจะประเมินกันอย่างคร่าว ๆ ก็คงไม่ต่ำกว่า ๓๐๐ แบบพิมพ์เป็นอย่างต่ำ แต่ที่นิยมแพร่หลายนั้น ส่วนมากจะเป็นเนื้อผง เช่น พระสมเด็จ พระนางพญา พระรอด พระปิดตา พระลีลาทุ่งเศรษฐี พระสิวลี พระสังกัจจายน์ พระขุนแผน พระผงรูปเหมือน นางกวัก ฯลฯ ซึ่งลูกศิษย์ลูกหา ญาติโยม ต่างก็เชื่อว่า มีพุทธคุณในด้านเมตตามหานิยม, แคล้วคลาด อุดมด้วยลาภผล โภคทรัพย์พูลทวี ซึ่งก็คือ คำอวยพรของท่าน
พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณ " พระราชสิงหคณาจารย์ " หรือที่รู้จักกันดีในนาม หลวงพ่อแพ
ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงมาก พระเครื่องของท่านทุกรุ่น ทุกพิมพ์ทรงล้วนมีพุทธคุณสูงเยี่ยมในทุกๆด้าน ผู้ประสบปาฏิหาริย์แห่งความเข้มขลังเป็นที่เลื่องชื่อลือชาอย่างกว้างขวาง ทั้งชาวไทย ชาวจีน ตลอดจนชาวต่างประเทศ เช่น ไต้หวัน สิงคโปร์ มาเลเซีย ต่างรู้จักกิตติคุณของหลวงพ่อแพเป็นอย่างดี
หลวงพ่อแพ เขมังกโร เป็นชาวจังหวัดสิงห์บุรี ท่านมีนามเดิมว่า "แพ ใจมั่นคง" เกิดเมื่อวันจันทร์ ที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๘ ตรงกับ ขึ้น ๒ ค่ำ เดือนยี่ ปีมะเส็ง ณ บ้านสวนกล้วย เลขที่ ๙๓/๓ หมู่ที่ ๓ ตำบลพิกุลทอง อำเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี บิดาชื่อ นายเทียน ใจมั่นคง มารดาชื่อ นางหน่าย ใจมั่นคง เมื่ออายุได้ ๘ เดือน มารดาผู้ให้กำเนิดได้ถึงแก่กรรม ดังนั้น นายบุญ และนางเพียร ขำวิบูลย์ สามี ภรรยา ซึ่งมีศักดิ์เป็นอา ได้ขอเด็กชายน้อยๆ ที่มีอายุเพียง ๘ เดือน จากนายเทียน ใจมั่นคง บิดาผู้บังเกิดเกล้าโดยรับอุปการะเป็นบุตรบุญธรรม
เมื่ออายุได้ ๑๑ ปี บิดามารดาบุญธรรม ได้นำเด็กชายแพไปฝากอยู่วัด กับสำนักอาจารย์ป้อม เพื่อที่จะศึกษาเล่าเรียนตามแบบโบราณนิยม คือ การเรียนภาษาไทยภาษาขอม นอกจากนั้น ยังได้เรียนหนังสือ มูลบทบรรพกิจ ทางธรรมก็มีพระมาลัยสูตร และยังได้หัดอ่านพระธรรมเจ็ดคัมภีร์ เมื่ออายุได้ ๑๔ ปี บิดามารดาบุญธรรมได้ส่งไปศึกษาต่อที่สำนักวัดอาจารย์ อาจารย์ สม ภิกษุชาวเขมร วัดชนะสงคราม กรุงเทพฯ การศึกษาในกรุงเทพฯขั้นแรกได้เริ่มเรียนหนังสือโบราณท่องสนธิ เรียนมูลกัจจายนสูตร เป็นเวลา ๑ ปี ต่อมา ก็ไปเป็นนักเรียนบาลีไวยากรณ์ ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพฯ
ครั้นหลวงพ่อแพศึกษาหาความรู้จนอายุได้ ๑๖ ปี ก็กลับบ้านเกิด เพื่อบรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ.๒๔๖๓ ณ วัดพิกุลทอง ตำบลพิกุลทอง อำเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี โดยมีพระอธิการพันจันทสโร เจ้าอาวาสวัดพิกุลทอง เป็นพระอุปัชฌาย์ครั้นเมื่อบวชเป็นสามเณรแล้วก็ได้เดินทางกลับไปอยู่วัดชนะสงครามตามเดิม และได้ศึกษาบาลีไวยากรณ์ต่อไปอีก จนสอบได้เปรียญธรรม ๓ ประโยค ตั้งแต่ยังเป็นสามเณร
ในปีพ.ศ.๒๔๖๘ นายเทียน ใจมั่นคง บิดาผู้บังเกิดเกล้าก็ได้ถึงแก่กรรม โดยความมุมานะพยายาม โดยอาศัยแสงสว่างจากเทียนไขหรือตะเกียง โดยส่วนมากเพราะสาเหตุนี้ นัยน์ตา อันเป็นส่วนสำคัญของสังขาร ก็เกิดอาการเจ็บปวดอย่างรุนแรง ทุกครั้งที่ตรากตรำอ่านหนังสือมากเกินไปในที่สุด นายแพทย์โรงพยาบาลจุฬาฯ ได้แนะนำ ไม่ให้อ่านหนังสืออีกต่อไป มิฉะนั้น นัยน์ตาอาจพิการได้ ดังนั้นภายหลังจากสอบได้เปรียญธรรม ๔ ประโยคแล้ว การศึกษาด้านพระปริยัติธรรมก็ต้องยุติลง แต่ด้วยความที่เป็นผู้มีใจใฝ่การศึกษา พระภิกษุแพ เขมังกะโร จึงได้ศึกษา และปฏิบัติสมถกัมมัฎฐาน วิปัสสนากัมมัฎฐานในสำนักของพระครูภาวนา วัดเชตุพน จนชำนาญ และดำเนินการสั่งสอนให้แก่ประชาชนทั่วไป
สามเณรเปรียญแพ ขำวิบูลย์ได้ทำการอุปสมบทเมื่ออายุครบ ๒๑ ปีบริบูรณ์ ในวันขึ้น ๖ ค่ำ ปีขาล ตรงกับวันพุธที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ.๒๔๖๙ ณ พระอุโบสถวัดพิกุลทอง โดยมีพระมงคลทิพย์มุนี เจ้าอาวาสวัดจักรวรรดิ์ราชาวาส กรุงเทพฯ เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านพระครูสิทธิเดช วัดชนะสงคราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ท่านเจ้าอธิการอ่อน วัดจำปาทอง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "เขมังกะโร" (แปลว่า ผู้ทำความเกษม) ภายหลังจากอุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์แพ เขมังกะโร หรือมหาแพ ก็ได้เดินทางกลับสู่วัดชนะสงคราม เพื่อตั้งใจศึกษาทางด้านพระปริยัติธรรม ให้ได้ในระดับสูงที่สุด เพื่อที่จะได้นำความรู้ ความสามารถที่ได้ฝักใฝ่ศึกษาเล่าเรียนนั้น นำไปสร้างสรรค์ให้เกิดคุณค่า และประโยชน์ต่อชุมชนและพระพุทธศาสนาอย่างเต็มที่ พระภิกษุแพ เขมังกะโร พยายามที่จะศึกษาเล่าเรียนหาความรู้ อ่านหนังสือตำราเรียนอยู่เสมอ
ในปี พ.ศ.๒๔๗๔ อาจารย์หยด พวงมสิต เจ้าอาวาสวัดพิกุลทอง ได้ลาสิกขาบท ทำให้ตำแหน่งว่างลง ชาวบ้านพิกุลทอง และชาวบ้านจำปาทอง จึงนิมนต์ให้พระภิกษุแพมารับเป็นเจ้าอาวาสในเดือน เมษายน พ.ศ.๒๔๗๔ ซึ่งขณะนั้นท่านมีอายุเพียง ๒๖ ปี
วันที่เริ่ม July 07, 2022 12:52:45
วันที่ปิดประมูล July 08, 2022 13:01:04
ราคาเปิด10
เพิ่มครั้งละ10
ธนาคารกรุงเทพ (ตลาดเซฟวัน) ,
khanthong
ผู้เสนอราคาล่าสุด