หนังกระบือเผือก (ควายเผือก) พิมพ์พระพุทธ หลวงพ่อหม่น วัดคลอง 12 จ.ปทุมธานี
ตามประวัติ “หลวงพ่อหม่น” จัดสร้างพระหนังขึ้นมาเพื่อหารายได้สร้างวัด เล่ากันว่าครั้งแรกของการทำพระเป็นการลองวิชาที่ได้รับถ่ายทอดมาจาก “หลวงพ่อเนียม” พระอาจารย์ของท่าน ประกอบกับท่านเองก็มีวิชาอาคมแก่กล้าบำเพ็ญเพียรภาวนานั่งวิปัสสนากรรมฐานมาตลอด พระหนังที่ท่านทำครั้งแรก ท่านใช้หนัง หน้าผากกระบือเผือก หรือควายเผือกนั่นเอง นำมาทำเป็นพระ และควายเผือกที่จะเอาหนังมาทำพระนั้น ถือเคล็ดลงไปอีกว่าจะต้องเป็นควายเผือกที่ถูกฟ้าผ่าตายเท่านั้น ควายตายอย่าง อื่นใช้ไม่ได้ และเมื่อได้ควายเผือกถูกฟ้าผ่าตายมาแล้ว ก็จะต้องใช้หนังที่หน้าผากควาย หรือตรง “กบาลควาย” เท่านั้น เป็นข้อจำกัดในการทำพระหนังให้สุดยอด เปี่ยมด้วยพุทธคุณตรงตำรับตำราโดยแท้ เมื่อท่านทำพระหนังออกมา ก็นำมาแจกจ่ายให้กับชาวบ้านและลูกศิษย์ ใหม่ๆ ก็ไม่มีใครให้ความสนใจมากนัก หลวงพ่อท่านจะแจกให้ลูกหลานเด็กๆ คล้องคอกัน ท่านบอกว่าเอาไว้ป้องกันงูเงี้ยวเขี้ยวขอ ซึ่งต่อมามีผู้เห็นพุทธคุณอิทธิปาฏิหาริย์ในพระหนังมากขึ้นก็ไปขอพระหนังจากท่าน พระหนังหมดท่านก็ทำออกมาใหม่ พระหนังหลวงพ่อหม่นแสดงอิทธิฤทธิ์ให้ผู้คนประจักษ์มากขึ้นในเรื่องของคงกระพันชาตรี ป้องกันงูพิษขบกัดวิเศษยิ่ง เมื่อพระหนังมีชื่อเสียงได้รับความนิยมมาก แต่การทำมีข้อจำกัด นั่นก็คือต้องเอาหนังจากกบาลควายเผือกที่ถูกฟ้าผ่าตายเท่านั้น ทำให้การทำพระออกแจกจ่ายไม่ทันกับความต้องการ ระยะหลังท่านจึงลดข้อจำกัดลง โดยใช้เพียงหนังควายเผือกที่ถูกฟ้าผ่าตายทั้งตัวเอามาทำเป็นพระหนัง ทำให้มีพระหนัง ออกมาให้ผู้ศรัทธามากขึ้น สำหรับควายที่ถูกฟ้าผ่าตายนั้น สมัยก่อนหาไม่ยากยิ่งย่านทุ่งหนองจอกด้วยแล้ว พื้นที่ทั้งหมดเป็นท้องนามีต้นตาลสูงขึ้นทั่วๆ ไป เวลาหน้าฝนมักเกิดฟ้าผ่าควายตายเป็นประจำ ควายถูกฟ้าผ่าตายจึงมีมากแต่ควายเผือกถูกฟ้าผ่าตายนี่ซิมีน้อยมาก ถ้าที่ไหนควายเผือกถูกฟ้าผ่าตาย ชาวบ้านมักจะรีบมาบอกกล่าวหลวงพ่อหม่น ซึ่งท่านก็จะรับซื้อไว้ แล้วให้ชาวบ้านแล่เอาหนังควายไปให้ท่านเพื่อจัดสร้างพระ วิธีการทำพระหนังของหลวงพ่อหม่น เมื่อท่านได้หนังควายเผือกที่ถูกฟ้าผ่าตายมาแล้ว ขั้นตอนแรกท่านก็เอาหนังมาแช่น้ำให้นิ่ม ต่อจากนั้นก็นำแบบพิมพ์ที่ทำเป็นบล็อครูปองค์พระขอบเป็นใบมีดโกน นำมากดทับแผ่นหนังใช้ไม้ไผ่ตอกปั๊มให้หนังเป็นร่องลึกตามแบบขอบ ใบมีดโกนจะตัดหนังเป็นสี่เหลี่ยมองค์พระตรงกลางจะได้รูปร่องลึกเป็นองค์พระประทับติดกับหนัง จากนั้นก็เอาองค์พระหนังไปตากในที่ร่มอย่าให้โดนแดดเป็นอันขาด ถ้าโดนแดดหนังจะหดตัวแทบมองไม่เห็นร่องรอยองค์พระเลย ต้องผึ่งลมให้แห้งสนิทเป็นอันใช้ได้ ลักษณะของพระหนังรูปทรงเป็นพระสมเด็จนั่งสมาธิขัดเพชร มีอักขระขอมกำกับอยู่ด้านข้างองค์พระทั้งสองด้าน พระชานุ(เข่า) โต ด้านหลังเรียบ รุ่นแรกนั้นลงอักขระขอมด้านหน้าว่า “ตะ” ด้านหลังลงว่า “โจ” ส่วนรุ่นหลังๆ จะเรียบไม่มีอักขระ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบพิมพ์ที่ใช้กดซึ่งทำออกมาแต่ละชุดจะไม่เหมือนกัน บางองค์หลวงพ่อก็ลงจารอักขระขอม บางองค์ก็ไม่ได้ลงจาร พระหนังหลวงพ่อหม่นในปัจจุบันจะหาองค์สวยๆ ไม่ได้เลย เหตุเพราะว่ากาลเวลา ทำให้องค์พระหนังเกิดการหดตัว พระหนังบางองค์มององค์พระลบเลือนบางองค์แทบไม่เห็นองค์พระเลย ให้สังเกตจากความแห้งเก่าของหนังเท่านั้น หลังจากทำพระหนังเสร็จหลวงพ่อหม่นจะปลุกเสกเดี่ยว แล้วก็นำออกแจกจ่ายกันช่วงเข้าพรรษา เมื่อได้หนังมาท่านก็จะให้ลูกศิษย์ช่วยทำ พอออกพรรษาปีไหนไปธุดงค์ท่านก็จะนำพระติดตัวไปแจกจ่ายชาวบ้านไปทั่ว จนกระทั่งพระหนังหลวงพ่อหม่นมีผู้ได้รับประสบการณ์มากมายจนชื่อเสียงโด่งดังระบือลือลั่น พุทธคุณพระสมเด็จพระหนังควายเผือก หลวงพ่อหม่นนั้นมีชื่อเสียงมากในเรื่องของการ “ป้องกัน” และ “คงกระพันชาตรี” เรื่องการป้องกันนั้นไม่ว่าจะป้องกันจากสัตว์ร้ายขบกัดแล้วยังป้องกันคุณไสยต่างๆ ป้องกันโรคภัยไข้เจ็บได้อีกด้วย มีชาวบ้านย่านคลอง 12 ห้อยพระหนังหลวงพ่อหม่นเข้าป่าลึก กลับออกมาผู้ที่ไม่มีพระหนังห้อยคอเป็นไข้มาลาเรียทุกคน พระหนังหลวงพ่อหม่นชาวบ้านให้ความเลื่อมใสมาก เวลาลงนาเกี่ยวข้าวมักพกพาห้อยคอไปด้วยจะแคล้วคลาดจากการถูกงูกัดทุกราย แม้เด็กเล็กๆ ก็ไม่มีใครโดนงูกัดเลย ถ้าห้อยพระหนังหลวงพ่อหม่นติดตัวไว้ ลูกเล็กเด็กแดงห้อยพระหนังแล้วจะ เลี้ยงง่ายไม่เจ็บไม่ไข้ได้ป่วย พระหนังเอามาแช่น้ำอาราธนาอธิษฐานจิตถึงหลวงพ่อหม่นแล้วดื่ม น้ำเข้าไปจะช่วยรักษาไข้จับสั่นได้อย่างไม่น่าเชื่อ มีผู้ยืนยันมากับตัวเอง พุทธคุณทางด้านอยู่ยงคงกระพันก็เป็นเลิศ มีคนโดนฟันเต็มๆ มีดไม่ระคายผิวเล่นเอาตะลึงทั้งงานวัด นักเลงย่านลำลูกกามีเรื่องทะเลาะวิวาทกันในงานวัด อีกพวกหนึ่งชักปืนจ่อยิงคู่อริระยะเผาขน นกสับไกปืนแต่กระสุนไม่ลั่น สับซ้ำหลายครั้งก็ไม่ได้ผล พอยกยิงขึ้นฟ้าปืนลั่นสนั่นงาน เล่นเอาบรรดาหนุ่มฉกรรจ์สมัยนั้นต้องหาพระหนังมาเป็นเครื่องรางของขลังป้องกันภัยให้กับตนเอง ชื่อเสียงของหลวงพ่อหม่นจึงดังกระฉ่อนมาก พระหนังหลวงพ่อหม่นในภายหลัง พระอธิการแป้น เจ้าอาวาสรุ่นต่อมาทำอีกรุ่น ลักษณะพระจะคมชัดกว่าพระของหลวงพ่อหม่น องค์พระจะเคลือบแล็คเกอร์ป้องกันการหดตัว ซึ่งยังพอหาดูกันได้แถวละแวกวัดพระยาปลา หลวงพ่อหม่นมรณะภาพเมื่อปี พ.ศ. 2473 อายุประมาณ 80 กว่าปี หลังจากท่านมรณะภาพลง วัดพระยาปลาก็ชำรุดทรุดโทรม วัดมาเจริญรุ่งเรืองอีกครั้งเมื่อสมัยพระครูประดิษฐ์วรธรรม หรือ “หลวงพ่อเหว่า” เป็นเจ้าอาวาส ยุคนี้มีการจัดสร้างพระเครื่องทั้งพระเนื้อผง และเหรียญออกมาแล้วแต่เป็นชุดของ “หลวงพ่อเหว่า” หลวงพ่อหม่น ผู้สร้างตำนานพระหนังควายเผือกแห่งท้องทุ่งหนองจอกจนลือลั่น แม้ปัจจุบันท่านจะละสังขารไปนานแล้วก็ตาม แต่เมื่อเอ่ยถึงพระหนังทุกคนต้องยกให้ว่า พระหนังของหลวงพ่อหม่นนั้นเป็นสุดยอดวัตถุมงคล แห่งทุ่งหนองจอกอย่างแท้จริง สุดยอดหนังควายเผือก หลวงพ่อหม่น ทุกวันนี้หาตัวจริงยากมาก องค์นี้เห็นรูปพระลาง
เริ่ม 40 บาท ครับ เอาพระแท้ๆ มาแบ่งปันครับ
หนังกระบือเผือก (ควายเผือก) พิมพ์พระพุทธ ปี 2463
หลวงพ่อหม่น วัดคลอง 12 จ.ปทุมธานี หายากมาก ตัวจริง
ทันแท้ ดูง่าย ครับ น่าแขวนมากๆครับ
+ บัตรรับรอง DD-PRA
เอาไว้ติดตัวซักองค์ครับ สุดยอดประสบการณ์ครับ
เจ้าของเก่า เเกะลวดถักออก จะเห็นร่องรอยอยู่ครับ
Read more