มังกรทองมาแว้วววว
พระสมเด็จหลวงพ่อแพ ปี 2541 รุ่นอายุ 95 ปี
พิมพ์ปรกโพธิ์ เนื้อผงเกสร วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี + บัตรดีดี
หลวงพ่อแพ เขมังกโร ท่านเป็นชาวสิงห์บุรีโดยกำเนิด เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ.2448 ที่บ้านสวนกล้วย ต.พิกุลทอง อ.ท่าช้าง โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายเทียน-นางหน่าย ใจมั่นคง มารดาเสียชีวิตตั้งแต่อายุเพียง 8 เดือน บิดาจึงยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของ นายบุญ และนางเพียร ขำวิบูลย์ ซึ่งมีศักดิ์เป็นอา อายุ 11 ปี บิดามารดาบุญธรรมนำ ด.ช.แพ ขำวิบูลย์ ไปฝากที่สำนักอาจารย์ป้อม เพื่อศึกษาเล่าเรียนตามแบบโบราณนิยม และเข้าศึกษาต่อที่สำนักวัดชนะสงคราม กรุงเทพฯ ได้ระยะหนึ่ง ก็กลับบ้านเกิดเพื่อบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดพิกุลทอง โดยมี พระอธิการพัน จันทสโร เจ้าอาวาสวัดพิกุลทอง เป็นพระอุปัชฌาย์ แล้วเดินทางกลับวัดชนะสงครามตามเดิม จนสอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค ตั้งแต่เป็นสามเณร เมื่ออายุครบบวชก็กลับมาอุปสมบทที่วัดพิกุลทองอีก โดยมี พระมงคลทิพย์มุนี เจ้าอาวาสวัดจักรวรรดิราชาวาส กรุงเทพฯ เป็นพระอุปัชฌาย์, ท่านพระครูสิทธิเดช วัดชนะสงคราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ ท่านเจ้าอธิการอ่อน วัดจำปาทอง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “เขมังกโร” แล้วเดินทางกลับไปจำพรรษาที่วัดชนะสงคราม ศึกษาด้านพระปริยัติธรรมขั้นสูง จนได้เปรียญ 4 ประโยค ได้เป็น “พระมหาแพ” หลังจากนั้นมานัยน์ตาเกิดอาการเจ็บปวดอย่างรุนแรง การศึกษาด้านพระปริยัติธรรมจึงต้องยุติลง แต่ด้วยความเป็นผู้ใฝ่ศึกษา ท่านจึงหันมาศึกษาด้านสมถกัมมัฎฐานและวิปัสสนากัมมัฎฐานที่สำนักพระครูภาวนา วัดเชตุพนฯ และยังได้เป็นศิษย์รูปหนึ่งของ สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) วัดมหาธาตุ ด้วย ต่อมาทราบว่าที่อำเภอบางระจัน มีพระอาจารย์เรืองวิทยาคมและวาจาศักดิ์สิทธิ์นัก ชื่อ หลวงพ่อศรี เจ้าอาวาสวัดพระปรางค์ ท่านจึงเดินทางไปฝากตัวเป็นศิษย์และยังเป็นที่โปรดปรานของพระอาจารย์เป็นอย่างยิ่ง ปี พ.ศ.2473 อาจารย์หยด เจ้าอาวาสวัดพิกุลทอง ลาสิกขาบท ชาวบ้านจึงร่วมกันนิมนต์หลวงพ่อแพให้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบแทนในปี พ.ศ.2474 ท่านจึงเดินทางกลับบ้านเกิดเพื่อปกครองวัดพิกุลทอง โดยขณะนั้นมีอายุเพียง 26 ปีเท่านั้น และวัดพิกุลทองก็ชำรุดทรุดโทรมมาก ท่านจึงไปปรึกษา หลวงพ่อศรี พระอาจารย์ และด้วยบารมีของพระเกจิทั้งสองรูป จึงสามารถบูรณปฏิสังขรณ์ รวมทั้งสร้างถาวรวัตถุภายในวัดพิกุลทองได้ในเวลาอันรวดเร็ว อันได้แก่ พระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ หอสวดมนต์ หอประชุมกุฎิสงฆ์ หอไตร หอฉัน ศาลาวิปัสสนา โรงฟังธรรม และ ฌาปนสถาน เป็นต้น นอกจากนี้ ท่านยังสร้างความเจริญให้ท้องถิ่นอีกมากมายเพื่อเป็นสาธารณประโยชน์ ทั้ง โรงพยาบาล, ที่ว่าการอำเภอ, สถานีตำรวจ, สถานีอนามัย, โรงเรียนประชาบาล, สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ตลอดจนอาคารผู้ป่วยของโรงพยาบาลสิงห์บุรีที่เป็นอนุสรณ์สืบมาจนปัจจุบัน คือ อาคารหลวงพ่อแพ 80 ปี, อาคารหลวงพ่อแพ 86 ปี (อาคารเอ็กซเรย์), อาคารหลวงพ่อแพ 90 ปี และ อาคารหลวงพ่อแพ เขมังกโร ที่โดดเด่นเป็นสง่าภายในโรงพยาบาลสิงห์บุรี
หลวงพ่อแพ เป็นที่เคารพศรัทธาของสาธุชนโดยถ้วนหน้า มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย ท่านได้รับการแต่งตั้งสมณศักดิ์เรื่อยมา สมณศักดิ์สุดท้ายเป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมมุนี ท่านมรณภาพเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2542 รวมสิริอายุ 94 ปี พรรษา 73 ปัจจุบัน สรีระของหลวงพ่อแพยังคงประดิษฐาน ณ วัดพิกุลทอง เพื่อให้ญาติโยมและพุทธศาสนิกชนทั่วไปได้สักการบูชาสืบมา หลวงพ่อแพ เริ่มสร้างวัตถุมงคลมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2482 และด้วยความศรัทธาในท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ท่านจึงได้สร้าง “พระสมเด็จ” ขึ้น โดยยึดถือแนวทางการสร้างของสมเด็จโตเป็นส่วนใหญ่ รวมแล้ววัตถุมงคลของท่านมีไม่ต่ำกว่า 300 พิมพ์ มีทั้งเนื้อผงและเนื้อโลหะ มีอาทิ พระสมเด็จ พระนางพญา พระรอด พระปิดตา พระลีลาทุ่งเศรษฐี พระสิวลี พระสังกัจจายน์ พระขุนแผน พระผงรูปเหมือน นางกวัก ฯลฯ ซึ่งท่านจะไม่เน้นเรื่องความสวยงามเป็นหลัก หากแต่เน้นในเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ จะพิถีพิถันในการปลุกเสกให้เกิดความเข้มขลัง แคล้วคลาดจากภยันตรายทั้งปวง, เมตตามหานิยม, อุดมด้วยลาภผลและโภคทรัพย์ แต่ผู้ที่ใช้วัตถุมงคลของท่านแล้วจะเกิดพุทธคุณได้นั้น ต้องรักษาศีล 5 อย่างเคร่งครัด
ท่านต้องเป็นสมาชิกที่ผ่านการยืนยันตัวตนแล้วเท่านั้น