"พระรอดวัดหนองมน" พระรอดเนื้อโลหะอันลือเลื่องนั่นเอง
ที่เรียกกันว่า "พระรอด" นั้น ด้วยพุทธลักษณะค่อนข้างคล้าย "พระรอด วัดมหาวัน" หนึ่งในพระชุดเบญจภาคี สุดยอดพระเครื่อง ของไทย อีกทั้งพุทธคุณที่ปรากฏเป็นที่ประจักษ์แก่ผู้บูชาว่า "เป็นเลิศในด้าน นิรันตราย" ทั้งคุ้มครองป้องกันและแคล้ว คลาด เฉกเช่นเดียวกับ "พระสกุลลำพูน" จนเป็นที่กล่าวกันว่า "แขวนท่านไว้ไม่มีทางตายโหงแน่นอน" นับเป็นพระที่มีประสบ การณ์มาก จนกลายเป็นพระยอดนิยมพิมพ์หนึ่งของเมืองลพบุรี ณ ปัจจุบันเรียกได้ว่าหายากพอๆ กับพระสกุลลำพูนทีเดียว อีกทั้งค่านิยมก็สูงขึ้นเรื่อยๆ
พูดได้ว่า ถ้าไม่มี "หลวงพ่อเมือง" ก็คงไม่มี "พระรอดหนองมน" และวัดหนองมนก็คงยังเป็นวัดเล็กๆ ในหมู่บ้านที่ไม่เป็นที่รู้จักของสังคมภายนอก ด้วยตามประวัติขององค์พระเมื่อ 100 กว่าปีมาแล้วนั้น "พระรอดหนองมน" ไม่ได้สร้างที่วัดหนองมน จ.ลพบุรี ในหนังสือเครื่องรางของขลัง ของ อ.ประชุม กาญจนวัฒน์ ได้กล่าวถึง "พระรอดหนองมน" ไว้ว่า ...
"... สมภารผู้แก่กล้าวิชาอาคมของเมืองพิจิตรท่านหนึ่ง ชอบการแข่งเรือและเลี้ยงนกเขาเป็นอย่างมาก อยู่มาวันหนึ่งท่านลงมือ ทาน้ำมันยางเรือแข่งจนเสร็จเรียบร้อย จากนั้นมีเด็กๆ มายุ่งกับเรือที่ทาสีน้ำมันยัง ไม่แห้ง ท่านจึงนำธนูมาเล็งขู่เด็กๆ ให้หนีไป แต่ลูกธนูกลับหลุดมือไปถูกเด็กคนหนึ่งในกลุ่มเข้า ท่านจึงต้องหนีจากเมืองพิจิตร มาอยู่ลพบุรี พร้อมด้วยถุงใหญ่ซึ่งบรรจุ "พระเนื้อตะกั่ว" จำนวนมากติดตัวลงมาด้วย "
สมภารรูปนั้นก็คือ พระครูเมธีธรรมารมณ์ หรือ หลวงพ่อเมือง ประมาณปี พ.ศ.2444-2446 ท่านได้เดินทางจาก จ.พิจิตร ผ่านจังหวัดต่างๆ จนในที่สุดก็มาจำพรรษาที่วัดหนองมน จ.ลพบุรี ในสมัย พระอธิการแขก เป็นเจ้าอาวาส ชาวบ้านให้ความเคารพศรัทธาพระธุดงค์รูปนี้มาก ในการสร้างอุโบสถวัดหนองมน ท่านได้นำพระที่ติดตัวมาออกแจกจ่ายเพื่อเป็นที่ระลึกแก่ญาติโยมผู้มีศรัทธาร่วมกำลังกายและกำลังทรัพย์จนอุโบสถแล้วเสร็จสมบูรณ์
ส่วนพระที่เหลือได้ก่อ "พระเจดีย์" ด้านหน้าและด้านหลังอุโบสถเพื่อบรรจุไว้ ต่อมาได้มีการเปิดกรุพระเจดีย์เพื่อนำ "พระรอด หนองมน" ออกมาแจกจ่ายแก่ผู้ร่วมบุญร่วมกุศลกับทางวัดอีกหลายครั้งหลายครา
พระรอดหนองมน จะมีเพียงเนื้อตะกั่ว สนิมแดงเพียงเนื้อเดียวเท่านั้น พุทธลักษณะพิมพ์ทรงเป็นรูปสามเหลี่ยมชะลูดมุมมน แต่การสร้างไม่ค่อยประณีตนัก ทำให้มีเนื้อส่วนเกินยื่นออกมาอย่างไม่สม่ำเสมอเหมือนกัน ทุกองค์ องค์พระกะทัดรัดพองาม ความกว้างประมาณ 1.2 ซ.ม. และสูงประมาณ 2.2 ซ.ม.
พุทธลักษณะองค์พระประธานประทับนั่ง แสดง ปางมารวิชัยหรือสะดุ้งมาร เหนืออาสนะ ฐานหมอนชั้นเดียวค่อนข้างหนา กรอบโดย รอบเป็นร่องคล้ายเส้นซุ้ม แต่ไม่เด่นชัดนัก ลักษณะการสร้างแบบง่ายๆ ไม่มีลวดลายหรือรายละเอียดอื่นประกอบ พิมพ์ด้านหลังส่วนใหญ่จะเรียบตัน มีบ้างบางองค์ที่เป็นแอ่งเว้า แต่จำนวนน้อยมาก สามารถแบ่งแยกพิมพ์ได้เป็น พิมพ์ใหญ่, พิมพ์กลางหรือพิมพ์ต้อ และพิมพ์เล็ก
ส่วนพิมพ์อื่นๆ พบเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เช่น พิมพ์พระร่วงนั่ง พิมพ์หลวงพ่อโตหรือหลวงพ่อโป้ และพิมพ์เม็ดน้อยหน่า เป็นต้น
ด้วยความที่ได้รับความนิยมสูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ "พระรอดหนองมน" มีสนนราคาค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับพระพิมพ์ในรุ่นเดียวกัน การทำเทียมเลียนแบบจึงมีสูง เช่นกัน ต้องพิจารณาให้ดี พระที่มีอายุเก่าแก่นับ 100 ปีนั้น นอกจากการพิจารณาพิมพ์ทรงแล้ว ต้องพิจารณาถึง "ความเก่าของเนื้อขององค์พระ" นั่นคือ คราบสนิมแดงและสนิมไข หรือบางองค์อาจมีพรายปรอท อันเกิดจากเนื้อขององค์พระที่สร้างโดยตะกั่วเกิดปฏิกิริยากับอากาศโดยรอบในกรุ ซึ่งนับเป็นหลักการพิจารณาพระแท้-พระเก๊ได้เป็นอย่างดี เนื่องจากเนื้อขององค์พระและพิมพ์ทรงนั้นปลอมแปลงกันได้ง่าย
แต่ความเก่าไม่สามารถลอกเลียนแบบได้ครับผม
สุดยอดประสบการณ์ ตัวจริงหายากมากๆครับ
รับพระแล้ว พระสวยตามรูปยอดเยี่ยมครับ ชื่อนี้เครดิตดีเชื่อถือได้ การันตีสมาชิกคุณภาพครับ
ท่านต้องเป็นสมาชิกที่ผ่านการยืนยันตัวตนแล้วเท่านั้น