***วัดใจ 50-.+ใบประกาศ***พระลีลา เนื้อชินเขียว จ.สุพรรณบุรี มีคราบไข,ปานดำ สวยๆ ติดที่ 1 พร้อมใบประกาศครับ
- พระลีลา สุพรรณบุรี คล้ายอัฎฐารส คำนี้เป็นภาษาบาลี อ่านว่า อัฎฐาระสะ แปลว่า 18 เหตุไฉนมาเกี่ยวข้องกับพระเครื่ององค์เล็กๆ
ที่มีภาพลักษ์ ด้านหน้าเป็นพระอากัปกิริยาแห่งองค์สมเด็จสัมมาพุทธเจ้า ที่กำลังเสด็จก้าวเยื่องพระวรกายไปข้างหน้าหรือเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไป ในหมู่นักนิยมสะสมพระเครื่องว่าปรางลีลา ด้านหลังจะเป็นภาพพระบรมศาสดาประทับนั่ง ภายในซุ้มอรัญญิกหรือซุ้มคอระฆัง บางพิมพ์จะสร้างเป็นปางลีลา ทั้งสองด้าน ดังได้นำภาพมา
ให้ท่านผู้อ่านได้ทัศนา อย่างจุใจ พรอ้มนี้แล้วพระยอดอัฏฐารสแห่งเมืองสองแคว ที่พบในองค์หลวงพ่ออัฏฐารส วัดพระศรีมหาธาตุ เป็นกรุที่ได้รับความนิยมสูงสุด นับเป็นพระเครื่องเนื้อชินเขียว ที่มีราคาแพงสุดๆ ในบรรดาพระเนื้อชินอุทาพรหรือชินเขียวทั้งหมดที่มีอยู่ในสยามประเทศ
มูลเหตุแห่งการเรียกขานพระเครื่องชนิดนี้ ว่า “ พระยอดอัฏฐารส” เป็นเพราะถูกค้นพบบนยอดพระเศียร และใต้ฐานองค์หลวงพ่ออัฏฐารส ซึ้งเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นก่ออิฐถือปูน สร้างในสมัยสุโขทัย ประดิษฐานอยู่ด้านหลังพระวิหารของหลวงพ่อพระพุทธชินราชวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ใจกลางเมืองพิษณุโลก
พระอัฏฐารสนี้ ถูกกำหนดให้สร้างขึ้นตามคติโบราณ คือเป็นพระประจำเมืองหลวง และเมืองลูกหลวงโดยสร้างเป็นพระพุทธรูปยืนปางประทานพร ยกพระหัตถ์ขวาเสมอพระอุระ พระหัตถ์ซ้ายทิ้งตรงแนบ พระวรกาย
สูง 18 ศอก จึงได้รับการถวายพระนามว่า “พระอัฏฐารส” ดังนั้นพระพุทธรูปยืนที่สร้างสูง 18 ศอก ประจำเมืองหลวง และเมืองลูกหลวง จึงได้รับการถวาย พระนามว่า พระอัฏฐารส ถือเป็นพระจำเมืองไปโดยปริยาย
หลวงพ่ออัฏฐารส ที่มีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่นักนิยมสะสมพระเครือง เห็นจะได้แก่ หลวงพ่ออัฏฐารส แห่งเมืองพิษณุโลก ซึ่งสร้างในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 (พญาลิไท) กษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์พระร่วง สมัยสุโขทัย เกิดการชำรุด และมีการซ่อมแซมเมื่อพ.ศ. 2425ในรัชสมัยแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า(ร.5)แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ประมาณ 123ปี ล่วงมาแล้ว
ในการนั้น ได้พบพระเครื่องด้านหน้าปางลีลาด้านหลังหลังปางประทับนั่งในซุ้มระฆัง มีด้วยกันหลายพิมพ์
แต่จะเป็นหมวดหมู่ย่อยๆพอสะดวกแก่การจดจำได้ 4 พิมพ์ทรง คือ 1. พิมพ์ใหญ่ 2.พิมพ์กลาง3. พิมพ์เล็ก4. พิมพ์พิเศษ
พระยอดอัฏฐารส ที่พบในครั้งกระโนน้ ทุกแบบ ทุกพิมพ์ สร้างด้วยเนื้อพิมพ์อุทุมพร หรือชินเขียวทั้งหมด
ปกคลุมไปด้วยสนิมไข ไข่แมงดา คราบไคลสี เหลือง – ส้ม สีเหล่านี้ไม่ถือเป็นบรรทัดฐาน เนื่องจากสภาพของพระบางองค์ถูกความชื้นน้อย จะพบเป็นสนิมไข ไข่แมงดาบางๆคล้ายผดเม็ดเล็กๆขึ้นเรียงรายอยู่ทั่วไป และเป็นจุดด้ำเป็นปื้นในเนื้อ อันจุดดำนี้ นักเลง พระชินอุทุมพร เรียกกันว่า “ปานดำ” หรือ “กระ” ซึ้งถือเป็นจุดตายในการพิจารณา ว่าแท้ หรือ เก๊ ในพระชินเขียว เพราะว่าปานดำหรือ กระเกิดจากข้างในออกมาข้างนอก จะขัดถูอย่างไรก็ไม่ออก ส่วนของเก๊ หรือทำเทียมเลียนแบบ จะลอยอยู่ ด้านนอกขัดถูเพียงเบาๆ ก็หลุดออกได้โดยง่ายดาย
นอกจากนี้ สนิมไข ไข่แมงดา ของพระชินเขียวจะต้องเป็นมัน ประดุจดั่งมีชีวิตชีวา ไม่แห้งผาก หรือมีคราบไคขาวเหมือนแป้งชุบกาวพอกหน้าเตอะเหมือนของทำเทียมที่มีวางจำหน่ายให้เช่าบูชาอยู่กลาดเกลื่อนในตลาดพระเครื่องทั่วไปในขณะนี้ ประการสำคัญ พระสกุลเนื้อชินอุทุมพรทุกชนิด จะต้องไม่แตกระเบิดเช่นพระเนื้อชินเงิน เนื่องจากโลหะธาตุในการใช้สร้างที่แตกต่างกันหากพบพระชินเขียวระเบิดแตกปริร้าว น้ำเน่าเบา มีคราบไคลด้านๆปกคลุม ขอบข้างมีรอบตะไบหยาบ-หนา ไม่มีรอยประกบพิมพ์ที่ slope ลาดบางๆ ฟันธงได้เลยว่านั้นคือของทำเทียม เลียนแบบหรือเรียกง่ายๆว่า “เก๊” นั่นเอง
พระเนือ้อุทุมพรที่แท้จริง จะมีลักษณะไขเป็นมันวาววับคล้ายวุ้นเหมือนดั่งมีชีวิตพร้อมที่จะงอกและเปลี่ยนแปลง
อยู่ตลอดเวลา หากส่องด้วยกล้องส่องพระจะพบเห็นปรากฏการณ์ใหม่ที่ท้าทายความรู้สึก อยู่เสมอ สิ่งนี้คือมนต์เสน่ห์ของพระชินเขียวที่ทำให้นักเล่นพระเนือ้ชิน ชนิดอื่น หันมาให้ความสนใจในพระเนื้ออุทุมพรเป็นเหตุให้พระชนิดนี้ค่อยๆ หมดไปจากตลาดอย่างรวดเร็ว จากพระจิ้มพระแถมมาเป็นพระที่มีราคาค่างวดซื้อง่ายขายคล่องในปัจจุบันบางท่านบอกว่าชินเขียวเล่นง่ายเพียงสัมผัสแค่ปลายนิ้วก็รู้แล้วว่า เก๊หรือแท้ เพราะว่าถ้าแท้จะรู้สึกลื่นมือ คล้ายจับเทียนไขหรือสบู่ ส่วนของเก๊จะรู้สึกสากแข็งกระด้างลองพิสูจน์ดูนะครับ
จากหนังสือภาพพระเครื่องขอบคุณประชุม กาญจนวัฒน์ เล่ม 1 พิมพ์ครั้งแรก เมื่อปีพ.ศ. 2508คือเมื่อ 40 ปีที่แล้ว ซึ้งถือว่าเป็นหนังสือภาพพระเครื่องเล่มแรกของเมืองไทย วงการพระเครื่องให้เครดิตว่าเป็นเล่มครูมีการตีพิมพ์ถึง 8 ครั้ง แต่ยังไม่พอกับความต้องการ กล่าวไว้ว่า”พระแบบอัฏฐารส มีทั้งที่สุพรรณบุรี,กำแพงเพชร,พิจิตร,ชัยนาท ก็มีด้วย แต่มีลักษณะต่างกันไปตามสกุลช่าง” ที่นำเอาข้อเขียนของปรมาจารย์ผู้นี้เป็นอัจฉริยะ ในวงการพระเครื่องมากล่าวอ้างนั้นเพื่อแสดงให้เห็นว่า พระสกุลอัฏฐารสนั้น มีอยู่หลายเมือง แต่ที่รู้จักกันโดยทั่วไป พร้อมกับนำภาพมาให้ชม ในหนังสือดังกล่าว มีเพียงเมืองพิษณุโลก และ เมืองสุพรรณบุรีบางพิมพ์เท่านั้น ส่วนของเมืองอื่นๆไม่มีภาพประกอบ จึงทำให้เป็นปริศนาสำหรับนักเล่นรุ่นหลังต้องสือหาและค้นขว้ากันต่อไป
ข้อสังเกต พระยอดอัฏฐารสทุกเมือง ส่วนใหญ่จะสร้างด้วยเนื้อชินอุมาพร เนื้อชินเงินละตะกั่วสนิมแดง
ก็มีบ้าง แต่ไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควรเนื่องจากพระยอดอัฏฐารส และพระร่วงทรงเกราะ ที่มากด้วยประสบการณ์ในอดีตนั้น สร้างด้วยเนื้อชินเขียว ถึงแม้จะได้รับการสันนิษฐานว่า เป็นพระที่สร้างในยุคหลังแต่พุทธานุภาพ และกฤตยาคมมิได้ล้าหลังตาม ยุคสมัยนิยมและเล่นหากันเป็นมาตรฐานสากลในขณะนี้ ส่วนเนื้ออื่นๆก็มีการเล่นหาอยู่บ้าง โดยค่าแห่งความนิยมจะลดหลั่นไปตามลำดับ
จัดให้อยู่ในระดับแนวหน้าชุดยอดขุนพล เหตุผลก็คือ พุทธคุณที่เด่นด้านคงกระพันชาตรี,แคล้วคลาดโชคลาภ
และความก้าวหน้า ประดุจดั่งองค์ปฎิมา ในภาพลักษณ์พระอริยาบทลีลา ก้าวเยื้องไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง
ส่วนด้านหลังนั่งสงบอย่างร่มเย็นมีความสุข ภายใต้ซุ้มเรือนแก้วที่โอ่อ่าอลังการ จึงได้รับการกล่าวขานอย่างไม่เสื่อมคลาย ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน นอกจากนั้นยังมีการเช่าหากันอยู่หลักแสนในองค์ที่สวยสมบูรณ์
- รับประกันแท้ 100% งานประกวดพระโต๊ะเนื้อชินเขียวครับ
Read more
วันที่เริ่ม February 25, 2022 13:38:25
วันที่ปิดประมูล February 26, 2022 15:37:39
ราคาเปิด30
เพิ่มครั้งละ20
ธนาคารกรุงเทพ (ถนนเทพารักษ์) ,
Pissanuwat
ผู้เสนอราคาล่าสุด