พระครูพรหมวิหารคุณ (หลวงปู่ยิ้ม สิริโชติ)
เป็นเกจิ อาจารย์รุ่นราวคราวเดียวกันกับหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค และหลวงพ่อจง
วัดหน้าต่างนอก หลวงพ่อยิ้มได้สร้างวัตถุมงคลเมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๕หลวงปู่ยิ้ม วัดเจ้าเจ็ดใน เป็นพระที่อุดมด้วยศีลลาจารวัตร
ตลอดชีวิตของหลวงปู่เป็นพระอารมณ์เย็นและยิ้มง่าย สมกับชื่อของท่าน
จึงมักมีผู้คนไปนมัสการขอของทางเมตตามหานิยมของท่านมิได้ขาด
หลวงปู่ยิ้มยังเป็นพระร่วมสมัยกับ หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค และ หลวงพ่อจง
วัดหน้าต่างนอก จนเรียกกันติดปากว่า “พระหมอหลวงพ่อปาน เกจิอาจารย์หลวงพ่อจง
เมตตาไหลหลง หลวงปู่ยิ้ม”หลวงปู่ยิ้ม ท่านมีวาจาสิทธิ์
พูดคำไหนเป็นคำนั้นไม่พูดมาก พูดแต่สิ่งที่ดี ๆ หลวงปู่ยิ้มได้สร้างวัตถุมงคล
ไว้มากมายเพื่อให้ประชาชนได้บูชาและเก็บใส่กรุไว้เพื่อเป็นการต่ออายุพระธรรมศาสนา
หลวงปู่ยิ้มเริ่มสร้างวัตถุมงคลขึ้นในปี พ.ศ.๒๔๗๕
โดยวัตถุมงคลของท่านเป็นพระเนื้อดินเผา พิมพ์ต่างๆ โดยใช้ส่วนผสมมวลสารต่างๆ
ดังนี้
๑. ดินใจกลางนาที่ขุดลงไปลึกๆจนเรียกว่าดินนวล
๒. ดินเจ็ดโป่งเจ็ดป่า
๓. ผงวิเศษของหลวงพ่อยิ้มฅ๔. ว่านต่างๆ ที่หลวงพ่อสะสม
สำหรับพุทธคุณ
ที่บรรดาสาธุชนที่เลื่อมใสหลวงปู่ยิ้มได้พบประสบการณ์ในวัตถุมงคลหลวงปู่นั้น
จะเป็นไปในทางเมตตามหานิยม ช่วยให้ทำมาค้าขายเจริญรุ่งเรืองมีคนรักใคร่
และแคล้วคลาดจากเหตุภัยอันตรายต่างๆ ป้องกันเขี้ยวงา คุณไสยต่างๆได้เป็นอย่างดี
รวมไปถึงทางด้านคงกระพันชาตรี เนื่องจากเคยได้ยินได้ฟังจากชาวบ้านในละแวกนั้นบอกกล่าวไว้ว่า
ชาวบ้านเคยนำพระงบน้ำอ้อย ของหลวงปู่ยิ้ม อาราธนาและนำเอาไปทดลองใส่ปากปลาช่อน
แล้วเอามีดฟันแต่ไม่เข้า
จึงถือเป็นของดีที่น่าใช้วัดหนึ่งเหมือนกันจนเป็นที่เคารพศรัทธา ของประชาชนใน
อำเภอเสนา และในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตลอดจนจังหวัดใกล้เคียง เช่น สุพรรณบุรี
และอ่างทอง เนื่องจากพระของท่านสร้างไว้จำนวนมาก จึงพบเห็นในสนามพระบ่อยๆ
ทำให้ราคาถูก หากแต่ว่าสมัยนี้พระของท่านนั้นมีให้เห็นในสนามพระน้อยลงไปทุกวันแล้ว
พระงบน้ำอ้อย เป็นพระเครื่องอีกพิมพ์หนึ่งที่มีลักษณะแตกต่างไปจากพิมพ์อื่นๆ ตรงที่ว่าสัณฐานของพระเครื่องจะเป็นรูปกลม ส่วนด้านหลังจะแบนราบ และเอกลักษณ์ ของพระงบน้ำอ้อยอีกอย่างหนึ่งที่คุ้นตาพวกเรากันดีก็คือ ด้านหน้าจะเป็นรูปพระหลายๆ องค์นั่งเรียงกันโดยหันพระเศียรเข้าหาจุดศูนย์กลาง พระพิมพ์งบน้ำอ้อย ของหลวงปู่ยิ้มเป็นพระพิมพ์เนื้อดินเผาที่นิยมมากที่สุดของหลวงปู่ยิ้ม มีลักษณะกลมมีองค์พระพุทธอยู่ในทรงกลมนับได้ ๑๐ องค์ หรือแทนพระพุทธเจ้า ๑๐ พระองค์ หรือพระพุทธเจ้า ๑๐ ชาติ บางองค์ยังพบมีพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ก็มี และ แบ่งออกเป็น ๓ ขนาดพิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก ทุกพิมพ์นั้นได้รับความนิยมเท่าๆกัน และยังแยกประเภทเป็น ๒ ประเภทคือ พิมพ์มีเส้น และพิมพ์ไม่มีเส้น (นิยมเรียก พิมพ์เทวดา)
โอนเร็วมากครับ จัดส่งให้เรียบร้อยแล้วครับ ขอบคุณครับ
ท่านต้องเป็นสมาชิกที่ผ่านการยืนยันตัวตนแล้วเท่านั้น