พระงบน้ำอ้อย หลวงปู่ยิ้ม วัดเจ้าเจ็ดใน พิมพ์ใหญ่ ปี 2475 #2
หลวงปู่ยิ้ม วัดเจ้าเจ็ดใน จ. พระนครศรีอยุธยา เป็นอาจารย์ร่วมสมัยเดียวกับ หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก
และหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ท่านจึงเป็นพระอาจารย์อาวุโส มรณภาพเมื่อปี ๒๔๙๙ (อายุ ๘๑ ปี)
หลังหลวงพ่อปาน ๑๘ ปี ( ๒๔๙๙ - ๒๔๘๑ ) แต่ก่อนหลวงพ่อจงราว ๘ ปี ( ๒๔๙๙ – ๒๕๐๗ )
วัดของท่านเหล่านี้อยู่ไม่ไกลกันนัก ท่านเป็นสหธรรมมิก และคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี
จนชาวอยุธยาเรียกกันติดปากว่า
“ พระหมอหลวงพ่อปาน เกจิอาจารย์หลวงพ่อจง เมตตาไหลหลง หลวงพ่อยิ้ม”
หลวงพ่อทั้ง ๓ มีความสนิทสนมกลมเกลียวกันยิ่งนัก ต่างคนต่างผลัดไปมาหาสู่ต่อวิชา ซึ่งกันและกันที่วัดของแต่ละองค์
ครั้งละหลายๆ วันชาวกรุง เก่าที่รู้ซึ้ง จึงกระซิบต่อๆ กันว่า พระเครื่องของทั้ง ๓ องค์นี้พุทธคุณขลังเหมือนกัน
ทั้งเมตตามหานิยม แคล้วคลาดและคงกระพันชาตรี เมื่อต่างองค์ต่างสร้างพระเครื่องฯ เพื่อสืบทอดพระศาสนา
ต่างก็มานั่งปรกพุทธาภิเษก แทบทุกๆครั้งไป
หลวงปู่ยิ้มท่านได้สร้างพระเครื่องวัตถุ มงคล ตั้งแต่ปี ๒๔๗๕ มีชื่อทางด้านพระงบน้ำอ้อยเนื้อดินเผา
และพระพิมพ์เนื้อดินเผาพิมพ์ต่างๆ ซึ่งให้ผลทางด้านเมตตา แคล้วคลาด คงกระพันฯ
พระพิมพ์ของท่านจะมีเอกลักษณ์ เพราะมีการแกะแม่พิมพ์ขึ้นมาใหม่ทั้งหมดและด้านหลังพระพิมพ์จะมีรอยปาด
ลักษณะเสี้ยนไม้โดยมีดินขุยปู ข้าวก้นบาตร และเถ้าขี้ธูปที่บูชาพระประธานในโบสถ์ ผงวิเศษที่ท่านลบ
และ สรรพสิ่งอันเป็นมงคลที่ท่านรวบรวมมา ท่านได้ใช้มูลดินของกรุงศรีอยุธยา ท่านสร้างพระพิมพ์เนื้อดิน
ซึ่งเกิดจากแม่ธาตุทั้งสี่มาประชุมหรือผสมรวมกัน คือธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม และธาตุไฟ
ซึ่งใช้องค์ประกอบของดินขุยปูหรือดินปากรูปูเป็นหลักมาผสม และทำการปลุกเสกตามวิธีของท่าน