พระซุ้มทอง กรุวัดกลางทุ่ง จ.อยุธยา พระกรุนี้มีอายุเป็นร้อยๆปี หายากครับ
พระกรุวัดกลางทุ่ง เป็นพระเนื้อดินเผา ส่วนมากเนื้อหยาบ ส่วนเนื้อละเอียดมีเล็กน้อย
พระกรุนี้มีน้อยองค์ที่มีความคมชัดสวยงาม การกดพิมพ์พระไม่ปราณีต แต่ก็มีบางองค์ที่มีความงดงาม ซึ่งเกิดจากผู้กดพิมพ์ การสร้างพระพิมพ์ก็อาศัยแรงงานจากผู้ที่มีจิตเชื่อมั่นในพระพุทธศาสนา จากคำบอกเล่าของคนเก่าแก่ที่ตั้งบ้านเรือนบ้านอยู่ใกล้ชิดกับวัดกลางทุ่ง ได้เล่าไว้ว่า การสร้างพระวัดกลางทุ่งนั้น ตกอยู่ในราวๆ ปี พ.ศ.2450 โดยพระเกจิอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคม 3 รูป คือ หลวงพ่อฉ่ำ วัดกลางทุ่ง หลวงพ่อแป้น วัดท่า และหลวงพ่อทรัพย์ วัดใหม่ปากบาง ซึ่งในอดีตพระอาจารย์ทั้งสามรูปจัดว่าเป็นขุนศึกแห่งทุ่งมหาราชเลยทีเดียว เนื่องจากต่างก็มีชื่อเสียงโด่งดังในด้านวิทยาคมมาก โดยเฉพาะหลวงพ่อฉ่ำ อดีตเจ้าอาวาสวัดกลางทุ่งนั้น ท่านมีชื่อเสียงทางด้านตะกรุดโทน ดีทางอยู่ยงคงกระพันชาตรี และพระอาจารย์ทั้งทั้งสามรูปนี้ต่างก็ชอบพอสนิทสนมกันมาก ไปมาหาสู่กันตลอด พวกท่านได้ช่วยกันเขียนทำผงวิเศษต่างๆตามถนัดของท่านแต่ละองค์ เมื่อเขียนและลบผงไว้ได้พอสมควรแล้ว จึงได้ให้นำดินเหนียวในท้องทุ่งนั้นมาคลุกเคล้าผสมลงไป แล้วนำไปกดพิมพ์พระและนำไปเผาอีกทีหนึ่ง เมื่อได้พระเครื่องทั้งหมดครบจำนวนแล้ว (คาดว่าน่าจะสร้างประมาณ 84,000 องค์ ตามจำนวนพระธรรมขันธ์) ทั้งสามรูปก็ได้ทำพิธีปลุกเสกพระเครื่อง แล้วนำไปบรรจุในองค์พระเจดีย์ที่อยู่หน้าพระอุโบสถวัดกลางทุ่ง
ต่อมาในปี พ.ศ.2503 ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์ซ่อมแซมเสนาสนะครั้งใหญ่ รวมทั้งองค์พระเจดีย์ด้วย คณะกรรมการวัดจึงประชุมกันมีมติว่าจะเปิดกรุเพื่อนำพระมาแจกจ่ายเป็นที่ระลึกในการร่วมแรงร่วมใจกันบูรณะวัดกลางทุ่ง
ต่อมามีชาวบ้านวัดกลางทุ่งคนหนึ่งที่เข้ามาทำงานอยู่ในกรุงเทพฯ ได้ชักชวนเพื่อนๆไปทอดผ้าป่าที่วัดกลางทุ่งและได้นำพระกรุวัดกลางทุ่งไปแจกจ่ายเป็นของชำร่วยแก่ผู้ร่วมบุญในขบวนคณะผ้าป่านี้
บังเอิญเกิดมีคนคันไม้คันมือ เมื่อได้พระมาแล้วก็เอาไปทดลองยิงดูในบริเวณวัดนั่นเลย ปรากฏว่ายิงจนหมดโม่ก็ยิงไม่ออกสักนัดเพื่อนที่ดูอยู่ก็สงสัยเข้ามาร่วมทดลองยิงอีกสองสามกระบอกก็ยิงไม่ออก
ปรากฏว่าหลังจากนั้นก็มีคนมาหาเช่ากันไปจนหมดจากวัดกลางทุ่ง
พร้อมบัตรรับรอง เเขวนคอสบายใจได้ครับ เเท้ดูง่าย
Read more