เหรียญ​หลวง​ปู่​ค​ร่ำ วัดวังหว้า​ จ.ระยอง​ เนื้อทองแดงกะไหล่​เงิน​

เปิด สร้างโดย: เกียรติภูมิ​  VIP  (2728)

เหรียญ​หลวง​ปู่​ค​ร่ำ  วัดวังหว้า​ จ.ระยอง​ เนื้อทองแดงกะไหล่​เงิน

ข้อมูลประวัติ หลวงปู่คร่ำ ยโสธโร วัดวังหว้า จ.ระยอง

          "ท่านพ่อคร่ำ" ตามทีชาวบ้านย่านชายฝั่งทะเลตะวันออก เรียกขานกันนั้นท่านเป็นพระคณาจารย์ที่ได้รับความเคารพศรัทธาอย่างสูงจากสาธุชนทั่วๆ ไปมานานเต็มทีแล้ว และยังเป็นท่านพ่อของบรรดาชาวเรือตังเกในย่านนี้ด้วยบางท่านที่เข้าถึงกระแสแห่งรสพระธรรม เชื่อกันว่าหลวงปู่เป็นผู้ที่ล่วงพ้นแล้วจากกิเลสทั้งปวง

          หลวงปู่คร่ำ หรือ พระครูสุตพลวิจิตร มีนามว่า คร่ำ อรัญวงศ์ เกิดที่บ้านตำบลวังหว้า อ.แกลง เมื่อวันพุธ แรม 10 ค่ำเดือน 11 ปีระกา ตรงกับวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2440 โยมบิดา ชื่อครวญ โยมมารดาชื่อ ต้อย ท่านเป็นบุตรคนโตในจำนวน พี่น้องทั้งหมด 4 คน หลวงปู่เป็นชาวเมืองแกลงโดยกำเนิด ซึ่งบรรพบุรุษได้ตั้งรกรากอยู่ที่บ้านวังหว้ามานานหลายชั่วอายุคน ครอบครัวของท่านประกอบอาชีพในทางกสิกรรมเฉกเช่นเดียวกับประชากรส่วนใหญ่ในชนบทที่ไม่ทำสวนก็ทำนาเป็นหลักคือ การทำสวนพริกไทย อันเป็นอาชีพหนึ่งที่ทำกันแพร่หลายไม่แพ้ในเขตจังหวัดจันทบุรี เมื่อวัยเจริญขึ้นควรที่จะได้รับการศึกษา โยมบิดามารดา ได้พาไปฝากให้เล่าเรียนหนังสือ กับท่านเจ้าอาวาสวัดวังหว้า ซึ่งเวลานั้นหลวงปู่มีอายุราว 11-12 ปี เล่าเรียนและปรนนิบัติรับใช้อาจารย์อยู่ประมาณปีเศษจึงย้ายมาเรียนหนังสือที่วัดพลงช้างเผือกและพำนักอยู่ที่นั่น จนอายุได้ราว 15 ปีก็กลับมาบ้าน เพื่อช่วยเหลือเป็นกำลังของครอบครัวในการทำสวนพริกไทย แต่แล้วในปีนั้นเองได้เกิดอาเพทขึ้นบรรดาสวนพริกไทยในละแวกนั้น เกิดเหี่ยวเฉาตายเรียบทุกสวนสร้างความเดือดร้อนกันทั่วทุกครัวเรือนจนทำให้ทางบ้านของท่านเลิกการทำสวนพริกไทยหันไปประกอบอาชีพอื่นตั้งแต่นั้นกระทั่งหลวงปู่อายุครบ 20 ปี จึงคิดที่จะบวชเพื่อทดแทนพระคุณ อันเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีที่ยึดถือปฏิบัติกันมาช้านานของชายไทยทั่วๆ ไปที่นับถือพระพุทธศาสนา คนที่ยังไม่เคยบวชเรียน สังคม ชาวบ้านถือกันว่าเป็นคนดิบ ชนบทบางพื้นที่มีคำเรียกอันเป็นการแยกสถานภาพ ระหว่างผู้ที่ผ่านการบวชเรียนแล้ว กับผู้ที่ยังไม่ใด้บวช เช่นคำว่า ทิด ซึ่งมาจากคำว่า บัณฑิต แปลว่า ผู้มีปัญญา หรือนักปราชญ์ คำเรียกดังกล่าวนี้แตกต่างกันไปตามท้องถิ่น ทางภาคเหนือและอีสานก็มีเช่นกัน

          พอถึงวันจันทร์แรม 14 ค่ำเดือน 7 ปีมะเส็ง จ.ศ. 1279 ตรงกับวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ.2460 จึงได้รับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุ โดยมีพระครูสังฆการบูรพาทิพย์ (ปั้น) วัดทะเลน้อย เป็นพระอุปัชฌาย์พระอาจารย์เผือกวัดวังหว้า เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้นามฉายาว่า ยโสธโร หลวงปู่ได้ปฏิบัติเหมือนกับพระนวกะทั่วๆ ไป และตั้งใจศึกษาพระธรรมวินัยจนสอบได้ประโยคนักธรรมโท กับค้นคว้าตำรับตำราวิชาการต่างๆ จากนั้นจึงเดินทางไปฝากตัวเป็นศิษย์เพื่อเล่าเรียนพระกรรมฐานและวิทยาคุณจากหลวงพ่อโต วัดเขาบ่อทอง หรือวัดเขาชากโดนซึ่งเชี่ยวชาญในด้านสมถะและวิปัสสนากรรมญานเป็นพระอาจารย์
บอกกรรมฐาน มีจิตตานุภาพและวิทยาคมขลัง เป็นที่เลื่องลือมากในสมัยนั้น หลังจากได้ฝากตนเป็นศิษย์แล้วก็ตั้งหน้าศึกษาเล่าเรียนอย่างจริงจัง จนบังเกิดความเชื่อมั่นในตนเองกับวิชาที่เรียนและเป็นที่พอใจของผู้เป็นอาจารย์

          ท่านจึงกราบลาพระอาจารย์ ออกจาริกธุดงค์เพื่อเป็นการทดสอบกำลังใจและฝึกฝนจิตให้เกิดสมาธิเข้าสู่วิปัสสนาญาณต่อไปได้เดินธุดงค์เพียรปฏิบัติอยู่เป็นเวลาพอสมควรจึงกลับสู่วัดวังหว้า นับตั้งแต่หลวงปู่คร่ำอุปสมบท ในเพศบรรพชิตสืบทอดหลักพระธรรมคำสอนขององค์พระบรมศาสดาถึงขณะนี้ได้ 76 ปี แล้ว ได้ใช้พระธรรมคำสอนอบรมบรรดาลัทธิหาริกและสาธุชนผู้มีใจฝักใฝ่ในธรรมให้ยึดมั่นถือมั่นในหลักคุณธรรมแห่งความดี ตลอดระยะเวลาที่หลวงปู่ ได้ใช้ชีวิตอยู่ภายใต้ร่มกาสาวพัสตร์ก็ปฏิบัติตนเป็นผู้สำรวมในศีลอย่างเคร่งครัด เพื่อให้เป็นตัวอย่างแก่เหล่าบรรดาศิษย์ จะได้จดจำและปฏิบัติตนตามเยี่ยงของผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นครูบาจารย์ในส่วนที่ดี ด้านลูกศิษย์ของท่านมีมากมายหลายอาชีพ ตั้งแต่ข้าราชการระดับบริหารเศรษฐีตลอดจน กระทั่งผู้ใช้แรงงาน แต่ท่านก็ให้ความเมตตาโดยเสมอภาคกัน มิได้มีการแยกหรือแบ่งชั้นวรรณะซึ่งก็ได้สร้างปิติและศรัทธาต่อบรรดาสาธุชนเหล่านั้น ที่มีอยู่ทุกภาคของประเทศ

          เมื่อราวปลายเดือนกันยายน พ.ศ. 2536 ที่ผ่านมา รัฐบาลได้มีพระราชบัญญัติจัดตั้งกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเมื่อมีกระทรวงใหม่เกิดก็ย่อมจะต้องมีเจ้ากระทรวงหรือรัฐมนตรีว่าการ บรรดา ส.ส.ผู้ทรงเกียรติต่างก็หมายมั่นปั้นมือเพื่อจะได้เป็นเสนาบดีกันสักครั้งหนึ่ง และก่อนหน้าที่จะมีการประกาศรายชื่อผู้ที่จะเข้ามาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงแรงงานไม่กี่วัน นายเสริมศักดิ์ การุณ ส.ส.ระยอง กับ นายไพฑูรย์ แก้วทอง ส.ส.พิจิตร ได้พากันไปกราบหลวงปู่คร่ำให้หลวงปู่เจิมหน้าผาก รดน้ำมนต์ เป่ากระหม่อมให้หลังจากนั้นไม่กี่วัน หนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ ไทยรัฐ พาดหัวข่าวหน้าหนึ่งเลยว่า "มนต์ หลวงปู่เฮี้ยน..." ปรากฏว่าท่าน ส.ส. ทั้งคู่ได้เป็นรัฐมนตรีเรียบร้อย

          จนกระทั่งมาอีกครั้งหนึ่งก็การแต่งตั้งอธิบดีตำรวจที่ พล.ต.อ.ประทิน สันติประภพ กระเด้งกระดอนออกมาจากมติ กตร. 2 ระรอกแล้ว ครั้งสุดท้ายก่อนที่จะมีการลงมติกันอีกครั้งวัดวังหว้าก็ปรากฏกายของท่าน พล.ต.อ. ประทินว่าที่อธิบดีตำรวจ เพื่อขอให้หลวงปู่คร่ำรอดน้ำมนต์ และเป่ากระหม่อมให้ เมื่อผลการแต่งตั้งออกมา ชื่อของ พล.ต.อ.ประทิน สันติประภพคือนัมเบอร์วันของกรมตำรวจจริงๆ ชื่อของลป.คร่ำ ก็ยิ่งตอกย้ำถึงบุญบารมี เพราะความศักดิ์สิทธิ์อย่างเหลือเชื่อ

          ลป.คร่ำท่านเป็นพระที่เปี่ยมล้นไปด้วยความเมตตาอย่างไร้ขอบเขตจริงๆ ใครไปกราบไหว้ท่าน ท่านก็เมตตาเป่าหัวให้ ทำให้สารพัดผู้ที่ไปกราบท่านมีแต่ความปลื้มปิติซาบซึ้งในความเมตตาของหลวงปู่เป็นทวีคูณ ปัจจุบันนี้ด้วยวัยกว่า 97 ปีของหลวงปู่ จึงทำให้การต้อนรับหรือการเข้าไปพบท่าน ค่อนข้างจะต่างจากในอดีตเพราะสังขารท่านนั้นย่อมต้องการพักผ่อนก่อน แม้ว่าคนรอบข้างบอกว่าเดี๋ยว หลวงปู่เหนื่อยๆ แต่หลวงปู่ก็ยังเสมอภาคกับทุกคน

          ในด้านวัตถุมงคลของลป.คร่ำนั้นก็มีสร้างกันมาร่วม 30 ปีแล้ว สุดท้ายนี้ ขอเชิญชวนทุกท่านได้ไปกราบไหว้ลป.คร่ำ วัดวังหว้า สุดยอดมหาเมตตาบารมีแห่งยุค เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ท่านและครอบครัว เทพเจ้าของชาวระยอง

          หลวงปู่คร่ำ ท่านมีอายุ ๑๐๐ ปีบริบูรณ์เมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๔๐ พรรษา ๘๐ นับเป็นพระเถระที่มีพรรษาสูงสุดของเมืองไทย

          ต่อมาเนื่องจากหลวงปู่อายุมาก แต่หลวงปู่ยังปฏิบัติกิจนิมนต์ต่างๆตลอดมา ต้อนรับสาธุชนจากสารทิศทุกวัน แม้บางวันจะเหน็ดเหนื่อยจนลุกแทบไม่ได้ แต่เมื่อมีผู้คนมาคอยพบมากมายหลวงปู่จะพยายามลุกขึ้นลำให้ศิษย์ประคองออกมาประพรมน้ำมนต์แก่ผู้มากราบไหว้บูชาจนร่างกายเสื่อมโทรมแพทย์ประจำตัวต้องคอยปรนนิบัติอย่างใกล้ชิด ในที่สุดกรรมการวัดและศิษย์ผู้ใกล้ชิด มีความเห็นร่วมกันว่าควรให้พักผ่อนให้มาก จึงได้นำไปบำบัดโรคพยาธิในโรงพยาบาล เพื่อพักฟื้นหลายครั้งแต่หลวงปู่จะพักในโรงพยาบาลไม่นาน รบเร้าต่อแพทย์และผู้ใกล้ชิดให้ส่งกลับวัดตลอดเวลา จึงไปๆมาๆระหว่างวัดและโรงพยาบาลโดยตลอด ในที่สุดแพทย์จากดโรงพยาบาลสมิติเวชศรีราชา ตรวจพบว่าหลวงปู่มีเนื้อร้ายที่ลำคอจึงได้นิมนต์ให้พักรักษาตัวที่โรงพยาบาลสมิติเวชศรีราชา โดยไม่คิดค่ารักษาแต่ประการใด ตลอดระยะเวลาหลายเดือน

          มรณภาพในที่สุดแห่งชีวิตที่ไม่มีใครหลีกเลี่ยงได้ หลวงปู่ได้ละสังขารถึงแก่มรณภาพ
ในวันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๐ เวลาประมาณ ๑๔ นาฬิกา ด้วยอาการสงบ ณ. โรงพยาบาลสมิติเวชศรีราชา ท่ามกลางความเศร้าโศกอาลัยของสานุศิษย์และสาธุชนทั่วประเทศนับล้านคนที่ได้ทราบข่าวต่างหลั่งไหลมากราบไหว้ เคารพศพที่วัดวังหว้าตลอดเวลา ๑๕ วัน ที่บำเพ็ญกุศลนับเป็นบุญญาบารมีของหลวงปู่โดยแท้

เหลือเวลา

วันที่เริ่ม November 21, 2024 17:09:57
วันที่ปิดประมูล November 24, 2024 17:09:57
ราคาเปิด140
เพิ่มครั้งละ10
ธนาคารกสิกร (ลำปาง) ,

-

ผู้เสนอราคาล่าสุด

140

ราคาล่าสุด


รายละเอียดเพิ่มเติม

ความเห็นจากเพื่อนสมาชิก

ประวัติการประมูล

ประวัติการเสนอราคา

ชื่อสมาชิก/วันที่เสนอราคา เสนอ

ประวัติการเสนอราคา

เหลือเวลา


ต้องการเข้าร่วมประมูล !

ท่านต้องเป็นสมาชิกที่ผ่านการยืนยันตัวตนแล้วเท่านั้น