พระงบน้ำอ้อยเนื้อดิน หลวงปู่ยิ้ม วัดเจ้าเจ็ด จ.อยุธยา พร้อมบัตร DD-Pra
หลวงปู่ยิ้ม วัดเจ้าเจ็ดใน จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นอาจารย์ร่วมสมัยเดียวกับ หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก และหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค
ท่านจึงเป็นพระอาจารย์อาวุโส มรณภาพเมื่อปี ๒๔๙๙ (อายุ ๘๑ ปี) หลังหลวงพ่อปาน ๑๘ ปี ( ๒๔๙๙-๒๔๘๑ )
แต่ก่อนหลวงพ่อจงราว ๘ ปี ( ๒๔๙๙-๒๕๐๗ ) วัดของท่านเหล่านี้อยู่ไม่ไกลกันนัก ท่านเป็นสหธรรมมิก และคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี
จนชาวอยุธยาเรียกกันติดปากว่า พระหมอหลวงพ่อปาน เกจิอาจารย์หลวงพ่อจง เมตตาไหลหลง หลวงพ่อยิ้ม
หลวงพ่อทั้ง ๓ มีความสนิทสนมกลมเกลียวกันยิ่งนัก ต่างคนต่างผลัดไปมาหาสู่ต่อวิชา ซึ่งกันและกันที่วัดของแต่ละองค์ ครั้งละหลายๆ วัน
ชาวกรุง เก่าที่รู้ซึ้ง จึงกระซิบต่อๆ กันว่า พระเครื่องของทั้ง ๓ องค์นี้พุทธคุณขลังเหมือนกัน ทั้งเมตตามหานิยม แคล้วคลาดและคงกระพันชาตรี
เมื่อต่างองค์ต่างสร้างพระเครื่องฯ เพื่อสืบทอดพระศาสนาต่างก็มานั่งปรกพุทธาภิเษก แทบทุกๆครั้งไป..
เหตุการณ์ สำคัญเช่นการปลุกเสกทราย และขึ้นเครื่องบินโปรยลงสถานที่สำคัญๆ ในประเทศไทย เมื่อครั้งสมัยสงครามอินโดจีนฯ ช่วง พ.ศ. ๒๔๘๕
ฝรั่งเศสที่ต้องการจะยึดดินแดนของไทยเป็นประเทศใน อาณานิคม มีผลร้ายแรง พอๆกับ สงครามโลกครั้งที่สองเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕
ซึ่งเป็นเรื่องของความสามัคคี เพื่อให้สถาบันชาติอยู่ได้ สถาบันศาสนาอยู่ได้ และสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่ได้ และสืบต่อพระศาสนา ให้มีความเจริญรุ่งเรืองสืบไป.พระเครื่องของหลวงพ่อยิ้มนั้น เนื้อขององค์พระเป็นพระเนื้อดินเผา ซึ่งดินนั้นได้จากดินขุยปูตามทุ่งนา และดินที่ขุดมาจากทุ่งนาเป็นเนื้อดินละเอียดมาก
แต่ก็มีเม็ดกรวดเม็ดทราย เม็ดเล็กเม็ดใหญ่ปนอยู่บ้าง หรืออาจมีเศษเปลือกหอย เศษไม้ปะปนก็มีบ้างเป็นบางองค์
แต่พระหลวง ปู่ยิ้มเนื้อต้องแห้งและแกร่งมากเนื่องจากความเก่าและอายุมากหลายสิบปี
บางองค์หากเผาแล้วจะมีเนื้อแร่ถูกเผาไหม้ติดอยู่ที่องค์พระ (แร่หมัดไฟ)
ลักษณะรูปพรรณสัณฐานแบ่งเป็นหลายพิมพ์ ซึ่งถ่ายทอดออกมาตามพุทธประวัติ ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
หากแต่พระทั้งหมดใช้กรรมวิธีเดียวกันในการสร้าง ลักษณะจึงคล้ายๆ กัน โดยสังเกตทางด้านหลังขององค์พระจะมีรอยถากของไม้กระดาน
ซึ่งเกิดจากการถอดพิมพ์พระ โดยการวางด้านหลังของพิมพ์พระซึ่งเป็นเนื้อดินเหนียวกดลงไปบนไม้กระดานและจึงถอดพิมพ์พระออกมา
และตากแดดจนแห้ง ด้านหลังจึงเป็นรอยถากของไม้กระดานทุกองค์ ชัดเจนบ้างไม่ชัดเจนบ้างก็สุดจะแล้วแต่พระเครื่องเนื้อดินเผาของหลวงพ่อยิ้ม จึงกระจายออกไปสู่ส่วนกลางเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะพิมพ์งบน้ำอ้อย
ซึ่งมีจำนวนการสร้างมากที่สุด และมีอยู่หลายแม่พิมพ์ ขนาดใกล้เคียงกัน เป็นรูปของพระนั่งหันพระเกศเข้าสู่ศูนย์กลาง
ห้าองค์บ้าง หรือสิบองค์บ้าง บางองค์ที่ผ่านการสัมผัสบูชา ถูกไออุ่น หรือไอเหงื่อก็จะมีสีเข้มขึ้น
ปัจจุบันนี้มีน้อยคนนักที่จะรู้ว่า หลวงปู่ยิ้มวัดเจ้าเจ็ดใน นั้นท่านได้สร้างพระเนื้อดินเผาไว้กี่พิมพ์ทรงกันแน่ นอก จากพระงบน้ำอ้อยที่ดังไปทั่วสารทิศแล้ว จนพระเนื้อดินพิมพ์งบน้ำอ้อยใครๆเห็นที่ใหนก็ต้องบอกว่าเป็นของ หลวงปู่ยิ้ม ไปเสียทั้งหมด
มีเพียงไม่กี่คนในละแวกคุ้งน้ำเจ้าเจ็ดที่เก็บรวบรวมพระเนื้อดินหลวงปู่ยิ้ม ไว้ได้ครบทุกพิมพ์ ซึ่งความนิยมของผู้สะสมที่มีไม่มากนี้ อาจทำให้มรดกทางศิลปพระเครื่องในอดีตของ หลวงปู่ยิ้มวัดเจ้าเจ็ดใน นั้นสูญหายไปได้บางพิมพ์และอาจมีการนำพระพิมพ์อื่นๆซึ่งไม่ใช่ของ หลวงปู่ยิ้มวัดเจ้าเจ็ดใน ถูกยัดให้เป็นพระเครื่องหลวงปู่ยิ้มได้โดยนักเล่นพระบางกลุ่ม
ในการสร้างพระเนื้อดินเผา ของหลวงปู่ยิ้มวัดเจ้าเจ็ดใน นั้น บันทึกไว้ว่าได้เริ่มสร้างในปี พ.ศ.2475 เจตนาเพื่อเป็นการสืบทอดและต่ออายุพระศาสนา ความตั้งใจของท่านนั้นจะสร้างให้ครบพระธรรมขันธ์ คือ 84,500 องค์ ดัง ที่ได้กล่าวมาแล้ว จึงมีพระของ หลวงปู่ยิ้ม จำนวนมากมาย และหลากหลายพิมพ์แตกต่างกันออกไป ตามแต่จะหาช่างทำพิมพ์พระมาแกะพิมพ์พระให้ได้ การทำพิมพ์พระนั้น จะได้ช่างชาวบ้าน ในละแวกบ้านเจ้าเจ็ด และละแวกใกล้เคียงเช่น บ้านหนองลำเจียก มาแกะพิมพ์ให้ การแกะแม่พิมพ์ แกะจากหินลับมีด ( ลักษณะหินลับมีด โกนของพระ ) โดยมีลูกศิษย์ผู้ใกล้ชิดเป็นผู้แกะให้ และให้พระ, เณร, ลูกศิษย์ ใกล้ชิด และเด็กวัดฯ ช่วยกันผสม กดพิมพ์- แกะพิมพ์ และเผาตามพิธีการของท่าน ซึ่งกล่าวกัน ว่าท่าน ได้แรงบัลดาลใจมาจาก การสร้างพระเครื่องเนื้อดินเผา พระกรุ สมัยต่างๆ และจากพระโบราณจารย์ต่างๆ และพระเครื่องของท่านบางพิมพ์สร้างล้อพิมพ์ของวัดบางนมโค, มีบางท่านเล่าว่าพระพิมพ์ทรงสัตว์ของหลวงปู่ยิ้ม นั้นช่าง ที่แกะแม่พิมพ์ของวัดเจ้าเจ็ดได้ขอต่อวิชา จากช่างที่แกะแม่พิมพ์ของวัดบางนมโค โดยค่าครูสำหรับการต่อวิชาแกะแม่พิมพ์เป็นเงิน 1 บาทในสมัยนั้นฯ การแกะพิมพ์พระแต่ละ พิมพ์เป็นฝีมือช่างชาวบ้าน ซึ่งมีฝีมือและความสวยงามทางพุทธศิลป์ที่แตกต่างออกไปตามความชำนาญของช่างใน ยุคนั้น นับได้ว่าชาวบ้านยุคนั้นก็ได้มีส่วนร่วมในการ ถ่ายทอด ความสวยงามทางพุทธศิลป์ ไว้ให้รุ่นลูกหลาน ได้เชยชมอย่างสวยงามและลงตัวเป็นอย่างดี ซึ่งพิมพ์พระของหลวงปู่ยิ้มจะมีลักษณะเป็นฝา หลังจากแกะพิมพ์พระได้แล้ว หลวงปู่จะให้ชาวบ้านนำดินขุยปู และดินนวล ในทุ่งนาที่ขุดลงไปลึกเพื่อให้ได้ดินที่ละเอียดโดยมีข้าวก้นบาตร และเถ้าขี้ธูปที่บูชาพระประธานในโบสถ์ ผง วิเศษที่ท่านลบ และสรรพสิ่งอันเป็นมงคลที่ท่านรวบ รวมมา และท่านได้ใช้มูลดินของกรุงศรีอยุธยา ท่านยังสร้างพระพิมพ์เนื้อดินซึ่งเกิดจากแม่ธาตุทั้งสี่ มาประชุมหรือผสมรวมกัน คือธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม และธาตุไฟ นำ บดและนวด และนำมากดใส่ลงในแม่พิมพ์พระที่มีลักษณะเป็นฝาและได้นำด้านหลังที่มีเนื้อดินไปวางโปะลงบนแผ่นไม้กระดานที่ได้เตรียมไว้ แล้วจึงถอดพิมพ์พระออกมาที่ละองค์ หลังจากนั้นก็จะทำการใช้ มีดบาง เปลือกหอยกาบ หรือช้อน ตามแต่จะหาได้ นำมาตัดแต่งตามตามขอบขององค์พระโดยรอบให้มีลักษณะสวยงาม บางองค์ก็ไม่ได้ตัดออกก็จะพบเนื้อดินเกินออกมา ซึ่งในการสร้างสมัยนั้นได้สร้างจำนวนมากและพระเครื่องยุคนั้นก็มิได้มีค่า มากมายอะไรการทำจึงทำแบบไม่ค่อยพิถีพิถันมากนักแต่จะทำให้ได้จำนวนมากๆ ไว้ก่อนดังนั้นของสวยๆจึงมีน้อยนัก หลังจากตกแต่งพระแล้วก็จะยกไม้กระดานที่เรียงรายวางพระเนื้อดินเหนียวอยู่ นั้น ไปตากแดดให้แห้งสนิทเสียแล้วจึงค่อยแกะออกจากไม้กระดาน ซึ่งด้านหลังพระของหลวงปู่ยิ้มจึงมีรอยเสี้ยนไม้กระดานเป็นที่สังเกตให้เห็น ได้ แล้วจึงนำมาใส่ไว้ในบาตรพอประมาณ จึงนำไปสุมไฟด้วยแกลบจนเนื้อดินพระแข็งสุกแดงได้ที่แล้วจึงลาไฟออกมารวบรวม ไว้ แล้วทำพิธีปลุกเสกในพระอุโบสถ หลวงปู่ยิ้มจะทำบายศรีราชวัตร ฉัตรธง ขนมต้มแดง ขนมต้มขาว อาราธนาบารมีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระอริยสาวกทุกพระองค์ ตลอดจนพระพรหม เทวดา ครูบาอาจารย์ทั้งหลาย โดย หลวงปู่ยิ้ม ได้ปลุกเสกเดี่ยวครบไตรมาส แล้วจึงนำบรรจุลงกรุเจดีย์รอบๆวัด และเก็บไว้บนหลังคาโบสถ์ บางส่วนที่เหลือก็แจกจ่ายให้กับชาวบ้านในละแวกคุ้งน้ำบ้านเจ้าเจ็ดและละแวก ใกล้เคียงนำไปติดตัวบูชาเป็นที่ยึดเหนียวจิตใจให้ประพฤติดีละเว้นความชั่ว ทั้งปวง หรือใครมากราบไหว้หลวงปู่ก็เมตตาแจกให้ทุกคนไป พระที่ หลวงปู่ยิ้ม นำไปใส่กรุไว้นั้น หาก หลวงปู่ยิ้ม ทำวัตรเช้าแล้วหลวงปู่จะออกมาจากโบสถ์และจะเดินไปยืนสวดพระคาถา ที่หน้าเจดีย์ใหญ่น้อยที่ได้บรรจุพระของ หลวงปู่ยิ้ม ไว้ทุกครั้งเสมือนได้ว่า หลวงปู่ยิ้ม ได้ทำการปลุกเสกทุกวันหลังจาก หลวงปู่ยิ้ม ทำวัตรเช้าเสร็จ
วิธีสังเกตพระเนื้อดินเผา หลวงปู่ยิ้มวัดเจ้าเจ็ดใน
พระหลวงเนื้อดินเผา หลวงปู่ยิ้มวัดเจ้าเจ็ดใน นั้นจะมีอยู่ด้วยกันหลากหลายพิมพ์ จำแนกออกได้ดังนี้
1. พระงบน้ำอ้อย พิมพ์ใหญ่ พระพุทธเจ้า 10 พระองค์ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3.5-4.0 มิลลิเมตร (มี เส้น และไม่มีเส้น)
2. พระ งบน้ำอ้อย พิมพ์กลาง พระพุทธเจ้า 10 พระองค์ พิมพ์มีเส้น และไม่มีเส้น ขนาดประมาณ 2.8-3.2 มิลลิเมตร
3. พระงบน้ำอ้อย พิมพ์เล็ก พระพุทธเจ้า 10 พระองค์ และพระพุทธเจ้า 5 พระองค์ ขนาด 2.5-2.8 มิลลิเมตร
4. พระพุทธชินราช พิมพ์ใหญ่ปีกกว้าง
5. พระ พุทธชินราชเล็ก
6. พระ พุทธชินราช 5 เหลี่ยม
7. พระ สมเด็จ พิมพ์ขัดสมาธิเพชร มี 2 พิมพ์
8. พระ สมเด็จพิมพ์ปรกโพธิ์ 7 ชั้น
9. พระ สมเด็จพิมพ์ติดแผง (สมเด็จแผง)
10. พระ สมเด็จพิมพ์ฐานเลข 7 ไทย
11. พระ โคนสมอ
12. พระ ขุนแผนพิมพ์ใหญ่
13. พระ ขุนแผนซุ้มเรือนแก้ว
14. พระ ชินราชใบพุทรา ปางสะดุ้งมาร
15. พระ ร่วง พิมพ์ใหญ่ กลาง และพิมพ์เล็ก
16. พระ ลีลาข้างจุด
17. พระ พิมพ์หลวงพ่อโต
18. พระ กลีบบัว
19. พระ นางพญาฐานบัว พิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก
20. พระนางพญาแขนอ่อน
21. พระ พิมพ์หยดน้ำ
22. พระ พิมพ์ขี่ลิง พิมพ์ขี่ลิงใหญ่ พิมพ์ขี่ลิงหันขาว และหันซ้าย
23. นางกวัก
24. พระสมเด็จปรกโพธิ์ 5 ชั้น
สีขององค์พระ
พระหลวงปู่ยิ้มนั้นเป็นพระเนื้อดินเผา สีขององค์พระพื้นๆ ก็คือสีอิฐ หรือสีหม้อใหม่ แต่จะพบสีซีดอ่อนได้เนื่องจากพระได้ถูกนำไปเก็บไว้บนกรุใต้หลังคาโบสถ์ทำให้ ได้รับความร้อนสูงจึงทำให้สีออกซีดจางไป เป็นสีชมพูอ่อนๆหรือสีน้ำตาลอ่อนๆ หากพบในกรุใต้ฐานเจดีย์ก็จะมีสีออกไปทางน้ำตาลเข้มขึ้นได้
เนื้อขององค์พระ
เนื้อขององค์พระนั้นเป็นพระเนื้อดินเผา ซึ่งดินนั้นได้จากดินขุยปูตามทุ่งนา และดินที่ขุดมาจากทุ่งนาเป็นเนื้อดินละเอียดมาก แต่ก็มีเม็ดกรวดเม็ดทราย เม็ดเล็กเม็ดใหญ่ปนอยู่บ้าง หรืออาจมีเศษเปลือกหอย เศษไม้ปะปนก็มีบ้างเป็นบางองค์ แต่พระ หลวงปู่ยิ้ม นั้นเนื้อต้องแห้งและแกร่งมากเนื่องจากความเก่าและอายุมากหลายสิบปี บางองค์หากเผาแล้วจะมีเนื้อแร่ถูกเผาไหม้ติดอยู่ที่องค์พระ (แร่หมัดไฟ)
ลักษณะพิมพ์ทรงสัณฐานขององค์พระ
พระเนื้อดิน หลวงปู่ยิ้มวัดเจ้าเจ็ดใน มีลักษณะรูปพรรณสัณฐานแบ่งเป็นหลายพิมพ์ ซึ่งถ่ายทอดออกมาตามพุทธประวัติ ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น หากแต่พระทั้งหมดใช้กรรมวิธีเดียวกันในการสร้างลักษณะจึงคล้ายๆกัน โดยสังเกตทางด้านหลังขององค์พระจะมีรอยเสี้ยนไม้กระดาน ซึ่งเกิดจากการถอดพิมพ์พระโดยการวางด้านหลังของพิมพ์พระซึ่งเป็นเนื้อดิน เหนียวกดลงไปบนไม้กระดานและจึงถอดพิมพ์พระออกมา และตากแดดจนแห้ง ด้านหลังจึงเป็นรอยเสี้ยนไม้กระดานทุกองค์ ชัดเจนบ้างไม่ชัดเจนบ้างนั้นก็สุดจะแล้วแต่
ส่วนขอบขององค์พระมักเห็นเนื้อดินเกินออกมาจากพิมพ์พระเกิดเนื่อง จากการกดพิมพ์ลงไปที่แผ่นไม่กระดานทำให้เนื้อดินเหนียวส่วนที่ล้นเกินออกมา แต่จะพบเห็นได้ว่ามีการใช้ของมีคมตัดแต่งส่วนที่เกินออกมา เช่น ช้อน เปลือกหอยกาบ มีด หรือตอกไม้ไผ่ จึงแลดูเป็นเหลี่ยมๆ ก็มีให้เห็นได้เกือบทุกองค์
รับประกันพระแท้ สนใจข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ 083-2699000 ID Line : Ting_sathu Email : [email protected] หรือ [email protected]
ภาณุภัณฑ์ พระเครื่อง เชิญที่นี่ >>> http://www.web-pra.com/Shop/TingSathu
ติดต่อง่าย โอนเร็ว เครดิตเยี่ยม ส่งให้วันนี้นะครับ ขอบคุณมากครับ
ท่านต้องเป็นสมาชิกที่ผ่านการยืนยันตัวตนแล้วเท่านั้น