พระสมเด็จหลวงปู่ภู วัดอินทรวิหาร เนื้อผง พิมพ์ปรกโพธิ์ ปี 2463-2476
พร้อมใบเซอร์สมาคมฯ (ระบุออกวัดอินทร์ฯ) หากออกวัดเกาะ ราชบุรี
ทางสมาคมฯจะระบุในบัตรเลยว่า "ออกวัดเกาะ ราชบุรี" ขนาดประมาณ 3.2 x 2 ซ.ม.
เนื้อหา และการตัดขอบจะแตกต่างจากพระที่สร้างออกวัดเกาะ ราชบุรี
และวัดอื่น ให้พร้อมฟิล์ม X-ray ไม่มีหักซ่อม
พระสมเด็จหลวงปู่ภู
พิมพ์ปรกโพธิ์ มีพุทธศิลป์ลักษณะงดงาม
ศิลปะสกุลช่างในพิมพ์มีส่วนคล้ายกับพิมพ์เกศบัวตูมของพระสมเด็จวัดระฆัง
โดยเฉพาะเส้นซุ้ม
องค์พระและฐานทั้งสามชั้นมีศิลปะพิมพ์ทรงถอดแบบมาจากพิมพ์เกศบัวตูมวัดระฆังมาอย่างชัดเจน
แตกต่างกันที่ช่างได้แกะเพิ่มกลุ่มใบโพธิ์สองข้างพระเศียร
พระพิมพ์นี้มีเนื้อหาค่อนข้างเนื้อจัดแก่มวลสาร
บางองค์ที่เนื้อจัดผิวจัดจะแลดูเก่ามากๆ
จนบางครั้งได้เคยมีผู้นำพระพิมพ์นี้ไปให้เช่าบูชาเป็นพระสมเด็จวัดระฆังฯพิมพ์ปรกโพธิ์ก็มี
*พระสมเด็จพิมพ์ปรกโพธิ์นี้ ขนาดจะเล็กกว่าพระพิมพ์สมเด็จทั่วไปเล็กน้อย
แต่นับว่าเป็นพระสมเด็จที่มีพุทธศิลป์ที่สวยงามอลังการของพระครูธรรมานุกูล
(หลวงปู่ภู จนฺทเกสโร) ที่ท่านได้สร้างไว้
นอกจากสร้างและแจกจ่ายที่วัดอินทรวิหารแล้ว
ยังมีพระบางส่วนที่นำไปแจกและบรรจุกรุที่วัดอื่นๆด้วย อาทิเช่นที่
วัดเกาะจ.ราชบุรี ,วัดไพรสุวรรณ ใน จ.พิษณุโลก วัดจุกกระเฌอ ที่ จ.ชลบุรี
ซึ่งเป็นพระแม่พิมพ์เดียวกันกับวัดอินทรวิหาร มีทั้งพิมพ์ฐาน 5 ชั้น และ 7
ชั้นหูติ่ง และ พิมพ์ปรกโพธิ์ นอกจากนี้ยังมีผู้พบพระพิมพ์แซยิด
และพิมพ์8ชั้นทั้งแบบแขนหักศอกและแขนกลม ถูกบรรจุภายในพระเจดีย์ของ
วัดจุกกระเฌอ ที่ จ.ชลบุรี อีกด้วย
พระเหล่านี้สันนิษฐานจากทั้งพิมพ์และเนื้อหาตลอดจนความเก่าว่าน่าจะเป็นพระที่สร้างในครั้งเดียวกัน
แต่ได้แจกจ่ายให้กับญาติโยม
หรือลูกศิษย์แล้วถูกนำไปเก็บรักษาในสถานที่ดังกล่าวตั้งแต่ตอนนั้น
*พระครูธรรมานุกูล (หลวงปู่ภู จนฺทเกสโร)
ปฐมเหตุที่ท่านจัดสร้างพระเครื่องและวัตถุมงคล
เป็นเพราะท่านต้องรับภาระดำเนินการก่อสร้างองค์หลวงพ่อโต
ต่อจากที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้สร้างไว้
และยังมิได้สำเร็จลุล่วงสมดังเจตนา
ด้วยเหตุนี้ท่านจึงจำเป็นต้องสร้างพระผงพุทธคุณ
ขึ้นมาเพื่อตอบแทนให้แก่ผู้มีจิตศรัทธาบริจาคทรัพย์สร้างองค์หลวงพ่อโตฯ
และแจกจ่ายให้ลูกศิษย์ลูกหาที่ใกล้ชิด พระเครื่องและวัตถุมงคลของหลวงปู่ภู
มีการสร้างขึ้นหลายครั้งหลายรุ่นต่อเนื่องตลอดตราบจนสิ้นอายุขัย
คงเป็นเรื่องยากลำบากที่จะระบุชี้ชัดลงไป
ว่าในแต่ละครั้งสร้างพระพิมพ์ใดจำนวนเท่าใดบ้าง
หากสังเกตจากเนื้อหามวลสารในพระเนื้อผงพุทธคุณของท่าน
จะสามารถแยกแบ่งตามยุคสมัยในการสร้างพระของท่านได้ดังนี้ 1. พระยุคต้น
สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างในช่วงประมาณปี พ.ศ 2450เป็นต้นมา
ภายหลังการสิ้นชีพพิตักษัยของสมเด็จพระพุฒาจารย์( โต พฺรหฺมรํสี)
ไปแล้วหลายสิบปี เท่าที่พบพระในยุคนี้มีลักษณะเนื้อหาแบบที่เรียกว่า
“เนื้อจัดแก่มวลสาร” เมื่อพิจารณาจะเห็นเนื้อหาที่เข้มข้น
มีความเก่าได้อายุ หากมีการสัมผัสจับต้องมักมีความหนึกนุ่ม
แสดงให้เห็นว่าสูตรการผสมผงพุทธคุณและมวลสารอันประกอบด้วย ปูนจากเปลือกหอย
ข้าวสุก กล้วย ผงเกสรดอกไม้บูชาพระ โดยมีน้ำมันตังอิ้ว
และกระดาษสาที่บดละเอียดจนเป็นเส้นใยขนาดเล็ก
เมื่อพิจารณาโดยรวมจึงน่าจะมีความเกี่ยวข้องและทำตามแบบฉบับเดียวกันกับสูตรต้นตำหรับของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ
ได้สร้างไว้ แต่เนื้อจะมีความละเอียดมากกว่า พระที่สร้างในยุคต้นนี้
ส่วนใหญ่มักเป็นพิมพ์พระสมเด็จ เท่าที่พบ ได้แก่ พระพิมพ์สมเด็จทรงเจดีย์
พระสมเด็จกลุ่มพิมพ์ฐานสามชั้น ทั้งหูติ่ง ที่เรียกกันว่าพิมพ์โย้
พิมพ์สามชั้นฐานหมอน พิมพ์พระในยุคแรกนี้ มักจะสร้างพิมพ์แบบเดียวกัน
กับพระของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ
เพียงแตกต่างกันที่รายละเอียดของพิมพ์และเนื้อหามวลสารเพียงเล็กน้อย
หากพิจารณาตามเหตุผล และลักษณะการครองตน
ชี้ให้เห็นว่าท่านต้องการเผยแผ่เกียรติคุณและแสดงความเคารพไม่ยกตนเทียบเสมอครูบาอาจารย์
จึงเริ่มสร้างพระเมื่อถึงเวลาที่จำเป็นหลังสิ้นเจ้าประคุณสมเด็จฯไปแล้วเป็นเวลานาน
2. พระยุคกลางจนถึงยุคปลาย ลักษณะของพระยุคนี้
มีความแตกต่างที่เห็นได้ชัดได้แก่เนื้อหาของผงพุทธคุณที่ใช้กดองค์พระ
จากเนื้อหาเข้มข้นจัดจ้านแบบเดิม มาเป็นแบบที่เรียกกันว่า
“เนื้อผงแก่ปูน”ทั้งนี้สันนิษฐานได้ว่าน่าจะเป็นเพราะ ในช่วงดังกล่าว
หลวงปู่ภู มีชื่อเสียงโด่งดัง เป็นที่รู้จัก
มีลูกศิษย์ลูกหาตลอดจนมหาชนผู้ศรัทธามากมาย
ที่ต้องการพระเครื่องเนื้อผงของท่าน
ทำให้ปริมาณในการสร้างพระในแต่ละครั้งมากขึ้นกว่าเดิม
เนื้อหามวลสารที่เก็บรวบรวมไว้อาจขาดแคลน มีจำนวนน้อยลง
ทำให้เนื้อหาผงพุทธคุณตลอดจน
รูปแบบของพิมพ์ที่แตกต่างออกไปจากเดิมอย่างเห็นได้ชัด
จากมีเฉพาะเพียงพิมพ์พระสมเด็จฯเท่านั้น เปลี่ยนมาเป็นล้อพิมพ์พระกรุบ้าง
เช่น พิมพ์ลีลา
บางพิมพ์ก็สร้างพิมพ์ขึ้นมาใหม่โดยใช้แรงบันดาลใจจากพระในยุคเก่า
เช่นพิมพ์สมาธิห้าเหลี่ยมที่หากพิจารณาอย่างถี่ถ้วนจะพอสังเกตได้ว่า คือ
พระขุนแผนบ้างกร่างพิมพ์ทรงพลเล็ก เพียงแต่มีขนาดย่อมลงมาเท่านั้น
พิมพ์ไสยาสน์
พิมพ์พระปิดตาทั้งแบบกรอบสามเหลี่ยมที่ใช้รูปแบบจากพระปิดตาวัดพลับ
พิมพ์พระปิดตากรอบสี่เหลี่ยมที่พิจารณาจากพุทธลักษณะได้ว่าน่าจะเป็นสายของวัดสะพานสูงหรือ
หรือพระบางพิมพ์อาจเป็นพิมพ์ที่สร้างขึ้นใหม่จนมีเอกลักษณ์เฉพาะตน
ที่แสดงถึงความสามารถในการออกแบบที่ท่านเจริญรอยตามองค์สมเด็จฯอาจารย์อย่างไม่เป็นรองผู้ใดเลยทีเดียว
ได้แก่ พระสมเด็จพิมพ์แซยิด ทั้งแบบแขนหักศอก และแขนกลม
อันเป็นพิมพ์ยอดนิยมสูงสุดในบรรดาพระเนื้อผงพุทธคุณของท่าน
พิมพ์ฐานแปดชั้นทั้งแขนหักศอกและแขนกลม พิมพ์ฐานเจ็ดชั้นหูติ่ง
พิมพ์ฐานสามชั้นหูบายศรี พิมพ์ฐานคู่ทั้งแขนกว้างและแขนแคบ พิมพ์ปรกโพธิ์
พิมพ์พระนาคปรกฐานโค้ง เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีพระที่สร้างจากจินตนาการตาม
“อัตตลักษณ์” ของท่านเองล้วน ๆ ทั้งนี้เพื่อผลตามเจตนารมณ์เฉพาะทาง เช่น
พระพิมพ์สังกัจจายน์ ทั้งแบบข้างเม็ดและห้าเหลี่ยม
เพื่ออานิสงค์ให้ผลทางโชคลาภ เมตตาค้าขาย
รวมทั้งพระพิมพ์ยืนทั้งพิมพ์ประทานพรและแบบอุ้มบาตรซึ่งมีพุทธลักษณะแบบเดียวกันกับหลวงพ่อโต
เพื่อเป็นที่ระลึกถึงการสร้างพระ
อันถือเป็นสัญลักษณ์คู่วัดอินทรวิหารตามที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จ
เป็นผู้ริเริ่มสร้างไว้ก่อนหน้านั้น “ เมื่อใจมีศรัทธา
ปาฏิหาริย์จะเกิดขึ้นเสมอ “
รับประกันพระแท้ สนใจข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ 083-2699000 ID Line : Ting_sathu
ภาณุภัณฑ์ พระเครื่อง เชิญที่นี่ >>
https://www.siam-pra.com/shop/Ting_sathu