พระโคนสมอ พิมพ์มารวิชัย เนื้อดิน
จ.พระนครศรีอยุธยา.....สภาพสวยมากๆ เดิมๆ มาพร้อมบัตรรับรอง g-pra (การันตรีพระ)
พระโคนสมอ...เป็นพระศิลปะอยุธยายุคปลาย
แต่พระส่วนมากกลับพบที่ในกรุงเทพฯ เสียเป็นส่วนใหญ่
และส่วนมากที่พบก็เป็นพระเนื้อดิน ซึ่งมีขนาดใหญ่เกือบเท่าฝ่ามือ
และเป็นพระที่ลงรักปิดทองมาแต่เดิมพระโคนสมอที่นิยมกันมากที่สุดก็คือโคนสมอเนื้อชิน
ซึ่งเป็นพระที่มีขนาดเล็กที่สุดของพระชุดโคนสมอ พิมพ์ที่พบมักเป็นพระประทับนั่ง
มีทั้งพิมพ์สมาธิ พิมพ์มารวิชัยฐานผ้าทิพย์ และพิมพ์ประทับนั่งห้อยพระบาท
และพระพิมพ์ห้อยพระบาทเป็นและพิมพ์สมาธิส่วนใหญ่ที่พบเป็นพระเนื้อชินเงินนั้นมักมีผิวผุกร่อนเป็นเกร็ดกระดี่
มีทั้งผิวปรอทและผิวสนิมตีนกา ส่วนที่ด้านหลังมักเป็นแอ่งเว้าแบบท้องกระทะ
และขอบข้างของด้านหลังจะยกสูงเป็นขอบกระด้งพระโคนสมอเนื้อชินจึงเป็นพระที่มีสนนราคาสูงกว่าพระพิมพ์อื่นๆ
ในพระชนิดเดียวกัน จึงทำให้พระโคนสมดพิมพ์สมาธิและห้อยพระบาท เนื้อชินเงิน
เป็นพิมพ์ที่นิยมกันมากที่สุด หากแต่นอกเหนือจากเนื้อชินเงินยังมีพระโคนสมอพิมพ์มารวิชัยฐานผ้าทิพย์อีกจำนวนหนึ่งซึ่งน้อยกว่ามาก
สร้างเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง บางองค์มีร่องรอยการลงรักปิดทอง
บางองค์ที่มีสภาพสมบูรณ์จะปรากฏไขปกคลุมทั่วองค์ให้เห็นชัดเจน
การที่พระโคนสมอเนื้อชินเป็นที่นิยมเนื่องจากเป็นพระขนาดเล็กสามารถพกพาอาราธนาติดตัวไปได้
มีผู้นำไปห้อยบูชาแล้วเกิดประสบการณ์กันมากทางด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรี แคล้วคลาด
และมหาอุด พระโคนสมอเนื้อชินนี้มีการทำปลอมเลียนแบบกันมากนานแล้ว
ได้รับความนิยมและหาค่อนข้างยาก พระโคนสมอนั้น แรกเริ่มเดิมทีที่พบเนื่องมาจากได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์
วังหน้า หรือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กทม.ในปัจจุบัน และได้พบพระโคนสมอเป็นจำนวนมาก
ทางเจ้าหน้าที่จึงได้นำพระชนิดนี้มารวมกองกันไว้ที่โคนต้นสมอพิเภก หน้าพิพิธภัณฑ์
เนื่องมีพระจำนวนมากผู้คนที่พบเห็นจึงเรียกชื่อพระตามสถานที่พบเห็นว่า "พระโคนสมอ"
ในตอนแรกๆ ก็ไม่มีใครสนใจพระชนิดนี้เท่าไรนัก ต่อมาก็มีคนหยิบไปบูชาบ้าง
เนื่องจากว่าเห็นพระเป็นพระปางประจำวันก็นำไปตามวันเกิดของตนเอง และทางกรมศิลป์
ก็เปิดให้เช่าบูชาบ้าง จนพระหมดไปในที่สุด
ต่อมาก็ได้พบพระแบบเดียวกันนี้อีกตามกรุต่างๆ
ในกทม.และอยุธยา เท่าที่ดูรูปแบบศิลปะแล้วสันนิษฐานว่าเป็นพระสมัยอยุธยาตอนปลาย
และตอนเริ่มสร้างกรุงเทพฯ นั้นก็ได้มีการชะลอพระพุทธรูปจากโบราณสถานต่างๆ
ในจังหวัดที่เป็นวัดร้างเข้ามาประดิษฐานไว้ตามพระอารามต่างๆ ในกทม.
พระพุทธรูปจากอยุธยาเองก็ถูกนำเข้ามาไว้ในกรุง หลายองค์ประจำอยู่ตามวัดต่างๆ
ในกทม.
นอกจากพระพุทธรูปที่ได้นำเข้ามาไว้ในกรุงแล้วก็ยังได้นำพระเครื่องที่พบตามกรุในอยุธยาเข้ามาบรรจุไว้ตามวัดต่างๆ
ด้วย และพระโคนสมอก็ได้ถูกนำเข้ามาบรรจุไว้ตามสถานที่ต่างๆ ในครั้งนั้นด้วย
แต่เป็นที่น่าเสียดายคือ ไม่มีผู้ใดได้บันทึกไว้ว่า
พระทั้งหมดนั้นได้นำมาจากที่วัดใดในอยุธยา
พระโคนสมอ
ที่ถูกพบนั้นส่วนใหญ่เป็นพระเนื้อดินเผา ซึ่งมีขนาดใหญ่
และเป็นพระที่มีการลงรักปิดทองทั้งหมด
และมีพระเนื้อดินเผาที่มีขนาดใหญ่เป็นพิเศษที่มักเรียกกันว่า
"พระปางทรมานท้าวชมพู" ซึ่งเป็นพระยืนปางประทานพร
ทรงเครื่องขัดติยราชประดับมงกุฎ สวยงามมาก ส่วนพระโคนสมอทั่วๆ
ไปเป็นพระที่สร้างเป็นแบบพระประจำวันเสียเป็นส่วนใหญ่
ลักษณะเป็นพระที่ประทับอยู่ในซุ้มเรือนแก้ว ฐานแบบย่อมุม ตามแบบศิลปะอยุธยายุคปลาย
นอกจากพิมพ์พระประจำวันแล้วก็ยังมีพิมพ์อื่นๆ อีกบ้าง
พระโคนสมอส่วนมากเป็นพระเนื้อดินเผา แต่ก็มีเนื้ออื่นๆ ที่พบน้อยมาก เช่น
เนื้อว่าน เนื้อชินเงิน ตะกั่วสนิมแดง และเนื้อแก้วน้ำประสาน
สำหรับเนื้อแก้วน้ำประสานนั้นแทบไม่ค่อยได้พบเห็นกันเลย
**รับประกันตามกฎกติกา dd-pra ทุกอย่างครับ** คลิ๊กดูที่ตัว vip นะครับ
ยังมีรายการอื่น ๆ ที่น่าสนใจบูชาอีก ราคาเบาทั้งนั้น
เมื่อโอนเงินแล้วรบกวนโทรแจ้งหรือ mail มาบอกด้วยครับ เพราะบางครั้งมีผู้ประมูลได้หลายรายการในราคาเท่าๆกัน
ทำให้ไม่ทราบว่าใครโอนมาเลยล่าช้าในการจัดส่งครับ
และเมื่อจัดส่งแล้วจะแจ้งเลขที่พัสดุที่ Feedback ทุกครั้งครับ.....ขอบคุณครับ
ท่านต้องเป็นสมาชิกที่ผ่านการยืนยันตัวตนแล้วเท่านั้น