ลพ.ประเทือง วัดหนองย่างทอย (วัดเทพประทานพร) อ.ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์
รูปหล่อใหญ่หล่อโบราณ รุ่นเทพประทานพร
สมทบทุนสร้าง เจดีย์เก้าชั้น ๑๔ พ.ค. ๒๕๓๗ กล่องเดิม
ลพ.ประเทือง วัดหนองย่างทอย
รูปหล่อใหญ่หล่อโบราณ รุ่นเทพประทานพร สมทบทุนสร้าง เจดีย์เก้าชั้น ๑๔ พ.ค. ๒๕๓๗
หนึ่งในตำนานเกจิอาจารย์สักยันต์ เจ้าตำรับ
“เสกแล้วสับ”
ประวัติ
พื้นเพ ท่านเป็นชาวจ.ลพบุรี เกิดเมื่อวันที่
2 ธ.ค. 2471 ปีมะโรง โยมบิดาชื่อ “ธรรม” มารดาชื่อ
“มาก” นามสกุล “ยืนยง” มีพี่น้องทั้งสิ้น 5 คน
ท่านเป็นคนสุดท้อง ครอบครัวประกอบอาชีพทำนา เยาว์วัยได้รับการศึกษาจบชั้นประถมปีที่
4 ที่ โรงเรียนวัดคลองเม่า เมื่อปี พ.ศ. 2485 และในช่วงนั้นเองได้เกิดน้ำท่วมอย่างหนัก ครอบครัวจึงตัดสินใจย้ายถิ่นฐาน
ไปอยู่ที่ ต.ช่องแค อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ และท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดหนองแขม
ต.ทุ่งทะเล ท่านได้ศึกษาวิธีปฏิบัติวิปัสนากรรมฐานและวิชาต่างๆ
จากพระอาจารย์อ่อนที่วัดหนองแขม ซึ่งเป็นอาแท้ๆ และเป็น
พระอาจารย์ที่มีชื่อเสียงในด้านการวิปัสนากรรมฐาน จึงสามารถถ่ายทอดวิชาดีๆ
ให้กับท่านจนหมดสิ้น และเพื่อทดสอบวิชาที่ได้ถ่ายทอดมา
พระอาจารย์อ่อนจึงได้ออกอุบายว่าจะพาไปเที่ยวให้เตรียมข้าวของสำหรับการเดิน ธุดงค์
ซึ่งมีข้าวตากแห้งเป็นอาหารในการเดินป่า
ครั้นเมื่อออกพรรษาก็มุ่งหน้าเดินทางด้วยเท้าเพื่อไปนมัสการพระพุทธบาท จ.สระบุรี
การเดินทางต้องขึ้นเขาลงห้วย ครั้นถึงเวลาปักกลด หลวงอาก็ปักให้เสร็จ
แล้วท่านก็เดินไปปักกลดอีกที่หนึ่ง พร้อมกับสั่งว่าห้ามออกไปไหนต้องอดทนจนกว่าจะรุ่งเช้า
ครั้นเมื่อฟ้าสางหลวงอาก็พาออกบิณฑบาต แต่ไม่มีบ้านคนสักหลัง
หลวงอาได้พาท่านเดินไปที่ใต้ต้นไม้ใหญ่ และให้เอาบาตรวางใต้ต้นไม้
พร้อมกับเปิดฝาบาตรทิ้งไว้สักครู่ แล้วก็ปิดฝาบาตรนำกลับมาที่กลด
เอาน้ำใส่บาตรแล้วดื่ม ซึ่งท่านไม่เข้าใจ
แต่ก็ทำตามและฉันข้าวตากแห้งปฏิบัติเช่นนี้เสมอมา
เมื่อบิดามารดา ทราบข่าวว่าท่านมีความยากลำบาก จึงเกิดความสงสาร และอยากให้สึกออกมาช่วยงานที่บ้าน แต่หลวงอาก็มาพูดเกลี้ยกล่อมจนท่านใจอ่อนและยอมออกเดินธุดงค์ต่อไป ในการเดินทางท่านก็ได้สอนวิชาอาคมต่างๆ เช่น วิชาหุงสีผึ้ง วิชานะหน้าทอง ฯลฯ บางครั้งท่านก็จดเอาไว้ และปรนนิบัติดูแลเรื่อยมาและศึกษาหาความรู้ไปด้วยเป็นเวลา 1 พรรษา ต่อมาหลวงอาได้พาไปฝากเป็นศิษย์ หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ แต่ไม่ทราบว่าได้รับการถ่ายทอดวิชาอะไรบ้าง จนกระทั่งอายุได้ 20 ปี จึงได้อุปสมบทที่วัดช่องแค ในปี พ.ศ. 2491 โดยมีท่านพระครูทอง วิสาโร เจ้าคณะอำเภอตาคลี เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์แบ๊ง วัดช่องแค เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระใบฎีกาตี่ วัดเขาวงศ์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ซึ่งวัดช่องแคในขณะนั้นมีหลวงพ่อพรหม ถาวโร เป็นเจ้าอาวาส ซึ่งท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาก
แต่น่า เสียดายที่หลวงพ่อประเทืองอยู่ได้เพียง 1 พรรษา ก็ต้องลาสิกขาบทเพราะถูกเกณฑ์เข้ารับราชการเป็นทหารอากาศประจำการที่ จ.ลพบุรี ท่านอยู่รับใช้ชาติถึง 2 ปีเศษ มาเป็นสารวัตรทหาร และรับราชการที่กรมชลประทาน จนเกิดความคิดว่าชีวิตทางโลกไม่ใช่สิ่งที่ท่านต้องการ จึงลาออกจากราชการในปี พ.ศ. 2500 และหันหน้าเข้าสู่ร่มกาสาวพัตร์อีกครั้ง ณ วัดโนนทอง อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ ได้รับฉายาว่า “อติกฺกนฺโต” แล้วอยู่ปฏิบัติธรรมกับหลวงพ่อเล็ก วัดโพธิ์ทอง (ศิษย์สืบทอดพุทธาคมจากหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย) และได้ตระเวนออกธุดงค์ จนไปพบกับอาจารย์เชื้อสายเขมร ชื่อว่า อาจารย์ บุญลือ ซึ่งเป็นฆราวาสและได้ถ่ายทอดวิชาแก่ท่านจนหมดสิ้น และหนึ่งในวิชาที่ขึ้นชื่อของท่านคือ การสักยันต์ ซึ่งท่านจะเสกเป่าพระคาถา แล้วใช้มีดสับลงบนหลังเพื่อทดสอบความขลัง อันเป็นที่มาของเจ้าตำรับ “เสกแล้วสับ”
ปีพ.ศ. 2520 ท่านได้ออกเดินธุดงค์จนมาถึง จ.เพชรบูรณ์ และได้ตั้งสำนักสงฆ์ที่เขารอ ต.หนองย่างทอย อ.ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ ใช้เป็นที่ปฏิบัติธรรม พร้อมกับสร้างโรงเรียนไว้เพื่อสอนหนังสือให้กับเด็ก โดยจ้างครูมาสอนและท่านเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย ด้วยความสามารถของท่านจึงทำให้สำนักสงฆ์เล็กๆ กลายมาเป็น “วัดด่านเจริญชัย” ที่สวยงามมีเสนาสนะสมบูรณ์ทุกอย่าง แต่เนื่องจากวัดด่านเจริญชัย อยู่ห่างไกลจากชุมชนและเส้นทางการจราจรไปยังจ.เพชรบูรณ์ เมื่อท่านจะเดินทางไปธุระยังจ.เพชรบูรณ์ท่านมักมาแวะพักที่ศาลาเล็กๆ ของวัดหนองย่างทอย ซึ่งในอดีตนั้นเปรียบเสมือนวัดร้าง มีเพียงศาลาเก่าๆ เมื่อชาวบ้านในละแวกนั้นทราบว่าท่านมีฝีมือทางด้านการพัฒนาจึงขอร้องให้ท่าน ช่วยสร้างวัด โดยไปเกณฑ์ชาวบ้านใกล้เคียงมาช่วยกันถางหญ้า จนทำให้ท่านแพ้แรงศรัทธาของชาวบ้าน และอยู่สร้างวัดหนองย่างทอย โดยใช้ชื่อว่า “วัดเทพประทานพร” จนปรากฏความเจริญรุ่งเรืองมีถาวรวัตถุสวยงามเช่นที่เห็นในปัจจุบัน และท่านได้ปกครองดูแลพระเณร และเป็นที่พึ่งของชาวบ้านตราบจนกระทั่งมรณภาพ
วิชาอาคม
พระ อาจารย์อ่อน
นับว่าเป็นพระที่เชียวชาญเวทวิทยาคมมากทีเดียว และที่สำคัญยังมีความคุ้นเคยกับ
หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์ ยอดเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้น
ได้เดินทางไปสนทนาธรรมกับหลวงพ่อเดิมอยู่เป็นประจำ เมื่อกลับมาจากธุดงค์แล้ว
หลวงอาอ่อนได้นำสามเณรประเทือง เดินทางไปวัดหนองโพธิ์
ฝากฝังไว้เป็นศิษย์คอยปรนนิบัติรับใช้ต้มน้ำร้อนน้ำชาอยู่ใกล้ชิดหลวงพ่อ
เดิมตลอดเวลา หลวงพ่อเดิมเรียกท่านว่า “เณรจ้อน”
เพราะท่านตัวเล็กกว่าสามเณรในวัดรุ่นเดียวกันทั้งหมดทั้งยังเมตตาแนะนำสั่ง
สอนวิชาอาคมต่างๆให้อยู่เสอม
หลวงพ่อเดิมไม่ได้ถ่ายทอดวิชาอะไรให้เพียงแต่กล่าวอยู่เสมอว่า
วิชาอาคมที่หลวงพ่อเดิมสั่งสอนนั้นว่าวิชาอะไรก็ตามจะเข้มขลังได้ต้องอาศัย
พลังจิตเป็นกำลังสำคัญ
หากเราฝึกจิตสมบูรณ์แล้วก็สามารถปลุกเสกอะไรให้เกิดพลังเข้มขลังได้
หลวง พ่อพรหม
ยอดพระเกจิอาจารย์ผู้มีชื่อเสียงอีกรูปหนึ่งที่หลวงพ่อประเทืองได้มีโอกาส
ศึกษาเล่าเรียนสรรพวิทยาคมในสำนักหลวงพ่อพรหมแต่เป็นที่น่าเสียดายว่าท่าน
ได้ครองสมณเพศอยู่ได้เพียงพรรษาเดียว ก็จำต้องลาสิขา
เพราะถูกหมายเกณฑ์ทหารไปเป็นทหารรับใช้ชาติ
ด้วยความเบื่อหน่ายปรารถนาจะ
บวชอีกสักครั้งซึ่งในขณะนั้นมีอายุได้ ๒๙ ปี ๒๕๐๐
เป็นการฉลองยี่สิบห้าพุทธศตวรรษไปด้วยก็ตัดสินใจอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดโพนทอง
อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ได้รับสมณฉายาว่า อติกฺกนฺโต แล้วอยู่ปฏิบัติธรรมกับ
หลวงพ่อเล็ก วัดโพธิ์ทอง (หลวงพ่อเล็กรูปนี้เป็นศิษย์สืบทอดพุทธาคมมาจากหลวงพ่อปาน
วัดบางเหี้ย)
หลวง
พ่อได้เดินธุดงค์ไปตามเขาทั่วภาคตะวันออกเฉียงจรดไปถึงถ้ำนาแก นครพนม ได้พบกับพระป่านักปฏิบัติหลายรูปทั้งได้ขอเล่าเรียนวิชาอาคมต่างๆ
จนกระทั่งได้มีโอกาสพบกับอาจารย์บุญลือ เป็นฆราวาส ชาวเขมร
ผู้เก่งกล้าในด้านไสยศาสตร์ ท่านก็ได้รับการถ่ายทอดวิชาถอนคุณไสยต่างๆ
จนเป็นที่พอใจ แล้วเดินธุดงค์ต่อไป
พระเกจิที่ท่านได้รับการถ่ายทอดสรรพวิชาอาคมซึ่งท่านได้ลำดับครูบาอาจารย์ดังนี้
๑.พระอาจารย์อ่อน วัดหนองแขม นครสวรรค์ (มีศักดิ์เป็นอา ได้ศึกษาตั้งแต่เป็นสามเณร)
๒.หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์ นครสวรรค์ (เมื่อครั้ง ไปอยู่ปรนนิบัติรับใช้เป็นสามเณรที่วัดหนองโพธิ์)
๓.หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค นครสวรรค์ (ศึกษาอยู่ได้ 1 พรรษา ตอนบวชครั้งแรก)
๔.พระอาจารย์เล็ก วัดคลองเม่า ลพบุรี
(มีศักดิ์เป็นอา)
๕.หลวงพ่อเล็ก วัดโพธิ์ทอง นครสวรรค์ (เมื่อครั้งอุปสมบทอยู่วัดโพธิ์ทอง ซึ่งหลวงพ่อเล็กรูปนี้เป็นศิษย์ที่สืบทอดพุทธาคมมาจาก หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย)
๖.อาจารย์บุญลือ (ไม่ทราบนามสกุล) เป็นชาวเขมร (เมื่อคราวออกธุดงค์)
หลวงพ่อประเทือง อติกฺกนฺโต (พระครูวิทิตพัชราจาร) หนึ่งในตำนานเกจิอาจารย์สักยันต์ เจ้าตำรับ “เสกแล้วสับ” ได้ละสังขารลงอย่างสงบด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 22 ม.ค. 2550 เวลา 16.19 น.โดยประมาณ ณ.โรงพยาบาลเมืองใหม่ลพบุรี จ.ลพบุรี รวมสิริอายุได้ 79 ปี
โอนเงินตามกฎ DD-PRA คือ โอนภายใน 3 วัน เมื่อโอนแล้วแจ้งทางกล่องข้อความ
หลัง 3 วัน ขออนุญาตยกเลิก และให้คำติครับ
ขอบคุณครับ
ซื้อจริง-ไม่ทิ้งประมูล การันตี 1 เสียง โอนเร็วมาก ขั้นเทพ ปิดปุ๊ป โอนปั๊ป ขอบคุณที่ร่วมประมูลและหวังว่าคงมีโอกาสร่วมประมูลอีกครับ รหัสพัสดุ RL 5202 3355 5 TH ( ถ้าไม่ได้รับของหรือไปถึงช้าผิดปกติ... รบกวนแจ้งที่ mailbox เพื่อจะได้ตรวจสอบและติดตามให้ครับ )
ท่านต้องเป็นสมาชิกที่ผ่านการยืนยันตัวตนแล้วเท่านั้น