สภาพสวยเก่าเก็บ
พระกริ่งนเรศวร พ.ศ.2507 พิมพ์พระพุทธอุ้มบาตร วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก
จัดสร้างในพุทธพิธีเดียวกับกริ่งนเรศวรรุ่นแรกของจังหวัดพิษณุโลก พิธีสุดยิ่งใหญ่อลังการ
พระกริ่งนเรศวร(พิมพ์พระพุทธอุ้มบาตร) ปี 2507
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก จัดสร้างในพุทธพิธีเดียวกับกริ่งนเรศวรรุ่นแรกของจังหวัดพิษณุโลก พิธีสุดยิ่งใหญ่อลังการกริ่งองค์แม่ราคาหลายแสนครับ องค์นี้เดิมๆผิวมีคราบบูชาบนหิ้งโค๊ตติดชัดดูง่ายกริ่งดังไพเราะกังวาล ขึ้นคอได้สบายใจ
พิธีกรรมในการจัดสร้าง
พระกริ่งนเรศวรรุ่นแรกนี้ ได้มีขั้นตอนในการจัดสร้างที่พิถีพิถันมากนับแต่การเสาะหาโลหะทั้ง 9 ชนิด ได้แก่ 1.ทองคำ 2.เงิน 3.ทองแดง(เถื่อน) 4.จ้าวน้ำเงิน(เจ้าน้ำเงิน) 5.เหล็กละลายตัว 6.ดีบุก 7.ชิน 8.สังกะสี 9.ตะกั่ว(เถื่อน) เมื่อได้โลหะมาครบทั้ง 9 ชนิดแล้วได้นำโลหะทั้งหมดดังกล่าวมาประกอบพิธีหลอมละลายให้เป็นเนื้อเดียวกันแล้วนำมาแผ่ให้เป็นแผ่นบางๆและนำมาถวายให้พระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณเยี่ยมยอดในยุคนั้นลงอักขระเลขยันต์ตามตำราโบราณดังมีรายนามดังต่อไปนี้
1.พระเทพสิทธินายก(นาค) วัดระฆังฯ ธนบุรี กทม.
2.พระโสภณปัญญาจารย์ วัดปทุมวราราม ปทุมวัน กทม.
3.พระครูจันทรโสภณ(นาค) วัดนรนาถสุทริการาม เทเวศน์ กทม.
4.พระอาจารย์ไสว สุมโน วัดราชนัดดาราม กทม.
5.หลวงพ่อเมือง วัดท่าแหน จ.ลำปาง
6.หลวงพ่อปี้ วัดด่านลานหอย จ.สุโขทัย
7.หลวงพ่อวัง วัดบ้านด่าน จ.ตาก
8.หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติการาม จ.พระนครศรีอยุธยา
9.หลวงพ่อชื่น วัดตำหนักเหนือ จ.นนทบุรี
10.หลวงพ่อทบ วัดชนแดน จ.เพชรบูรณ์
11.หลวงพ่อกัน วัดเขาแก้ว จ.นครสวรรค์
12.พระอาจารย์บุญโสม วัดหัวข่วง จ.ลำปาง
13. หลวงพ่อเตียง วัดเขารูปช้าง จ.พิจิตร
14.หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม
15.พระอาจารย์นำ วัดดอนศาลา จ.พัทลุง
16.พ่อท่านคล้าย วัดสวนขัน จ.นครศรีธรรมราช
17.หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ จ.สุพรรณบุรี
18.หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี กทม.
19.หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี
สำหรับอักขระเลยันต์ที่พระคณาจารย์ทั้งหลายท่านได้ลงในแผ่นโลหะนั้นประกอบด้วยหลักใหญ่ใจความสำคัญอันพอจำแนกได้เป็น 4 ประเภทคือ
1.อักขระเลขยันต์ประเภพพระปริตและพระสูตรต่างๆที่สำคัญเช่น บทเจ็ดตำนาน,บทสิบสองตำนาน,ธรรมจักรกัปปวัฎตนสูตร,พระปาฎิโมกข์ ฯลฯ
2.ประเภทพระคาถาต่างๆ เช่น พระคาถาชินบัญชร, พระคาถารัตนมาลา,พระคาถาทิพย์มนต์ ฯลฯ ที่พระคณาจารย์ยุคเก่าๆ ท่านได้รจนาแต่งขึ้นมาซึ่งได้รับการยอมรับนับถือกันว่าเป็นสิริมงคลและเป็นเครื่องคุ้มครองป้องกันภยันตรายต่างๆ
3.ประเภทอักขระเลขยันต์ต่างๆ ที่เก่าแก่ในสมัยโบราณ เช่น พระยันต์มหาพิชัยสงคราม,นะปถมัง 14 นะ,ยันต์ตรีนิสิงเห,ยันต์จตุโร,ยันต์ไตรสรณาคมน์,ยันต์พระเจ้าสิบชาติ,ฯลฯ ที่ถือว่าเป็นมงคลและศักดิ์สิทธิ์ในด้านต่างๆทุกด้าน
4.ประเภทอักขระเลขยันต์ตามความถนัดเฉพาะตน ของพระคณาจารย์ที่ลงอักขระซึ่งแต่ละรูปนอกแต่ละท่านจะมีความถนัดที่แตกต่างกันออกไป
พิธีเททองหล่อพระกริ่งนเรศวรรุ่นแรก พ.ศ.2507
พระกริ่งนเรศวรรุ่นแรกนี้ประกอบพิธีเททอง ณ.มณฑลพิธีหน้าวิหารที่ประดิษฐานพระบรมรูป สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภายใน วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ (หลวงพ่อพระพุทธชินราช) จังหวัดพิษณุโลก โดยประกอบพิธีเททองเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ.2507 ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ปีมะโรง จุลศักราช 1326 องค์ประธานประกอบพิธีเททองคือ พระเดชพระคุณท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระพระอริยวงญศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช(ปุณณสิริมหาเถร ปุ่น ปธ. 7) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เมื่อครังยังทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ “สมเด็จพระวันรัต”ฤกษ์เททองพระกริ่ง
(โปรดพิจารณาดูให้ชอบก่อนเคาะน่ะครับ เพื่อไม่ให้เสียเวลากัน)
EG701059341TH พี่ท่านนี้เครดิตดีเยี่ยม ปลอดภัยไร้ปัญหาครับ การันตีให้อีกเสียงครับ เยี่ยมยอด
ท่านต้องเป็นสมาชิกที่ผ่านการยืนยันตัวตนแล้วเท่านั้น