พระพุทธรูปปางมารวิชัย (ไม้แกะ) ลงรักปิดทอง ศิลปะมัณฑะเลย์(พม่า) อายุราวพุทธศตวรรษที่ 21-22 (ประมาณสมัย อยุธยา-ต้นรัตนโกสินทร์)ขนาดหน้าตัก 2 นิ้ว สูง3.5 นิ้ว ฐานล่าง 2.2 นิ้ว พร้อมบัตรรับรอง ครับ
พระพุทธรูปศิลปะพม่า สมัยมัณฑะเลย์ มีลักษณะที่โดดเด่น คือ พระพุทธรูปมีความสมจริงคล้ายมนุษย์ โดยส่วนพระพักตร์มีการสร้างให้พระเนตรมองตรง และประดับอัญมณี เช่น นิลและมุก เพื่อให้คล้ายดวงตาของมนุษย์ พระโอษฐ์มีลักษณะสมจริง ขมวดพระเกศาเล็กมาก อุษณีษะ (มวยผม) สูงมาก และไม่มีรัศมี ริ้วจีวรเป็นริ้วแบบธรรมชาติ ปลายจีวรเป็นหยักโค้งไปมา ซึ่งคาดว่าน่าจะได้รับอิทธิพลการสร้างริ้วจีวรเช่นนี้มาจากศิลปะจีน กรอบพระพักตร์เป็นแถบหนา มีไรพระศก และมักทำลวดลายพร้อมประดับอัญมณีหรือกระจกสีที่กรอบพระพักตร์และขอบจีวร คล้ายพระพุทธรูปทรงเครื่อง (พระพุทธรูปที่มีการทรงเครื่องประดับต่างๆ อย่างกษัตริย์ อาทิ มงกุฎ กุลฑล กรองศอ สังวาลย์ และทับทรวง เป็นต้น) ขณะเดียวกันพระพุทธรูปทรงเครื่องเองก็ยังคงนิยมสร้างในสมัยนี้อยู่ โดยสืบทอดแนวคิดมาจากสมัยอังวะ (ช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 24) ตามคติชมพูบดีสูตร ซึ่งเป็นพุทธประวัติตอนหนึ่งในคัมภีร์พุทธศาสนา นิกายเถรวาท ที่ชาวพม่าให้ความเคารพนับถือ ในพุทธประวัติได้กล่าวว่าพระพุทธเจ้าได้เนรมิตพระองค์ให้มีขนาดพระวรกายใหญ่โต พร้อมทรงเครื่องประดับอย่างกษัตริย์ เพื่อสั่งสอนพญาชมพูบดีผู้เป็นกษัตริย์ที่ไม่ยอมรับฟังคำสอนของพระพุทธเจ้า จนกระทั่งพญาชมพูบดีเชื่อฟังในคำสอนของพระพุทธเจ้าและออกผนวช จนสำเร็จเป็นพระอรหันต์ในที่สุด