พระสมเด็จพระครูสุพจน์ รุ่นอินโดจีน (เนื้อผงสมเด็จวัดระฆัง) พิมพ์ฐานคู่ พ.ศ.๒๔๘๔ สภาพสวย ไม่ผ่านการใช้มาเลยครับ
(เข้าร่วมในพิธีพุทธาภิเษกชินราชอินโดจีนปี ๒๔๘๕ และ พิธี วัดประสาทปี พ.ศ.๒๕๐๖ )
***หลวงพ่อสุพจน์ วัดสุทัศน์ฯ ท่านเป็นพระลูกวัดของวัดสุทัศน์ฯ ในยุคพระสังฆราชแพ และพระครูลมูล อีกทั้งท่านยังสนิทสนมกันมากกับ หลวงปู่นาควัดระฆังฯ ได้รับชิ้นส่วนแตกหักของสมเด็จวัดระฆังโดยตรงจากหลวงปู่นาคอีกด้วย ท่านเก็บสะสมพระแตกหักต่างๆ ที่คนเอามาทิ้งไว้ที่วัด นำมาบดละเอียดเป็นมวลสารในการสร้างพระขึ้นมาสืบต่อศาสนา โดยแจกให้กับลูกศิษย์ลูกหาของท่าน บางส่วนได้หลงเหลืออยู่ที่วัดสุทัศน์ (ในสมัยโน้น) หลวงพ่อสุพจน์ท่านเป็นพระเกจิที่สันโดษมาก ทำให้คนรู้จักจักกันน้อย
***หนังสือบางเล่มลงว่า #พระผงของหลวงพ่อสุพจน์เป็นเนื้อสมเด็จวัดระฆังล้วน
***สมัยก่อนพระชำรุดแตกหัก คนจะนำไปถวายไว้ที่วัด หลักการเดียวกันกับวิธีการสร้างพระของพระครูลมูล สันนิษฐานว่าหลวงพ่อสุพจน์เองคงมีวิชาไม่น้อย เพราะได้อยู่ที่วัดสุทัศน์ฯ ได้ร่วมพิธีการสร้างพระกริ่งต่างๆ มากมาย พระของท่านน่าจะได้เข้าร่วมในพิธีปลุกเสกพระกริ่งรุ่นต่างๆ ของทางสายวัดสุทัศน์ฯ ด้วย
***พระสมเด็จชุดนี้จัดสร้างโดย หลวงพ่อสุพจน์ หรือที่วงการพระเครื่องรู้จัก คือ "พระครูพุทธมนต์วราจารย์" หรือสมณศักดิ์สุดท้ายก่อนที่จะละสังขารคือ "พระมงคลเทพโมลี"ท่านเป็นพระแบบว่าเก่งเงียบ ท่านมีวิชาลบผงสร้างผงจากตำราโบราณของวัดสุทัศน์ฯ (ตำราโบราณของพระครูลมูล วัดสุทัศน์ฯ) เป็นสหายธรรมกับหลวงปู่นาค และหลวงปู่หิน วัดระฆังฯ จึงได้รับมอบผงสมเด็จวัดระฆังที่แตกหักเป็นจำนวนมาก
***ท่านเป็นหนึ่งในเกจิที่ร่วมปลุกเสกพระยี่สิบห้าพุทธศตวรรษ และ งานพุทธาภิเษกใหญ่ๆ เช่น พิธีวัดประสาทฯ ปี ๒๕๐๖ พิธีปลุกเสกพระประจำจังหวัดชลบุรี ปี ๒๕๐๙ ที่วัดป่าชลบุรี ก็มีชื่อของท่านในทำเนียบพระเกจิอาจารย์ที่ได้รับการนิมนต์มาร่วมพิธีปลุกเสกด้วย สมเด็จพิมพ์นี้สร้างที่วัดสุทัศน์ฯ เมื่อปี ๒๔๘๔ (พิธีอินโดจีน) โดยลูกศิษย์ของท่านนำพระสมเด็จวัดระฆังที่แตกหักจำนวนมาก และไม่ได้มีใครสนใจมาถวายท่าน ท่านจึงนำพระเหล่านั้นมาบดเป็นผงละเอียด และได้แกะพิมพ์ขึ้นมาใหม่ เช่น พระสมเด็จ พิมพ์วัดระฆัง พระสมเด็จ พิมพ์วัดบางขุนพรหม พระสมเด็จ พิมพ์วัดเกษไชโย วัดเงินคลองเตย วัดพลับ วัดสามปลื้ม วัดโพธิ์ ขุนแผนบ้านกร่าง หลวงพ่อโต บางกระทิง พระลีลาเปิดโลก และพิมพ์ต่างๆ อีกมาก ด้านหลัง มีทั้งปั๊มยันต์พุทซ้อน และยันต์ตรีฯ ที่หลังเรียบก็มี พร้อมได้กราบเรียนสมเด็จพระสังฆราชแพ เพื่อขออนุญาตนำพระเข้าปลุกเสกในพิธีนั้นพร้อมๆ กับวัตถุมงคลต่างๆ หลังจากนั้นจึงได้มอบให้แก่ลูกศิษย์ตลอดจนทหาร ตำรวจ และข้าราชการต่างๆ ที่ต้องไปราชการสงครามในสมัยนั้นเพื่อเป็นสิริมงคล ปรากฎว่า "ประสบการณ์ดีเยี่ยม" พอข่าวนี้แพร่ออกไปปรากฏว่ามีประชาชนต่างมาทยอยขอพระสมเด็จจากท่านจำนวนมาก ซึ่งท่านก็มอบให้ด้วยความเต็มใจจนหมด (ที่เหลือตกค้าง ท่านไม่แจก เพราะเห็นว่าพิมพ์ไม่สวย) จึงเรียกได้ว่าพระชุดนี้ "ดีนอก ดีใน" จริงๆครับสร้างปีพ.ศ.๒๔๘๔