พระสมเด็จวัดมฤคทายวัน พิมพ์ปรกโพธิ์ (หลังเรียบ) จ.ประจวบคีรีขันธ์ สร้างราวปี 2462 เนื้อสีดำ องค์นี้เป็นพระยุคกลาง พระมฤคทายวัน มีอยู่ด้วยกันหลายสิบพิมพ์ทรง โดยสร้างจากเนื้อผงปูนเปลือกหอยมาผสมน้ำมันตั้งอิ้ว และมีหลายสีคือ ขาว, ดำ, แดง, เหลือง, ส้ม แต่ทุกพิมพ์มีเอกลักษณ์เฉพาะคือ จะเป็นกรอบกระจก เช่นเดียวกับพระสมเด็จเกศไชโย และมีการตัดขอบมาจากในพิมพ์ ไม่มีการตัดนอกพิมพ์ เนื่องจากการสร้างแบบแม่พิมพ์ที่มีมาตรฐาน ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นฝีมือช่างหลวง เป็นการสร้างแบบแม่พิมพ์ของช่างผู้มีความรู้ในเชิงช่างชั้นครูอย่างแท้จริง จึงมีความครบถ้วนและคมชัด ซึ่งดูได้จากอักขระเลขยันต์ที่ประทับอยู่ด้านหลัง นอกจากนี้ยังมีแบบหลังเรียบอีกด้วย แต่เนื้อหาจะอยู่ในประเภทเนื้อผงแก่น้ำมันทั้งสิ้น มีอานุภาพนานัปการ ทั้งเมตตามหานิยม แคล้วคลาด เจริญก้าวหน้า ปกป้องคุ้มครอง อยู่ร่มเย็นเป็นสุข และคงกระพันชาตรี ใช้แทนพระสมเด็จโตได้อย่างสนิทใจ หายากน่าเก็บน่าใช้อีกละคราฟ ******************************************************************ราวปีพ.ศ.2462 รัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าฯ ให้ "หลวงปู่นาค" เป็นเจ้าพิธีในการสร้างพระพิมพ์สมเด็จมฤคทายวันขึ้น เป็นพระเนื้อผงทรงสี่เหลี่ยม คล้ายพระสมเด็จวัดระฆังฯ ของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เนื้อหามวลสารประกอบด้วยปูนเปลือกหอยเป็นมวลสารหลัก ที่สำคัญคือ "ผงตรีนิสิงเห" อันเป็นผงวิเศษหลักในการสร้างพระสมเด็จ มาตั้งแต่ครั้งสมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) จนถึงท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) มีอานุภาพนานัปการ ทั้งเมตตามหานิยม แคล้วคลาด และคงกระพันชาตรี ผงตรีนิสิงเห นำมาผสมรวมกับมวลสารมงคลอื่นๆ แล้วใช้น้ำมันตั้งอิ้วกับน้ำมันลินสีดเป็นตัวประสาน เนื้อมวลสารที่เป็นปูนเปลือกหอยก็จะอมน้ำมันทำให้เนื้อขององค์พระแลดูชุ่ม และนุ่ม ส่วนผงตรีนิสิงเหนั้นไม่อมน้ำมัน จึงปรากฏเป็นผงสีเหลืองนวลแทรกอยู่ในเนื้อขององค์พระ ลักษณะเหมือนถั่วตัดสวยงามมาก พระผงน้ำมันวัดมฤคทายวัน เป็นเนื้อผงปูนปั้น ผสมน้ำมันทั้งหมด มีหลากสีคือ ขาว, ดำ, แดง, เหลือง, ส้ม โดยสีขาวที่เรียกกันทั่วไปว่าเนื้อกระดูก เป็นเนื้อนิยมสูงสุด เอกลักษณ์จากพิมพ์ทรงการตัดขอบและเนื้อหาที่ละเอียด หนึกนุ่ม ปกคลุมด้วยน้ำมันที่แห้งผาก พระมฤคทายวัน มีหลายพิมพ์เท่าที่วงการยอมรับไม่ต่ำกว่า 20 พิมพ์ โดยแบ่งเป็นหมวดหมู่ใหญ่ๆ ดังนี้ 1.พิมพ์สมเด็จปรกโพธิ์ มี 2 ขนาด คือ ใหญ่, เล็ก พิมพ์ใหญ่แยกเป็นพิมพ์ลึก, ตื้น 2.พิมพ์สมเด็จ 3 ชั้น แบ่งเป็น 3 พิมพ์คือ ใหญ่, กลาง, เล็ก 3.พิมพ์สมเด็จ 7 ชั้น แบ่งเป็น 3 พิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่พิเศษอกร่อง, พิมพ์อกร่อง, อกตัน 4.พิมพ์นางกวัก เป็นพิมพ์ที่มีมากที่สุดแบ่งได้ 4 ขนาดใหญ่พิเศษ (จัมโบ้) ใหญ่, กลาง, เล็ก, จิ๋ว 5.พิมพ์ชินราช แบ่งเป็น 3 พิมพ์คือใหญ่, กลาง, เล็ก 6.พิมพ์ 3 เหลี่ยม แบ่งเป็น 3 พิมพ์ คือ ใหญ่, กลาง, เล็ก 7.พิมพ์พระศรีอาริย์ มีพิมพ์เดียว 8.พิมพ์ป่าเลไลยก์ มีพิมพ์เดียว ทุกพิมพ์มีเอกลักษณ์เฉพาะคือ จะเป็น กรอบกระจก เช่นเดียวกับเกศไชโย และมีการตัดขอบสำเร็จในพิมพ์ ไม่มีการตัดนอกพิมพ์ เนื่องจากการสร้างแบบแม่พิมพ์ที่มาตรฐาน ซึ่งเชื่อว่าเป็นฝีมือช่างหลวง เป็นการสร้างแบบแม่พิมพ์ของช่างผู้มีความรู้ในเชิงช่างชั้นครู อย่างแท้จริง เลอเลิศทั้งอักขระเลขยันต์ประทับด้านหลัง นอกจากนั้นยังมีแบบหลังเรียบอีกด้วย ซึ่งมีจำนวนน้อย และหายากกว่า สมเด็จวัดมฤคทายวัน พิมพ์ปรกโพธิ์ นั้นได้รับความนิยมและมีราคามากที่สุด พุทธลักษณะแม่พิมพ์ ด้านหน้าองค์พระประธานประทับนั่ง แสดงปางสมาธิอยู่เหนืออาสนะ ด้านหลังเป็นโพธิบัลลังก์ ภายในซุ้มเรือนแก้ว ส่วนแม่พิมพ์ด้านหลัง เป็นยันต์ตรีนิสิงเห พิธีพุทธาภิเษกจัดอย่างยิ่งใหญ่ สมบูรณ์ ทั้งพิธีหลวงและพิธีพราหมณ์ รวมถึงพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้นร่วมปลุกเสก และหลวงปู่นาคปลุกเสกด้วยตนเองอีกรอบหนึ่ง จัดเป็นสิ่งมงคลเมืองเพชร-พระสมเด็จมากพุทธคุณ ซึ่งหายากมากแล้ว ในปัจจุบัน