รุ่นนี้ เมื่่อก่อน เป้นพันครับ ศิลปะ สวยงาม สวยๆ
..................................
เหรียญหล่อฉลุบรรจุกริ่ง เนื้อสัมฤทธิ์
พระพุทธสิหิงค์ กริ่งวินยาภรณ์ 26 ศตวรรษ พ.ศ.2555
วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร นครศรีธรรมราช
พระพุทธสิหิงค์.....สร้างโดยเจ้าลังกา 3 พระองค์ โดยร่วมพระทัยกันกับพระอรหันต์ในเกาะลังกา ราวๆปี พ.ศ.700 ซึ่งตำนานบันทึกว่า มีความตั้งใจจะให้ได้พระพุทธรูปเหมือนองค์พระพุทธเจ้าจริง ๆ พญานาคซึ่งเคยเห็นองค์พระพุทธเจ้า จึงมาแปลงกายให้ดูเป็นแบบและตัวอย่างในการปั้นองค์พระ
ระหว่าง พ.ศ.1820 ถึง 1860 พระภิกษุลังกาเข้าสู่ประเทศสยาม กิตติศัพท์เลื่องชื่อถึงพระพุทธรูปลักษณะที่งดงามซึ่งมีพลังศักดิ์สิทธิ์ตามติดมาด้วย พ่อขุนรามคำแหงฯ ทรงทราบจึงทูลถึงวัตถุประสงค์ผ่านพระเจ้าศรีธรรมโศกราช ให้แต่งตั้งทูตเชิญพระสาส์นไปขอประทานพระพุทธสิหิงค์จากเจ้ากรุงลังกา
เมื่อได้ตามพระราชประสงค์ พระเจ้าศรีธรรมโศกราชจึงได้ส่งพระพุทธสิหิงค์มายังกรุงสุโขทัย โดยทางเรือขึ้นฝั่งที่ นครศรีธรรมราช และมีการจัดงาน พิธีสมโภชใหญ่เป็นเวลา 7 วัน
พ่อขุนรามคำแหง ทรงเสด็จไปรับพระพุทธสิหิงค์ถึงนครศรีธรรมราชด้วยพระองค์เอง แล้วอัญเชิญมาประดิษฐาน ณ กรุงสุโขทัย พระมหากษัตริย์กรุงสุโขทัยทุกพระองค์ได้ทรงเคารพบูชาพระพุทธสิหิงค์ตลอดมา
ล่วงถึงปีพ.ศ. 2334 สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดเกล้าฯให้ สมเด็จพระอนุชาธิราชกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ยกกองทัพไปขับไล่กองทัพพม่าพ้นเมืองเชียงใหม่ จึงได้ทรงอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐาน ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ จนถึงปัจจุบัน
ในเมืองไทยมี พระพุทธสิหิงค์ อยู่ 3 องค์ คือ
1. พระพุทธสิหิงค์ ปางสมาธิเนื้อโลหะสัมฤทธิ์ ประดิษฐานในพระที่นั่งพุทไธศวรรย์ กรุงเทพฯ
2. พระพุทธสิหิงค์ ปางมารวิชัยขัดสมาธิเพชร (ลงรักปิดทอง) ประดิษฐานในวัดพระสิงห์ เชียงใหม่
3. พระพุทธสิหิงค์ ปางมารวิชัยขัดสมาธิเพชร เนื้อสัมฤทธิ์ ประดิษฐานในหอพระพุทธสิหิงค์ นครศรีธรรมราช
โดยพระพุทธสิหิงค์ที่ประดิษฐานในหอพระพุทธสิหิงค์ที่ นครศรีธรรมราช เป็นพระพุทธรูปศิลปะแบบขนมต้ม มีลักษณะตามสกุลช่างท้องถิ่น พระพักตร์กลม องค์อวบล่ำ แต่อยู่ในสัดส่วนที่งดงาม เป็นพระพุทธรูปที่ชาวนครฯ นับถือว่าศักดิ์สิทธิ์มาก เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง
พระโพธิรังสี ได้บันทึกถึงพลานุภาพของพระพุทธสิหิงค์ไว้หลายตอน มีข้อความบางตอนว่า พระพุทธสิหิงค์หามีชีวิตได้ก็จริง แต่มีอิทธานุภาพด้วยเหตุ 3 ประการ คือ
1. อธิษฐานพละของพระอรหันต์
2. อธิษฐานพละของเจ้าลังกาหลายพระองค์
3. ศาสนพละของพระพุทธเจ้า
โดยหมายถึงกำลังใจของพระอรหันต์และกำลังใจของเจ้าลังกา พร้อมทั้งกำลังแห่งพระพุทธศาสนากระทำให้พระพุทธสิหิงค์เป็นพระพุทธปฏิมากรที่ทรงในพลานุภาพ ด้วยพลังแห่งศรัทธา เมื่อประทับอยู่ ณ ที่ใด ย่อมทรงทำให้พระพุทธศาสนารุ่งเรืองดั่งดวงประทีปชัชวาล เสมือนหนึ่งว่าพระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์ชีพอยู่
----------------------------------------------
ล่วงถึงกาลร่วมเฉลิมฉลอง 2600 ปีแห่งการตรัสรู้ของพระพุทธองค์ หรือพุทธชยันตี ชาวนครศรีธรรมราชจึงได้ย่อส่วนของพระพุทธสิหิงค์ ขยายอาณาพลังแห่งพุทธศาสตร์สร้างพลังศรัทธาแก่ตัวผู้เลื่อมใส
โดยวัดพระมหาธาตุฯ ได้จัดสร้างพระพุทธสิหิงค์ รุ่น 26 ศตวรรษขึ้น นับเป็นรุ่นแรกของวัดพระมหาธาตุฯ และถือเป็นครั้งแรกและเป็นประวัติศาสตร์แห่งองค์พระพุทธสิหิงค์ ชนวนมวลสารสำคัญที่นำมาจัดสร้างมีมากมาย เช่น ชนวนจากพระเกจิอาจารย์ทั่วประเทศ โดยสร้างเป็นเหรียญฉลุแล้วบรรจุเม็ดกริ่งจากชนวนพระกริ่ง 155 ปี สมเด็จพระสังฆราชแพ วัดสุทัศน์ ไว้ภายในเหรียญ ได้รับการกล่าวขานนามเรียกขานจากเจ้าอาวาสวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร นครศรีธรรมราช ตั้งชื่อว่า “กริ่งวินยาภรณ์”
พิธีมหาพุทธาภิเษกอย่างยิ่งใหญ่ มีสุดยอดพระเกจิอาจารย์สายใต้รวมพลัง ร่วมปลุกเสก ณ มณฑลพิธีวิหารหลวง วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เมื่อวันที่ 22 ก.ย. 2555 ตรงกับวันเสาร์ ขึ้น 9 ค่ำเดือน 10 เวลามหาฤกษ์ 15.39 น.