เริ่ม 40 บาท ครับ เอาพระแท้ๆ มาแบ่งปันครับ
พระวัดระฆังหลังฆ้อน ปี 2453 เนื้อทองผสม
วัดระฆังโฆสิตาราม กทม.(ตัดหัว ตัดท้าย ยุคต้น) หายากมาก
ตัวจริง ทันแท้ ดูง่าย ครับ น่าแขวนมากๆครับ
+ บัตรรับรองสมาคมพระเครื่องพระบูชาไทย
สำหรับพระคณาจารย์ที่ร่วมพิธีปลุกเสกในสมัยนั้น
มีจำนวนถึง ๖๐ รูป อาทิ
หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก, หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง,
หลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่, หลวงพ่อพ่วง วัดกก,
กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์, หลวงพ่อชู วัดนาคปรก,
หลวงพ่อสาย วัดอินทราราม (ใต้), ""หลวงปู่่ใจ วัดเสด็จ
"" ""หลวงพ่อคง วัดบางกะพร้อม"", หลวงพ่อบ่าย วัดช่องลม,
หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้, หลวงพ่อฉุย วัดคงคาราม,
""หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก"", "หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว",
"หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดั"น, พระสังวรานุวงศ์เถร (ชุ่ม) วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ),
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (นวม) วัดอนงคาราม, ""หลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน"",
""หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า,"" ""หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ ""ฯลฯ
(จากบันทึกประวัติที่ พระราชธรรมภาณี รองเจ้าอาวาสวัดระฆัง เมื่อปี ๒๕๑๓ ซึ่งสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ อิศรางกูร ณ อยุธยา) เป็นพระอุปัชฌาย์ของท่าน) การสร้าง พระสมเด็จ เนื้อโลหะทองผสม รุ่นนี้ เริ่มด้วยการส่งแผ่นทองเหลืองไปถวายพระอาจารย์ต่างๆ ทั้งใน จ.พระนคร (กทม.) ธนบุรี และต่างจังหวัด จำนวนมากให้ท่านลงจารอักขระเลขยันต์ แล้วส่งคืนกลับมา เมื่อรวมแผ่นทองเหลืองที่ลงเลขยันต์เสร็จแล้ว จึงเริ่มพิธีโดยอาราธนาพระเถรานุเถระ ผู้ทรงวิทยาคุณ ทำพิธีปลุกเสกแผ่นทองเหลือง ที่จะหล่อหลอมเทเป็นองค์พระ เมื่อเททองเป็นองค์พระแล้ว จึงเลื่อยออกเป็นกิ่งๆ จากแกนชนวน แล้วจึงเลื่อยตัดออกเป็นแท่งๆ ลักษณะของแท่งพระ เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ความกว้างประมาณ ๓ ซม. ความยาวประมาณ ๕ ซม.ความหนาประมาณ ๐.๕ ซม. หลังจากเลื่อยตัดจากช่อแล้ว พระแต่ละองค์จะติดกันเป็นแพ ต้องใช้เลื่อยเฉือนบากออกตรงรอยต่อระหว่างองค์ แล้วใช้ฆ้อนเคาะกระแทกให้องค์พระแต่ละองค์แยกออกจากกัน อันเป็นที่มาของชื่อ หลังฆ้อน พระบางองค์อาจจะมีรอยฆ้อนกระแทกยุบลงไปบ้าง บางองค์ก็ไม่มี จะมีก็แต่เพียงรอยตะไบแต่งเท่านั้น
พระเกจิ ระดับประเทศ ราคาหลักล้านทั้งนั้น ครับ
ที่มาร่วมปลุกเสก ที่ วัดระฆังโฆสิตาราม กทม.