พระยอดอัฏฐารส เนื้อชินเขียว (พระเครื่องยอดอัฏฐารส)
พระยอดอัฏฐารสสวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงพระกรุเนื้อชินกัน พระเครื่องเนื้อชินชนิดหนึ่งซึ่งเป็นเนื้อชินที่แตกต่างไปจากเนื้อชินเงิน และชินตะกั่ว ก็คือพระเนื้อชินเขียว และพระเนื้อชินเขียวก็เป็นพระที่มีการทำปลอมกันมาช้านาน โดยส่วนมากที่พบเห็นจะเป็นของปลอมเสียส่วนใหญ่ แต่ความจริงแล้วพระเนื้อชินเขียวก็มีที่เป็นพระกรุ พระเก่าครับ เช่น พระร่วงทรงเกราะของสุโขทัย และพระยอดอัฏฐารสของพิษณุโลก และมีสนน ราคาสูงเสียด้วย แต่ก็หาของแท้ๆ ยากครับ ในวันนี้ เราจะมาคุยกันถึงพระยอดอัฏฐารสกันซักหน่อย
พระยอดอัฏฐารส นั้นหมายถึงพระเครื่องที่ขุดพบที่บริเวณพระเศียรของพระอัฏฐารส ซึ่งพระอัฏฐารสนี้เป็นพระพุทธรูปปางประทับยืนองค์ใหญ่ที่วัดพระศรีมหาธาตุ (วัดใหญ่) เมืองพิษณุโลกครับ หรือพูดง่ายๆ ก็คือวัดพระพุทธชินราชนั่นเองครับ พระอัฏฐารสนี้ประดิษฐานอยู่ตรงบริเวณด้านหลังพระวิหารพระพุทธชินราชทางด้าน ทิศตะวันตกประมาณปี พ.ศ.2420 มีพวกลักลอบขุดสมบัติและได้เจาะตรงบริเวณพระเศียรของพระอัฏฐารส และพบพระเครื่องเนื้อชินเขียวด้านหน้าเป็นพระปางลีลา ด้านหลังเป็นพระพิมพ์ซุ้มอรัญญิกเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ ก็ยังมีการขุดพบพระเครื่องที่บริเวณส่วนฐานขององค์พระอัฏฐารสอีกเป็นจำนวน มาก มีอยู่ด้วยกันหลายพิมพ์ แต่ส่วนมากเป็นพระเนื้อชินเงิน พระเครื่องส่วนที่พบบริเวณพระเศียรจึงเรียกกันว่า "พระยอดอัฏฐารส" และแปลกที่พระทั้งหมดเป็นพระเนื้อชินเขียวทั้งสิ้น
การขุดโดยพวก ลักลอบครั้งนี้ทำให้องค์พระอัฏฐารสเสียหายชำรุดลง โดยส่วนพระเศียรนั้นได้หักลงมา ส่วนฐานและส่วนพระกรก็ชำรุดไปด้วยจากการขุดในครั้งนั้น ต่อมาในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้บูรณะซ่อมแซมใหม่โดยกรมศิลปากร ดังที่เราได้เห็นในปัจจุบันนี้ครับ พระเครื่องยอดอัฏฐารสเท่าที่สำรวจดู สามารถแยกได้เป็นพระยอดอัฏฐารส พิมพ์ใหญ่ พระยอดอัฏฐารส พิมพ์กลาง และพระยอดอัฏฐารสพิมพ์เล็ก พระส่วนใหญ่จะเป็นพิมพ์สองหน้า ซึ่งด้านหน้าจะเป็นพระปางลีลา ส่วนด้านหลังจะเป็นพระพิมพ์ซุ้มอรัญญิก พระอีกส่วนหนึ่งซึ่งเป็นพิมพ์ที่ไม่เหมือนที่กล่าวมาในขั้นต้นก็จะเป็นพิมพ์ ลีลา สองหน้าก็มี เป็นพิมพ์ซุ้มอรัญญิกสองหน้าก็มีบ้าง แต่เป็นส่วนน้อยครับ
พระเนื้อชินเขียวที่เป็นของแท้นั้น จะเป็นพระเนื้อชินแข็ง มีคราบสนิมเป็นสีดำ อยู่ที่ผิวชั้นแรก และมีสนิมไขขาวขึ้นจับปกคลุมอยู่ชั้นบน สีของพระที่เราเห็นในส่วนที่ไขขาวจับทับหุ้มผิวสนิมสีดำเอาไว้อยู่ด้านบน จึงเป็นสีออกเขียวๆ ปนดำ เนื่องจากผิวสนิมสีดำอยู่ด้านล่างนั่นเองครับ ในส่วนที่ไขขาวบางหน่อยก็จะเห็นผิวสนิมที่เป็นสีดำ และบางส่วนก็จะมีคราบสีน้ำตาลอ่อนจับอยู่เป็นบางช่วง ตัวสนิมไขขาวจะขึ้นเป็นเม็ดๆ ซ้อนทับกันสลับซับซ้อนในองค์ที่สนิมสมบูรณ์ไม่ผ่านการใช้ จะเห็นเนื้อสนิมทับถมกันเป็นพรืด เป็นดวงเขียวๆ สลับดวงดำๆ สาเหตุนี้เองโบราณาจารย์ท่านจึงเรียกพระเนื้อชินชนิดนี้ว่าเป็น "เนื้อชินเขียว" และเรียกสนิมชนิดนี้ว่า "สนิมไขแมงดา" ซึ่งจะพบเห็นในพระเนื้อชินเขียว เช่น พระยอดอัฏฐารส และพระร่วงทรงเกราะเท่านั้น
- รับประกันแท้ 100% งานประกวดโต๊ะเนื้อชินเขียวครับ
Read more