พระงบน้ำอ้อย เนื้อดิน หลวงปู่ยิ้ม วัดเจ้าเจ็ด จ.อยุธยา พ.ศ. 2460-2470 (สภาพสวย) ครับ
**หลวงปู่ยิ้ม วัดเจ้าเจ็ดผู้เป็นหนึ่งใน "สามเสือแห่งกรุงเก่า"
หลวงปู่ยิ้ม วัดเจ้าเจ็ดใน จ. พระนครศรีอยุธยา เป็นอาจารย์ร่วมสมัยเดียวกับ หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก และหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค
ท่านจึงเป็นพระอาจารย์อาวุโส มรณภาพเมื่อปี ๒๔๙๙ (อายุ ๘๑ ปี) หลังหลวงพ่อปาน ๑๘ ปี ( ๒๔๙๙ - ๒๔๘๑ )
แต่ก่อนหลวงพ่อจงราว ๘ ปี ( ๒๔๙๙ � ๒๕๐๗ ) วัดของท่านเหล่านี้อยู่ไม่ไกลกันนัก ท่านเป็นสหธรรมมิก และคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี
จนชาวอยุธยาเรียกกันติดปากว่า
#พระหมอหลวงพ่อปานเกจิอาจารย์หลวงพ่อจงเมตตาไหลหลงหลวงปู่ยิ้มอยู่คงทั้งมีดและปืน�
หลวงพ่อทั้ง ๓ มีความสนิทสนมกลมเกลียวกันยิ่งนัก ต่างคนต่างผลัดไปมาหาสู่ต่อวิชา ซึ่งกันและกันที่วัดของแต่ละองค์ ครั้งละหลายๆ วัน
ชาวกรุง เก่าที่รู้ซึ้ง จึงกระซิบต่อๆ กันว่า พระเครื่องของทั้ง ๓ องค์นี้พุทธคุณขลังเหมือนกัน ทั้งเมตตามหานิยม แคล้วคลาดและคงกระพันชาตรี
เมื่อต่างองค์ต่างสร้างพระเครื่องฯ เพื่อสืบทอดพระศาสนาต่างก็มานั่งปรกพุทธาภิเษก แทบทุกๆครั้งไป
เหตุการณ์ สำคัญเช่นการปลุกเสกทราย และขึ้นเครื่องบินโปรยลงสถานที่สำคัญๆ ในประเทศไทย เมื่อครั้งสมัยสงครามอินโดจีนฯ ช่วง พ.ศ. ๒๔๘๕
ฝรั่งเศสที่ต้องการจะยึดดินแดนของไทยเป็นประเทศใน อาณานิคม มีผลร้ายแรง พอๆ กับ สงครามโลกครั้งที่สองเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕
ซึ่งเป็นเรื่องของความสามัคคี เพื่อให้สถาบันชาติอยู่ได้ สถาบันศาสนาอยู่ได้ และสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่ได้ และสืบต่อพระศาสนา ให้มีความเจริญรุ่งเรืองสืบไป.
พระเครื่องของหลวงพ่อยิ้มนั้น เนื้อขององค์พระเป็นพระเนื้อดินเผา ซึ่งดินนั้นได้จากดินขุยปูตามทุ่งนา และดินที่ขุดมาจากทุ่งนาเป็นเนื้อดินละเอียดมาก แต่ก็มีเม็ดกรวดเม็ดทราย เม็ดเล็กเม็ดใหญ่ปนอยู่บ้าง หรืออาจมีเศษเปลือกหอย เศษไม้ปะปนก็มีบ้างเป็นบางองค์
แต่พระหลวง ปู่ยิ้มเนื้อต้องแห้งและแกร่งมากเนื่องจากความเก่าและอายุมากหลายสิบปี
บางองค์หากเผาแล้วจะมีเนื้อแร่ถูกเผาไหม้ติดอยู่ที่องค์พระ (แร่หมัดไฟ)
ลักษณะรูปพรรณสัณฐานแบ่งเป็นหลายพิมพ์ ซึ่งถ่ายทอดออกมาตามพุทธประวัติ ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
หากแต่พระทั้งหมดใช้กรรมวิธีเดียวกันในการสร้าง ลักษณะจึงคล้ายๆ กัน โดยสังเกตทางด้านหลังขององค์พระจะมีรอยถากของไม้กระดาน
ซึ่งเกิดจากการถอดพิมพ์พระ โดยการวางด้านหลังของพิมพ์พระซึ่งเป็นเนื้อดินเหนียวกดลงไปบนไม้กระดานและจึงถอดพิมพ์พระออกมาและตากแดดจนแห้ง ด้านหลังจึงเป็นรอยถากของไม้กระดานทุกองค์ ชัดเจนบ้างไม่ชัดเจนบ้างก็สุดจะแล้วแต่
พระเครื่องเนื้อดินเผาของหลวงพ่อยิ้ม จึงกระจายออกไปสู่ส่วนกลางเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะพิมพ์งบน้ำอ้อย
ซึ่งมีจำนวนการสร้างมากที่สุด และมีอยู่หลายแม่พิมพ์ ขนาดใกล้เคียงกัน เป็นรูปของพระนั่งหันพระเกศเข้าสู่ศูนย์กลาง ห้าองค์บ้าง หรือสิบองค์บ้าง บางองค์ที่ผ่านการสัมผัสบูชา ถูกไออุ่น หรือไอเหงื่อก็จะมีสีเข้มขึ้น
อายุการสร้างก็มากกว่า 60 ปีล่วงมาแล้ว อายุไม่หย่อนกว่าพระเครื่องหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค และเป็นพระเครื่องที่มีวัตถุ ประสงค์การสร้างที่บริสุทธิ์ และพระเถระผู้สร้างก็บริสุทธิ์อีกด้วยครับ