หลวงปู่ทวดพิมพ์เล็ก เนื้อว่านกิมจ้อ วัดควนวิเศษ จ.ตรัง ปี2506 หลังไม่มียันต์ บัตร
ตำนานการสร้าง พระหลวงปู่ทวด วัดควนวิเศษ จังหวัดตรัง เข้าพิธีปลุกเสกเมื่อวันที่ 26, 27, 28 มีนาคม พ.ศ. 2506 ปลุกเสกกันสามวันสามคืน
จัดตามตำราของอาจารย์เทพ สาริกบุตร และตำรับการสร้างของวัดสุทัศน์เทพวราราม โดยอาศัยการแนะนำของท่านเจ้าคุณพระเทพสิทธินายก
(หลวงปู่นาค วัดระฆัง) จังหวัดธนบุรี และท่านพระครูสังฆรักษ์ (พระ ร.ต.อ. สมฤกษ์ วัดราชสิทธาราม) จังหวัดธนบุรี
พระอาจารย์ทิม วัดช้างให้ ได้กล่าวเป็นอมตะวาจา ใว้ว่า "พระเครื่องเนื้อว่านหลวงปู่ทวด ชุดวัดควนวิเศษ ผู้ใดไม่อาจหาหลวงพ่อทวด วัดช้างให้
ไว้คุ้มครองได้ ก็ขอให้ใช้พระเครื่องหลวงปู่ทวด ที่สร้างที่วัดควนวิเศษ แทนกันได้อย่างแน่นอนที่สุด" อ้างอิงจาก หนังสือตำนานพระเครื่องเมืองตรัง
..................................................................................................................................................................
ประวัติการสร้างพระเครื่องหลวงปู่ทวด วัดควนวิเศษ
พระเครื่องหลวงปู่ทวด วัดควนวิเศษ ซึ่งมีพิธีพุทธาภิเษกที่ยิ่งใหญ่ถูกต้อง ตามตำราโบราณ มีเกจิอาจารย์มาเข้าร่วมพิธีปลุกเสกกันหลายสาย
พระอาจารย์ที่ได้นิมนต์มาปลุกเสกในครั้งนี้นั้น นอกจากพระเถระชั้นผู้ใหญ่ทั้ง 9 รูปที่ได้เจริญพระพุทธมนต์ในคืนแรกแล้ว ก็ได้นั่งปรกปลุกเสกและพุทธาภิเษก
ทั้ง 3 คืน ดังมีรายนามต่อไปนี้สายวัดระฆัง พระเทพสิทธินายก (หลวงปู่นาค) เป็นประธานเททองและพุทธาภิเษก สายหลวงพ่อทวด พระครูวิสัยโสภณ
(อาจารย์ทิม) วัดช้างไห้ จังหวัดปัตตานี สายเขาอ้อ พระครูพิพัฒน์สิริธร (อาจารย์คง) วัดบ้านสวน จังหวัดพัทลุง, อาจารย์หมุน วัดเขาแดงออก จังหวัดพัทลุง,
พระอาจารย์นำ (อาจารย์ของ พลต.ต. ขุนพันธ์รักษ์ราชเดช) วัดดอนศาลา จังหวัดพัทลุง, พระพุทธิธรรมธาดา วัดสุวรรณวิชัย อ.ควนขนุน จังหวัดพัทลุง
นอกจากนั้นยังมีพระครูไพศาลพัฒนกิจ (อาจารย์รอด) วัดประดู่พัฒนาราม จังหวัดนครศรีธรรมราช, พระครูพิศาลวิหารธรรม วัดวังตะวันตก
จังหวัดนครศรีธรรมราช, พระครูโอภาส วุฒิคุณ (หลวงพ่อแสง วัดคลองน้ำเจ็ด) จังหวัดตรัง, พระครูสถิตธรรมโสภณ (อาจารย์คลิ้ง วัดศรีสุรรรณาราม)
จังหวัดตรัง, พระราชสารโสภณ วัดตันตยาภิรมณ์ เจ้าคณะจังหวัดตรัง, หลวงพ่อรุ่ง วัดตรังคภูมิ จังหวัดตรัง, พระครูสังฆรักษ์ (พระ ร.ต.อ. สมฤกษ์ วัดราชสิทธาราม)
จังหวัดธนบุรี นอกจากพระอาจารย์ที่นั่งปลุกเสกตามที่กล่าวมาแล้ว ยังมีพระอาจารย์สวดพุทธาภิเษกอีกโดยการนำสวดของท่านอาจารย์พระครูกาแก้ว
วัดอินทราวาส จังหวัดพัทลุง พร้อมด้วยคณะอีก 4 รูป เพราะท่านชำนาญในการสวดพุทธาภิเษก และเคยสวดมาแล้วหลายครั้งในสมัยที่ท่านอยู่กรุงเทพฯ
เหตุที่ได้จัดสร้างพระหลวงพ่อทวด วัดควนวิเศษ เนื่องจากอุโบสถ ชำรุดทรุดโทรมจึงต้องจัดสร้างขึ้นมาใหม่ ท่านพระครูปราโมทย์ธรรมวัฒน์ได้จัดหาทุนโดย
การไปเช่าบูชาวัตถุมงคลของวัดช้างไห้ทุกอย่างที่มีจำนวนมากนำมาบอกบุญให้ญาติโยมมาเช่าบูชา ประชาชนให้ความสนใจมาก เพราะไม่ต้องเดินทางไปไกล
อาทิตย์เดียวก็หมด ท่านพระครูปราโมทย์ธรรมวัฒน์ ได้เดินทางไปกลับวัดช้างให้ เพื่อนำวัตถุมงคลมาไห้ประชาชนบูชาอยู่หลายครั้งในสมัยนั้นการเดินทาง
เป็นไปด้วยความลำบาก แต่เงินทุนที่จะนำมาสร้างอุโบสถ และหล่อพระประธานใหม่นั้นยังขาดอีกมาก พระอาจารย์ทิมจึงแนะนำให้ทางวัดควนวิเศษ
จัดสร้างพระขึ้นมาเสียเองท่านพระครูปราโมท จึงได้ติดต่อหาผู้มีประสบการณ์เกี่ยวกับการสร้างพระเครื่องและจัดพิธีพุทธาภิเษก และหาวาน108ชนิด
จากหลวงพ่อแสง วัดอยู่ใกล้กับเขาตาชี และได้รวบรวมผงและดินสังเวชนียสถานสี่ตำบลในอินเดีย ดินจากที่สำคัญหลวงปู่ทวดเช่น ดินฝังรก, ดินที่นาเปล,
ดินที่ต้นไม้เท้า, ดินที่วัดดีหลวงที่หลวงปู่ทวดเคยอยู่และก่อเจดีย์ไว้, ดินและเถ้าธูปวัดช้างให้, ดินจากพระศรีวิชัยดินดิบที่แตกหักจากถ้ำเขาสายและเขาขาว,
ดินหลักเมืองทั้งเจ็ด, ดินกากายายักษ์ที่วัดลำพระยา, ดินและเถ้าธูปจากวัดและสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และแร่วิเศษ, ผงจากคัมภีร์ใบลานและสมุดข่อยของโบราณซึ่ง
ได้บันทึกเป็นอักขระอักษรขอมจากวัดเก่าหลายๆวัด, สะเก็ดดาว, ตะไคร่เสมาจากวัดเก่าต่างๆ, ผงอิทธิเจ, ผงเทพลำพึงและผงพระเก่าจากหลวงพ่อแสง
วัดคลองน้ำเจ็ดรวมทั้งพระหลวงปู่ทวด ที่แตกหักชำรุดที่เอามาจากวัดช้างให้ เพื่อให้ญาติโยมบูชาในครั้งแรกๆ เอาของทั้งหมดมาบดรวมกันเป็นผงใส่กระสอบ
แล้วท่านพระครูปราโมทย์ ก็ได้ไปนมัสการ หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม นครปฐม เพื่ออาราธนามานั่งปรกในงานพิธีพุทธาภิเษก แต่ท่านชราภาพไม่สะดวก
ในการเดินทางไกล จึงได้ถวายผงและว่านที่เตรียมไว้ให้ท่านปลุกเสกให้จนเต็มที่ และนมัสการลาไปวัดดอนยายหอม จังหวัดนครปฐม เพื่อนมัสการหลวงพ่อเงิน
เพื่ออาราธนามานั่งปรกในงานพิธีพุทธาภิเษก แต่ท่านชราภาพไม่สะดวกในการเดินทางไกล จึงนมัสการให้ท่านปลุกเสกผงและว่านที่เตรียมไว้ แล้วหลวงพ่อเงิน
ยังมอบเหรียญ พระเครื่อง และผงวิเศษของท่านเข้าร่วมสร้างพระเครื่อง พร้อมสมทบทุนในการสร้างอุโบสถและหล่อพระประธานด้วย พระครูปราโมทย์ได้
เดินทางไปวัดระฆังเพื่อกราบเรียนเชิญ ท่านเจ้าคุณพระเทพสิทธินายก (หลวงปู่นาค) เจ้าอาวาสวัดระฆังมาเป็นประธานเททองและพุทธาภิเษก หลวงปู่นาค
เดินทางมาร่วมงานจนเสร็จพิธีในงานนี้ และยังได้มอบพระเครื่องเนื้อผงพิมพ์สมเด็จ และพระพิมพ์รูปเหมือนสมเด็จพระพุทธาจารย์โต ไปแจกหาทุนหล่อ
พระประธานอีกด้วย
การประกอบพิธีพุทธาภิเษกและเททองมีขึ้นใน วันที่ 26-28 มีนาคม 2506 การจัดปริมณฑลพิธีได้ใช้แบบของอาจารย์เทพสาริกบุตรที่ใช้ในวัดสุทัศน์เทพวราราม
โดยมีหลวงปู่นาค วัดระฆัง ได้แนะนำแก้ไขเพิ่มเติมด้วยความเมตตานอกจากนั้นยังได้ พระครูสังฆรักษ์ (ร.ต.อ.สมฤกษ์) วัดพลับธนบุรีมาช่วยพิธีอีกแรงหนึ่ง
พระหลวงปู่ทวด วัดควนวิเศษ พอจะแบ่งออกเป็น 5 พิมพ์
พิมพ์ใหญ่กลักไม้ขีด หลังยันต์ และไม่มียันต์
พิมพ์ใหญ่จัมโบ (แป๊ะยิ้ม) หลังยันต์ และไม่มียันต์
พิมพ์ใหญ่ธรรมดา หลังยันต์ และไม่มียันต์
พิมพ์กลาง หลังยันต์ และไม่มียันต์
พิมพ์เล็ก หลังยันต์ และไม่มียันต์