วัดกลางคูเวียง เป็นวัดราษฎร์ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำท่าจีน ในเขต ต.สัมปทวน อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม เป็นวัดเก่าแก่มาแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ถิ่นฐานเดิมบริเวณบ้านสัมปทวน ในละแวกวัดเป็นชาวลาวที่อพยพมาจากเมืองเวียงจันทน์ ในสมัย ร.2 ที่พระองค์ได้ทำสงครามชนะลาว จึงได้กวาดต้อนชาวลาว มาตามลุ่มแม่น้ำท่าจีน จนถึง บ้านสัมปทวน
ชาวลาวที่อพยพมาในครั้งนี้มีเจ้านายคนสำคัญร่วมขบวนมาด้วย คือเจ้าเมืองซ้าย และพระชายาหม่อมเจ้าโสภี หลังจากที่ได้ตั้งถิ่นฐานเรียบร้อยแล้ว เจ้าเมืองและพระชายา ได้เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญในการบูรณะวัดร้างที่ชาวบ้านเรียกว่า วัดกลาง ที่อยู่ในละแวกชุมชนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ เพื่อให้ชาวลาวที่อพยพมาได้ประกอบกิจกรรมทางพุทธศาสนา ตามประเพณีของชาวลาว แต่เพราะเหตุที่วัดอยู่ท่ามกลางชาวลาวที่อพยพมา ทำให้มีการเรียกชื่อวัดที่บูรณะใหม่ว่า วัดกลางลาว โดยได้อาราธนา พระครูบุญ ชูโต มาเป็นเจ้าอาวาสองค์แรก ในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการเปลียนชื่อวัดใหม่ เป็น วัดกลางคูเวียง ตามลักษณะภูมิประเทศของวัดที่มีคูน้ำล้อมรอบบริเวณวัด
ลำดับเจ้าอาวาสวัดกลางคูเวียงตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
1. พระอาจารย์บุญ ชูโต
2. พระอาจารย์ปลี
3. พระอาจารย์น้อย
4. พระอาจารย์มี
5. พระอาจารย์โลง
6. พระอาจารย์อ่อน
7. พระอาจารย์อ่อนตา
8. พระอาจารย์เทียน
9. พระอาจารย์จั่น
10. พระครูโสภณสาธุการ ( ชื่น เขมจารี )
11. พระครูโสภณสาธุการ ( เชิญ โกสโล )
หลวงพ่อชื่น มีนามเดิมว่า ชื่น ทุยเวียง เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ.2445 ตรงกับวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 6 ปีขาล ที่บ้านกลางหมู่ที่ 1 ต.สัมปทวน อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม บิดาชื่อ นายฝอย มารดาชื่อ นางวัน นามสกุลทุยเวียง ซึ่งท่านทั้งสองเป็นชาวลาว ประกอบอาชีพทำนาเลี้ยงชีพ เมืออายุครบบวช ท่านได้เข้ารับการอุปสมบท ที่อุโบสถวัดสัมปตาก ซึ่งอยู่ใกล้บ้านท่านเอง เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2465 ตรงกับวันเสาร์ แรม 3ค่ำ เดือน 6 ปีจอ เวลา 15.42 น. โดยมี เจ้าคุณพุทธวิถีนายก (หลวงปู่บุญ ) วัดกลางบางแก้ว เป็นพระอุปัฌชาย์ พระปลัดหล่อ วัดกลางบางแก้ว เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการมา วัดลานตากฟ้า เป็นพระอนุสาวนาจารย์ มีฉายาทางพุทธศาสนาว่า ชื่น เขมจารี
หลังจากอุปสมบทแล้ว ท่านได้จำพรรษาอยู่ที่วัดกลางคูเวียง โดยในระหว่างที่จำพรรษาท่านได้ไปศึกษาอักขระภาษาขอมและพุทธาคม กับหลวงปู่บุญ อุปัฌชาย์ของท่าน และท่านยังได้ไปศึกษาพุทธาคมแบบชาวลาวโบราณ กับ หลวงพ่อลี เจ้าอาวาสวัดศีรษะทอง โดยท่านได้ศึกษาร่วมกับหลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทอง ซึ่งในภายหลังท่านทั้งสองได้เป็นสหธรรมิกกัน นอกจากนี้ท่านยังได้ศึกษาวิชาแพทย์แผนโบราณ ตลอดจนเวทย์มนต์คาถารวมทั้งการดูฤกษ์ยามแบบโบราณ กับ หมอเที่ยน สาลีเวียง ซึงในภายหลังท่านได้ใช้วิชาแพทย์แผนโบราณ ตลอดจนการดูฤกษ์ยาม ทำนายโชคชะตา ช่วยเหลือชาวบ้านในละแวกวัดตลอดจนบริเวณใกล้เคียง จนมีชื่อเสียงโด่งดัง เป็นที่นับถือกันมาจนถึงปัจจุบัน ที่หลวงพ่อชื่น ได้ถ่ายทอดสรรพวิชาทั้งมวลให้กับ อ.เชิญ หลานของท่านและเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน
ในวันที่ 12 เมษายน พ.ศ.2472 ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดกลางคูเวียง ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ หลังจากนั้นท่านได้ทำการบูรณะปฏิสังขรณ์ เสนาสนะต่างๆภายในวัด พร้อมกับสร้างโบสถ์หลังใหม่ทดแทนหลังเดิมที่ชำรุดเสียหายจนทำสังฆกรรมไม่ได้ พร้อมกันนั้นท่านได้ทำการรักษาโรคภัยให้กับลูกศิษย์ ด้วยวิชาแพทย์แผนโบราณที่ท่านได้ศึกษามา จนทำให้ท่านมีชื่อเสียงมากในการรักษาโรค พร้อมทั้งการดูฤกษ์ยาม ตลอดจนรักษาคนทีถูกคุณไสยต่างๆ จนกระทั่งเมื่่อปี พ.ศ.2506ท่านได้รับการแต่งตั้ง ให้เป็นพระครูสัญญาบัตร ที่พระครูโสภณสาธุการ
ด้วยเพราะภารกิจที่มากมายของท่าน ทำให้ท่านพักผ่อนไม่เพียงพอ แต่เพราะความที่ท่านสามารถล่วงรู้กาลข้างหน้า ในปีพ.ศ. 2513 ท่านได้ลงมือสร้างสุสานของท่าน แม้ลูกศิษย์พยายามทัดทานท่านก็ไม่สนใจ จนกระทั่งวันที่ 12 เมษายน พ.ศ.2514 ท่านได้เกิดอาการหน้ามืดเป็นลม ลูกศิษย์ท่านได้เยียวยาแก้ไขจนท่านฟื้นขึ้น แต่ในคืนนั้นเองอาการของท่านได้กำเริบขึ้น ทำให้ท่านถึงแก่มรณภาพด้วยอาการอันสงบ ในคืนนั้นเอง สิริรวมอายุได้ 69ปี พรรษา 49 ทิ้งไว้แต่คุณงามความดีและการแพทย์แผนโบราณอันเลื่องชื่อตราบจนถึงปัจจุบัน หลังจากท่านสิ้น หลวงพ่อเชิญ หลานของท่านได้ขึ้นเป็นเจ้าอาวาสแทนท่าน พร้อมกันนั้นได้สร้างกุฏิโสภณสาธุการ ขึ้น พร้อมกับได้สร้างเจดีย์ทองแบบองค์พระปฐมเจดีย์เพือบรรจุร่าง ของหลวงพ่อชื่น เพื่อให้ลูกศิษย์ได้ทำการกราบไหว้บูชา พร้อมกันนั้น ทุกวันที่ 21 เมษายน ทางวัดได้จัดงานเพื่อรำลึกถึงคุณงามความดีของหลวงพ่อชื่น
รูปหล่อแทนองค์ พระครูบุญ ชูโต เจ้าอาวาสองค์แรกของวัดกลางคูเวียง ฝีมือการปั้นของหลวงพ่อชื่น
หลวงพ่อชื่นได้เริ่มสร้างวัตถุมงคลเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2479 ซึ่งเป็นปีที่ท่านสร้างโบสถ์หลังใหม่ทดแทนโบสถ์หลังเดิมที่เป็นไม้ โดยสร้างด้วยเนื้อชินผสมดีบุกใช้มวลสารหลักจากเงินเก่าที่อยู่ในหลุมลูกนิมิตรโบสถ์หลังเดิม โดยสร้างขึ้น 4รูปแบบ คือ พระปิดตา พระนางพญา พระปางลีลา และนางกวัก หลังจากนั้นใน ปีพ.ศ. 2481 ท่านได้สร้างศาลาการเปรียญขึ้นใหม่ทดแทนหลัีงเก่ารวมทั้งยังได้ทำการซื้อที่ดินเพิ่มเพื่อขยายเขตวัด ในการนี้ท่านได้สร้างวัตถุมงคลขึ้นจำนวนหนึ่ง ซึ่งในปัจจุบันได้เรียกวัตถุมงคลรุ่นสองว่า รุ่นอินโดจีน วัตถุมงคลที่สร้างขึ้นมี เสื้อยันต์ ผ้ายันต์วัวธนู พระสมเด็จผงพุทธคุณ พระหลวงพ่อโ่ตซุ้มเถาวัลย์เนื้อดิน และเครื่องรางรูปเสือเนื้อผงพุทธคุณ
หลังจากปีพ.ศ. 2481 หลวงพ่อชื่นท่านได้สร้างวัตถุมงคลอีกหลายรูปแบบโดยเจตนาเพื่อบรรจุกรุ โดยวัตถุมงคลที่สร้างขึ้นมีหลายรูปแบบ อาทิ เครื่องรางรูปเสือ สิงห์ พระสมเด็จ พระสมเด็จทรงสิงห์ โดยสร้างด้วยเนื้อผงเป็นหลัก แต่ท่านได้แกะพิมพ์ด้วยตัวของท่านเองตลอดจนกดพิมพ์พระด้วยตัวเอง แต่ในปีพ.ศ. 2506 ในปีที่ท่านได้เป็นพระครูโสภณสาธุการ ท่านได้สร้างเหรียญรูปเหมือนท่านเพียงรุ่นเดียว ด้วยเนื้อทองแดงผิวไฟ ท่านได้จารด้วยตัวเองทุกเหรียญ จำนวนการสร้างเท่าพ.ศ. คือ 2506 เหรียญ วัตถุมงคลของท่านเด่นมากในเรื่องของแคล้วคลาด และคงกระพัน เป็นของดีราคาถูกที่มองข้ามไม่ได้
พระปางลีลา เนื้อชินผสมดีบุก ปี 2479
พระนางพญา เืนื้อชินผสมดีบุก ปี 2479
สมเด็จอินโดจีน ปี 2481
เสือรุ่นแรก ปี 2481
หลวงพ่อโต ซุ้มเถาวัลย์ ปี 2481
ขุนแผนรุ่นแรก เนื้อผงพุทธคุณ
พระล้อพิมพ์พระชัย อาจารย์ภา
พระนางพญาเนื้อผงพุทธคุณ
พระปิดตาเนื้อผงพุทธคุณ
พระรอดเณรจิ๋ว
สมเด็จนักเลงโต
พระตรีกาย เนื้อผงพุทธคุณ
เสือโห่ เล็ก
สมเด็จทรงสิงห์ยุคแรก
สมเด็จทรงสิงห์ ยุคกลาง
สมเด็จทรงสิงห์ ยุคปลาย
รูปหล่อรุ่นแรก สร้างพร้อมรูปหล่อเท่าองค์จริงหลวงพ่อชื่น ที่อยู่ในกุฏโสภณสาธุการ มีพิธีพุทธาภิเษกใหญ่ หลวงปู่เพิ่มเป็นประธานในพิธี
ขอบคุณครับ กำลังต้องการทราบประวัติท่านอยู่พอดี
YOU MUST BE LOGGED IN TO REPLY TO THIS TOPIC!