พูดมาก เสียมาก พูดน้อย เสียน้อย ไม่พูด ไม่เสีย นิ่งเสีย โพธิสัตว์

กระดานข่าว : เรื่องเล่าชาว-ดีดี

December 22, 2016 01:58:24 พันธุ์ทิพย์  VIP   (3255)


พูดมาก เสียมาก พูดน้อย เสียน้อย ไม่พูด ไม่เสีย นิ่งเสีย โพธิสัตว์

 

ละได้ย่อมสงบ

ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ ล้วนแต่เคลื่อนที่ไปสู่ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

ทุกอย่างในโลกนี้ เคลื่อนไปสู่การสลายตัวทั้งสิ้น ไม่ยึด ไม่ทุกข์ ไม่สุข

ละได้ย่อมสงบ

 

สันดาน

ภูเขาถูกมนุษย์ทำลายลงมาได้

แต่สันดานของคนเราที่นอนนิ่งอยู่ในก้นบึ้ง

ซึ่งไม่เหมือนกันย่อมขัดเกลาให้ดีเหมือนกันได้ยาก

 

ชีวิตทุกข์

การเกิดมาเป็นมนุษย์ชาติหนึ่ง จะว่าประเสริฐก็ประเสริฐ จะว่าไม่ประเสริฐก็ไม่ประเสริฐ

จะเห็นได้ว่า ตื่นเช้าก็มีความทุกข์เข้าครอบงำ

จะต้องล้างหน้า ล้างปาก ล้างฟัน ล้างมือ

เสร็จแล้วจะต้องกินต้องถ่าย นี่คือความทุกข์แห่งกายเนื้อ

เมื่อเราจะออกจากบ้าน ก็จะประสบความทุกข์ในหมู่คณะ ในการงาน ในสัมมาอาชีวะ การเลี้ยงตนชอบ

นี่คือ ความทุกข์ในการแสวงหาปัจจัย

 

บรรเทาทุกข์

การที่เราจะไม่ต้องทุกข์มากนั้น

เราจะต้องรู้ว่า เรานี้จะต้องไม่เอาชีวิตไปฝากสังคม เราต้องเป็นตัวของเราเอง

และเราจะต้องวินิจฉัยในเหตุการณ์ที่จะเข้ามาเกี่ยวข้องกับตัวเราว่า สิ่งใดเราควรทำ สิ่งใดไม่ควรทำ

 

ยากกว่าการเกิด

ในการที่เราเกิดมา ชีวิตแห่งการเกิดนั้นง่าย แต่ชีวิตแห่งการอยู่นั้นสิยาก

เราจะทำอย่างไรให้อยู่ได้อย่างสุขสบาย

 

ไม่สิ้นสุด

แม่น้ำทะเล และมหาสมุทร ไม่มีที่สิ้นสุดของน้ำ ฉันใด

กิเลสตัณหาของมนุษย์ก็ย่อมไม่มีที่สิ้นสุด ฉันนั้น

 

ยึดจึงเดือดร้อน

ทุกวันนี้ เกิดความทุกข์ ความเดือดร้อน ก็เพราะมนุษย์ไปยึดโน้น ยึดนี่

ยึดพวกยึดพ้อง ยึดหมู่ยึดคณะ ยึดประเทศเป็นสรณะ โดยไม่คำนึงถึงธรรมสากล

จักรวาลโลกมนุษยนี้ ทุกคนมีกรรมจึงเกิดมาเป็นสัตว์โลก

สัตว์โลกทุนคนต้องใช้กรรมตามวาระ ตามกรรม

ถ้าทุกคนยึดถือเป็นอารมณ์ ก็จะเกิดการเข่นฆ่ากัน เกิดการฆ่าฟันกัน

เพราะอารมณ์แห่งการยึดถืออายตนะ ฉะนั้น ต้องพิจารณาให้ถ่องแท้ว่า

สิ่งใดทำแล้ว สัตว์โลกมีความสุข สิ่งนั้นควรทำ นี่คือ หลักความจริงของธรรมะ

 

อยู่ให้สบาย

ในภาวะแห่งการที่จะอยู่อย่างสบายนั้น

เราต้องอยู่กันอย่างไม่ยึด อยู่กันอย่างไม่ยินดี อยู่กันอย่างไม่ยินร้าย

อยู่กันอย่างพยายามให้จิตวิญญาณของนามธรรมนั้นเหนืออารมณ์

เหนือคำสรรเสริญ เหนือนินทา เหนือความผิดหวัง เหนือความสำเร็จ เหนือรัก เหนือชัง

 

ธรรมารมณ์

การอยู่อย่างมีธรรมารมณ์ คือ การอยู่เหนือความรู้สึกทั้งปวง

อยู่อย่างรู้หน้าที่การเป็นคน และรู้หน้าที่ในการงาน คือ รู้ว่าสิ่งที่เราทำนั้น เป็นสิ่งที่เราต้องทำ

ไม่ใช่ทำเพื่อหวังผลตอบแทน เพราะถ้าเราทำงานเพื่อหวังผลตอบแทนต่างๆ แล้ว

ถ้าสิ่งต่างๆไม่สัมฤทธิ์ผลตามความหวังนั้น เราย่อมเกิดความโทมนัส เสียใจน้อยใจ เป็นทุกข์

 

กรรม

ถ้าเรามีชีวิตอยู่อย่างที่ว่า

เกิดเพราะกรรม อยู่เพื่อกรรม ทำเพราะกรรม ตายเพราะกรรมแล้ว

ชีวิตการเป็นมนุษย์ย่อมมีความภิรมย์ มีความรื่นเริง

December 22, 2016 02:31:04 ชัยพลสุพรรณ  (1370)

สาธุ ผู้ปฏิบัติได้ย่อมสุขกายใจ

February 01, 2017 07:57:24 พันธุ์ทิพย์  VIP   (3255)


ครับผม

February 07, 2017 02:47:54 THESHOCK  (3671)(2)
avatar
THESHOCK  (3671)(2)


สาธุครับ

YOU MUST BE LOGGED IN TO REPLY TO THIS TOPIC!