พระสมเด็จปิลันทน์ พิมพ์ครอบแก้วเล็ก วัดระฆังโฆสิตาราม
เขียนโดย : baouzakeruga วันที่ลง : 2020-01-26 00:49 เยี่ยมชมร้านค้า
ชื่อพระ/สินค้า | พระสมเด็จปิลันทน์ พิมพ์ครอบแก้วเล็ก วัดระฆังโฆสิตาราม |
หมวด | |
ประเภท |
โชว์พระ/สินค้า |
ราคา | |
รายละเอียด | พระสภาพเดิมๆ เนื้อเทาอมดำ เพราะผสมผงเถ้าถ่านจากใบลานเผา โดยนำคัมภีร์ใบลานเก่าแก่ที่ชำรุดมาเผา เป็นของที่มีความศักดิ์สิทธิ์ในตัวสูงมาก เพราะคัมภีร์พวกนี้ถูกจารด้วยอักขระเลขยันต์โบราณ คราบกรุเดิมๆ ไขขาวเหมือนไขวัวมีลักษณะมันเงา ขึ้นปกคลุมผิวพระทั้งด้านหน้า-หลัง ถือเป็นเอกลักษณ์สำคัญตามตำราในการช่วยพิจารณา เก๊-แท้ ได้ง่ายขึ้น พระสวยสมบูรณ์ไม่ผ่านการใช้บูชา ไม่มีหัก อุด ซ่อมแต่อย่างใด เป็นพระแท้ที่ดูง่าย ใช้บูชาแทนพระสมเด็จ วัดระฆังได้ครับ เนื่องจากมีผงพุทธคุณของสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) ผสมอยู่ด้วย
ประวัติผู้สร้างพระปิลันทน์ คือ หม่อมเจ้าสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัด เสนีย์วงศ์) ในสมัยที่มีสมณะศักดิ์ เป็นพระพุทธบาทปิลันทน์ ท่านเป็นพระโอรสในกรมหลวงเสนีบริรักษ์ (พระองค์เจ้าแดง) ในกรมพระราชวังบวรสถานภิมุข (วังหลัง) ประสูติเมื่อปี พ.ศ.๒๓๖๕ สมัยสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ฯ เมื่อครั้งหม่อมเจ้าทัด ทรงออกผนวช ตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๓ ราวปี พ.ศ.๒๓๘๕ ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นนาคหลวง โดยมีสมเด็จพระสังฆราชด่อน เป็นพระอุปัชฌาย์ และเจ้าพระคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรฺหมฺรังสี) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ เมื่อครั้งยังเรียกกันว่า พระมหาโต เปรียญ ๖ หลังจากผนวชแล้วได้มาประทับอยู่ที่วัดระฆังโฆสิตาราม ทรงศึกษาด้านพระธรรมวินัย สมถกรรมฐาน และวิปัสสนาธุระกับพระอาจารย์มหาโตแต่ผู้เดียว จนสอบไล่ ได้เป็นเปรียญ ๗ ประโยค ในปี พ.ศ.๒๔๐๔ ต่อมา เมื่อเจริญด้วยพระชนมายุพรรษา จึงได้รับพระราชทานสมณะศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ “พระพุทธบาทปิลันทน์” ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ราวปี พ.ศ.๒๔๐๗
อันนามสัญญาบัตรที่ “พระพุทธบาทปิลันทน์” นี้ เป็นสมณะศักดิ์สงวนเฉพาะแต่พระราชวงศ์ ตั้งแต่หม่อมราชวงศ์ขึ้นไป ซึ่งสมณะศักดิ์ที่สงวนไว้สำหรับราชวงศ์มีดังนี้คือ ๑. พระราชานุพัทธมุนี ๒. พระศรีวราลังการ ๓. พระสังวรประสาท ๔. พระพุทธบาทปิลันทน์
ในการต่อมา พระพุทธบาทปิลันทน์ ซึ่งเป็นศิษย์ใกล้ชิดกับสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรฺหมฺรังสี ก็ได้รับความไว้วางใจจากท่านเจ้าพระคุณให้ดูแลวัดระฆังฯ ในฐานะรองเจ้าอาวาส จนปี พ.ศ. ๒๔๑๓ ท่านได้เจริญสมณะศักดิ์ ดำรงตำแหน่งที่ “หม่อมเจ้าพระสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัด)” ครองวัดระฆังฯ แทนสมเด็จพระพุฒาจารย์โต ซึ่งยกเป็นพระกิตติมศักดิ์ เนื่องจากชราภาพ และเมื่อ พ.ศ.๒๔๔๓ หม่อมเจ้าพระสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัด) ก็มรณภาพ รวมศิริอายุได้ ๗๙ ปี ๕๘ พรรษา
หม่อมเจ้าพระพุทธบาทปิลันทน์ ท่านทรงเป็นศิษย์เอกของเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี ท่านจึงได้มีส่วนร่วมในการสร้างพระสมเด็จวัดระฆัง ของเจ้าพระคุณสมเด็จพุฒาจารย์ โต เมื่อหม่อมเจ้าทัด ได้รับพระราชทานสมณะศักดิ์ที่ “พระพุทธบาทปิลันทน์” ท่านจึงได้คิดสร้างพระเครื่องเนื้อผงใบลานเผา การสร้างพระเครื่องของท่าน สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในช่วงปี พ.ศ.๒๔๐๗ แต่บางข้อมูลก็บอกว่า ท่านสร้างพระเครื่องในปีพ.ศ. ๒๔๑๑ ภายหลังจากที่เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้สร้างพระสมเด็จวัดระฆังมาแล้ว 2 ปี และเชื่อกันว่า พระปิลันทน์นี้ได้ผสมผงพุทธคุณของสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรฺหมฺรังสี ที่มอบให้ เป็นส่วนผสมในการสร้าง และสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พระอาจารย์ของท่านคงได้มีส่วนร่วมในการสร้างและปลุกเสกให้ด้วย จึงมีผู้เรียกพระปิลันทน์นี้ว่า “พระสองสมเด็จ” มาแต่โบราณกาล เมื่อเจ้าพระคุณสมเด็จฯ สิ้นแล้ว ท่านจึงได้บรรจุพระเครื่องฯ เหล่านี้ไว้ในพระเจดีย์องค์หนึ่ง ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของพระอุโบสถ โดยอุทิศส่วนกุศลถวายแด่เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ผู้เป็นพระอาจารย์ (บางท่านก็บอกว่าสร้างเมื่อประมาณปีพ.ศ. ๒๔๓๕)
พิมพ์พระปิลันทน์ พระปิลันทน์เป็นพระพิมพ์ที่สร้างสรรค์ และออกแบบพิมพ์ทรงโดยช่างหลวง ดังนั้นพิมพ์ทรงจึงมีความวิจิตรบรรจงงดงามอลังการ แบบพิมพ์ของพระปิลันทน์ มีมากกว่า ๑๐ แบบ แต่เท่าที่พบเห็นกันบ่อยและเป็นที่นิยมกัน พอจะลำดับได้ดังนี้ พิมพ์ซุ้มประตู พิมพ์สี่เหลี่ยมปรกโพธิ์ใหญ่ ซุ้มครอบแก้ว พิมพ์สี่เหลี่ยมปรกโพธิ์ ซุ้มครอบแก้ว ฐานสองชั้น พิมพ์สี่เหลี่ยมปรกโพธิ์เล็ก ซุ้มครอบแก้ว พิมพ์สี่เหลี่ยมปรกโพธิ์ ซุ้มสี่เหลี่ยม ใบโพธิ์ช่อ พิมพ์สี่เหลี่ยมปรกโพธิ์ ซุ้มสี่เหลี่ยม ใบโพธิ์เรียง พิมพ์พระปิดตา พิมพ์ปางปฐมเทศนา หรือพิมพ์ปางประทานพร พิมพ์หยดแป้ง เป็นพิมพ์ที่ค่อนข้างหายาก พิมพ์ครอบแก้วใหญ่ พิมพ์ครอบแก้วเล็ก พิมพ์เปลวเพลิงใหญ่ พิมพ์เปลวเพลิงเล็ก พิมพ์เปลวงเพลิงเล็ก ยกพระหัตถ์ขวา พิมพ์โมคคัลลา – สารีบุตร พิมพ์สมเด็จสี่เหลี่ยมกรอบสามชั้น (หรือพิมพ์ซุ้มสามเส้น) พิมพ์พระประจำวัน
เนื้อหา พระปิลันทน์โดยทั่วไปที่พบเห็นนั้น มีอยู่ด้วยกัน ๔ เนื้อคือ ดำ เทาเขียว ขาว น้ำตาล โดยเนื้อดำ และเทาเขียวนั้น พบเห็นมากที่สุด พระปิลันทน์นั้นมีทั้งลงกรุและไม่ลงกรุ คือสร้างแล้วแจกเลยจึงไม่มีคราบขี้กรุปรากฏตามพื้นผิว สำหรับการขุดพบพระ หรือกรุแตกนั้น ครั้งแรกเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๔๗๑ พระเจดีย์กรุพระสมเด็จปิลันทน์ถูกลักเจาะ โดยคนร้ายได้พระไปเป็นส่วนน้อย และทางวัดได้ซ่อมอุดช่องเสีย และอีกครั้งราวปี พ.ศ. ๒๔๘๐ ก่อนที่จะเกิดกรณีพิพาทอินโดจีนเล็กน้อย กรุนี้ก็ถูกลักเจาะอีก เมื่อกรุแตกมีคนนำพระมาให้พระธรรมถาวร ช่วงพิจารณา ท่านก็จำได้ว่าเป็นพระของหม่อมเจ้าพระพุฒาจารย์ทัด สมัยยังดำรงสมณะศักดิ์เป็นหม่อมเจ้าพระพุทธบาทปิลันทน์ ได้ทรงสร้างไว้ ทางวัดจึงได้นำพระสมเด็จปิลันทน์บางส่วน บรรจุในถุงผ้าดิบส่งมอบให้กระทรวงกลาโหม เพื่อแจกทหารออกศึกตามที่ทางราชการขอมา พระที่ลงกรุจะมีคราบกรุ หรือ เรียกกันว่า “คราบไข” ในลักษณะเป็นไขสีขาว คล้ายไขวัวเกาะติดเป็นแผ่นบ้าง เป็นเม็ดเต่งๆ บ้าง หรือสลับพอกพูนทั้งแผ่นและเม็ด คล้ายคาบกรุฟองเต้าหู้ ของพระกรุวัดเงิน แต่ไม่เหมือนเสียทีเดียว
การตัดขอบพิมพ์ แบบพิมพ์ของพระปิลันทน์จะเป็นพระที่มีขอบพิมพ์และตัดขอบข้างแบบได้มาตรฐาน คือ เกือบทุกองค์จะตัดห่างจากขอบเส้นบังคับแม่พิมพ์เล็กน้อย ทำให้เห็นขอบเป็น ๒ ชั้น ส่วนด้านหลังมีทั้งแบบ หลังเรียบและหลังนูน โดยพิมพ์ที่มีลักษณะโค้งมนแบบเล็บมือจะมีหลังนูน และพิมพ์ที่มีรูปทรงสี่เหลี่ยมจะมีหลังเรียบ ด้านหลังองค์พระบางองค์ก็มีรอยนิ้วมือของผู้กดพิมพ์อยู่ลางๆ และพระปิลันทน์นี้ ด้านหลังบางองค์ก็มีการจาร (ลงอักขระ) โดยที่พบเห็นจะจารยันต์ตัวเดียว
คราบไขของพระปิลันทน์ คนรุ่นเก่ากล่าวไว้ว่า “ปิลันทน์ ให้ดูไข แร่บางไผ่ ให้ดูเสี้ยน” เป็นคำกล่าวสืบทอดกันมาช้านานแล้ว คราบไขของพระปิลันทน์นั้นเกิดจากการละเหยตัวออกของ น้ำมันตังอิ้ว ที่ทำหน้าที่เป็นตัวประสานเนื้อพระ แสดงออกในรูปแบบของไขมีความแข็งที่ผุดขึ้นมาจากภายในเนื้อพระ เป็นคราบใส ขาวขุ่น ไปจนถึงคราบไขหนามาก เห็นเป็นสีเหลืองอ่อนที่มีความแห้งแต่โปร่งใส และคราบไขที่เป็นจุดเล็กๆ ถึงเล็กมากทั่งองค์พระที่เรียกว่า “ไข่แมงดา” ต้องมี่ให้เห็นทุกองค์ โดยเฉพาะองค์พระที่มีสภาพผิวเดิมๆ ยิ่งเห็นได้ชัด พระปิลันทน์องค์ใดที่มีไขมากความคมชัดของพิมพ์ทรงจะมีน้อยลง ความนิยมในองค์พระจะขึ้นกับความดูง่ายของคราบไขและความคมชัดของพิมพ์ทรงเป็นหลัก
คราบไขพระปิลันทน์มีหลายลักษณะแตกต่างกัน ได้มีบางท่านจัดจำแนกคร่าวๆ ไว้ดังนี้ ประเภทไขบาง ไขจะมีสีขาวนวลเคลือบบางๆ คลุมทั่วองค์พระ บางองค์ไขบางมากจนเกือบมองไม่เห็นหรือมีเพียงไขจุดเล็กๆ บางจุดเท่านั้น ประเภทไขหนา ไขจะมีสีขาวนวลเป็นเงาคล้ายไขมันของสัตว์ ซึ่งบางท่านเรียกไขวัว ปกคลุมทั่วองค์พระหนามาก ประเภทไขฟอง ไขสีขาวนวลออกขาวมาก เป็นฟองคล้ายฟองสบู่ ที่กรอบบางยอดฟองมักจะระเบิดเป็นหลุมเป็นบ่อ ประเภทไขหยดเทียน ไขสีนวลเป็นเงา มีเป็นเม็ดเล็กบ้างใหญ่บ้างกระจายไปทั่ว
ไม่ว่าคราบไขจะเป็นประเภทใดตามกล่าวข้างต้นหรือแตกต่างออกไปก็ตาม ข้อสังเกตในการพิจารณาไขพระปิลันทน์ คือ คราบไขทุกประเภทต้องมีลักษณะเป็นมันเงาไม่แห้งกระด้าง คราบไขต้องเกาะจับองค์พระแน่นเป็นเนื้อเดียวกัน ไม่เป็นก้อนไข หรือไม่เป็นไขแผ่นที่เกาะอยู่ลอยๆ บนผิวพระหรือหลุดออกง่ายๆ พระที่อยู่ในสภาพเดิมๆ คือ ผ่านการใช้มามักมีคราบสีน้ำตาลอมแดง เคลือบซ้อนไข สีขาว
ด้านพระพุทธคุณ พระปิลันทน์มีทั้งคงกระพันและเมตตา มหานิยม แคล้วคลาด ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.bloggang.com/ |
ติดต่อร้านค้า
ที่อยู่ | หมู่บ้าน นนทรีเพลส 212/116 หมู่ 1 ต.บางไผ่ อ.เมือง จ. นนทบุรี 11000 |
โทร | 095 784 7779 เฮียเดช |
อีเมล | |
Line ID | |
ธนาคาร |