oioza52

ข้อมูลสมาชิก – oioza52

เริ่มเป็นสมาชิก: September 22, 2015 05:24:29 , สถานะ: ปกติ , ตั้งประมูล: 0 รายการ , รายการที่ยังไม่ปิด: 0 รายการ , คำชม: 200 รายการ , คำติ: 3 รายการ

ประวัติ Feedback

อ้างอิงถึงรายการ : /auction/พระเนื้อชิน/7198673


ประกันพระแท้


เขียนโดย :ลูกชาลาวัน เจ้าของรายการ March 04, 2017 09:45:37

อ้างอิงถึงรายการ : /auction/พระสมเด็จทั่วไป/7255744


$$วัดใจ10บาท$$ พระสมเด็จวัดประสาท พิมพ์ใหญ่ ปี2506 บัตรรับรองครับ


เขียนโดย :worwong เจ้าของรายการ March 03, 2017 09:09:51

อ้างอิงถึงรายการ : /auction/พระเนื้อผง-เนื้อว่าน/7221984


พระชุดวัดประสาทบุญญาวาส สมเสน กรุงเทพฯ ปี ๒๕๐๖ มวลสารผสมผงวัดระฆัง และสมเด็จบางขุนพรหม จัดสร้างโดย "พระสมุห์อำพล" อดีตเจ้าอาวาสวัดประสาทฯ ในช่วงปี ๒๕๐๕ - ๒๕๐๙ มวลสารผสมผงวัดระฆังฯ โดยท่านพยายามเสาะหาผงวิเศษจากหลายๆพระอาจารย์รวมทั้งชิ้นส่วนพระเครื่องแตกหักเก่าๆทั้งพระกรุและพระเกจิอาจารย์นับไม่ถ้วน โดยเฉพาะชิ้นส่วนแตกหักของ "สมเด็จบางขุนพรหมกรุใหม่" ที่ทางวัดเปิดกรุ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐ มีจำนวนหลายลังทีเดียว ว่ากันว่า พระผงวัดประสาทฯ มีชิ้นส่วนแตกหักของพระสมเด็จบางขุนพรหมมีผสมอยู่มากกว่าสมเด็จบางขุนพรหม ๐๙ เสียอีก พระเกจิที่มาร่วมพิธีวัดประสาทฯ นั้นก็มีมากถึง ๒๐๐ กว่ารูป จนนั่งภายในพระอุโบสถไม่หมด ต้องให้นั่งข้างนอกพระอุโบสถแล้วโยงสายสิญจน์ออกมา พิธีในครั้งนั้นจัดว่าเป็นพิธีปลุกเสกวัตถุมงคลที่ยิ่งใหญ่และศักดิ์สิทธิ์ที่สุดนับแต่พิธีปลุกเสกพระเครื่องฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ เป็นต้นมา *** มวลสาระสำคัญที่ได้รับมอเพื่อการจัดสร้างพระมีดังนี้ *** 1.มวลสารในการจัดสร้างสุดยอด มีส่วนผสม - ผงสมเด็จบางขุนพรหม พระครูบริหารคณาวัตร รองเจ้าอาวาสมอบให้ - ผงพระหักสมเด็จพระพุฒาจารย์โต - ผงพระหักสมเด็จปิลันท์ ซึ่งพบในเจดีย์วัดเทพากร - ผงพระเครื่องของขวัญวัดปากน้ำ ลพ.สดมอบให้วัดประสาทเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๗ - ผงพระหักกรุลำพูน - ผงพระกรุวัดพลับ - ผงหลวงพ่อโอภาสี เป็นต้น เกจิที่ร่วมพิธีปลุกเสก อาทิ เช่น อาจารย์ทิม วัดช้างไห้ ลป.โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ลพ.น้อย วัดธรรมศาลา ลพ.เงิน วัดดอนยายหอม ลพ.พรหม วัดช่องแค ลป.ทิม วัดละหารไร่ ลพ.กวย วัดโฆสิตาราม ลพ.คล้าย วัดสวนขัน ลป.เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว ลป.เฮี้ยง วัดป่าฯ ลพ.แดง วัดเขาบันไดอิฐ ลพ.มุ่ย วัดดอนไร่ ลพ.ทบ วัดชนแดน ลป.เขียว วัดหรงมล ลพ.จง วัดหน้าต่างนอก ลพ.เต๋ วัดสามง่าม ลป.สี วัดสะแก ลป.เทียน วัดโบสถ์ ลป.นาค วัดระฆังฯ ลพ.เนื่อง วัดจุฬามณี ลพ.โบ๊ย วัดมะนาว ฯลฯ  พระดี พิธีใหญ่ น่าใช้มากครับ รับประกันพระแท้ ขอบคุณครับ


เขียนโดย :RATSAMEEPHROM เจ้าของรายการ February 22, 2017 02:02:10


เป็นพระที่หายากมากคะ มีพระเกจิ ยุคเก่า มีพระมหาเถระผู้ทรงคุณในยุคนั้นได้รับนิมนต์ปลุกเสกหลายรูป แต่ละรูปล้วนแต่สุดยอดพระเกจิ อันได้แก่ - กรมหมื่นวชิรญาณฯ วัดบวรนิเวศ - หลวงปู่ทอง วัดราชโยธา  - หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง****-  หลวงปู่ภู วัดอินทรวิหาร หลวงปู่เผือก วัดทองนพคุณ - หลวงพ่อหรุ่น วัดอัมพวัน - เจ้าคุณโพธิ์ วัดชัยพฤกษ์มาลา - พระสังวราชุ่ม วัดพลับ - พระเทพโมลี (พระสังฆราชแพ ) วัดสุทัศน์เทพวราราม - สมเด็จพระพุฒโฆษาจารย์ (เจริญ) วัดระฆังโฆษิตาราม - หลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน******** - หลวงพ่อโม วัดสามจีน เป็นต้น 


เขียนโดย :มหานที เจ้าของรายการ February 22, 2017 01:48:32

อ้างอิงถึงรายการ : /auction/พระหล่อ-รูปเหมือนปั้ม/7217001


เหรียญหล่อโบราณหลวงปู่เพิ่ม วัดแค จ. อยุธยา พิมพ์กลีบบัว เนื้อทองผสม สวยเดิม แท้ดูง่าย ประกันพระแท้ตลอดชีพ


เขียนโดย :pittavas เจ้าของรายการ February 14, 2017 07:22:57


หลวงพ่อแพ เขมังกโร เป็นชาวจังหวัดสิงห์บุรี ท่านมีนามเดิมว่า "แพ ใจมั่นคง" เกิดเมื่อวันจันทร์ ที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๘ ตรงกับ ขึ้น ๒ ค่ำ เดือนยี่ ปีมะเส็ง ณ บ้านสวนกล้วย เลขที่ ๙๓/๓ หมู่ที่ ๓ ตำบลพิกุลทอง อำเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี บิดาชื่อ นายเทียน ใจมั่นคง มารดาชื่อ นางหน่าย ใจมั่นคง  เมื่ออายุได้ ๘ เดือน มารดาผู้ให้กำเนิดได้ถึงแก่กรรม ดังนั้น นายบุญ และนางเพียร ขำวิบูลย์ สามี ภรรยา ซึ่งมีศักดิ์เป็นอา ได้ขอเด็กชายน้อยๆ ที่มีอายุเพียง ๘ เดือน จากนายเทียน ใจมั่นคง บิดาผู้บังเกิดเกล้าโดยรับอุปการะเป็นบุตรบุญธรรม เมื่ออายุได้ ๑๑ ปี บิดามารดาบุญธรรม ได้นำเด็กชายแพไปฝากอยู่วัด กับสำนักอาจารย์ป้อม เพื่อที่จะศึกษาเล่าเรียนตามแบบโบราณนิยม คือ การเรียนภาษาไทยภาษาขอม นอกจากนั้น ยังได้เรียนหนังสือ มูลบทบรรพกิจ ทางธรรมก็มีพระมาลัยสูตร และยังได้หัดอ่านพระธรรมเจ็ดคัมภีร์ เมื่ออายุได้ ๑๔ ปี บิดามารดาบุญธรรมได้ส่งไปศึกษาต่อที่สำนักวัดอาจารย์ อาจารย์ สม ภิกษุชาวเขมร วัดชนะสงคราม กรุงเทพฯ การศึกษาในกรุงเทพฯขั้นแรกได้เริ่มเรียนหนังสือโบราณท่องสนธิ เรียนมูลกัจจายนสูตร เป็นเวลา ๑ ปี ต่อมา ก็ไปเป็นนักเรียนบาลีไวยากรณ์ ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพฯ ครั้นหลวงพ่อแพศึกษาหาความรู้จนอายุได้ ๑๖ ปี ก็กลับบ้านเกิด เพื่อบรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ.๒๔๖๓ ณ วัดพิกุลทอง ตำบลพิกุลทอง อำเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี โดยมีพระอธิการพันจันทสโร เจ้าอาวาสวัดพิกุลทอง เป็นพระอุปัชฌาย์ครั้นเมื่อบวชเป็นสามเณรแล้วก็ได้เดินทางกลับไปอยู่วัดชนะสงครามตามเดิม และได้ศึกษาบาลีไวยากรณ์ต่อไปอีก จนสอบได้เปรียญธรรม ๓ ประโยค ตั้งแต่ยังเป็นสามเณร ในปีพ.ศ.๒๔๖๘ นายเทียน ใจมั่นคง บิดาผู้บังเกิดเกล้าก็ได้ถึงแก่กรรม โดยความมุมานะพยายาม โดยอาศัยแสงสว่างจากเทียนไขหรือตะเกียง โดยส่วนมากเพราะสาเหตุนี้ นัยน์ตา อันเป็นส่วนสำคัญของสังขาร ก็เกิดอาการเจ็บปวดอย่างรุนแรง ทุกครั้งที่ตรากตรำอ่านหนังสือมากเกินไปในที่สุด นายแพทย์โรงพยาบาลจุฬาฯ ได้แนะนำ ไม่ให้อ่านหนังสืออีกต่อไป มิฉะนั้น นัยน์ตาอาจพิการได้ ดังนั้นภายหลังจากสอบได้เปรียญธรรม ๔ ประโยคแล้ว การศึกษาด้านพระปริยัติธรรมก็ต้องยุติลง แต่ด้วยความที่เป็นผู้มีใจใฝ่การศึกษา พระภิกษุแพ เขมังกะโร จึงได้ศึกษา และปฏิบัติสมถกัมมัฎฐาน วิปัสสนากัมมัฎฐานในสำนักของพระครูภาวนา วัดเชตุพน จนชำนาญ และดำเนินการสั่งสอนให้แก่ประชาชนทั่วไป สามเณรเปรียญแพ  ขำวิบูลย์ได้ทำการอุปสมบทเมื่ออายุครบ ๒๑ ปีบริบูรณ์ ในวันขึ้น ๖ ค่ำ ปีขาล ตรงกับวันพุธที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ.๒๔๖๙ ณ พระอุโบสถวัดพิกุลทอง โดยมีพระมงคลทิพย์มุนี เจ้าอาวาสวัดจักรวรรดิ์ราชาวาส กรุงเทพฯ เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านพระครูสิทธิเดช วัดชนะสงคราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ท่านเจ้าอธิการอ่อน วัดจำปาทอง เป็นพระอนุสาวนาจารย์  ได้รับฉายาว่า "เขมังกะโร" (แปลว่า ผู้ทำความเกษม) ภายหลังจากอุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์แพ เขมังกะโร หรือมหาแพ ก็ได้เดินทางกลับสู่วัดชนะสงคราม เพื่อตั้งใจศึกษาทางด้านพระปริยัติธรรม ให้ได้ในระดับสูงที่สุด เพื่อที่จะได้นำความรู้ ความสามารถที่ได้ฝักใฝ่ศึกษาเล่าเรียนนั้น นำไปสร้างสรรค์ให้เกิดคุณค่า และประโยชน์ต่อชุมชนและพระพุทธศาสนาอย่างเต็มที่ พระภิกษุแพ เขมังกะโร พยายามที่จะศึกษาเล่าเรียนหาความรู้ อ่านหนังสือตำราเรียนอยู่เสมอ


เขียนโดย :ping เจ้าของรายการ February 14, 2017 06:56:46

อ้างอิงถึงรายการ : /auction/พระสมเด็จทั่วไป/7224442


พระแท้ ดูง่าย สภาพสวยเดิมๆครับ ส่งออกบัตรรับรองให้เรียบร้อยแล้วครับท่าน เพื่อความสบายใจทั้งผู้ซื้อและผู้ขายครับผม รับประกันตามกฏครับ


เขียนโดย :เทพอมร เจ้าของรายการ February 14, 2017 04:29:34


รับประกันตามกฏ - พระเครื่องยอดไม่ถึง500บาทส่งลงทะเบียน - พระเครื่องยอด500ขึ้นไปส่งEMSยังมีให้เช่าบูชาอีกหลายรายการครับ เชิญคลิ๊กที่รูปฆ้อนได้เลยครับ เลขส่งพัสดุ ผมจะส่งให้ทาง mailbox นะครับ เมื่อท่านโอนเงินแล้วกรุณาช่วยแจ้งยืนยันอีกครั้งทาง mailbox (และอย่าลืมแจ้งยอดเงินนะครับเพราะอาจมีบางรายการยอดเงินเท่ากัน และหากท่านจะเปลี่ยนที่อยู่จัดส่งช่วยแจ้งมาพร้อมกันเลยทีเดียวครับ) เพื่อความรวดเร็ว ถูกต้องและไม่ให้เกิดการผิดพลาดและเสียเวลาในการจัดส่ง ขอบคุณครับ รบกวนช่วยแจ้งใน ข้อความครับ ถ้าจะให้ดีแจ้งเวลาโอนพร้อมตัวเงินด้วยครับเพื่อง่ายแก่การตรวจสอบ ถ้าไม่แจ้งมาผมยังไม่ส่งพระให้นะครับ เพื่อกันการผิดพลาดครับ - พระเครื่องยอดไม่ถึง500แต่ต้องการให้ส่งEMS ขอค่าส่งเพิ่ม20บาทครับ - โอนเเล้วแจ้งข้อความในเวปด้วยนะครับ เพื่อง่ายในการจัดส่ง


เขียนโดย :น้องโบตั๋น เจ้าของรายการ February 13, 2017 06:05:35


การสร้างวัตถุมงคลของหลวงพ่อแพนั้น ท่านมิได้เน้นเรื่องความสวยงาม หากแต่เน้นไปในเรื่องของความขลัง ความศักดิ์สิทธิ์ของวัตถุมงคลนั้น ๆ โดยท่านจะพิถีพิถันในการปลุกเสก ทั้งวิชาอาคม ทั้งอำนาจจิต เพื่อให้เกิดความแคล้วคลาดจากภยันตรายทั้งปวง และด้วยพลังบริสุทธิ์ดังกล่าว จึงทำให้วัตถุมงคลของหลวงพ่อแพรุ่นต่าง ๆ มีประสบการณ์อภินิหารมากมาย สืบสานยาวนานมาจนทุกวันนี้ ในปี พ.ศ. ๒๔๙๔ หลวงพ่อแพได้สร้างพระสมเด็จเนื้อผงรุ่นหนึ่งขึ้นมาหลายพิมพ์ กล่าวกันว่า พระสมเด็จที่หลวงพ่อแพสร้างขึ้น มีอานุภาพด้านพุทธคุณ ไม่ได้เป็นรองพระสมเด็จของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆัง แม้แต่น้อย ทั้งนี้ สืบเนื่องมาจากหลวงพ่อแพท่านมีศรัทธาในสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆัง เป็นอย่างมาก ด้วยเหตุนี้ หลวงพ่อแพจึงได้สร้างพระสมเด็จขึ้น โดยยึดถือแนวทางการสร้างวัตถุมงคลชุดพระสมเด็จของสมเด็จโตเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งหลักใหญ่หลวงพ่อแพท่านได้ลบผง เรียกว่า ผงวิเศษห้าประการ เป็นผงหลักในการสร้างพระสมเด็จ คือ ผงอิทธิเจ ผงปถมัง ผงมหาราช ผงตรีนิสิงเห และ ผงพุทธคุณ โดยเฉพาะผงพุทธคุณนั้น ท่านเขียนและลบด้วยพระคาถาชินบัญชร เพื่อใช้เป็นส่วนผสมอีกด้วย นอกจากผงวิเศษห้าประการแล้ว ยังมีผงอื่น ๆ เป็นส่วนประกอบ เช่น ผงบดจากหนังสือ ๗ ตำนาน, ผงยันต์ในคัมภีร์ต่าง ๆ เป็นต้น ในการทำผงแต่ละอย่างนั้น มีเคล็ดลับที่หลวงพ่อแพถือปฏิบัติคือ รักษาความสะอาดบริสุทธิ์ทั้งภายในและภายนอก, ตั้งจิตสงบเป็นสมาธิจดจ่ออยู่กับคาถาอาคม และอักขระต่าง ๆ โดยเฉพาะการบริกรรมภาวนา ต้องแม่นยำ ไม่ผิดพลาด ด้วยเหตุนี้ พระสมเด็จที่หลวงพ่อแพจัดสร้างขึ้น จึงมีพุทธานุภาพทรงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์เยี่ยมยอดทุกรุ่น ทุกแบบพิมพ์ หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง ท่านสร้างพระไว้มาก ถ้าจะประเมินกันอย่างคร่าว ๆ ก็คงไม่ต่ำกว่า ๓๐๐ แบบพิมพ์เป็นอย่างต่ำ แต่ที่นิยมแพร่หลายนั้น ส่วนมากจะเป็นเนื้อผง เช่น พระสมเด็จ พระนางพญา พระรอด พระปิดตา พระลีลาทุ่งเศรษฐี พระสิวลี พระสังกัจจายน์ พระขุนแผน พระผงรูปเหมือน นางกวัก ฯลฯ ซึ่งลูกศิษย์ลูกหา ญาติโยม ต่างก็เชื่อว่า มีพุทธคุณในด้านเมตตามหานิยม, แคล้วคลาด อุดมด้วยลาภผล โภคทรัพย์พูลทวี ซึ่งก็คือ คำอวยพรของท่าน หลวงพ่อแพ ท่านมักจะอวยพรแก่ทุกคนที่ไปกราบท่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทุกวันอาทิตย์แรกของทุกเดือน ท่านจะไม่รับนิมนต์ไปนอกวัด จะอยู่ที่วัดเพื่อต้อนรับศรัทธาญาติโยม ที่บางท่านก็เดินทางมาไกล เพื่อที่จะได้มีโอกาสกราบท่าน รับวัตถุมงคลจากมือของท่าน แล้วท่านก็จะอวยพรว่า ขอให้รวยขอให้รวย อาจเป็นเพราะท่านเป็นพระปรารถนาให้ทุกคนมีความสุข เป็นเรื่องสุดยอดแห่งความดี อักขระเลขยันต์หลังองค์พระ ก็เป็นเสมือนคำอวยพรของท่าน เพื่อที่เราจะได้ระลึกถึงท่านที่สร้างสมแต่บุญกุศล หรือความดีงามมาตลอดชีวิต เป็นเพชรเม็ดงามที่สดใสและแข็งแกร่ง ใสสะอาดและบริสุทธิ์ เช่นเดียวกับพระอาจารย์ธรรมโชติ แห่งบ้านบางระจัน ซึ่งชาวสิงห์บุรี เคารพรักและภาคภูมิใจ ราวกับท่านคือ จิตวิญญาณของชาวสิงห์บุรีทั้งหมด พระผงที่มีเนื้อหาจัดที่สุด ฝีมือปราณีตที่สุด และมีราคาแพงมากที่สุดของท่าน คือ พระสมเด็จแพพัน ที่สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๐ คำว่า แพพัน นั้น ปรากฎที่ด้านหลังองค์พระ อยู่ชิดขอบองค์พระด้านล่าง ใต้รูปเหมือนของท่านที่หันไปทางด้านซ้ายมือของเราทุกรุ่น โดยมีคำว่า “แพ” อยู่ด้านซ้าย และคำว่า “พัน” อยู่ด้านขวา คำว่า “แพ” หมายถึง “หลวงพ่อแพ” ส่วนคำว่า “พัน” นั้น หมายถึง “หลวงพ่อพัน” หรือ “พระอธิการพัน” เจ้าอาวาสวัดพิกุลทององค์ก่อน เป็นพระอาจารย์ที่บวชเณรให้กับท่าน เป็นผู้ที่ท่านรักและ เคารพนับถือประดุจบิดา ขอบบนสุด เหนือรูปเหมือน ที่อยู่ด้านซ้ายมือของเรา จะเป็นอักขระตัว “พุทซ้อน” ที่ท่านได้รับการถ่ายทอดมาจากพระครูใบฎีกาเกลี้ยง วัดสุทัศน์ ส่วนขอบบนสุดด้านขวา จะเป็นอักขระตัว “อัง” และมีตัว “อุ” อยู่เหนือตัว “อัง” ด้านหน้าของพระสมเด็จแพพัน จะเป็นพระสมเด็จพิมพ์อกครุฑเศียรบาตร หรือ ทรงไกเซอร์ ซึ่งต่อมารูปแบบพระสมเด็จที่สร้างในภายหลัง คือ แพ ๒ พัน, แพ ๓ พัน ...๔ พัน....๕ พัน...๗ พัน....๙ พัน..จะยึดเอกลักษณ์พิมพ์ทรงเดียวกันทั้งด้านหน้าและหลัง จะต่างกันที่ตัวเลขที่อยู่ตรงกลางใต้รูปเหมือน ระหว่างคำว่า “แพ” กับ “พัน” และเนื้อหามวลสารเท่านั้น ส่วนพระสมเด็จพิมพ์อื่น ๆ ก็มีมากมายหลายพิมพ์ เช่น พิมพ์ใหญ่, พิมพ์ทรงเจดีย์, พิมพ์ปรกโพธิ์, พิมพ์ฐานสิงห์,พิมพ์ฐานแซม ฯลฯ ซึ่งด้านหลังจะมีอักขระเลขยันต์ที่ต่างกันไป แต่แทบทุกรุ่น จะต้องมีอักขระ ๒ ตัว คือ ตัวพุทซ้อน และ ตัว “อัง” “อุ” อยู่ด้วยเสมอ ถือเป็นอักขระทีเป็นเอกลักษณ์ของท่านก็ย่อมได้ สำหรับพระสมเด็จแพพันนั้น หากมองด้วยตาเปล่า สีสันวรรณะขององค์พระจะออกเป็นสีขาวหม่นเล็กน้อย แต่ถ้าส่องกล้องดู จะเห็นรูพรุนเท่า หรือเล็กกว่าปลายเข็มอยู่ทั่วองค์พระ ซึ่งเกิดจากการยุบตัว หรือ การหดตัวของผิวพระที่มีอายุการสร้างมากกว่า ๔๐ ปี และสิ่งที่ควรระวังก็คือ ในภายหลังได้มีการสร้างพระสมเด็จแพพันขึ้นมาอีก แต่ต่างกันที่เนื้อหามวลสาร อย่างเช่น พระสมเด็จแพพัน ปี ๒๕๑๖ เนื้อแร่ธาตุดำ เนื้อแร่ธาตุแดง เป็นต้น วัตถุมงคลของท่าน แม้จะสร้างเป็นจำนวนมาก หลายรุ่น หลายแบบ ตลอดระยะเวลากว่า ๖๐ ปี ที่ท่านได้สร้างเอาไว้ ก็หาได้เพียงพอกับความต้องการของสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาไม่ ปัจจุบันวัตถุมงคลของท่านเริ่มหายาก และมีราคาแพงขึ้นทุกวัน จึงเป็นโอกาสอันดีที่พวกปลอมแปลงพระ ได้ทำของปลอม ของเลียนแบบ ออกมาจำหน่าย และใช่ว่าจะมีมาในช่วงที่ท่านมรณภาพก็หาไม่ มันมีมาตั้งแต่สมัยท่านมีชีวิตอยู่แล้ว พอมันรู้ว่ารุ่นไหนดัง รุ่นไหนได้รับความนิยม มันก็จะทำการปลอมแปลง เลียนแบบทันที ทั้ง ๆ ที่ของบางอย่างที่วัดยังมีอยู่เลย หลวงพ่อแพท่านจึงปกาศิตเอาไว้ว่า “ของแท้ ของดี ต้องมีที่วัดเท่านั้น” จะพบว่า วัตถุมงคลของท่านที่สร้างแต่ละรุ่น แต่ละแบบในระยะแรก ๆ นั้น ไม่ได้มีการโฆษณาตามหน้าหนังสือพิมพ์และสื่อมวลชน แต่ก็หมดไปจากวัดทุกรุ่น แม้บางรุ่นจะอยู่ที่วัดนานเป็นสิบปีก็ตาม  


เขียนโดย :เฮียตุ้ย เจ้าของรายการ February 11, 2017 09:35:56

อ้างอิงถึงรายการ : /auction/พระชุด-จ.นครปฐม/7207902


หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ พิมพ์พระผงนั่งเสือ(วัตถุมงคล 5 เสาร์) สร้างปี 2534 หลวงพ่อปลุกเสกเดี่ยวทุกวันเสาร์ของเดือน5 รวม5ครั้ง รับประกันแท้ตามกฏ


เขียนโดย :KKR เจ้าของรายการ February 09, 2017 18:46:42

หน้าที่ :  3